การบริหารจัดการน้ำ ในการผลิตเงาะโรงเรียน


ด้รับมอบหมายให้ ถอดองค์ความรู้ เรื่องการใช้น้ำของเกษตรกร เพื่อนำมาทำข้อมูลแสดงในงานบริหารจัดการน้ำอย่างรู้ค่า ปวงประชาถวายแด่ในหลวงของ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จ.สุราษฎร์ธานีจึงเริ่มต้นที่ เกษตรกรเจ้าของแปลง : อาจารย์จำเนียร เพชรศรี :ซึ่งมีข้อมูลเบื้องต้นของท่านดังนี้ ที่อยู่ : 112 ม.5 ต.ลำพูน อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี ชนิดพืช : เงาะโรงเรียน อายุ 25 ปี ระยะปลูก 16 × 16 เมตร สภาพพื้นที่ : ราบเรียบ ลักษณะเนื้อดิน : ดินร่วน – ร่วนปนทราย ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ระบบการให้น้ำ : ระบบสปริงเกลอร์

อดีต

- ใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ (คลอง)

- หากปีใดที่แล้งจัด จะขาดน้ำในฤดูแล้ง เนื่องจากเกษตรกรจำนวนมาก ไม่อาจให้น้ำตามที่พืชต้องการได้

- สูบน้ำโดยใช้ปั๊มและมีเครื่องยนต์เป็นต้นกำลัง ต้องใช้แรงคนสตาร์ท

- อุปกรณ์การสูบน้ำอยู่ห่างไกลจากที่พัก อาจเกิดการสูญหาย

- ให้น้ำโดยใช้สายยางปล่อยให้ไหลบ่าบนพื้นสวน ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองเกินความจำเป็น

- สิ้นเปลืองแรงงาน เวลาในการให้น้ำในแต่ละครั้ง

- ไม่สามารถควบคุมให้ปริมาณน้ำเท่าๆ กันได้ทุกๆ ต้น

- กำจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมี ซึ่งสามารถกำจัดวัชพืชได้เร็ว แต่ทำให้ดินเสื่อมสภาพ ขาดความอุดมสมบูรณ์ เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม

- ใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว

- การใส่ปุ๋ยเคมี ต้องใช้แรงงานคนในการใส่ปุ๋ย





ปัจจุบัน

- ใช้น้ำจากแหล่งน้ำของตนเอง (บ่อน้ำตื้น)

- มีน้ำใช้ตลอดฤดูกาล

- สูบน้ำโดยใช้มอเตอร์เป็นต้นกำลัง

- อุปกรณ์สำหรับสูบน้ำติดตั้งอยู่ใกล้บ้าน

- วางท่อระบายน้ำไว้ใต้ดิน และติดตั้งหัวให้น้ำแบบสปริงเกลอร์เหนือผิวดินประมาณ 30 ซม.

- ติดตั้งหัวให้น้ำแบบสปริงเกลอร์ไว้ใต้ทรงพุ่ม สูงจากระดับดินประมาณ 3 เมตร

- ติดตั้งอุปกรณ์การใส่ปุ๋ยเคมีพร้อมกับระบบการให้น้ำ

- กำจัดวัชพืชด้วยวิธีการตัด

- ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง และปลูกพืชปุ๋ยสดแซมในสวน

- กำหนดการให้น้ำ โดยการสังเกตอาการของพืชและจุดประสงค์ของเจ้าของสวน เช่น ถ้าต้นเงาะมีสภาพสมบูรณ์พร้อมออกดอก ก้านใบบริเวณปลายยอดจะทำมุมกับกิ่งประมาณ 60องศา และก้านดอกมีสีทอง (น้ำตาลอ่อน) แต่หากก้านดอกมีสีน้ำตาลเข้ม จะเปลี่ยนเป็นยอดอ่อน หรือหากพืชมีอาการขาดน้ำก้านใบบริเวณปลายยอดจะทำมุมกับกิ่งน้อยกว่า 60องศา หรือบริเวณกิ่งอ่อนปลายยอดจะแสดงอาการเป็นร่องชัดเจน ซึ่งระยะเวลาที่พืชจะปรากฏอาการให้เห็นเร็วหรือช้าจะขึ้นอยู่กับลักษณะเนื้อดินและโครงสร้างของดินด้วย โดยปกติจะให้น้ำเมื่อฝนแล้งติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน

- ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่กับปุ๋ยเคมี

ผลที่ได้รับ

- สามารถป้องกันการอุดตันของหัวสปริงเกลอร์ ควบคุมการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์และสารเคมีได้

- ไม่ขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้ง และสามารถให้น้ำตามช่วงระยะเวลาที่พืชต้องการได้

- ควบคุมผลผลิตเงาะให้มีคุณภาพตามความต้องการของเจ้าของสวนและผู้บริโภคได้

- สามารถควบคุมปริมาณน้ำและให้ปุ๋ยเคมีได้ตามเวลาที่ต้องการ

- ประหยัดน้ำ ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการให้น้ำ เช่น ค่าแรงงาน ค่าอุปกรณ์

- มีความสะดวกในการปฏิบัติงานภายในสวน เนื่องจากไม่เกะกะ

- สามารถช่วยรักษาความชื้นสัมพัทธ์ให้เหมาะสมกับการผสมเกสรของเงาะ

- พืชแต่ละต้นได้รับน้ำในปริมาณที่เท่าๆ กัน

- วัชพืชช่วยรักษาความชื้น สร้างสมดุลของระบบนิเวศน์ และป้องกันการชะล้างหน้าดินได้

- พืชปุ๋ยสดช่วยให้ดินมีสภาพดีขึ้น ทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ

- สามารถช่วยให้เงาะออกดอกพร้อมๆ กันได้

- สามารถยืดอายุการออกดอก เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่างๆ ได้

- ไม่มีผลตกค้างของสารกำจัดวัชพืช

โทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 098-5539926 , 093-6425566

ชัยพร นุภักดิ์

หมายเลขบันทึก: 594208เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2015 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2015 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

หล่อคาด มาดเกษตร

สบายดีน่ะหนุ่ม

สวัสดีครับ พี่บัง ผมบายดีครับ

เราไม่ได้โคจรมาพบกันบ้างเลยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท