Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ ... ข้อเท็จจริงที่ควรทราบ


อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (International Convention on the Rights of Persons with Disabilities or ICRPD) : ข้อเท็จจริงที่ควรทราบ

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๕

https://www.gotoknow.org/posts/598939

----------------------------------------------

๑. เป็นอนุสัญญาเกี่ยวกับอะไร ?

----------------------------------------------

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities) เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ค.ศ.๒๐๐๖/พ.ศ.๒๕๔๙ เป็นส่วนหนึ่งของ “เอกสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของสหประชาชาติ (international human rights instruments of the United Nations) ซึ่งมุ่งที่จะคุ้มครองสิทธิและศักดิ์ศรีของคนพิการ (protect the rights and dignity of persons with disabilities) ดังนั้น รัฐภาคีของอนุสัญญานี้จึงถูกเรียกร้องให้ส่งเสริม (promote) คุ้มครอง (protect) ตลอดจนผลักดันการใช้สิทธิมนุษยชนที่เต็มส่วนให้แก่คนพิการ (ensure the full enjoyment of human rights by persons with disabilities) และผลักดันการเข้าถึงสิทธิในความเท่าเทียมกันทางกฎหมายแก่คนพิการ

----------------------------------------------

๒. สถานะทางกฎหมายระหว่างประเทศของอนุสัญญา

----------------------------------------------

ตัวบทของอนุสัญญานี้ได้รับการยอมรับโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ค.ศ.๒๐๐๖/พ.ศ.๒๕๔๙ และเปิดให้ลงนามเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ค.ศ.๒๐๐๗/พ.ศ.๒๕๕๐ อนุสัญญานี้มีผลตั้งแต่วันที่ ๓ พฤษภาคม ค.ศ.๒๐๐๘/พ.ศ.๒๕๕๑ เมื่อได้รับสัตยาบันสารครบ ๒๐ ฉบับจากรัฐผู้ลงนาม

ณ เดือนตุลาคม ค.ศ.๒๐๑๒/พ.ศ.๒๕๕๕ มีรัฐผู้ลงนาม ๑๕๔ รัฐ และมีรัฐภาคี ๑๒๔ รัฐ รวมถึงประชาคมยุโรป (European Union or EU) ซึ่งรัฐภาคีให้สัตยาบันอนุสัญญานี้โดยกำหนดให้ความรับผิดชอบของรัฐภาคีทั้งหมดเป็นของประชาคม (ratified it to the extent responsibilities of the member states were transferred to the European Union) เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ค.ศ.๒๐๑๐/พ.ศ.๒๕๕๓

----------------------------------------------

๓. ผู้รักษาการตามอนุสัญญา

----------------------------------------------

ผู้รักษาการตามอนุสัญญานี้ ก็คือ คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (The Convention is monitored by the Committee on the Rights of Persons with Disabilities)

----------------------------------------------

๔. สัมพันธภาพระหว่างอนุสัญญาและประเทศไทย

----------------------------------------------

เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๑ นายดอน ปรมัตถ์วินัย เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ได้ยื่นสัตยาบันสารของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities- CRPD) ต่อสำนักงานเลขาธิการสหประชาชาติในฐานะผู้เก็บรักษา โดยอนุสัญญาฉบับนี้ถือเป็นอนุสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนฉบับที่ ๗ ที่ไทยได้เข้าเป็นภาคีและจะมีผลบังคับใช้กับไทยตั้งแต่วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นต้นไป

----------------------------------------------

๕. สัมพันธภาพระหว่างอนุสัญญานี้และ ASEAN

----------------------------------------------

STATUS AS AT : 06-10-2012 05:05:27 EDT

http://treaties.un.org/Pages/ViewDetails.aspx?src=...

----------------------------------------------

๖. เอกสารอ้างอิงเพื่อศึกษาต่อยอดเกี่ยวกับอนุสัญญา

----------------------------------------------

  • Convention on the Rights of Persons with Disabilities
  • http://www.un.org/disabilities/convention/conventi...

    http://en.wikipedia.org/wiki/Convention_on_the_Rig...

  • Final report of the Ad Hoc Committee on a Comprehensive and Integral International Convention on the Protection and Promotion of the Rights and Dignity of Persons with Disabilities, Note by the Secretary-General, Distr.: General, 6 December 2006, Original: English, A/61/611
  • http://daccess-dds-ny.un.org/doc/UNDOC/LTD/N06/645...

    ----------------------------------------------

    หมายเลขบันทึก: 598939เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2015 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ธันวาคม 2015 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท