๖๙๘. หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่ง ตอนที่ ๑


หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่ง

การกำหนดตำแหน่ง...เป็นอันดับแรกของการที่จะดำเนินการประเมินค่างาน

การกำหนดตำแหน่ง หมายถึง การกำหนดกลุ่มของหน้าที่ความรับผิดชอบที่จะมอบหมายให้บุคคลปฏิบัติ...

เช่น งานจะแบ่งเป็นชนิดของงานและหน้าที่ความรับผิดชอบ

ชนิดของงาน ได้แก่ ความรู้ความสามารถที่ต้องการ เช่น งานบุคคล งานบริหารทั่วไป งานสถาปนิก งานนิติกร ฯลฯ

หน้าที่ความรับผิดชอบ ได้แก่ การดูถึงความยุ่งยากของงาน

สิ่งที่เป็นสาระสำคัญของตำแหน่ง ได้แก่

๑. ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ :

- ชนิดของงาน

- ลักษณะงาน

- ขอบเขตของงาน

- ระดับการตัดสินใจ

- การบังคับบัญชา

- การบังคับบัญชาที่ได้รับ

๒. คุณภาพของงาน

- ความยุ่งยากของงาน

- ความคิดสร้างสรรค์

- แนวทางในการปฏิบัติงาน

- ความซับซ้อนของงาน

๓. ความรู้ความสามารถที่ต้องการ

- คุณวุฒิการศึกษา

- ความสามารถและทักษะที่ต้องการ

สิ่งที่ไม่เป็นสาระสำคัญองตำแหน่ง ได้แก่

๑. ความอาวุโส

๒. ความขยัน มุมานะ

๓. ปริมาณงาน

๔. ประสิทธิภาพผู้ปฏิบัติ

๕. วุฒิการศึกษาที่ไม่เกี่ยวข้อง

๖. บุคลิกลักษณะบุคคล

(โดยห้ามมองถึงตัวบุคคลที่ปฏิบัติอยู่)

ปัจจัยพื้นฐานของการกำหนดตำแหน่ง ได้แก่

๑. ความยุ่งยาก ซับซ้อนของงาน

๒. ความรู้

๓. หน้าที่ความรับผิดชอบ (ภาระงาน)

...

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ แสงเงิน

๑๘ กันยายน ๒๕๕๘


หมายเลขบันทึก: 595017เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2015 12:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กันยายน 2015 12:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

จะติดตามข้อคิดนะคะ เป็นประโยชน์มากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท