จิตวิทยาคุก ตอน Prisonisation


Prisonisation เป็น กระบวนการที่ทำให้นักโทษมีความจำเป็น และ ถูกบังคับให้ต้องปรับตัว เชื่อถือ และปฏิบัติตนให้เข้ากับ กฎระเบียบ วัฒนธรรม สังคม และ ชุมชนคุก เริ่มตั้งแต่เข้ามาในคุกจนกระทั่งได้รับการปล่อยตัว ที่อาจส่งผลกระทบถึงการควบคุม และ รักษาความปลอดภัย (กรณีที่​นักโทษถาวร หรือนักโทษที่มีประสบการณ์มากขึ้น ในระดับ interpretational ที่อาจใช้ประสบการณ์ในการติดสินบนผู้คุมเพื่อแลกเปลี่ยนกับสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ การค้ายาเสพติด การเปิดบ่อนการพนันในคุก และ การซื้อขายตำแหน่งให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของคุก)​ ในระหว่างต้องโทษ และ ส่งผลกระทบถึงการกระทำความผิดซ้ำภายหลังพ้นโทษ.........................................


จิตวิทยาคุก ตอน Prisonisation


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์


Prisonisation เป็นคำศัพท์เฉพาะที่ใช้กันโดยทั่วไปในแวดวงคุกในต่างประเทศ Prisonisation มีการนำไปใช้ครั้งแรกโดย Donald Clemmer นักจิตวิทยาคุก เมื่อปี 1940 โดย Clemmer ได้อธิบายว่า Prisonisation เป็น กระบวนการที่ทำให้นักโทษมีความจำเป็น และ ถูกบังคับให้ต้องปรับตัว เชื่อถือ และปฏิบัติตนให้เข้ากับ กฎระเบียบ วัฒนธรรม สังคม และ ชุมชนคุก เริ่มตั้งแต่เข้ามาในคุกจนกระทั่งได้รับการปล่อยตัว ซึ่ง Clemmer เชื่อว่า Prisonisation มีลักษณะคล้ายกับกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม (Socialization) ที่มนุษย์จะต้องปรับตัวให้เข้ากับค่านิยม ประเพณี และ กฎของสังคม เช่นเดียวกันกับนักโทษที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับ วัฒนธรรม สังคม และ ชุมชนคุก ต่างกันตรงที่ว่า ค่านิยมบางอย่างในคุก ไม่สอดคล้องกับค่านิยมของสังคม ดังนั้น นั้น นักโทษจึงมีความจำเป็นต้องปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก ต่อมาได้มีการนำ prisonisation ใช้ในงานวิจัยคุกหลายเรื่อง เช่น งานเขียนและงานวิจัยของ เวย์น กิลเลส เรื่อง Prisonization : Individual and Institutional Factors Affecting Inmate Conduct (2002) งานวิจัยของ คอรี คอนตินิ เรื่อง The Effect of Prison Culture on Prison Staff. Qualitative Research Methods (2010) งานวิจัยของ เจสซี่ ฮาร์เปอร์ เรื่อง The effects of prisonization on the employability of former prisoners : First-hand voices (2011) เป็นต้น



โดยงานเขียนและงานวิจัยคุกแต่ละเรื่องได้ให้ความหมายของ prisonisation ไว้ในหลายความหมายซึ่งมีความเชื่อมโยงกัน แต่พอที่จะกล่าวถึงความหมายของ prisonisation มาพอเข้าใจโดยสังเขป ดังนี้

  • Prisonisation หมายถึง “วัฒนธรรมคุกบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ ที่ขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่คุกและนักโทษ"
  • Prisonisation หมายถึง “การปรับวิถีชีวิตในคุกแบบค่อยเป็นค่อยไป ของนักโทษและเพื่อน”
  • Prisonisation หมายถึง “กระบวนการที่นักโทษถูกบังคับให้ยอมรับบรรทัดฐานและรูปแบบของพฤติกรรมใหม่ในการปรับวิธีการใช้ชีวิตในคุก”
  • Prisonisation หมายถึง “กระบวนการที่นักโทษถูกกลืนเข้าไปในโลกและสังคมของเรือนจำ”
  • Prisonisation หมายถึง “ความจำเป็นของนักโทษที่จะต้องปรับตัวให้เข้า กับวัฒนธรรม ชุมชน และสังคมคุก และ เมื่อนักโทษต้องอยู่ในคุก เป็นระยะเวลานานจะก่อให้เกิดความคุ้นชิน และ ห่างเหินจากสังคมภายนอกคุก และ อาจจะมีความคิดแปรปรวนถึงขนาดมีการต่อต้าน สังคมนอกคุก”
  • Prisonization หมายถึง กระบวนการที่นักโทษปรับให้เข้ากับประเพณี และ วัฒนธรรมการใช้ชีวิตในคุก (Nader Naderi)
  • Prisonisation หมายถึง “ความสัมพันธ์ของระยะเวลาในการติดคุก ที่ยาวนาน และ การมีส่วนร่วมในสังคมหรือชุมชนคุก” (โอห์ลิน, 1956 : 38)
  • Prisonisation หมายถึง “กระบวนการที่นักโทษปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมและประเพณีการใช้ชีวิตในคุก” (เจสซี่ฮาร์เปอร์) เป็นต้น

สำหรับผู้เขียน เห็นว่า Prisonisation หมายถึง ภาวะบังคับที่นักโทษ ทุกคนจะต้องผ่านกระบวนการกล่อมเกลาที่สลับซับซ้อนของสังคมและชุมชนคุก


โดยสรุป


จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทำให้ พบว่า ภาวะบังคับที่นักโทษทุกคนจะต้องผ่านกระบวนการกล่อมเกลาที่สลับซับซ้อนของสังคมและชุมชนคุก (prisonisation) ซึ่งเป็นกระบวนการด้านจิตวิทยาคุก (Prison psychology) ที่มีความสัมพันธ์กับนักโทษ และ เจ้าหน้าที่ มีความเกี่ยวโยงในการปฏิบัติงานคุก หรือ การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติงานคุก ในหลายกรณี ซึ่งเป็นกรณีสำคัญที่ส่งผลกระทบถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เป้าหมายในการบังคับโทษจำคุก หรือ เป้าหมายในการปฏิบัติงานคุก ทั้งในส่วนของการควบคุม และ รักษาความปลอดภัย กรณีที่นักโทษถาวร หรือนักโทษที่มีประสบการณ์มากขึ้น ในระดับ interpretational ที่อาจใช้ประสบการณ์ในการติดสินบนผู้คุมเพื่อแลกเปลี่ยนกับสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ การค้ายาเสพติด การเปิดบ่อนการพนันในคุก และ การซื้อขายตำแหน่งให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของคุก ในระหว่างต้องโทษการฝึกอบรมวิชาความรู้ ทักษะ การทำงานของนักโทษ การลดการกระทำความผิดซ้ำ ภายหลังพ้นโทษ และ ในส่วนของแนวคิดในการปฏิบัติงานคุกที่จะต้องตอบสนองต่อความต้องการของนักโทษ และ สังคม รวมตลอดถึงเพื่อความพึงพอใจของประชาชน ดังนั้น การศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ บริบท แนวคิด และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ prisonisation จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ปฏิบัติงานคุก หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับ การปฏิบัติงานคุกจักต้องให้ความสำคัญและคำนึงถึงเป็นเบื้องต้น


.................



อ้างอิง


  • Psychological theories in prison psychology by prison psychologists in prisons
  • Prisonization : Individual and Institutional Factors Affecting Inmate Conduct (2002) by Wayne Gillespie
  • The Effect of Prison Culture on Prison Staff. Qualitative Research Methods (2010) by Cory Contini
  • The effects of prisonization on the employability of former prisoners : First-hand voices (2011) by Jessie Harper
  • Prisonization by Nader Naderi Published (Online: 2014)
  • Developing a Positive Prison Culture (Part Two) ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.rethinking.org.nz/assets/Print_Newsletters/Issue_56.pdf
  • ข้อมูลภาพจากเว็บไซต์ http://www.psychologistworld.com/influence_personality /stanfordprison.php


หมายเลขบันทึก: 596174เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2015 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ตุลาคม 2015 05:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีจ้ะ มีเกลียวคลื่นแห่งอ่าวไทย มาฝากจ้ะ


ขอบคุณสำหรับภาพวิวเกลียวคลื่นสวยๆ น่ะครับคุณมะเดื่อ

ขอบคุณมากครับอาจาร์ย์วอญ่า-ผู้เฒ่า - natachoei

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท