โครงการ IB—สิ่งนี้จะช่วยในการยกระดับการศึกษาไทยได้หรือไม่ ตอนจบ


โครงการ IB ถูกพัฒนาขึ้นในเจนีวา ระหว่างทศวรรษที่ 1960 ในฐานะที่เป็นการศึกษาเพื่อเด็กๆ ในครอบครัวแบบเคลื่อนที่ ที่ย้ายไปย้ายมาในโลก หลักสูตรจะเน้นในเชิงวิชาการ ในขณะที่ก็เน้นในเรื่องการชอบไตร่สวน, ความคิดสร้างสรรค์, และการพัฒนาการตระหนักรู้ทางวัฒนธรรม วิสัยทัศน์ของ IB สามารถสรุปได้ในความคิดที่ว่า “โครงการ IB มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาในเรื่องการไตร่สวน, ความรู้เชิงวิชาการ, และการเอาใจใส่เยาวชน ผู้ที่จะช่วยโลกที่ดีขึ้นและสงบสุขมากกว่านี้ โดยผ่านความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม และการนับถือ”

การนำเสนอโปรแกรมการจัดการศึกษาระดับนาๆชาติ ในโรงเรียนของรัฐเริ่มทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะนักการศึกษา, พ่อแม่, และคนทำนโยบายเริ่มตระหนักรู้ถึงความสำคัญองการตระเตรียมผู้เรียนให้มีความสามารถในระดับโลกได้

มีบางประเทศ เช่นตุรกี, เม็กซิโก, และเอกวาดอร์ ซึ่งมีการรับ IB และมีความทุกข์กับปัญหาที่คล้ายๆกับประเทศไทยในตอนนี้ ได้ยกเลิกการสอนแบบเก่าๆ, การพัฒนาครูที่ไม่เหมาะสม, และมีความสามารถที่อ่อนด้อยในการจัดลำดับการศึกษา ก่อนหน้ารับโครงการ IB เข้ามา ผลของ PISA ในเม็กซิโกอยู่ในระดับต่ำที่สุดในประเทศขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือโออีซีดี (OECD) และผลของวิชาคณิตศาสตร์และภาษาของเอกวาดอร์ ได้เลวร้ายที่สุดในช่วง 1996 และ 2000 อย่างไรก็ตาม ทั้งสองประเทศได้มีการพัฒนาขึ้นหลังจากได้รับ IB เข้ามา

ในประเทศสหรัฐอเมริกา โครงการ IB ได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง โดยที่ได้มีการพัฒนาเป็นอย่างมากกับการศึกษาในพื้นที่ในเมืองที่มีรายได้ต่ำ การรายงานเมื่อปี 2012 จากมหาวิทยาลัยชิคาโกได้สรุปว่า โครงการ IB ได้ประสบกับบางสิ่งที่หาได้ยากในการศึกษาในเมือง ซึ่งก็คือ โครงการนี้ “ทำให้นักเรียนที่ด้อยทั้งเศรษฐกิจและสังคม ได้เปลี่ยนแปลงความคาดหมายทางการศึกษาในระดับยาว โดยการทำให้เด็กๆพวกนี้กลายเป็นผู้เรียนรู้ระดับโลกขึ้นมา” ตอนนี้มีโรงเรียนของรัฐมากกว่า 1,400 ที่ได้นำโครงการ IB ไปทั่วสหรัฐ

โครงการ IB ถูกนำเสนอเป็นครั้งแรก ณ โรงเรียนนาๆชาติในประเทศไทย ที่อยู่ในช่วงทศวรรษ 1980 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กระทรวงไม่ค่อยได้เข้ามาจุ้นจ้านในโรงเรียนเหล่านี้นัก พระราชบัญญัติการศึกษา ปี 1991 (พ.ศ. 2534) ได้เปลี่ยนกฎนี้ และเปิดประตูให้นักเรียนไทยมาสมัครโรงเรียนนาๆชาติได้ เพราะว่าจำนวนของนักเรียนไทยที่รับการศึกษานาๆชาติเพิ่มมากขึ้น และตอนนี้มีโรงเรียนประมาณ 20 แห่งที่สอนในโครงการ IB ในปัจจุบัน จะมีนักเรียนเพียงกลุ่มเดียวที่มีพื้นฐานทางครอบครัวแบบพิเศษได้ประโยชน์จากโครงการ IB เป็นสถานการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันในการศึกษาของไทย ถ้าประเทศไทยต้องการที่จะรับโครงการ IB นี้มา (ก็เหมือนๆกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ) จำนวนของประชากรนักเรียนจะได้รับประโยชน์จากการศึกษาในระดับโลก

การที่จะทำโครงการ IB ในโรงเรียนที่คัดเลือกไว้ เช่น โรงเรียนตามต่างจังหวัดที่เป็นผู้นำ สิ่งนี้จะไม่เพียงแต่นักเรียนได้รับประโยชน์โดยตรงเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวเร่งกริยาในการเปลี่ยนแปลงที่มากขั้นกว่าเดิม โดยการนำเสนอพวกครู, ผู้บริหาร, และผู้นำทางการศึกษาให้เห็นตัวอย่างของวิธีสอน, การเรียนรู้, และประเมินผล ซึ่งทั้งหมดนี้จะกระทำขึ้นโดยมีประสิทธิภาพมากขึ้นไปด้วย

ถึงแม้ว่า IB จะทำความสำเร็จให้กับประเทศอื่นๆมามากมาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าระบบการศึกษาที่ต่ำของไทยจะได้รับการแก้ไข อย่างไรก็ตาม หากให้ระดับการศึกษาที่ต่ำยังคงอยู่ในประเทศไทย แล้วทำให้เงินจำนวนมากที่ไหลไปสู่นวัตกรรม เช่น แท็บเล็ท ที่มีก่อนหน้า การรับโครงการ IB เข้ามาใช้ในโรงเรียนรัฐบาลที่มีลักษณะเฉพาะแล้วหละก็ การลงทุนนี้น่าจะได้ผล

แปลและเรียบเรียงจาก

Daniel Maxwell. The International Baccalaureate – could it rescue Thai education?

http://asiancorrespondent.com/134579/the-international-baccalaureate-could-it-rescue-thai-education/

หมายเลขบันทึก: 594766เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2015 18:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กันยายน 2015 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ประเทศไทยมีโรงเรียนแนวแบบ IB ไหมครับ

มีครับ จะเป็นโรงเรียนนาๆชาติครับ

ดิฉันสนใจหลักสูตรการศึกษาไทยมาก ทำอย่างไรให้เด็กใช้เวลาให้ห้องเรียนน้อยลง ทำกิจกรรมพัฒนาตัวเองให้รอบด้านมากขึ้น

ไม่รู้จะทันการหรือเปล่า เพราะทุกวันนี้เด็กๆ ติดเกมกันหมดแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท