ความไม่เป็นธรรมทางการศึกษา


....................................................................ผมมีความเชื่อว่า มีปัจจัยความไม่เป็นธรรมด้านผลการศึกษาอยู่ใน ห้องเรียน โดยที่เด็กที่เรียนไม่เก่ง ไม่ได้รับความเป็นธรรม คือไม่ได้รับความเอาใจใส่จากครูเท่ากับเด็กเรียนเก่ง ผมอยากให้มีการวิจัยประเด็นนี้ เพราะผมเชื่อว่า หากเราประจักษ์ความจริงข้อนี้ และยอมรับ ทางแก้ทำได้ไม่ยาก


บทความเรื่อง Education gap widens in U.S. นสพ. International New York Times ฉบับวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๘ บอกเราว่า ๔๐ ปีก่อน ช่องว่างทางการศึกษาระหว่างเด็กผิวขาวกับเด็กผิวดำในสหรัฐ อเมริกาสูงอย่างน่าตกใจ ต่อมาเกิดขบวนการสิทธิมนุษยชน เรียกร้องความเท่าเทียม มีผลทำให้เวลานี้ช่องว่างแคบลงมาก อย่างน่าพอใจ

แต่เกิดช่องว่างใหม่ เป็นช่องว่างทางการศึกษาระหว่างลูกคนจนกับลูกคนรวย โอกาสได้เรียน ในโรงเรียนดี และได้เข้ามหาวิทยาลัย ของลูกคนรวยต่างจากลูกคนจนมากขึ้นๆ และรายได้ของคนที่จบเพียง ม. ๖ ในขณะนี้ลดลงจากเมื่อ ๓๕ ปีที่แล้ว ร้อยละ ๒๕

ลูกของคนที่เรียนจบมหาวิทยาลัย มีโอกาสเข้าเรียนมหาวิทยาลัยสูงเป็นสองเท่าของลูกคนจบ ม. ๖ และสูงเป็น ๗ เท่า ของลูกคนไม่จบ ม. ๖

มีการศึกษาคนอายุ ๒๕ - ๓๔ ในประเทศ OECD ว่าคนที่พ่อแม่เรียนแค่ ม. ๖ ได้จบมหาวิทยาลัยร้อยละเท่าไร ตัวเลขของสหรัฐอเมริกาคือ ๕ ในขณะที่ตัวเลขเฉลี่ยของประเทศ OECD คือ ๒๐ ข้อมูลยืนยันความไม่เป็นธรรมทางโอกาสทางการศึกษาในสหรัฐอเมริกา รุนแรงกว่าประเทศอื่นๆ ในกลุ่ม OECD มาก

หนังสือใหม่ชื่อ Too many children left behind บอกว่า ความไม่เท่าเทียมทางการศึกษา เริ่มตั้งแต่ เด็กเข้าโรงเรียน และถ่างกว้างขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเด็กเรียนชั้นสูงขึ้น โดยมีปัจจัยเกี่ยวข้องมากมาย รวมทั้งปัจจัย ทางเศรษฐกิจและสังคมรอบตัวเด็ก

ที่จริงความไม่เท่าเทียมเป็นของธรรมดา แต่ไม่ธรรมดาตรงที่มันเลวลง และในประเทศอื่นที่ระดับ เศรษฐกิจใกล้เคียงกันเขาดีกว่ามาก

กลับมาที่ระบบการศึกษาไทย ผมมีความเชื่อว่า มีปัจจัยความไม่เป็นธรรมด้านผลการศึกษาอยู่ใน ห้องเรียน โดยที่เด็กที่เรียนไม่เก่ง ไม่ได้รับความเป็นธรรม คือไม่ได้รับความเอาใจใส่จากครูเท่ากับเด็กเรียนเก่ง ผมอยากให้มีการวิจัยประเด็นนี้ เพราะผมเชื่อว่า หากเราประจักษ์ความจริงข้อนี้ และยอมรับ ทางแก้ทำได้ไม่ยาก



วิจารณ์ พานิช

๒๔ ก.ย. ๕๘


หมายเลขบันทึก: 596992เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015 11:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท