Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

1.พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี : ภิกษุณีผู้เลิศทางรัตตัญญู (ผู้รู้ราตรีนาน)


พระนางมหาปชาบดีเถรีเป็นสตรีที่ออกบวชเป็นคนแรก

พระพุทธเจ้า ท่านทรงยกย่องพระนางว่า เป็นภิกษุณีผู้รู้รัตตัญญู คือ รู้ราตรีนาน

หามีสตรีใดในพระพุทธศาสนา ที่จะมีพรรษาเทียบเท่าพระนาง

ประวัติย่อ

พระมหาปชาบดีเถรี เป็นราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งพระนครเทวทหะ เป็น พระกนิษฐภคินีของพระนางสิริมหามายา (พุทธมารดา) พระประยูรญาตถวายพระนามว่า “โคตมี”

ทรงเป็นทั้งพระน้านางและพระมารดาเลี้ยง พระนางสิริมหามายาทรงอภิเษกเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะศากยราช
แห่งพระนครกบิลพัสดุ์ ต่อมาพระบรมโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงถือปฏิสนธิใน พระครรภ์ของพระนางสิริมหามายราชเทวี พอประสูติพระราชโอรส คือเจ้าชายสิทธัตถะได้เพียง ๗ วัน พระนางสิริมหามายาราชเทวี ก็สวรรคตไปบังเกิดเป็นเทพบุตรสวรรค์ชั้นดุสิต

พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงมอบให้การเลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถะแก่พระนางมหาปชาบดีโคตรมี ผู้ศักดิ์ เป็นพระมาตุจฉา (พระน้านาง) ซึ่งต่อมาได้สถาปนาพระนางไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี และ ได้ประสูติพระราชโอรสนามว่า “นันทกุมาร” และพระราชธิดานามว่า “รูปนันทา”

พระนางประชาบดีเป็นพระน้านางของพระพุทธเจ้า และ ทั้งยังทรงเป็นพระมารดาเลี้ยงของพระพุทธเจ้าด้วย ทรงเลี้ยงดูพระพุทธเจ้าในวัยเด็กมาอย่างดี

ครั้นเมื่อพระบรมโพธิสัตว์เสด็จออกผนวชได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว เสด็จไป โปรดพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร และทรงแสดง ธรรมกถาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา ในระหว่างถนน ให้ดำรงอยู่ในอริยภูมิชั้นพระ
โสดาบัน ครั้นวันที่ ๒ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในถนน ให้ดำรงอยู่ในอริยภูมิชั้นพระโสดาบัน ครั้น วันที่ ๒ เสด็จเข้าไปรับอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา และพระน้านางยังพระบิดาให้ดำรงอยู่ในพระสกทาคามี ยังพระน้านางให้บรรลุพระโสดาปัตติผล และในวันรุ่งขึ้น ทรงแสดงมหาปาลชาดกโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ พอจบลง พระพุทธบิดา ทรงบรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามี

ในวันที่ ๔ แห่งการเสด็จโปรดพระประยูรญาติ พระพุทธองค์เสด็จไปในพิธีอาวาหมงคลอภิเษกสมรส นันทกุมารพระอนุชาต่างพระมารดา กับพระนางชนปทกัลยาณี เมื่อเสร็จพิธีอาวาหมงคล พระพุทธองค์ได้นำนัทกุมาร ไปบวชในวันนั้น ครั้นถึงวันที่ ๗ แห่งการ
เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ได้ทรงพาราหุลกุมารออกบรรพชาเป็นสามเณรอีก จึงยังความเศร้าโศกให้ บังเกิดแก่พระเจ้าสุทโธทนะยิ่งนักเพราะเกรงว่าจะขาดรัชทายาทสืบสันติวงศ์


ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าสุทโธทนะได้บรรลุพระอรหัตผลแล้วเข้าสู่ปรินิพพาน เมื่อการถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จสิ้นลงแล้ว

พระนางมหาปชาบดีโคตรมีรู้สึกว้าเหว่พระทัย มีพระ ประสงค์จะทรงผนวชในพระพุทธศาสนาจึงเสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่นิโครธาราม กราบทูล ขออุปสมบท

แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตให้สตรีบวชในพระพุทธศาสนา

พระนางกราบทูล อ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่เป็นผล รู้สึกผิดหวังเศร้าโศกโทมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงกราบทูลลาเสด็จ กลับพระราชนิเวศน์

ส่วนพระบรมศาสดาประทับ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ โดยสมควรแก่พระอัธยาศัยแล้ว
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์บริวาร เสด็จไปยังพระนครเวสาลีประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน

ต่อมาพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังแคว้นเวสาลี พระนางได้โกนผมเหมือนนักบวช ทรงผ้าผ้ากาสาวพัสตร์ และนำสตรีวรรณะกษัตริย์ 500 ท่าน (ผู้ซึ่งสามีได้ออกบวชแล้วไป) ออกเสด็จด้วยพระบาทไปหาพระพุทธเจ้า เพื่อขอบวชอีกครั้งนึง แต่ว่า พระพุทธเจ้าก็ยังไม่ทรงอนุญาต

พระอานนท์มาพบพระนางร้องไห้ อยุ่ที่ริมประตูจึงเข้าไปถาม เมื่อทราบความแล้ว จึงไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อช่วยทูลขอให้พระองค์อนุญาตให้สตรีออกบวชได้ โดยพระอานนท์ให้เหตุผลว่า สตรีทั้งหลายล้วนมีความสามารถในการบรรลุธรรมไม่ต่างจากบุรุษ และ ครั้งนี้ พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาต แต่ว่า สตรีทั้งหลายต้องรับ ครุธรรม 8 ประการพระอานนท์ เรียนครุธรรม 8 ประการจากพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็เข้าไปเฝ้าพระนางมหาปชาบดี โคตมี แล้วกล่าวว่า "พระนางโคตมี ถ้าพระนางจะพึงรับครุธรรม ๘ ประการได้ นั้นก็จักเป็นอุปสัมปทา(การบวช) ของพระนาง คือ

1.ภิกษุณีแม้อุปสมบทแล้วได้ 100 พรรษา ก็พึงเคารพกราบไว้ พระภิกษุ แม้อุปสมบทได้วันเดียว

2.ภิกษุณี จะอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีพระภิกษุนั้นไม่ได้ ต้องอยู่ในอาวาสที่มีพระภิกษุ

3.ภิกษุณี จะต้องทำอุโบสถกรรม และรับฟังโอวาทจากสำนักภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน

4.ภิกษุณี อยู่จำพรรษาแล้ว วันออกพรรษาต้องทำปวารณาในสำนักสงฆ์ทั้งสองฝ่าย (ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์)

5.ภิกษุณี ถ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส อยู่ปริวาสกรรม ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์สองฝ่าย

6.ภิกษุณี ต้องอุปสมบทในสำนักสงฆ์สองฝ่าย หลังจากเป็นนางสิกขมานารักษา “สิกขาบท 6 ประการ” คือ ศีล 5 กับ การเว้นการรับประทานอาหารยามวิกาล ทั้ง 6 ประการนี้มิให้ขาดตกบกพร่องเป็นเวลา 2 ปี ถ้าบกพร่องในระหว่าง 2 ปี ต้องเริ่มปฏิบัติใหม่

7.ภิกษุณี จะกล่าวอักโกสกถาคือ ด่าบริพาษภิกษุ ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งมิได้

8.ภิกษุณี ตั้งแต่วันอุปสมบทเป็นต้นไป พึงฟังโอวาทจากภิกษุเพียงฝ่ายเดียว จะให้โอวาทภิกษุมิได้

พระนางประชาบดี โคตมี ทรงดีพระทัยมาก ทรงรับครุธรรม 8 ประการไว้

พระพุทธองค์จึง ประทานการอุปสมบทให้แก่พระน้านางสมเจตนาพร้อมศากยขัดติยนารีที่ติดตามมาด้วยทั้งหมด
เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้อุปสมบทสำเร็จเป็นนางภิกษุณีแล้วเรียนพระ กรรมฐานในสำนักพระบรมศาสดา อุตสาห์บำเพ็ญเพียรด้วยความไม่ประมาทไม่นานนักก็ได้ บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยภิกษุณีบริวารทั้ง 500 รูป และได้บำเพ็ญกิจพระศาสนาเต็มกำลัง
ความสามารถ
ลำดับต่อมา เมื่อพระศาสดาประทับ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร ทรงสถาปนาภิกษุณีใน ตำแหน่งเอตทัคคะ หลายตำแหน่ง

พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นผู้มีวัยวุฒิสูง คือรู้กาลนาน มีประสบการณ์มาก รู้เหตุการณ์ต่าง ๆ มาตั้งแต่ต้น

จึงทรงสถาปนาพระนางนำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้รัตตัญญู คือ ผู้รู้ ราตรีนาน

หมายเลขบันทึก: 595419เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2015 17:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2015 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท