๗๐๑. การกำหนดระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา


การกำหนดระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

การกำหนดระดับตำแหน่ง...ต้องยึดหลักการวิเคราะห์ภารกิจของหน่วยงานและประเมินค่างาน

เพื่อวัดคุณภาพของตำแหน่งตามลักษณะงาน หน้าที่และความรับผิดชอบ คุณภาพและความยุ่งยากของงาน

ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่ต้องการในการปฏิบัติงาน โดยกำหนดหลักเกณฑ์การวิเคราะห์ภารกิจ

ของหน่วยงานและหลักเกณฑ์การประเมินค่างานตามประเภทตำแหน่ง ดังนี้

๑. ตำแหน่งประเภททั่วไป (วุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี) ระดับชำนาญงานและระดับชำนาญงานพิเศษ

ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ (วุฒิปริญญาตรีขึ้นไป) ระดับชำนาญการและระดับชำนาญการพิเศษ

กำหนดให้มีได้ทั้งหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่สอน วิจัย

ให้บริการทางวิชาการและหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจสนับสนุนภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา เช่น

หน่วยงานในสำนักงานเลขานุการคณะ หรือหน่วยงานที่เทียบเท่า หน่วยงานในสำนักงานอธิการบดีหรือหน่วยงานที่เทียบเท่า

โดยกำหนดองค์ประกอบหลักในการประเมินค่างานและแบบประเมินค่างาน ดังนี้

๑.๑ องค์ประกอบหลักในการเมิน ได้แก่

๑.๑.๑ หน้าที่และความรับผิดชอบ

๑.๑.๒ ความยุ่งยากของงาน

๑.๑.๓ การกำกับตรวจสอบ

๑.๑.๔ การตัดสินใจ

๑.๒ แบบประเมินค่างานตามประเภทตำแหน่ง

๑.๒.๑ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานและระดับชำนาญงานพิเศษ ใช้แบบประเมินค่างานตามแบบ

ประเมินค่างานตามเอกสารแนบ ๑ ท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่องมาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น พ.ศ.๒๕๕๓ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๓

๒. ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับเชี่ยวชาญและระดับเชี่ยวชาญพิเศษ กำหนดให้มีได้เฉพาะหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่สอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการ และสำนักงานอธิการบดี โดยกำหนดองค์ประกอบหลักในการประเมินค่างาน ๓ ด้าน ประกอบด้วยสิบองค์ประกอบย่อย ดังนี้

๑.๑ ด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นในงาน ได้แก่

๑.๑.๑ ความรู้และความชำนาญงาน

๑.๑.๒ การบริหารจัดการ

๑.๑.๓ การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์

๑.๒ ด้านความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหา ได้แก่

๑.๒.๑ กรอบแนวความคิดในการแก้ปัญหา

๑.๒.๒ อิสระในการคิด

๑.๒.๓ ความท้าทายในงาน

๑.๓ ด้านภาระงานที่รับผิดชอบ ได้แก่

๑.๓.๑ การวิเคราะห์ข้อมูล

๑.๓.๒ อิสริในการปฏิบัติงาน

๑.๓.๓ ผลกระทบจากการปฏิบัติงาน

๑.๓.๔ ลักษณะงานที่ปฏิบัติของตำแหน่ง

โดยใช้แบบประเมินค่างานตามเอกสารแนบ ๓ ท้ายประกาศ ก.พ.อ. ฯ

๓. ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษและระดับเชี่ยวชาญ ในกรณีตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานที่มีลักษณะใช้วิชาชีพและไม่ได้ใช้วิชาชีพกำหนดองค์ประกอบหลักในการประเมินค่างานดังนี้

๓.๑ หน้าที่และความรับผิดชอบ

๓.๒ ความยุ่งยากของงาน

๓.๓ การกำกับตรวจสอบ

๓.๔ การตัดสินใจ

๓.๕ การบริหารจัดการ

โดยใช้แบบประเมินค่างานตามเอกสารแนบ ๔ ท้ายประกาศ ก.พ.อ. ฯ

ตำแหน่งประเภทตามข้อ ๑ - ๓ ต้องมีการประเมินค่างาน สำหรับตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ไม่ต้องมีการประเมินค่างาน

...

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ แสงเงิน

๒๐ กันยายน ๒๕๕๘


หมายเลขบันทึก: 595089เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2015 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2015 12:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณค่ะ พี่แก้ว ใช่ค่ะ เขียนยาก...หากเราเข้าใจเนื้อหาภาระงานที่แท้จริง จะทำได้ค่ะ...สำหรับหลักการเขียนหรือเทคนิคในการเขียนการประเมินค่างาน ขอเวลานู๋นิดนึงนะคะ จะนำมาเขียนไว้ให้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท