KM ทันตแพทย์ เขตบริการสุขภาพที่ ๘ @ หนองคาย (๒)


ต่อจาก บันทึกที่ ๑ นะคะ

กระบวนการกลุ่ม (๓) การจัดการภายใน CUP ดี ๆ ที่น่าค้นหา

เข้ากลุ่มตามประเด็นที่ทำได้ดี/สนใจ และเสนอเพิ่มประเด็นที่สนใจอยากค้นหา

  • เล่าทีละคน บอกรายละเอียด ขั้นตอนสิ่งที่ทำได้ดีของเรา
  • เวลารวม ๒๐ นาที
  • เขียนบันทึกลงในกระดาษพรูฟ


กลุ่ม ๑. การบริหารงบ PP (Promotion & prevention)

  • ปัญหา ไม่มีการจัดสรรที่ชัดเจน ต้องดีเฟนด์เอง ค่าใช้จ่ายที่เบิกไม่ได้ ขาดความเข้าใจในการใช้งบ (ทำให้)เยอะเกินไปใช้ไม่หมด ไม่รองรับค่าตอบแทนลูกจ้าง
  • เงินพีพี เงินที่ สปสช.โอนมาให้ใช้งานส่งเสริมส่งให้พื้นที่ (พีพีเอ) ตามจำนวนประชากร เขต ๘ มีมาร์กมาให้ ต่อไปไม่มีอีกแล้ว
  • เอาไปจัดกิจกรรมสร้างเสริมป้องกันรักษา ห้ามก่อหนี้ผูกพัน (ซื้อที่ดิน ก่อสร้าง ฝึกอบรม ดูงาน) ใช้วิธีแทรกเป็นกิจกรรมย่อย เช่น อบรมให้ความรู้ อสม.
  • ระเบียบการเงินของกระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข สปสช. เงินบำรุง การซื้อวัสดุเกิน ๕,๐๐๐ บาท ต้องลงใน EGP บริษัทคู่ค้าต้องมีชื่ออยู่ในบัญชี
  • อ่านระเบียบของ สปสช. ให้ศึกษาจากหมวดงบพีพีเอ งบบริการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะข้อห้ามใช้ (ซื้อครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้าง ศึกษาดูงาน ฝึกอบรม)
  • ต้องปรึกษาหัวหน้างานการเงิน การเขียนโครงการต้องให้เจ้าหน้าที่การเงินตรวจก่อน เงินที่เข้า รพ. เป็นเงินบำรุง มีระเบียบการใช้เงินบำรุง
  • การนำเสนอแผนงานใน CUP มีเงินส่วนอื่นใช้ได้ เช่น การขอใช้เงินจ้างผู้ช่วย ใช้เงินบำรุงของ รพ.สต. เอาเงินพีพีไปทำอย่างอื่นแทน เช่น ซื้อยา วัสดุการแพทย์ให้ รพ.สต.
  • ต้องมีแผนปฏิบัติงาน นำไปสู่การทำโครงการ หรือจัดซื้อจัดจ้างได้เลย ตามกิจกรรมที่มีในแผน

กลุ่ม ๒.๑ เด็กเล็ก (๑)

  • ANC
    • พรเจริญ มีทันตาภิบาลเฉพาะประจำที่ PCU ทำงาน ANC
    • สว่างแดนดิน ให้ความรู้แม่ในการดูแลฟันลูก
    • มีทันตาภิบาลให้ความรู้เรื่องฟัน WCC
    • สอนในวอร์ดก่อนกลับบ้าน
  • โนนสัง ใช้แบบสอบถาม ให้ความรู้แก่คนที่พามา (ถามว่าเป็นคนดูแลหลักหรือไม่)
  • ศพด. ศพด.คู่หู จับคู่ ศพด.ที่ดีแล้ว ปรับทัศนคติผู้ปกครอง กินนมหวานตัวใหญ่ อ้วน ขู่เด็กด้วยหมอฉีดยา คืนข้อมูลให้ผู้ปกครอง ทำข้อตกลงใน ศพด.เรื่องขวดนม ขนม
  • พังโคน ไปประสานงานกับ อปท. สร้างเครือข่าย มีการอบรม ผดด. อปท.เขียนกิจกรรมแทนเรา ผดด.เขียนโครงการให้เรา
  • นากลาง สอนผู้ปกครองแบบ Tell show do พัฒนาความรู้ ปรับทัศนคติผู้ปกครอง

กลุ่ม ๒.๒ เด็กเล็ก (๒)

  • การใช้สื่อ ที่เข้าถึงเด็ก เช่น การ์ตูน เพลง นิทาน ครู ผดด.ไม่รู้ว่าสื่อไหนเป็นสื่อที่ดี เป็นของเลือกซื้อจากร้านหนังสือ เพื่อกระจายลงสู่ที่อื่น ๆ หมออ้อที่อุดรมีการ์ตูน (ญี่ปุ่น) ใช้สอนเด็กทำกิจวัตรในชีวิตประจำวัน เด็กจะทำตามเลียนแบบ
  • สิ่งที่ทำได้ดี การกระจายงานลง รพ.สต. เตรียมแม่ตามรอบฉีดวัคซีน มีการฝึกทักษะผู้ปกครองแปรงฟันให้ลูกหลาน ตรวจฟันให้เด็ก ผู้ปกครองปลูกฝังนิสัยด้วยสื่อที่เด็กชอบ นิทาน เพลง การ์ตูนเคลื่อนไหว

กลุ่ม ๓ งานโรงเรียนประถม

  • วาริชภูมิ เครือข่ายเด็กไทยฟันดี เริ่มการอบรมนักเรียน ป. ๔-๖
  • นากลาง ใช้ ๒ บวก ๒ บวก ๒ รณรงค์ปลอดน้ำอัดลม
  • ทุ่งฝน เครือข่าย รร. การคืนข้อมูลสู่ชุมชน แยกเด็กดี เสี่ยง ป่วย เพื่อการจัดการที่ต่างกัน ออกนโยบาย รร. Caries free เพิ่มร้อยละห้า
  • สกลนคร เพิ่งเริ่มคืนข้อมูล ออกหน่วยบริการ
  • อากาศอำนวย เน้นออกหน่วยบริการ
  • คำตากล้า ประชุมผู้บริหาร แจกคู่มือและแปรงสีฟันให้ผู้ปกครอง นำเสนอผลงาน รร. เป็นระยะ ๆ ขอความร่วมมือร้านค้า เข้าไปหานายอำเภอเพื่อจัดการปัญหา รร.
  • สรุป รร.ระดับเพชรยังไม่ชัดเจน เราควรทำอะไรร่วมกันไหม เช่น เครือข่ายเด็กไทยฟันดี ให้อุดรเป็นพี่เลี้ยงไหม หากิจกรรมร่วมกัน

พี่พวงให้ข้อคิดเห็น

  • การแลกเปลี่ยนในกลุ่มย่อย อยากให้เห็นต้นทุนของเราเอง
  • เราพยายามบอกว่าเราทำอะไร สิ่งที่พูดออกมามีทั้งความภูมิใจ และความคับข้องใจในงาน
  • สิ่งที่เราทำได้ดีเป็นจุดแข็ง เป็นต้นทุนของเรา น้องใหม่ ๆ ที่ได้ฟังอาจได้สิ่งใหม่กลับไป แต่น้องที่ทำงานมานานอาจรู้สึกว่ายังไม่ได้
  • ส่วนกลางกำหนดนโยบาย กำหนดตัวชี้วัดและกิจกรรม เขตรับมาต่อจังหวัด CUP และ รพ.สต. ทำให้เกิดภาพแบบตุ๊กตารัสเซีย ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ หน้าตาเหมือนกัน แต่จะมีของใหม่มาเรื่อย ๆ ทั้งเป้าหมายและกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย เราจะทำต่อไปได้อย่างไร
  • เราคิดใหม่ของเขต อะไร คือ หรม. (ตัวหารร่วม) ตัวน้อยที่สุดที่จะทำ ปรับที่กิจกรรมและปริมาณ การทำงานระดับเขตต้องมีมาตรการในการประเมินว่า กิจกรรมมาตรการใดควรเพิ่มหรือลด ต้องโฟกัส
  • ระบบของแผนจะต้องสำคัญ ทั้งระดับเขต จังหวัด หรือ CUP
  • เราพอใจในงานที่ตอบเชิงปริมาณแล้ว ต่อไปต้องคิดถึงคุณภาพ
  • การวัด CF (Caries free) รายปีอาจไม่เห็นผล การดูผลสำรวจรายปีว่าเป็นตัวสะท้อนสถานการณ์หรือวัดผลงาน
  • เราอาจต้องเลือกกิจกรรมที่สำคัญ ลดอะไรที่ไม่จำเป็น เพิ่มในสิ่งที่จำเป็น
  • เราจะทำตัววัดในเชิงกิจกรรมได้อย่างไรให้ไม่ลำบาก ตั้งเป้าหมายเหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์ของเขตและจังหวัด ทำให้ได้จริง ๆ เมื่อมีเหตุผลพอ จนถึง CUP และ รพ.สต. ไม่ใช่แก้แค่ KPI template

..............................................

จบวันแรกอย่างสวยงาม ภาคบ่ายได้สนุกกันถ้วนหน้าด้วย T๒๖ ฉบับสงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักทันตสาธารณสุข

ออกกำลังกายพอเพียงที่จะเพิ่มพลังงานให้ร่างกายได้อีก

ขอแนะนำร้าน "จิ้มจุ่มใต้สะพาน" ปากซอยทางเข้าอยู่ตรงข้ามแขวงทางหลวงหนองคาย

หอมน้ำซุบจากน้ำมะพร้าว ชอบผักใส่ผักเยอะ ๆ เบาสบายท้องดีมากค่ะ

สูตรหนองคายแท้ทีเดียวนะคะ .... ต้องลองให้ได้ จึงจะมาถึงหนองคาย อิ อิ

พบกันในตอนที่สามนะคะ

สวัสดีค่ะ

^_,^

หมายเลขบันทึก: 596353เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2015 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ตุลาคม 2015 00:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีใจที่มีการขับเคลื่อนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยครับ

เพราะศูนย์เด็กเล็กเป็นจุดแรกๆที่จะทำให้เด็กมีความรู้เรื่องฟันหลังจากที่เริ่มที่ครอบครัว

ขอบคุณมากๆครับ

เริ่มจากครอบครัว .... ลูกรักฟันดี เริ่มที่ซี่แรก

พอเข้า ศพด. ชั้นอนุบาล ต้องติดตตามต่อค่ะ อ.ขจิต จนถึงประถม

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท