ข่มขืนแล้วรัก: เมื่อใดที่ละครน้ำเน่าไทยจะหยุดการคุกขามทางเพศที่ไร้สาระนี่ซะที?


หลังจากที่พ่อของตนเองฆ่าตัวตาย Pathawee นักธุรกิจผู้โกรธแค้นรู้ได้ทันทีว่าครอบครัวที่เป็นศัตรูของเขาจะต้องรับผิดชอบ หลายปีต่อมา เขาแก้แค้นการตายของพ่อเขาด้วยการทำให้ Chidchaba ซึ่งเป็นลูกสาวของศัตรูมาเป็นทาส Pathawee ตอนนี้เป็นทั้งเจ้าบ่าว, ผู้ก่อกวน, และผู้ข่มขืน Chidchaba ในตอนนั้นหล่อนกำลังมีท้องและเกือบฆ่าตัวตายเพื่อทำแท้งลูก Pathawee เป็นชายธรรมดาคนหนึ่ง แต่ในธุรกิจของหนังน้ำเน่า เขาเป็นตัวละครที่สำคัญสุดๆ

Pathawee เป็นทั้งผู้ข่มขืนต่อมาก็เป็นคนรักได้กระทำชำเรากับ Chidchaba ซึ่งเราอาจเรียกว่า ‘ไฟรักแห่งความรัญจวนที่ไม่มีวันสิ้นสุด’ (‘Unending Fire of Passion’) หนังเรื่องนี้เป็น 1 ใน 10 เรื่องของละครน้ำเน่าในปี 2015 คนไทยส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าไฟรักแห่งความรัญจวนที่ไม่มีวันสิ้นสุดเป็นเรื่องธรรมดา เพราะ 5 ในละครน้ำเน่าก็เป็นเรื่องการข่มขืนที่เป็นเรื่องรักๆใคร่, ความรุนแรง, และการทารุณกรรมทางเพศเพื่อที่จะสร้างคู่ที่ทรงพลังทางอารมณ์ทั้งสิ้น

ถึงแม้ว่าจะมีโฆษณาต่างๆเพื่อหยุดการกระทำดังที่ว่านั้น แต่อุตสาหกรรมหนังน้ำเน่าไทยก็ไม่สามารถจะก้าวข้ามพฤติกรรมดังกล่าว ในท้ายที่สุดจะก่อให้เกิดวัฒนธรรมการข่มขืน และการกระทำชำราผู้หญิงทั้งหลาย

ฉากแห่งความรุนแรงและการทารุณกรรมทางเพศระหว่างดาราที่เป็นชายและหญิงที่เป็นคู่ปรับนั้นเป็นสิ่งที่ปรากฏขึ้นทั่วไปในละครน้ำเน่าที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย ละครเหล่านี้ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างคู่แค้นซึ่งต่อมาจะกลายเป็นคู่รักบ่อยครั้ง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ธรรมดาอย่างมากในการที่ผู้ชมจะเป็นกลุ่มผู้ชายกระทำชำเราต่อกลุ่มผู้หญิง ทั้งที่ผู้หญิงก็ไม่ต้องการ ฉากตบ-จูบก็คือการขายฉากที่ปรากฏโดยทั่วไปในละครน้ำเน่า ละครเหล่านี้จะมีดาราหญิงตบดาราชายที่พยายามจะจูบหล่อน ภาพของ “ผู้หญิงที่ดี” เป็นสาเหตุอันหนึ่งที่ผู้ผลิตใช้ในการตัดสินระหว่างการข่มขืนกับการบังคับในฐานะที่เป็นการกระทำของความรัก

Nitipan Wiprawit กล่าวว่า “ในทางประเพณีนั้น ผู้หญิงที่ดีไม่สามารถเริ่มต้นในเรื่องรักได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่พ้นสมัย, ลดทอนความเป็นมนุษย์, และไกลจากความเป็นจริงมาก” เขาเป็นผู้ที่ปล่อยโฆษณาต่อต้านการทารุณกรรมทางเพศในเชิงรักใคร่ และเรื่องทางเพศในละครน้ำเน่าของไทยในปี 2014 และยังกล่าวอีกว่า “สถานีรายงานว่าการข่มขืนในฐานะที่เป็นอาชญากรรมในตอนกลางวัน และได้รับการถ่ายทองในตอนกลางคืน เห็นได้ชัดเจนว่าปัญหาอยู่ที่ตรงนี้”

มีข่าวที่ใหญ่ข่าวหนึ่งที่ว่าด้วยกลุ่มลูกเสือชายถูกถ่ายทำว่ากำลังร่วมเพศกับลูกเสือหญิงในโรงเรียนประถม ในเวลาต่อมาพ่อแม่ของกลุ่มผู้ชายอาจได้รับคำหยามเหยียดในเรื่องนี้ ความไม่มีสาระดังกล่าวทำให้ Nitipan ปล่อยคำร้องที่ Change.org ซึ่งได้รับลายเซ็นประมาณ 400 พันลายเซ็น

เขากล่าวว่า “ฉันไม่ชอบฉากการข่มขืนที่นำมาซึ่งเรทอาชญากรรมทางเพศนักหรอก แต่มันแอบซ่อนการโฆษณาการทารุณกรรมทางเพศไว้ในรูปของความบันเทิงและการทำโทษ” นอกจากนี้ “ยังส่งผลในการโฆษณาความคิดที่ว่าเหยื่อที่ถูกข่มขืนควรจะต้องอาย และผู้ชายจะเป็นเจ้าของผู้หญิงได้ด้วยการมีเซ็กซ์”

ละครน้ำเน่าที่เป็นประเพณี ไม่เพียงแต่กลุ่มผู้ชายที่เป็นคู่ขัดแย้งที่ชอบทำการข่มขืนจะไม่ถูกกล่าวหาหรือกล่าวโทษเท่านั้น แต่เหยื่อยกลุ่มผู้หญิงที่ถูกลดคุณค่าแห่งความมนุษย์โดยโครงเรื่องแบบที่เน้นการข่มขืนเท่านั้นที่จะถูกกล่าวโทษ นอกจากนี้การกล่าวหาในทางเพศก็เป็นสิ่งที่รับได้ ดังนั้นสิ่งนั้นจะนำเสนอผู้ชมในเรื่องการทำโทษในเชิงโรแมนติค (romantic punishment) ลองพิจาณาดูทที่พลเอกประยุทธที่เสียดสีเรื่อง บิกีนี่ ในเรื่องการฆาตกรรมบนเกาะเต่า และในกรณีเรื่องการข่มขืนชาวอังกฤษ ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าวหาเหยื่อสิ ละครเหล่านี้เป็นผลหรือเป็นสาเหตุของสังคมพิเฉย (ignorant society)? ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม สิ่งนั้นไม่ได้ช่วยปลูกฝังในวัฒนธรรมในตระหนักรู้เรื่องสิทธิของผู้หญิงในสังคมไทยเลย

ในการสัมภาษณ์กับ Prachatai ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ชื่อ Chanida Chitbundit กล่าวว่า ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะได้อันดับที่ 76 ในเรื่องตัวบ่งชี้ด้านความไม่เท่าเทียมกันทางเพศสภาพ (the Gender Inequality Index by UNDP) ในปี 2014 แต่ก็มีข้อจำกันในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย และเสนอเพิ่มเติมว่า สิทธิสตรี (feminism) จะต้องสอดคล้องกับประชาธิปไตยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนการรับรู้เรื่องการรักชาติอย่างรุนแรง

นักวิจารณ์สังคมที่ชื่อ Lakkana Punwichai ได้บ่งชี้ในงานสิทธิสตรี (feminism) เมื่อ 2 ปีก่อนถึงสิ่งที่ดูเหมือนขัดแย้งกัน (paradox) ในการสนับสนุนสิทธิสตรีขึ้นในสังคมไทย เนื่องมาจากลักษณะชาตินิยมอย่างสุดขั้วที่กีดกันสังคมไทยต่อแนวคิดหรืออุดมการณ์ทางตะวันตก เช่นสังกัป (concept) เรื่องสิทธิมนุษยชน, ประชาธิปไตย และเสรีนิยม

Lakhana กล่าวว่า “ พวกเราหลายคนเกี่ยวกับเรื่องปัญหาของผู้หญิง แต่ไม่เคยขุดค้นไปในเรื่องอุดมการณ์ที่อยู่เบื้องหลังปัญหาเหล่านั้น หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอุดมการณ์ แต่หันกลับไปเชิดชูการเมืองในเชิงสถาบัน” “พวกเรามีนักกิจกรรมสิทธิสตรีในเวลาเดียวกันก็สนับสนุนรัฐราชการและอนุรักษ์นิยมรวมกันไปด้วย ดังนั้นเราจึงมีเกย์ที่สนับสนุนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช”

เมื่อพฤศจิกายนปีที่แล้ว นักวิชาการสื่อและนักวิชาการต่างๆ ได้เสนอเรื่องสิทธิสตรีในสื่อ พยายามที่จะเสนอเรื่องโมเดลการบังคับใช้กฎหมาย, เสรีภาพของสื่อ, และการเรียนรู้สื่อ ในขณะเดียวกัน กสทช (the National Broadcasting and Telecommunication commission (NBTC) ได้ทำหน้าที่ตรวจสอบเรื่องจริยธรรมในสื่อต่างๆด้วย อย่างไรก็ตาม กสทช ได้ประเมินสื่อใน 2 ลักษณะ ซึ่งก็คือการนำละครเรื่องเหนือเมฆจากการฉาย และได้รับเสียงวิจารณ์เรื่องเครื่องมือทางการเมืองเพื่อที่จะทำให้เสียงต่อต้านทหารหมดไป แม้กระนั้นจะมีระบบเรทติ้ง ที่สามารถนำเรื่องสำหรับผู้ใหญ่มาฉายในตอนกลางวันแล้วก็ตาม

การมาถึงของอินเตอร์เน็ท, ดิจิตอลทีวี, และเว็ปดูหนังที่ชื่อ Netflix หมายถึงการที่ผู้ชมชาวไทยมีทางเลือกมากกว่าแต่ก่อน ทั้งช่อง 3 และ 7 ซึ่งเป็นช่องที่นำเสนอละครน้ำเน่าต้องถูกท้าทายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เรทติ้งโดยเฉลี่ยของละครน้ำเน่าทั้ง 3 เรื่องได้หยุดเหลือเพียงแค่ 2 ในปี 2013 ซีรี่ไทยที่ต้องดูทางออนไลน์ เช่น ฮอร์โมน นำเสนอในเรื่องชีวิตทางเพศของหมู่วัยรุ่นในชีวิตจริง และมีการศึกษาในเรื่องการรับรู้เรื่องเซ็กซ์และการคุมกำเนิดที่ก้าวหน้ามากขึ้น แต่การแข่งขันที่เปิดกว้าง และพวกเลือดใหม่จะสามารถลบล้างการข่มขืนในเชิงโรแมนติคของไทยได้กระนั้นหรือ

Nitipan กล่าวว่ส “ การที่จะเปลี่ยนไปตามธรรมชาติหรือการแข่งขันกันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หากความเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้องยังไม่ถือกำเนิดเกิดขึ้นในเมืองไทย

แปลและเรียบจาก

Thitipol Panyalimpanun. Rape and romance: When will Thai soap operas stop trivializing sexual abuse? http://asiancorrespondent.com/2016/01/thai-soap-operas-rape/

หมายเลขบันทึก: 599915เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2016 19:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2016 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คงยากนะครับ..เพราะกิเลสไม่เคยแบ่งชั้นวรรณะ

ต่อมสมอง..ที่คิดลืมนึกถึงสังคม สังคมจึงเสือมตามสมอง..

..

..

..เห็นผลประโยชน์ส่วนตัวมากเกินขอบเขต

..

ชื่นชม บันทึกเสียดสี ของอาจารย์ที่มีเหตุผลนะครับ

ไม่เพ้อเจ้อ..

สมวัยของอาจารย์ ครับ


มันเป็นการสนองตอบ ต่ออารมรืของคน

ในสังคมยุคใหม่นะ

แม้ทุกคนจะรู้ว่า อะไรถูก อะไรผิด

แต่ก็ไม่ปฏิเสธความต้องการนี้ได้


อ่านมาว่า..นโม..ปลิดทุกข์ได้ดีกว่า.มโน...เจ้าค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท