สมรรถนะ : Competency


มารู้จักกับ สมรรถนะ : Competency กันเหอะครับพี่น้อง

 มารู้จักกับ สมรรถนะ : Competency  กันเหอะครับพี่น้อง

ความหมายของสมรรถนะ

  <div align="center"><table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="500" class="MsoNormalTable" style="width: 375pt"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8; padding: 0cm">                คำว่า “Competency” มีคำแปลที่เป็นภาษาไทยค่อนข้างหลากหลายและแตกต่างกันซึ่ง
ขึ้นอยู่กับว่านักวิชาการที่ศึกษาจะแปลหรือให้คำจำกัดความไว้ตามความเข้าใจ และความเชื่อของแต่ละ
บุคคลหรือแต่ละสถาบัน ซึ่งบางท่านอาจแปลว่า ศักยภาพหรือความสามารถหรือ
ขีดความสามารถหรือ ความสามารถเชิงสมรรถนะหรือสมรรถนะโดยกรมการแพทย์ของเราจะใช้คำว่า สมรรถนะ </td></tr></tbody></table></div>  <div align="center"><table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="500" class="MsoNormalTable" style="width: 375pt"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8; padding: 0cm">                สำหรับคำจำกัดความของ สมรรถนะนั้น นักวิชาการที่ศึกษาได้ให้ความหมายไว้แตกต่าง
กันมากมายเช่นเดียวกัน อาทิเช่น </td></tr></tbody></table></div>  <div align="center"><table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="500" class="MsoNormalTable" style="width: 375pt"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8; padding: 0cm">                 David C. McClelland ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า สมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายในตัว บุคคล ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้จะเป็นตัวผลักดันให้บุคคลสามารถสร้างผลการปฏิบัติงาน
ในงานที่ตนรับผิดชอบให้สูงกว่าหรือเหนือกว่าเกณฑ์ / เป้าหมายที่กำหนดไว้ </td></tr></tbody></table></div>  <div align="center"><table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="500" class="MsoNormalTable" style="width: 375pt"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8; padding: 0cm">                 Spencer and Spencer “สมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะพื้นฐานที่มีอยู่ภายในตัวบุคคลได้แก่ แรงจูงใจ (Motive) อุปนิสัย (Trait) อัตมโนทัศน์ (Self-Concept) ความรู้ (Knowledge) และทักษะ (Skill) </td></tr></tbody></table></div>  <div align="center"><table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="500" class="MsoNormalTable" style="width: 375pt"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8; padding: 0cm">                 ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้จะเป็นตัวผลักดันหรือมีความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (Causal Relationship) ให้บุคคลสามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและ/หรือสูงกว่าเกณฑ์อ้างอิง (Criterion - Reference) หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ </td></tr></tbody></table></div>  <div align="center"><table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="500" class="MsoNormalTable" style="width: 375pt"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8; padding: 0cm">                 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) สมรรถนะ คือ คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ/ความสามารถและคุณลักษณะอื่น ๆ ที่ทำให้บุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานอื่น ๆ ในองค์กรกล่าวคือ การที่บุคคลจะแสดงสมรรถนะใดสมรรถนะหนึ่งได้ มักจะต้องมีองค์ประกอบของทั้งความรู้ ทักษะ/ความสามารถและคุณลักษณะอื่น </td></tr></tbody></table></div>  <div align="center"><table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="500" class="MsoNormalTable" style="width: 375pt"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8; padding: 0cm">                 สรุปได้ว่า สมรรถนะ ของกรมการแพทย์ หมายถึง ความรู้ ทักษะ และ คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมของบุคคลซึ่งจำเป็นต้องมีในการปฏิบัติ งานตำแหน่งหนึ่งๆ ให้ประสบความสำเร็จ โดยได้ผลงานสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ หรือ โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานในสถานการณ์ที่หลากหลายกว่า </td></tr></tbody></table></div>  <table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%" class="MsoNormalTable" style="width: 100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8; padding: 0cm">  องค์ประกอบของสมรรถนะ </td></tr></tbody></table>  <table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%" class="MsoNormalTable" style="width: 100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8; padding: 0cm"></td></tr></tbody></table>   <table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%" class="MsoNormalTable" style="width: 100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8; padding: 0cm"> ทักษะ (Skill)
ความสามารถหรือความชำนาญในการปฏิบัติงานทั้งด้านการใช้อวัยวะของร่างกาย และการใช้ทักษะการคิดทางสมองบุคคลต้องสามารถทำอะไรได้. </td></tr></tbody></table>  <table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%" class="MsoNormalTable" style="width: 100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8; padding: 0cm"> ความรู้ (Knowledge)
ข้อมูล หรือเนื้อหาเฉพาะของวิชาชีพ บุคคลต้องมีความรู้อะไรบ้างจึงจะปฏิบัติงานได้ประสบความสำเร็จ </td></tr></tbody></table>  <table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="104%" class="MsoNormalTable" style="width: 104.02%"><tbody>

คุณลักษณะ(Attributes)
บุคคลต้องมีคุณลักษณะอย่างไรซึ่งประกอบด้วย
แรงจูงใจ สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นแรงขับให้บุคคลกระทำ พฤติกรรม.
อุปนิสัย - ลักษณะทางกายภาพที่มีการตอบสนองต่อข้อมูล หรือสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ
อัตมโนทัศน์ หมายถึงทัศนคติ ค่านิยม หรือ จินตภาพ ส่วนบุคคล

คุณลักษณะพื้นฐาน (Underlying Characteristic or Attribute)

เป็นสมรรถนะของบุคคลซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวทางการกระทำพฤติกรรม หรือ การคิด โดยคุณลักษณะ
อย่างสั้น ๆ ก็คือ บุคคลต้องมีคุณลักษณะอย่างไรบ้างคุณลักษณะพื้นฐานประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1.
แรงจูงใจ (Motive) เป็นสิ่งที่บุคคลคิดถึงหรือมีความต้องการ ซึ่งแรงจูงใจจะเป็นตัวผลักดันหรือ แรงขับให้บุคคลกระทำพฤติกรรม หรือตัวกำหนดทิศทางหรือทางเลือกในการกระทำพฤติกรรมเพื่อตอบสนองต่อเป้าหมาย หรือหลีกหนีจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตนไม่พึงปรารถนา เช่น เมื่อบุคคลตั้งเป้าหมายที่ท้าทายจะทำให้เขามีความรับผิดชอบ มีความกระตือรือร้น และมุ่งมั่นที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จ และจะใช้เป็นข้อมูลย้อนกลับ เพื่อทำงานให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป

2.
อุปนิสัย (Trait) เป็นคุณลักษณะทางกายภาพของบุคคล ซึ่งจะแสดงออกมาเพื่อตอบสนองต่อข้อมูล หรือ สถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ อุปนิสัยเป็นสิ่งที่เกิดจากการศึกษา การอบรมเลี้ยงดู ประสบการณ์ และการเรียนรู้ของบุคคล สมรรถนะด้านอุปนิสัย เช่น การควบคุมอารมณ์ภายใต้สภาวะความกดดัน
ความคิดริเริ่ม เป็นต้น

3.
อัตมโนทัศน์ (Self-Concept) หรือความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง อาจรวมถึงทัศนคติ (Attitude)
ค่านิยม (Value) จินตภาพส่วนบุคคล (Self-Image) เป็นต้น

4.
บทบาททางสังคม (Social Role) หมายถึง สิ่งที่บุคคลต้องการสื่อให้ผู้อื่นในสังคมเห็นว่าตัวเขา
มีบทบาทต่อสังคมอย่างไรบ้าง เช่น การเป็นผู้นำทีมงาน ความมีจริยธรรม เป็นต้น

5.
ความรู้ (Knowledge) หมายถึง ข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจในหลักการ แนวคิดต่าง ๆ ที่บุคคล
จำเป็นต้องมี ในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ หรือกล่าวอย่างสั้น ๆ ก็คือบุคคลต้องมีความรู้อะไรบ้างเช่น เจ้าหน้าที่บุคคล ต้องมีความรู้เกี่ยวกับหลักการบริหารทรัพยากรบุคคล ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน เป็นต้น

6.
ทักษะ (Skill) หมายถึง ความสามารถ ความชำนาญหรือความคล่องแคล่วในการปฏิบัติงานทั้งด้าน
ใช้อวัยวะ ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือ การใช้สมองเพื่อคิดสิ่งต่าง ๆ หรือกล่าวอย่างสั้น ๆ ก็คือ บุคคลต้องทำอะไรได้บ้างเช่น อายุรแพทย์ต้องมีสมรรถนะ ความเชี่ยวชาญในการตรวจ วินิจฉัยและรักษาโรค ด้านอายุรศาสตร์ จิตแพทย์ต้องมี สมรรถนะ ความเชี่ยวชาญในการตรวจ วินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยจิตเวชและสารเสพติด เป็นต้น ระดับ หรือประเภทของ สมรรถนะนี้เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนและบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งคุณลักษณะทั้ง 5 ประการ ดังกล่าวสามารถเปรียบเทียบกับทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง (The Iceberg Model)

         เปรียบเทียบสมรรถนะกับภูเขาน้ำแข็ง

</tbody></table>  <table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%" class="MsoNormalTable" style="width: 100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8; padding: 0cm">

 

สมรรถนะที่อยู่ภายในและภายนอกของบุคคล สมรรถนะด้านความรู้ และทักษะ ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ขึ้นมาเหนือน้ำ หรือเปลือกนอกเป็นส่วนที่จะสังเกตเห็นได้ และสามารถที่จะวัดได้   ซึ่งจะง่ายต่อการที่จะพัฒนา  สำหรับสมรรถนะส่วนที่อยู่ใต้น้ำหรืออยู่ในส่วนที่เป็นแก่นของต้นไม้ หรือซ่อนเร้นอยู่ลึก ๆ ภายในตัวบุคคล  ได้แก่ แรงจูงใจ  อุปนิสัย และ อัตมโนทัศน์ สมรรถนะเหล่านี้จะยากต่อการวัดและพัฒนา  บางครั้งสมรรถนะด้านอัตมโนทัศน์สามารถสังเกตเห็นได้ บางครั้งก็ซ่อนเร้นอยู่ภายใน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลง/พัฒนาได้ด้วยการฝึกอบรม การบำบัดทางจิตวิทยา และหรือพัฒนาโดยการให้ประสบการณ์ทางบวกแก่บุคคลแต่ก็เป็นสิ่งที่พัฒนาค่อนข้างยากและต้องใช้เวลานาน 

</td></tr></tbody></table><p align="center">ความสำคัญและประโยชน์ของสมรรถนะ</p><p align="left">สมรรถนะ (Competency) เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่นำมาเป็นพื้นฐานจัดทำระบบหรือ วางแนวทางในการพัฒนา ทรัพยากรบุคคลขององค์กรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายในการดำเนินขององค์กร และนำมาใช้กับการบริหาร ทรัพยากรบุคคลเพื่อให้มีประสิทธภาพ สมรรถนะจึงมีความสำคัญต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์กร กล่าวคือ

เป็นเครื่องมือช่วยในการแปลงวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ วัฒนธรรมองค์กร และยุทธศาสตร์ต่าง ๆ
ขององค์กรมาสู่กระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล

เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความสามารถของบุคลากรในองค์กรอย่างมีระบบ ต่อเนื่อง และสอดคล้องกับ
วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ วัฒนธรรมองค์กร และยุทธศาสตร์ขององค์กร

เป็นมาตรฐานการแสดงพฤติกรรมที่ดีในการทำงานของบุคลากร ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการวัดและประเมิน ผลการปฏิบัติงานของบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เป็นพื้นฐานสำคัญของระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลในด้านต่าง ๆ ขององค์กร เช่น การสรรหาและ
คัดเลือกบุคลากร การพัฒนาบุคลากร การประเมินผลการปฏิบัติงาน การพัฒนาความก้าวหน้าทางอาชีพ
การวางแผนการสืบทอดตำแหน่ง และการจ่ายผลตอบแทน เป็นต้น</p><div align="center"><table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="500" class="MsoNormalTable" style="margin: auto auto auto -29.15pt; width: 375pt"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8; padding: 0cm"><p align="center"> ประเภทของสมรรถนะ </p></td></tr></tbody></table></div>  <div align="center"><table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="576" class="MsoNormalTable" style="width: 432pt"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8; padding: 0cm"> สมรรถนะขององค์กร (Organizational Competency) ซึ่งจะบ่งบอกได้ว่าองค์กรควรมีทิศทางการ
ดำเนินงานหรือยุทธศาสตร์ไปในทิศทางใด สมรรถนะขององค์กรหมายถึง กลยุทธ์ และความได้เปรียบขององค์กรในการแข่งขัน ซึ่งการกำหนดสมรรถนะขององค์กรจะต้องมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรมองค์กร และค่านิยมขององค์กร และสมรรถนะขององค์กรจะต้องมีลักษณะเป็นตัวผลักดัน ให้วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม วัฒนธรรมองค์กร และยุทธศาสตร์ขององค์กรประสบความสำเร็จ สมรรถนะหลัก (Core Competency) บางองค์กรอาจเรียกว่า สมรรถนะทั่วไป (General Competency) หมายถึงคุณลักษณะ (ความรู้ ทักษะ และพฤติกรรม) ที่ทุกคนในองค์กรจำเป็นต้องมีเพื่อที่จะทำให้องค์กรสามาถดำเนินงานได้สำเร็จลุล่วงตามวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) เป้าหมาย แผนงานและโครงการต่างๆขององค์กร

สมรรถนะตามสายวิชาชีพ (Functional Competency) หรือบางองค์กรเรียกว่า “Technical Professional/Position/Job Competency“ หมายถึง คุณลักษณะ(ความรู้ ทักษะ และพฤติกรรม) ที่บุคคลในแต่ละสายวิชาชีพจำเป็นต้องมีเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะมีสมรรถนะที่แตกต่างกันไปตามหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทกล่าวคือ

     
สมรรถนะร่วมของทุกตำแหน่งในกลุ่มงาน/สายวิชาชีพ (Common Functional Competency) หมายถึง คุณลักษณะ (ความรู้ ทักษะ และพฤติกรรม) ที่บุคคลในทุกตำแหน่งงานในสายวิชาชีพเดียวกันหรือกลุ่มงานเดียวกัน (Job Families) จำเป็นต้องมีเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ประสบความสำเร็จ
       สมรรถนะเฉพาะตำแหน่งในกลุ่มงาน/สายวิชาชีพ (Specific Functional Competency) หมายถึง คุณลักษณะเฉพาะ (ความรู้ ทักษะ และพฤติกรรม) ของแต่ละตำแหน่งในกลุ่มงาน/สายวิชาชีพเดียวกันจำเป็นต้องมีเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ประสบความสำเร็จ </td></tr></tbody></table></div><p> </p><p>รวบรวมจาก : กระทรวงสาธารณสุข</p><p>บุญรักษาครับพี่น้อง</p>

คำสำคัญ (Tags): #สมรรถนะ
หมายเลขบันทึก: 59979เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2006 15:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท