การบริหารจัดการเรือนจำ


การบริหารจัดการเรือนจำ (Prison Management) ในช่วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ทฤษฎีการบริหารจัดการเรือนจำส่วนใหญ่ เน้น ไปที่แนวคิดทฤษฎีทางกฎหมายอาญาที่ประสงค์จะลงโทษผู้กระทำความผิดเพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดให้กลายเป็นสมาชิกที่ดีและมีคุณค่าของสังคม (rehabilitation หรือ reformation) มีลักษณะเป็นการบริหารจัดการเรือนจำตามความต้องการของสังคม (the needs of the society) และ ความต้องการของนักโทษ (the needs of the inmate) และ ในท้ายที่สุด การวิเคราะห์ วิจัย และ ถกเถียง เกี่ยวกับทฤษฎีการบริหารจัดการเรือนจำจึงต้องมุ่งเป้าไปที่ประชากรนักโทษ และ สังคม ซึ่งส่งผลถึงแนวทางการบริหารจัดการเรือนจำร่วมสมัย.............................


การบริหารจัดการเรือนจำ


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์


การบริหารจัดการเรือนจำ (Prison Management) เป็นการบริหารภายใต้ทฤษฎีการบริหารจัดการเรือนจำ ที่ได้รับการ วิเคราะห์ วิจัย และ ถกเถียง กันมาเป็นเวลานานตราบเท่าที่สังคมได้ใช้วิธีการลงโทษโดยการจำคุก (incarcerating) และ ทฤษฎีการอาญาว่าด้วยการลงโทษ เช่น ทฤษฎี การลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทน ทฤษฎีการลงโทษเพื่อข่มขู่ยับยั้ง ทฤษฎี การลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟู (Retribution Theory, Deterrence Theory & Rehabilitation Theory)ได้ถูกนำมาใช้สำหรับการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกราชทัณฑ์ ซึ่งราชทัณฑ์ในแต่ละแห่งอาจนำไปใช้แตกต่างกัน เนื่องจากการอธิบายความหมายของทฤษฎีการบริหารจัดการเรือนจำในหลายสถาบันการศึกษาอาจแตกต่างกัน และ เรือนจำหลายแห่งอาจมีเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง



อย่างไรก็ตาม เป้าหมายที่สำคัญประการหนึ่งในการบริหารจัดการเรือนจำ คือ การกำหนดวัตถุประสงค์ของการบริหารงานเรือนจำที่ชัดเจนว่าในส่วนของโครงสร้างทางกายภาพเรือนจำ สถานที่ทำงานเป็นอย่างไร และ เจ้าหน้าที่เรือนจำจะต้องทำสิ่งใดบ้าง เพราะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ จะมีประสิทธิภาพหรือไม่ นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยความพึงพอใจในงานเป็นสำคัญ รวมตลอดถึงการให้คำจัดความ หรือ ความหมายสิ่งที่จะต้องทำอย่างชัดเจน ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดในการปฏิบัติงานเรือนจำ ที่อาจส่งผลกระทบ ต่อการใช้ชีวิตของนักโทษ และ กระทบต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เรือนจำ



สำหรับ แนวโน้มการบริหารจัดการเรือนจำ ในช่วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ทฤษฎีการบริหารจัดการเรือนจำส่วนใหญ่ เน้น ไปที่แนวคิดทฤษฎีทางกฎหมายอาญาที่ประสงค์จะลงโทษผู้กระทำความผิดเพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดให้กลายเป็นสมาชิกที่ดีและมีคุณค่าของสังคม (rehabilitation หรือ reformation) มีลักษณะเป็นการบริหารจัดการเรือนจำตามความต้องการ ของสังคม (the needs of the society) และ ความต้องการของนักโทษ (the needs of the inmate) และ ในท้ายที่สุด การวิเคราะห์ วิจัย และ ถกเถียง เกี่ยวกับทฤษฎีการบริหารจัดการเรือนจำจึงต้องมุ่งเป้าไปที่ประชากรนักโทษ และ สังคม ซึ่งส่งผลถึงแนวทางการบริหารจัดการเรือนจำร่วมสมัยอย่างมีนัยสำคัญ


......................



เอกสารอ้างอิง


The Effect of Prison Culture on Prison Staff. Qualitative Research Methods, Author Cory Contini, Year 2010

ข้อมูลภาพประกอบจากเว็บไซต์ http://forgottenmajority.net/p=1511และ เว็บไซต์

http://www.grin.com/en/e-book/230611/the-effect-of...




หมายเลขบันทึก: 594742เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2015 07:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กันยายน 2015 07:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากครับอาจารย์นงนาท สนธิสุวรรณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท