การพัฒนาการประเมินการสอนของอาจารย์โดยนักศึกษา


แนวทางการพัฒนาการประเมินการสอนของอาจารย์โดยนักศึกษา

ได้อ่านรายงานการวิจัยของ สุดเขต แจ้งกระจ่าง และผศ.ดร.ภาณุวัฒน์ สุริยฉัตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เรื่อง "แนวทางการพัฒนาการประเมินการสอนของอาจารย์โดยนักศึกษา" ซึ่งผมคิดว่ามีประโยชน์ต่อการนำมาใช้พัฒนาในสถาบันอุดมศึกษาได้จริง พอจะสรุปคราวๆและมาเล่าให้ฟัง นะครับ

1. สถานการณ์ประเมินการสอนในปัจจุบัน

  • นิสิตนักศึกษาไม่ให้ความสนใจและตั้งใจในการทำแบบประเมินการสอน ซึ่งจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูล
  • นิสิตนักศึกษาไม่มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการประเมินการสอนว่ามีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดตรงไหนและมีผลย้อนกลับไปสู่อาจารย์อย่างไร
  • ผลที่จะเกิดขึ้นต่อไปกับอาจารย์ที่มีผลไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่สถานศึกษากำหนด ไม่มีความชัดเจน ซึ่งส่งผลกับความตั้งใจของนิสิตนักศึกษาที่ทำแบบประเมิน
  • แบบสอบถามจากส่วนกลางไม่สามารถจะออกแบบได้ครอบคลุมกับการจัดการเรียนกานสอนในแต่ละคณะแต่ะละภาควิชา ซึ่งมีลักษณะการสอนและธรรมชาติของวิชาแตกต่างกันได้

2. แนวทางการพัฒนาการประเมินการสอนของอาจารย์โดยนักศึกษา มองเป็น 3 ด้าน ดังนี้

  • ระบบประเมินกานสอน
    1. จัดตั้งหน่วยงานหนึ่งขึ้นภายในสถาบันที่ทำหน้าที่ในการประเมินทางการศึกษาขึ้นมาโดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยวอชิงตัน มีหน่วยงาน OEA (Office of Education Assessment) ซึ่งทำหน้าที่ประเมินการสอนอาจารย์ และรับงานประเมินอื่นทางการศึกษา มีทีมงานประมาณ 20 คน
    2. การส่งผลการประเมินควรให้ครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้องคือ ตัวอาจารย์ผู้, คณะ/ภาควิชา, ผู้บริหาร และนิสิตนักศึกษา
  • รูปแบบคำถามของแบบประเมิน
    1. แยกแบบสอบถามออกเป็น วิชาทฤษฎี (ห้องเรียนเล็ก/ห้องเรียนใหญ่) และ วิชาปฏิบัติ
    2. ใช้หลักการในการให้ค่าน้ำหนักคะแนนของข้อคำถาม ตามความสำคัญ
  • การใช้เครือข่าย Internet ในการประเมินการสอน

สำหรับในส่วนนี้ทาง มมส. ก็ได้ทดลองนำระบบนี้มาใช้แล้วแต่ก็ยังติดปัญหาเนื่องจากยังไม่ได้ให้ความสำคัญในส่วนแรกที่กล่าวมาคือระบบฯ จากการสรุปมีนิสิตเข้ามาใช้ไม่ถึงร้อยละ 20 (กลุ่มงานฯของผมเป็นผู้สรุปในแต่ละภาคการเรียน) ปัจจุบันยังหาแนวทางแก้ไขไม่ได้ เคยแม้กระทั่งส่งอีเมลไปชักชวนนิสิตเป็นรายบุคคล แจกแผ่นประชาสัมพันธ์

สรุปจากรายงานการวิจัยอ้างอิงเว็บไซต์http://www.kmutt.ac.th/sd/html/pdf/teacher.pdf

KPN

หมายเลขบันทึก: 59919เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2006 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 14:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีเรื่องการประเมินการเรียนการสอนที่ให้ผลนำไปสู่การประเมินประสิทธิภาพที่ชัดเจนเลยค่ะ โดยการใช้ Intranet มีระบบประเมิน โดยมีฐานข้อมูลนักศึกษาเชื่อมโยงกับระบบการประกาศผลเกรด นักศึกษา เมื่อใดที่นักศึกษาไม่ประเมินอาจารย์ ระบบจะไม่แสดงผลเกรดให้

 และช่วงที่มีการเรียนการสอน นักศึกษาสามารถประเมินอาจารย์ได้ในระหว่างการเรียนการสอนด้วย

ทำให้อาจารย์สามารถเข้าไปดูผลการประเมินและปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนได้

บางทีก็ต้องใช้วิธีแบบนี้ค่ะ แต่การประเมินที่นักศึกษาประเมิน ก็ต้องทำให้นักศึกษาเห็นว่า การประเมินของเค้าไม่สูญเปล่า ถ้าอาจารย์ ฟังคำแนะนำ มาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนค่ะ

เป็นงานวิจัยที่ดีค่ะ ...และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าระบบนี้(ใน มมส.เรา) จะได้รับการพัฒนาโดยเร็ว เนื่องจากเป็นระบบที่ดี นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนสามารถประเมินการสอนของอาจารย์ได้อย่างทั่วถึง สะดวกและรวดเร็ว เพราะนิสิตทุกคนก็มีระบบเป็นของตัวเองอยู่แล้ว....เพียงแต่ว่า เราต้องทำให้นิสิตเข้าใจและมองเห็นความสำคัญได้อย่างชัดเจน...ต้องประชาสัมพันธ์มากๆและหาแนวทางแก้ไขค่ะ

เรียน คุณอรจิตร

  • ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ
  • เงื่อนไขที่ว่า เมื่อใดที่นักศึกษาไม่ประเมินอาจารย์ ระบบจะไม่แสดงผลเกรดให้ เคยคิดว่าจะนำมาใช้เช่นกัน แต่กรรมการบริหารมหาวิทยาลัยคิดว่าเป็นมาตรฐานที่อาจจะส่งผลกระทบมากต่อมหาวิทยาลัย เนื่องจากนิสิต มมส. มีจำนวนมาก
  • ในฐานะที่ มวล. เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐมีแนวทางการบริหารที่เอื้อต่อการประเมินประสิทธิภาพ

ค่ะ  ความจริงเพิ่งเข้ามาสร้างบล็อคใน gotoknow เป็นครั้งแรกเลยนะคะ สาเหตุเพราะ เรียนวิชาการจัดการความรู้ (ป.โท ที่สงขลานครินทร์) เลยต้องมาสร้างบล็อคที่นี่ ปกติจะเขียนบล็อคใน MSN

พอเข้ามา อยู่นานเลยค่ะ จะ 3 ชม. แล้ว เพราะรู้สึกว่า ชุมชนนี้มีอะไรดีๆ เยอะแยะเลย (ทำ MinorThesis KM ด้วยซิ น่าจะเข้ามาตั้งนานแล้ว ^-^ )

คงมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไปค่ะ

  • การบังคับให้ประเมินก็จะดีในแง่จำนวนครับ แต่คุณภาพนั้นต้องพิจารณาให้ดี
  • ระบบประเมิน online ต้องมีระบบที่รองรับจำนวนิสิตได้ดี  ขณะนี้เท่าที่ผมสังเกตุ แม้แต่การลงทะเบียนเรียนวิชา ก็รู้สึกยังมีปัญหาอยู่พอสมควร

 

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ข้อเสนอแนะและความคิดเห็น อาจจะนำเข้าทบทวนในระดับบริหารก็ได้ครับ เพื่อหามาตรการและแนวทางที่ดีกว่าเดิมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท