ความท้าทายต่ออุดมศึกษาในปัจจุบัน


เคล็ดลับคือ การทำงานวิชาการ ทั้งเรื่องการผลิตบัณฑิต การวิจัย และการบริการ ในสภาพของการเป็นภาคีกับภาคชีวิตจริง ภาคทำงานจริง วิชาการแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเป็นวิชาการแห่งการทำงานจริง ไม่ใช่วิชาการที่ลอย หรือแยกตัวออกจากชีวิตจริง


หากเรามองสรรพสิ่งด้วยแว่นแห่งความเคลื่อนไหว หรือแว่นแห่งพลวัต เราจะเห็นความท้าทาย ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในภาพใหญ่ และจากสภาพที่ทุกอย่างเปลี่ยนเร็ว แต่อุดมศึกษาในภาพรวม เอาใจใส่สนองสภาพนี้น้อยมาก ยิ่งระบบกำกับดูแลอุดมศึกษา ยิ่งล้าหลังอย่างยิ่ง

ทุกสิ่งในจักรวาล อยู่ภายใต้กฎ entropy คือยิ่งเพิ่มความซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ และคืนกลับสภาพเดิม ไม่ได้ แต่ดูเสมือนอุดมศึกษาไทยจะไม่เข้าใจธรรมชาตินี้ เรายังทำงานอยู่ในภพภูมิแห่ง reductionism และ linear approach ไม่มียุทธศาสตร์การทำงานแบบ Complex-Adaptive เพราะไม่เข้าใจธรรมชาติของ ความซับซ้อน

อุดมศึกษาไทย ยังอยู่ใน “ภพภูมิปลอดภัย” (safety zone) โดยไม่รู้ว่านั่นคือแดนอันตราย ผมขอ ทำนายว่า สถาบันอุดมศึกษาใด ออกจากแดนอันตรายแห่ง “กระบวนทัศน์หยุดนิ่ง” (fixed mindset) ได้ก่อน ไปสู่ภพภูมิแห่งการเปลี่ยนแปลง ใช้ “กระบวนทัศน์งอกงาม” (growth mindset) ในการจัดการองค์กร องค์กรนั้นจะค่อยๆ บรรลุสถานภาพความเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ

ความท้าทายต่ออุดมศึกษาคือ จะจัดการการเปลี่ยนแปลงของสถาบัน เพื่อรองรับ ตอบสนอง และช่วงชิงการนำสังคม ให้เกิดผลแท้จริง ได้อย่างไร

เคล็ดลับคือ การทำงานวิชาการ ทั้งเรื่องการผลิตบัณฑิต การวิจัย และการบริการ ในสภาพของการเป็นภาคีกับภาคชีวิตจริง ภาคทำงานจริง วิชาการแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเป็นวิชาการแห่งการทำงานจริง ไม่ใช่วิชาการที่ลอย หรือแยกตัวออกจากชีวิตจริง



วิจารณ์ พานิช

๑๘ ก.ย. ๕๘


หมายเลขบันทึก: 596619เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2015 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2015 08:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

My experience: I learned a lot of 'classical' thinking at university but not enough about 'errors' in the real world. I am now learning about riding on the back of a tiger -- one wrong move the rider can become the meal.

Perhaps, more learning or training in the field should come before sit-down study.

โครงสร้างมหาวิทยาลัยทุกวันนี้ไม่ได้แตกต่างจากวิทยาลัย โรงเรียน คือเน้นงานธุรการ เจ้าหน้าที่

ธุรการมีมากจนทำให้งานล่าช้า นอกจากนี้เรายังไม่มีระบบ mentor ที่ดี อาจารย์ทุกคนยังเป็น

กัปตันไม่ได้ ต้องเป็นผู้ช่วยกับตันไปก่อน จนกว่าจะเป็นกัปตัน ซึ่งอาจารย์หมอณัฐ อดีตอธิการบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล เคยบรรยายที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่นานมาแล้ว ซึ่งผมเห็นด้วย ยิ่งตอนหลัง

ได้ฟัง Professor Lee แห่งใต้หวัน ที่เคยได้รับรางวัลโนเบิลทางเคมี ก็ชัดเจน ผมเองยอมรับว่าไม่ใช่

นักวิจัย เป็นอาจารย์กลุ่มร้อยละ ๙๐ ที่วิจัยไม่เป็น ที่อาจารย์หมอประเวศ เคยเขียนและพูด ยิ่งทุกวันนี้

เรากำลังโดนหลอกเกี่ยวกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ยิ่งน่าเป็นห่วง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท