วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

เทคนิคการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มทักษะทางปัญญา


เทคนิคการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มทักษะทางปัญญา

โดยรศ.ดร.เทียมจันทร์พานิชย์ผลินไชย คณาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช และวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก

วันที่ 22 ธันวาคม 2558 ห้องประชุมพวงผกา

...........................................

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราชได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มทักษะทางปัญญา คือ รศ.ดร.เทียมจันทร์พานิชย์ผลินไชย รองคณบดีฝ่ายพัฒนาและวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นดังกล่าว ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

ทักษะปัญญา (Cognitive Skills) หมายถึง ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์และใช้ความรู้ ความเข้าใจในแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และกระบวนการต่างๆ ในการวิเคราะห์และการแก้ปัญหา เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน (คณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2552)

ทักษะปัญญาทางการพยาบาล

1) ตระหนักรู้ในศักยภาพและสิ่งที่เป็นจุดอ่อนของตนเพื่อให้พัฒนาตนเองได้

2) สามารถสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย

3) สามารถนำข้อมูลและหลักฐานไปใช้ในการอ้างอิงและแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ

4) สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบโดยใช้องค์ความรู้ทางวิชาชีพและที่เกี่ยวข้องรวมทั้งใช้ประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ปลอดภัยและมีคุณภาพในการให้บริการพยาบาล

5) สามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทางการวิจัยและนวัตกรรมที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา

6) สามารถพัฒนาวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสถานการณ์และบริบททางสุขภาพที่เปลี่ยนไป

กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา การสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะทางปัญญาผู้สอนควรใช้วิธีและเทคนิคการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางปัญญา(Brain-based leaning)

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญา

1) การเรียนรู้จากกรณีปัญหา (Problem-based Learning)

2) การเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Individual Study)

3) การเรียนรู้แบบสรรคนิยม (Constructivism)

4) การเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง (Self-Study)

5) การเรียนรู้จากการทำงาน (Work-based Learning)

6) การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ (Research-based Learning)

7) การเรียนรู้ที่ใช้วิธีสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญา (Crystal-based Approach)

การสะท้อนคิด (Reflective Thinking) การสะท้อนคิด มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดหรือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) การฝึกสะท้อนคิดจึงเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญาที่ส่งผลให้มีการปฏิบัติและการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพการเรียนการสอนที่จะส่งเสริมให้มีการสะท้อนคิดสามารถทำได้หลายวิธี เช่น

1) การเขียนบันทึก (Journal Writing)

2) การสนทนา (Dialogue) เช่น การประชุมปรึกษาก่อนและหลังให้การพยาบาล (pre-post conference

3) การวิเคราะห์อุบัติการณ์ (Incident Analysis)

กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

1) ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมทางปัญญาของผู้เรียนตั้งแต่ ขั้นสังเกต ตั้งคำถาม สืบค้น คิดวิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินค่า ตามลำดับ

2) ประเมินด้วยการสร้างสถานการณ์จำลองแล้วให้ผู้เรียนฝึกตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผลโดยผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลงานนั้น

3) ประเมินจากงานที่มอบหมายและการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน

เครื่องมือในการวัดทักษะทางปัญญา

  • แบบทดสอบ วัดโดยการสอบซึ่งอาจเป็นกรณีศึกษาที่ซับซ้อน และวัดการวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ
  • แบบสังเกต วัดโดยการทำรายงาน
  • แบบสัมภาษณ์ วัดโดยการสัมมนา
  • แบบสอบถาม วัดโดยการอภิปราย
  • แบบประเมินผลงาน วัดโดยการทำงานกลุ่ม

ตัวอย่างแบบบันทึกการเรียน (Learning Log)

กลุ่มวิชา...................สาขาวิชา.................................ชื่อ...............................................

สัปดาห์ที่

หัวข้อที่เรียน

หัวข้อที่เข้าใจดี

ความรู้ใหม่ที่ได้เรียนในวันนี้

สิ่งที่ยังไม่รู้/ไม่เข้าใจ/ปัญหา

การแก้ปัญหา



















ประเด็นอื่นๆที่ควรพิจารณาในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มทักษะทางปัญญา

1) การประเมิน Learning outcome ในแต่ละรายวิชาไม่จำเป็นต้องครบทุก LO แต่เมื่อนักศึกษาจบหลักสูตรแล้วต้องมีสมรรถนะครบทุก LO

2) การสร้างแบบประเมินกระบวนการคิด ต้องเริ่มจากการนิยามการคิดนั้น ๆ ก่อนว่าเป็นการคิดที่ผูกติดกับนิยามหรือไม่ หากผูกติดกับนิยามก็ต้องสร้างตามนิยาม หรือเนื้อหาที่ต้องการให้คิด

3) การให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการประเมินกระบวนการกลุ่ม หรือทักษะความสัมพันธ์ บางครั้งนักศึกษาจะให้คะแนนเท่ากันทุกคน การแก้ไขปัญหา ต้องเริ่มจากการที่อาจารย์ผู้สอนชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประเมินที่ชัดเจน เก็บใบประเมินไว้เป็นความลับ หาเป็นค่าเฉลี่ยแทน และการฝึกให้นักศึกษาประเมินตนเองและเพื่อนบ่อยจะทำให้นักศึกษากล้าที่จะประเมิน

4) การประเมินความรู้ในรายวิชาทฤษฎีที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 ไม่จำเป็นต้องวัดด้วยข้อสอบเท่านั้น อาจเป็นในรูปของรายงาน หรือวิธีการอื่น ๆ ที่สามารถวัดความรู้ได้

5) บางรายวิชาแบ่งเป็นทฤษฎี 1 หน่วยกิต และปฏิบัติ 1 หน่วยกิต เนื่องจากเกณฑ์ในการผ่านไม่เท่ากัน คือ ทฤษฎีเกณฑ์ผ่าน ร้อยละ 50 และปฏิบัติเกณฑ์ผ่าน ร้อยละ 60 ในการตัดเกรดแต่ละหน่วยก่อนแล้วค่อยนำมาตัดเกรดรวมแบบถ่วงน้ำหนักอีกที

หมายเลขบันทึก: 599373เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2016 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มกราคม 2016 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

บรรยากาศการเรียนรู้ดีมากค่ะ พวกเรายังมีประเด็นที่ต้องคิดต่อในเรื่องของการวัดและประเมินผลด้านทักษะทางปัญญา

ชอบใจงานเคยทำงานเรื่อง LLEAN กับอาจารย์เทียมจันทร์ด้วย

แต่นานมากๆแล้ว

จิตติพร ศรีษะเกตุ

เป็นความรู้ที่มีประโยชน์มากค่ะ โดยเฉพาะการเรียนแบบreflective learning จะนำความรู้ไปปรับใช้ในรายวิชาเพื่อให้นักศึกษาพยาบาลได้ฝึกคิดวิเคราะห์เป็นค่

เน้นให้นักศึกษาได้ฝึกคิด วิเคราะห์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ไม่เน้นท่องจำ เป็นความรู้ที่ดีมากเลยค่ะ ขอบคุณมากน่ะค่ะ

เห็นด้วยกับทุกข้อความรู้และความคิดเห็น แต่ก่อนการจัดการเรียนการสอนต้องทำความตกลงกันก่อนว่า รายวิชาใดต้อง/ควรปรเมิน LO ใด เพื่อให้ครอบคลุมเมื่อเสร็จสิ้นการจัดการเรียนการสอน

เป็นความรู้ที่ดีมากคะ

การวัดการประเมินผลทักษะทางปัญญาหรือด้านใดก็ตาม สำคัญกับผู้เรียน เราได้เรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลายเรื่อง ดีมาก สำหรับวิชาชีพครู ควรตกลงทำหลักเกณฑ์การวัดการประเมินผลตามหลักวิชาการ ให้เป็นแนวทางเดียวกันทุกวิชาในหลักสูตรกำหนด นำผู้รู้ด้านวัดประเมินผลมาช่วยชี้แนะ เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน...

เนื้อหาของการจัดการความรู้เป็นประเด็นที่น่าสนใจ และสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาพยาบาล เพราะส่วนใหญ่ใช้กิจกรรมการสอนที่เน้นพัฒนาทักษะทางปัญญาอยู่แล้ว โดยให้นักศึกษาปฏิบัติการจากสถานการณ์จริงในหอผู้ป่วย หรือ ชุมชน มีการมอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์ โดยการเขียนแผนการพยาบาล วิเคราะห์กรณีศึกษา และอภิปรายร่วมกัน และการประเมินผลต้องใช้หลายรูปแบบ จากชิ้นงาน การแสดงออกของพฤติกรรม การเสนอความคิดเห็น และการสอบทักษะการปฏิบัติ

ได้รับประโยชน์มาก โดยเฉพาะการประเมินแบบสะท้อนคิดควรได้นำไปใช้

ศุภาณ์นาฏ สุวรรณกิจ

เป้นการจัดการความรู้ที่ดีมาก ประเด็นที่นำมาจัดการความรู้เป็นประเด็นที่สำคัญ

มีประโยชน์กับองค์กรมากค่ะ

นิรัชรา แก้วเผือก

สามารถใช้เป็นแนวทางที่ดีเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกคิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดทักษะทางปัญาค่ะ

เป็นประโยชน์มากครับทำให้เห็นแนวทางที่จะนำไปปรับใช้กับการเรียนการสอนต่อไปรับ

เป็นแนวทางในการวางแผนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญาได้ดีมากคะ

การจัดการเรียนการสอนในคลินิกสำหรับนักศึกษาพยาบาล ครูนิเทศได้มีการมอบหมายงานให้นักศึกษาดูแลผู้ป่วยเป็นรายกรณีไป ซึ่งถ้าครูกับศิษย์ได้มีโอกาสแลกเแลี่ยนเรียนรู้และใช้ทักษะการสะท้อนคิดที่ท่านวิทยากรมาแลกเปลี่ยนวันนี้น่าจะช่วยเพิ่มกระบวนการคิดที่เป็นระบบให้นักศึกษา ส่งผลให้เกิดการเพิ่มพูนทักษะทางปัญญาที่ดีให้กับนักศึกษาและรวมทั้งตัวครูเองที่ได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกัน

สามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญาได้ ทำให้เข้าใจมากขึ้น

ได้รับความรู้และประสบการณ์การสอนเพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญาจากวิทยากร เป็นอย่างดีทำให้มั่นใจในการนำไปใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น

จันทร์จิรา อินจีน

ดีคะ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ดีคะ

การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะทางปัญญาฝึกให้นักศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษาก็เป็นสิ่งที่ดรมากค่ะ

ชอบตอนที่ รศ.ดร.เทียมจันทร์ คะ เข้าใจง่าย นำไปใช้ได้จริงและสนุก อาจารย์ได้บรรยายเกี่ยวกับการสะท้อนคิด (Reflective Thinking) ซึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญาที่ส่งผลให้มีการปฏิบัติและการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการฝึกทางคลีนิคได้ให้นักศึกษาทำการเขียนบันทึก (Journal Writing) มีการสนทนา (Dialogue) เช่น การประชุมปรึกษาก่อนและหลังให้การพยาบาล (pre-post conference) รวมถึงการวิเคราะห์อุบัติการณ์ (Incident Analysis) ในโรคนั้นๆ หรือ Cases นั้นๆ ซึ่งได้นิเทศวิชา BCPN ได้ทำ Reflective thinking ทุกสัปดาห์ทุกขั้นตอนทุกวัน

ในการฝึกวิชาปฎิบัติปัญหาทางสุขภาพ 1, 2, และ 3 ได้ให้นักศึกษาทำทุกวันทุกขั้นตอนและมีการนำเสนอกรณีศึกษาเป็นรายกลุ่มในวันสิ้นสุดสัปดาห์ของการฝึก จะเห็นได้ัว่านักศึกษาเกิดทักษะทางปัญญาตามระดับการเรียนรู้จากทฤษฎี หรือจากประสบการณ์ในการฝึกงานที่ต่างกัน ซึ่งดีมากคะ

ได้ลองเอา Learning Log ไปใช้ในวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 ของกลุ่มสุดท้าย เดือนกุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา แต่ยังขาดการวางแผนที่ดีก็เลยยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไร คิดว่าปีการศึกษา 2559 นี้จะลองเอากลับไมใช้ใหม่และวางแผนให้ดีขึ้นกว่านี้

ไม่ได้มีโอกาสเข้าฟังอาจารย์บรรยาย มาอ่านตามภายหลัง มีประโยชน์มากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท