ความเป็นมาของมงคลสมรส


ความเป็นมาของมงคลสมรส

ถวิล อรัญเวศ

รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 4

ความเป็นมา

มงคลสมรส หรือ การแต่งงาน หมายถึง การที่ชาย-หญิง ที่มีความรักต่อกัน ทำความรู้จักกันโดยศึกษานิสัยใจคอกันจนเข้าอกเข้าใจกันดีและไว้เนื้อเชื่อใจกัน มีความรักจนความรักสุกงอม และพร้อมที่จะดำเนินใช้ชีวิตร่วมกัน เป็นครอบครัวหรือเป็น “สามีภรรยา" กันนั้นเอง

สามี คืออะไร สามี แปลตามศัพท์ คือ “เจ้าของ” ส่วนภรรยา คือผู้ที่สามีพึงเลี้ยงดู ฉะนั้น ชายใดที่ได้ภรรยาเป็นตัวเป็นตนแล้ว จะต้องรับผิดชอบเลี้ยงดูภรรยา เป็นอย่างดี เพราะภรรยา คือผู้ที่สามีพึงเลี้ยงดูนั้นเอง

มงคลสมรส คืองานที่เป็นสิริมงคลได้แก่การแต่งงาน สมรส คือผู้มีรสเสมอกัน เพราะคนที่จะร่วมชีวิตกัน แสดงว่า มีลักษณะนิสัย จริต และรสนิยม เหมือนกัน หรือคล้ายกันเพื่อที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

เคยมีคำว่า “เจ้าบ่าว” เจ้าสาว” เจ้าบ่าว คือคนรับใช้ ประดุจสามีจะต้องคอยดูแลรับใช้ภรรยาซึ่งเป็นเจ้าสาวนั้นเอง

บ่อเกิดความรัก ตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา กล่าวไว้ 2 นัยยะ คือ ด้วยการอยู่ร่วมสุข

ร่วมทุกข์ในปางก่อน (อาจจะชาติก่อน หรือเคยตกทุกข์ได้ยากด้วยกัน ช่วยเหลือกันทำให้เกิดความ

เห็นอกเห็นใจกัน) และด้วยการเกื้อกูล อุดหนุนกันในปัจจุบัน

ตามจารีตประเพณีไทย การแต่งงานจะมีผลถูกต้องสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อชาย หญิงคู่นั้น ได้จดทะเบียนสมรสกันแล้ว การจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการอำเภอใด ๆ ก็ได้ทั่วประเทศ และจดทะเบียนสมรสกันได้เพียงครั้งเดียว ถ้าจดอีกในขณะที่ยังเป็นสามีภรรยากันอยู่ จะทำไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นการแจ้งความเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งบางประเทศ ให้สิทธิสามีที่จะจดทะเบียนสมรสหรือแต่งงานกับหญิงอื่น ๆ ได้ 4 คนก็มีอย่างเช่นมุสลิม แต่สำหรับประเทศไทย สโลแกนการแต่งงาน คือ “ผัวเดียว เมียเดียว” เท่านั้น

ก่อนพิธีแต่งงาน อาจจะมีการหมั้นกันไว้ก็ได้ ถ้ายังไม่พร้อมแต่งงานทันที สินสอดทองหมั้นแล้วแต่จะตกลงกันได้ระหว่างฝ่ายบิดามารดาของเจ้าสาว แต่ถ้าคู่บ่าวสาว พร้อมที่จะแต่งงานกันทันที การหมั่น อาจจะไม่มีก็ได้ เพราะการหมั้น เสมือนเป็นการให้สัญญากันว่า จะมาแต่งงานกันเมื่อพร้อม

การจดทะเบียนสมรส เสมือนกับการจดทะเบียนที่จะเป็นหุ้นส่วนชีวิตกันและกัน จะต้องรับผิดชอบกันและกันและ และสามีภรรยา ท่านกล่าวว่า ประดุจเป็นคนเดียวกัน หรือเป็นคนเดียวกันก็เรียกในภาษากฎหมาย

พิธีแต่งงาน คือพิธีที่จัดทำขึ้น เพื่อให้ชายหญิงได้อยู่กินกันเป็นสามีภรรยากันถูกต้องตามกฎหมาย และประเพณีไทย โดยเชิญญาติสนิทมิตรสหายมาร่วมพิธีและเป็นสักขีพยาน การเรียกพิธีแต่งงานในปัจจุบันว่า พิธีมงคลสมรส นั้น เป็นการนำคำว่า เสกสมรส ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบัญญัติขึ้น เพื่อใช้เรียกพิธีแต่งงานของเจ้านายมาใช้ แต่ได้มีการตัดคำว่า เสกออกไป จึงเรียกเพียงว่า พิธีมงคลสมรส งานมงคลสมรส ถือว่าเป็นงานดี เป็นมงคลสำหรับชีวิต

พิธีแต่งงานในปัจจุบันแตกต่างจากสมัยก่อน ที่เห็นเด่นชัดคือ พิธีแต่งงานหมู่ หรือที่เรียกว่า

พิธีสมรสหมู่ คือการจัดพิธีแต่งงานของเจ้าบ่าวและเจ้าสาว จำนวนหลายๆคู่พร้อมกัน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดงานและเป็นการนำประเพณีธรรมปรับให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจ และวัฒนมาและสังคมในปัจจุบัน

พระยาอนุมานราชธน เสถียรโกเศศ เล่าถึงพิธีแต่งงานในสมัยก่อนอย่างละเอียด ในหนังสือ ประเพณีเรื่องแต่งงาน บ่าวสาวไทย ว่า พิธีแต่งงานจะเริ่มมีขึ้นได้ ต่อเมื่อฝ่ายชายได้จัดผู้ใหญ่เป็นตัวแทนไปเจรจาสู่ขอหญิง เมื่อทางผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงตกลงปลงใจด้วยแล้ว ฝ่ายชายจึงวานผู้มีหน้ามีตา (เถ้าแก่) หรือผู้สูงอายุไปเจรจาสู่ขอ และทำความตกลงเรื่องขันหมากหมั้น เมื่อเจรจากันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงนัดหมายวันที่จะส่งขันหมากหมั้นไปสู่ขอตามธรรมเนียม

จากประเพณีการแต่งงานที่จัดทำเป็นพิธีการขั้นตอนต่าง ๆ นั้น จึงนับว่ามีความสำคัญมากและเป็นประเพณีที่งดงามเหมาะสม แสดงถึงความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมด้านจิตใจและวัฒนธรรมทางด้านวัตถุของบรรพบุรุษของไทยเราที่มองการณ์ไกล และมีความละเอียดอ่อนโดยธรรมชาติของสิ่งที่มีชีวิตแล้วย่อมมีความต้องการทางเพศสัมพันธ์ และต้องการสืบสกุลต่อไปด้วย จึงทำให้เกิดความแตกต่างกันระหว่างคนกับสัตว์ และขณะเดียวกันกฎหมายและประเพณีไทยเราจึงต้องกำหนดกฎเกณฑ์ของบุคคลที่จะทำการแต่งงานได้จะต้องมีเงื่อนไขอีกหลายอย่าง

ภาพงานมงคลสมรสจากอินเทอร์เน็ต

หลักธรรมสำหรับสามีภรรยาตามหลักพุทธธรรม

การแต่งงาน จะทำให้คู่สมรส อยู่กันไปตลอดจนกัลปาวสาน สามารถถือไม้เท้ายอดทอง

ไม้กระบองยอดเพชรได้ นั้น ท่านกล่าวว่า จะต้องยึดหลักธรรมประจำใจ ทางพุทธศาสนา เรียกว่า

“ฆราวาสธรรม 4” หมายถึง หลักธรรมสำหรับปฏิบัติของผู้ครองเรือน (ผู้ไม่ใช่นักบวช) ได้แก่

สัจจะ ซื่อสัตย์ต่อกัน ไม่คิดนอกใจกัน ทมะ รู้จักข่มเจาเอาไว้ ทางพระกล่าว่า “เย็นไว้โยม”เพราะ

คู่สมรส เสมือนลิ้นกับฟัน คืออาจจะมีการกระทบกระทั่งกัน หรือทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นธรรมดา แต่

ก็ไม่ถือเป็นสรณะ ขันติ จะต้องมีความอดทนอดกลั้น และ จาคะ เสียสละให้กันได้ ท่านกล่าวว่า

การเสียสละนี้แหละ จะทำให้ชีวิตสมรสยืดยาว มีอะไรพอเสียสละให้กันได้ก็หยวนกันไป จะทำให้ชีวิตสมรสยืดยาว แต่ถ้าขาดการเสียสละ ชีวิตสมรส อาจจะได้รับผลกระทบได้

บทสรุป

การแต่งงาน หรือมงคลสมรส คือการที่ชาย-หญิง ที่มีความรักต่อกัน ทำความรู้จักกันโดยศึกษานิสัยใจคอกันจนเข้าอกเข้าใจกันดีและไว้เนื้อเชื่อใจกัน พอจะฝากชีวิตไว้ซึ่งกันและกัน มีความรักจนความรักสุกงอม และพร้อมที่จะดำเนินใช้ชีวิตร่วมกัน เป็นครอบครัวหรือเป็น “สามีภรรยา" กันและได้ทำพิธีแต่งงานกันโดยเชิญแขกมาเป็นสักขีพยานรับรู้กันว่า ชายหญิงคู่กันได้เป็นผัวเมียหรือสามีภรรยากันแล้ว การแต่งงานจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อชายหญิงคู่นั้นได้จดทะเบียนสมรสกันต่อเจ้าหน้าที่ทางอำเภอและจะได้รับใบสมรส 2 ใบ ชีวิตสมรส ถือว่าเป็นชีวิตเดียวกัน สามีภรรยาเสมือนเป็นบุคคลคนเดียวกัน ชีวิตสมรส ประดุจลิ้นกับฟัน คืออาจจะมีการกระทบกระทั่งกันเป็นธรรมดา หลักธรรมะสำหรับยึดเป็นข้อยึดเหนี่ยวสำหรับชีวิตสมรส คือ หลักฆราวาสธรรม คือ ซื่อสัตย์ต่อกัน รู้จักข่มใจไว้เอาใจเขามาใส่ใจเรา มีความอดทนอดกลั้น และประการสำคัญคือมีการเสียสละและให้อภัยกันได้

---------------------

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

http://student.nu.ac.th/thaiwed/detail.html

หมายเลขบันทึก: 599103เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2016 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 เมษายน 2017 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยครับ ขอบคุณมากครับhttps://weddingmc.in.th/thai

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท