ประโยชน์จากฟางข้าว


ฟางข้าวเป็นส่วนลำต้นของข้าวที่ชาวนาได้ทำการเก็บเกี่ยวเมล็ดข้าวออกไปแล้วเรียบร้อยแล้วโดยส่วนใหญ่หลังจากที่ชาวนาได้ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จก็จะเผาฟางข้าวทิ้งไปทันที ซึ่งถือได้ว่าเป็นการสูญเสียทรัพยากรไปโดยเปล่าประโยชน์ จึงทำให้เกิดแนวทางต่างๆเพื่อแก้ปัญหาการสูญเปล่าของทรัพยากร โดยมีแนวทางในการนำฟางข้าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ดังนี้

ด้านการบำรุงดิน

1.เป็นหัวปุ๋ยชั้นดีฟางอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และไนโตรเจน ฯลฯ ถ้าหากเรานำฟางไปคลุมดิน จะทำให้พืชผักเจริญเติบโต แข็งแรงทนต่อศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี
2.ฟางช่วยปรับโครงสร้างของดินที่เป็นกรดหรือเป็นด่าง ให้เกิดความสมดุลในตัวของมันเอง ซึ่งถ้าหากไม่มีอะไรปกคลุม หรือกั้นเอาไว้ หน้าของดิน จะเสื่อมสลายและสูญเสีย ไปกับสายลม น้ำและแสงแดด ซึ่งจะทำให้ดินเป็นดินด้านอย่างรวดเร็ว ฟางข้าวจึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
3.สร้างระบบนิเวศถ้าหากเราทำกสิกรรมที่ใช้ฟางเป็นหลัก จะทำให้ประหยัดน้ำมากขึ้น ช่วยให้เกิด วัฏจักรชีวิตของสัตว์ ที่มีประโยชน์ต่อดิน ตามธรรมดาดินที่ว่างเปล่า หรือดินโล้น จะเป็นดินป่วยดินดาน ดังนั้น ถ้าหากเราปลูกพืชลงไป พืชผักก็จะอ่อนแอ ไม่เจริญเติบโต ศัตรูของพืช ก็จะมาทำลาย แต่ดินที่คลุมด้วยฟาง จะเป็นดินที่ร่วนซุยเพราะไส้เดือน จุลินทรีย์และสัตว์ต่างๆ ช่วยกันพรวนดิน ดินที่คลุมด้วยฟาง ก็จะเป็นอาณาจักร ของสัตว์ต่างๆ เพราะระบบนิเวศวิทยาอุดมสมบูรณ์

ด้านการแปรรูป

1.เป็นอาหารสัตว์ ฟางเป็นแหล่งอาหารหยาบสำหรับโคกระบือในช่วงหน้าแล้ง ฟางมีคุณค่าทางอาหารต่ำ มีโปรตีน ใยอาหาร และปริมาณสารอาหารโภชนะย่อยได้ (TDN) ประมาณ 2.76%, 36.17% และ 45% ของวัตถุแห้งตามลำดับ แต่ฟางมีอัตราการย่อยต่ำ ทำให้ฟางอยู่ในกระเพาะนาน สัตว์จึงได้รับคุณค่าทางอาหารน้อย ถ้าให้สัตว์กินฟางอย่างเดียวนานไป จะทำให้น้ำหนักตัวลด

2.กระดาษฟางข้าว เป็นการนำฟางข้าวมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน สามารถที่จะผลิตขึ้นมาได้ด้วยตนเอง เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับคนในพื้นที่ท้องถิ่น และยังเป็นการนำมาใช้ทดแทนทรัพยากรของยางพาราได้ด้วย

3.โซฟาฟางข้าว(Straw Design) เป็นผลงานที่คิดค้นโดย“ปังปอนด์” นานวิชาญ ธีระภาพ “กลอฟ์” นายปริญญา กันหริ “บอล” นายนิติภูมิ เดชวงศ์ยา และ “บอย” นายธวัชชัยนักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรีโดยมีจุดเด่นของ Straw Design ที่ขึ้นฟอร์มขึ้นมา ต้องการโชว์การรับน้ำหนักของฟางข้าวโดยไม่ต้องมีวัสดุอื่นๆ มาเป็นโครงสร้าง และที่สำคัญ โซฟานี้ไม่มีโครงสร้างอื่นๆ เลย แต่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวของฟางข้างเอง เน้นความเรียบง่าย ดูพื้นบ้าน แต่แฝงไปด้วยความคิดที่ ยั่งยืน สามารถต่อยอดเพื่ออนาคตได้ นอกจากนี้ยังได้นำแนวความคิดของพ่อหลวง ที่ว่า “อยู่อย่างพอเพียง” เข้ามาใช้ในการออกแบบอีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 594605เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2015 01:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กันยายน 2015 02:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท