เสรีนิยมใหม่ และ ทุนนิยม อะไรคือความแตกต่าง? (ตอนจบ)


นักวิจารณ์ชาวมาร์กซิสต์ ( เช่น David Harvey) มีแนวโน้มที่จะมองว่าเสรีนิยมต้องเป็นแบบนี้ ในขณะที่ปรัชญาทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับเสรีนิยม ก็คือ ยุทธศาสตร์ทางการเมือง ซึ่งถูกใช้โดยทุนการเงิน ที่จะทวงคืนอำนาจของตนเอง ที่ศูนย์หายไปช่วงกลางทศวรรษที่ 20, ตามมาด้วยการปฏิวัติที่รัสเซีย, การเกิดขึ้นของประชาธิปไตยสังคมนิยมชาวยุโรป (European social democracy), การเกิดขึ้นของ Wall Street ในปี 1929 และโครงการ New Deal หรือความหวังใหม่ในสหรัฐอเมริกา[1]

นักวิจารณ์ เช่น Will Huttonมีแนวโน้มที่จะมองว่าทุนนิยมมีหลายชนิด เช่น โมเดลของทุนนิยมการเงินที่เป็นแบบเสรีนิยมใหม่ในอเมริกา (the American model of neoliberal financial capitalism) กับโมเดลอื่นๆที่เน้นในการลงทุนของรัฐในโครงสร้างพื้นฐาน และการช่วยเหลือของรัฐในเรื่องการจ้างงานอย่างเต็มที่ ในฐานะที่เป็นการจัดการระดับของอุปสงค์ (demand) และ การลงทุนในเศรษฐกิจทั้งหมด

ฉันมีแนวโน้มที่จะคิดว่านี่เป็นข้อมูลที่ผิด ฉันคิดว่าจะมีประโยชน์มากกว่าที่จะกล่าวว่ามีโมเดลของรัฐบาลที่จะสนับสนุนทุนนิยม ซึ่งจะมีทัศนะที่แตกต่างจากความสัมพันธ์ของทุนนิยมกับบางส่วนของเศรษฐกิจที่ไม่ใช่ทุนนิยม

ตัวอย่างเช่นประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม (social democracy) ก็มีทัศนะบางส่วนเหมือนกับทุนนิยมจนถึงเสรีนิยม กล่าวคือ จะมีสังคม ที่ชุมชนมีชีวิตทางสังคมส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของสังคมที่ไม่ใช่ทุนนิยม แต่ทุนนิยมจะใช้ในแง่ของเครื่องจักรในการดูแลการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ทุนนิยมจะไม่บังคับกับการให้คุณค่า, บรรทัดฐาน, รวมทั้งวัฒนธรรม และสังคมโดยส่วนร่วม สิ่งต่างๆจะเป็นอยู่อย่างที่กล่าวมานี้ จนกระทั่งคุณจะถามรัฐบาลว่าจะทำอะไร ในเมื่อทุนนิยมกำลังคืบคลานเข้ามาคุมทุกส่วนของเศรษฐกิจ และเริ่มสะสมทุน รวมทั้งสาธารณะไม่คิดที่จะสะสมทุนเหมือนนักทุนนิยมหรอกหรือ นักประชาธิปไตยแบบสังคมนิยมมีแนวโน้มที่จะเชื่อว่า พวกประชาชนสามารถที่จะจัดการเรื่องนี้ได้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดยปราศจากการทำให้พวกคุณไม่พอใจกับการตัดสินใจในเรื่องนั้น

พวกชาวมาร์กซิสต์คิดว่า การที่พวกประชาธิปไตยเชิงสังคมคิดแบบดังกล่าว เป็นความคิดแบบเด็กๆ หรือการไม่รู้ประสา กล่าวคือ ถ้าคุณไม่ล้มทุนนิยมในตอนนี้ หรืออย่างน้อย ก็ต้องมีรัฐบาลที่มีการตระหนักรู้ในเรื่องแนวโน้มของพวกทุนนิยม ที่จะทำทุกอย่างในการหลบหลีกกฎระเบียบ เพื่อที่จะสะสมอำนาจและความร่ำรวย แทนที่จะทำสิ่งอื่นๆ (เช่นการกินดีอยู่ดีของประชาชน) ทั้งหมด ในเวลาต่อมาทุนนิยมจะหลุดจากกรงขังของประชาธิปไตยเชิงสังคมนิยม และเผาไหม้สถาบันสวัสดิภาพ (welfare institution) ทั้งหลายลง ลองดูโลกในปี 1980 สิ แล้วคุณจะเห็นว่าสิ่งนี้เป็นความจริง นี่คือสาเหตุที่ว่าทำไมฉันต้องโต้เถียงกับพวกประชาธิปไตยเชิงสังคมนิยม โดยอาศัยมาตรฐานปี 1960 ก็ตาม นั่นคือคุณจะต้องแนวคิดที่ต่อต้านทุนนิยม หรือไม่ก็คุณจะพบว่าในที่สุด คุณก็จะกลายเป็นทุนนิยมในขั้นสุดท้าย

จากมุมมองนี้ เราจะเห็นได้ชัดเจนว่าเสรีนิยมใหม่ เป็นปรัชญาการเมืองประเภทหนึ่ง และเป็นโปรแกรมที่มีแนวโน้มที่เกี่ยวกับทุนนิยม ในทางประวัติศาสตร์แล้ว นักเสรีนิยม, นักอนุรักษ์นิยม และนักประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม โดยพื้นฐานแล้ว ก็ชอบทุนนิยมด้วยกันทั้งนั้น แต่ก็มีข้อสรุปร่วมกันว่า ในบางอย่างของชีวิตอาจไม่ถูกกำกับด้วยการสะสมทุนเสมอไป นักเสรีนิยมใหม่ก็มีความคิดที่แตกต่างในการเป็นปฏิปักษ์กับแนวคิดทุนนิยม พวกเขาคิดว่า เงื่อนไขของทุนนิยมจะต้องเข้าไปอยู่ในชีวิตทางสังคมทั้งหมดเท่าที่จะเป็นไปได้ (บางครั้งก็อาจใช้อำนาจด้วย) ภาษาที่พวกเขาใช้ก็คือตลาดนั่นแหละเป็นสิ่งที่ดี แต่ในการปฏิบัติแล้ว พวกเขามิได้มีความหมายเพียงแค่ตลาด ที่เป็นการจับจ่ายขายของกันเท่านั้น พูดในอีกแง่หนึ่งก็คือ ตลาดที่บริษัททั้งหมายมาร่วมมือกันเพื่อที่จะครอบครองเท่านั้น

ในทางทฤษฎีแล้ว สิ่งนี้สำคัญตรงที่ว่าคุณอาจเป็นคนให้ความสำคัญกับตลาด แต่ต่อต้านทุนนิยมได้ คุณสามารถมีสังคมที่ไม่เน้นการสะสมทุน แต่ในความเป็นจริงแล้ว การศึกษา จนถึงเรื่องน้ำ และการบริการทางเพศ ก็ถูกปฏิบัติราวกับสินค้าที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้อย่างเสรี นี่เป็นโลก ซึ่งบางบุคคลที่อยู่ในสายของเสรีนิยมและพวกขวาที่เป็นพวกทุนนิยมจำเป็นที่จะต้องประสบ ปัญหาของพวกเขามีอยู่อย่างเดียวก็คือ ในเมื่อพวกเขาไม่เข้าใจว่าทุนนิยมทำงานอย่างไร และพวกเขาก็ไม่เข้าใจว่าหากปราศจากรัฐบาลที่มีอำนาจ หรือสถาบันทางสังคมแล้หละก็ ก็ไม่มีทางที่จะเสนอสถานการณ์ ที่บริษัทต่างๆจะเป็นเจ้าของตลาดได้

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ได้สร้างสถานการณ์ขึ้นมาอันหนึ่ง ซึ่งยากที่จะแยกความแตกต่างระหว่างเสรีนิยมใหม่ กับทุนนิยมใหม่ได้ เพราะว่าเสรีนิยมใหม่คืออุดมการณ์ที่สนับสนุนทุนนิยมแบบการเงินอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู และเพราะว่าเสรีนิยมเป็นอุดมการณ์ที่ผิดพลาดของนักทุนนิยม และเพราะเสรีนิยมดำรงอยู่ในพรรคการเมืองที่สนับสนุนทุนนิยมด้วย

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญก็อยู่ตรงที่แยกความแตกต่างระหว่างทุนนิยมกับเสรีนิยมให้ได้ เพราะว่าพวกเขาทั้งสองมิได้มีความเหมือนกัน กล่าวคือ พวกเขามิได้เป็นชนิดเดียวกัน ทุนนิยมก็คือการปฏิบัติทางเศรษฐกิจ แต่เสรีนิยมคือปรัชญาในเรื่องวิธีการที่สังคมควรจะประพฤติปฎิบัตินั่นเอง

แปลและเรียบเรียงจาก

Alan Finlayson. ‘Neoliberalism’ and ‘Capitalism’ – what’s the difference?

https://jeremygilbertwriting.wordpress.com/2015/07/14/neoliberalism-and-capitalism-whats-the-difference/



[1] เกิดขึ้นในสมัยประธานาธิบดีรูสเวลต์ ตอนนั้นเป็นปี 1933 ซึ่งสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั้งโลก รูสเวลต์ได้กล่าวปราศรัยกับประชาชนทางวิทยุเน้นถึงสถานการณ์เศรษฐกิจครั้งนี้ว่าเกิดขึ้นเนื่องจากความตื่นกลัวเป็นสาเหตุใหญ่ประการหนึ่งเพราะเมื่อทุกคนตื่นกลัวและไม่ไว้ใจในสถานการณ์แล้วต่างคนต่างเก็บเงินไว้ไม่มีการกู้ยืมและการลงทุนใหม่ๆ อันเป็นเหตุให้วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจเลวร้ายลงไปอีก ดังนั้นรูสเวลต์จึงเริ่มงานขั้นแรก คือ การสร้างความมั่นใจในเสถียรภาพทางการเงินขึ้นอีกครั้งหนึ่งโดยการปรับปรุงการธนาคารเสียใหม่ รูสเวลต์ได้ประกาศปิดธนาคารทั่วประเทศ และทำการตรวจสอบบัญชีธนาคารทุกแห่ง เมื่อตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว รัฐบาลก็อนุมัติให้เฉพาะธนาคารที่มีฐานะมั่นคงดีเปิดกิจการอีกครั้งหนึ่ง ส่วนธนาคารที่มีฐานะร้อนเงินและมีการดำเนินการที่ผิดระเบียบและคดโกงก็ถูกปิดไปตลอดกาล ดังนั้นภายในเวลาเพียง 10 วัน หลังจากรูสเวลต์เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเสถียรภาพทางการเงินก็ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนมากขึ้น รูสเวลต์ได้เสนอโครงการนิวดีล ซึ่งแปลตรงตัวก็ได้ความว่าข้อตกลงใหม่อันมีจุดประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1.ช่วยเหลือคนว่างงาน โดยหางานให้ทำจากการที่รัฐบาลจัดการก่อสร้างโรงพยาบาล เขื่อน โรงเรียน ฯลฯ และการดูแลป่ารักษาป่า เป็นอาทิ อันเป็นการเปิดงานให้แก่คนที่ไม่มีงานทำ รวมทั้งแจกเงินทองข้าวของให้แก่ผู้ยากจนในระยะสั้นเพื่อประทังชีวิตไปก่อน 2. ปรับปรุงระบบเศรษฐกิจจากระบบทุนนิยมแบบ (Laissez-Fair) มาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy) โดยเอาหลักการของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเข้ามาใช้ด้วยแต่ก็มิได้เลิกระบบทุนนิยมเสียทีเดียว กล่าวคือ รัฐบาลได้เข้าควบคุมการค้าอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมมากขึ้นกว่าเดิม

หมายเลขบันทึก: 594880เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2015 18:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2015 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท