นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

บันทึกการนิเทศ : โรงเรียนหนองพอกวิทยายน - โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มุมมองที่น่าจับตา


โรงเรียนมีครู ที่กำลังอยู่ใน วัยที่กำลังสนุกกับการทำงานเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ ทางโรงเรียนมีโอกาสในการพัฒนาค่อนข้างสูง

20 สิงหาคม 2558 โรงเรียนหนองพอกวิทยายน อำเภอดอนจาน

นัดหมายโรงเรียนภาคเช้า ใช้เวลาเดินทางจาก โดยประมาณ 30 นาที จำนวน นักเรียน 170 คน ครู 14 คน เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาใน 3 ระดับ คือ ปฐมวัย ประถมศึกษา และ ม.ต้น หลังจากพบผู้บริหารแจ้งวัตถุประสงค์ ได้เดินเยี่ยมทุกชั้นเรียน พูดคุยกับนักเรียน และ ติดตาม จัดทำ timeline เป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียนในชั้น ป.1-2 ทุกคน ขอสะท้อนผล ดังนี้

ระดับการศึกษาปฐมวัย

นักเรียน 24 คน จบปฐมวัย 1 คน วิทยาศาสตตร์ 1 คน (ครูประจำการทั้งสองคน) มีการจัด สภาพบรรยากาศชั้นเรียนเป็นมุมประสบการณ์ หลายมุม มีพื้นที่สำหรับการจัดกิจกรรม ดำเนินการสอน เป็นไปตามแผนจัดประสบการณ์ตามที่ออกแบบและวางแผนไว้ (เป็นส่วนใหญ่) นักเรียน มีความพร้อมด้าน กาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา สมวัย ได้ทดสอบผู้เรียน ด้วยการ ให้แนะนำตัวเอง ฟังคำสั่ง เก็บของ ฯลฯ โดยภาพรวม ค่อนข้างพึงพอใจ และ ได้มองเห็นศักยภาพของครูในสถานศึกษาที่จะเป็นผู้นำ เป็นเครือข่ายครูที่จะทำหน้าที่เป็น mentor , coach ร่วมกับ ศึกษานิเทศก์ สำหรับครูปฐมวัย ของ อำเภอดอนจาน

ระดับการศึกษาประถมศึกษา

การติดตาม ไม่ได้ทำการศึกษาในเรื่องของการวางแผนการจัดกิจกรรม ในทุกชั้น (จะเน้น เฉพาะ ป.1-2) แต่ะจะพูดคุยกับนักเรียนทุกชั้น เพื่อดูผู้เรียน ซึ่งก็สามารถสะท้อนครูผู้สอนได้เช่นกัน

1. ในชั้น ป.1-2รูผู้สอน เอาใจใส่ บรรยากาศมีสื่อหลากหลาย แต่สื่อทุกชิ้น ได้มีการใช้ในการจัดกิจกรรม และ ในบางชิ้น นักเรียนก็จะมีส่วนร่วม คุณครูได้ อธิบายการใช้สื่อ แต่ละตัวอย่างมั่่นใจ นักเรียนเป็นส่วนใหญ่ ผสมสระง่ายๆ ได้แล้ว มั่นใจ ครูท้้งสองท่าน ได้ร่วมกันออวางเป้าหมายการจัดกิจกรรมในแต่เดือนอย่างคร่าวๆ และ ร่วมกับ ศน. ในการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล ผู้เรียน คุณครู บอกจะทดสอบความรู้ และ จะให้ความสำคัญกับ พฤติกรรม ซึ่งเราก็สอบถามว่า พฤติกรรม ที่ว่า คืออะไร ท่านบอกว่า การเอาใจใส่ ใฝ่เรียน การส่งงาน ฯลฯ ซึ่งก็เป็นในเรื่องของการสังเกต ได้ จึงได้เสนอแนะ ให้นำเครื่องมือ ประเมินคุณลักษณะฯ ของ สพฐ. มาปรับใช้

คุณครูทั้งสองท่าน มีประสบการณ์ และ ดูบุคลิก เอาใจใส่ มีความมั่นใจในการจัดกิจกรรม น่าจะเป็นครูที่สามารถวางรากฐาน ผู้เรียน ในระดับเล็ก ๆ อย่างเหมาะสม

2. ในชั้นเรียนอื่นๆ จากการพูดคุยกับนักเรียนส่วนใหญ่จะพบว่า นักเรียน ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น (ผู้นิเทศใช้คำถาม เพื่อนำการอภิปราย และกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็น) แต่ก็ไม่ทุกชั้นเรียน บางชั้นเรียน ก็กล้าพูด และสังเกตว่า เด็กๆ อาจจะตื่นเต้น คนแปลกหน้า หรือ กลัวตอบแล้วไม่ถูก จะถูกตำหนิ หรือ เพื่อนๆ อาจหัวเราะ (ครู ควรต้องฝึกบ่อยๆ ให้เด็กได้มีโอกาสพูด และ พยายามให้เด็กมั่นใจในตัวเอง การที่เด็กได้พูดออกมาจากความเข้าใจ จะทำให้ครูได้รู้ข้อบกพร่องของ นร. และมีการปรับแก้ไข ได้ทัน

ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น

โรงเรียนขยายโอกาส ในโรงเรียนนี้ พบว่า ทางโรงเรียนมีกลยุทธ์ ให้ นร.ได้ศึกษาต่อที่นี่เกือบทุกคน จากการพูดคุยกับนักเรียน นร. กล้าแสดงความคิดเห็น และ ตอบคำถาม (คนแปลกหน้า) จากการพูดคุย พบว่า นักเรียนบางส่วนมีพฤติกรรมเสี่ยง (ปัญหาทางครอบครัว สังคม) ทำให้ไม่มาเรียน และไม่ตั้งใจเรียน (จะพบโดยทั่วไปกับ ร.ร.ที่เปิดสอนในระดับ ม.ต้น) ซึ่งทางโรงเรียนก็พยายามแก้ไข


สรุป

1. โรงเรียนมีครู ที่กำลังอยู่ใน วัยที่กำลังสนุกกับการทำงานเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ ทางโรงเรียนมีโอกาสในการพัฒนาค่อนข้างสูง (โรงเรียนมีพัฒนาการด้านความสะอาด ดีขึ้นมาก ทุกชั้นเรียนสะอาด ไม่มีสิ่งของรก เหลือ เพียงบริบทโดยรอบ และการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เช่น ห้องสมุด ให้เอื้อ)

2. จุดที่ ชอบที่สุด คือ สวนเศรษฐกิจพอเพียง ของคุณครู ธนันชัย ซึ่งมีการส่งเสริมให้ นร.ตั้งแต่ ป.1-ม.3 มีพื้นที่ในการทำเกษตร รับผิดชอบ เป็นกลุ่ม ดูแลรักษา ใช้ประโยชน์ (เราได้เสนอแนะ ให้มีการทำในรูปของ PBL คือ บางส่วน คุณครูก็ทำได้ดีแล้ว เช่น ให้เขาเลือกในเรื่องที่เขาสนใจ แต่ ควรเพิ่มเติม เกี่ยวกับ การวางแผน และการออกแบบการทำงาน การจดบันทึก การสรุป นำเสนอ จะทำให้การเรียนรู้นั้น มีความหมายยิ่งขึ้น) และ การเลี้ยงไก่ พบว่ามีการทำเป็นะรบบ คือ การทำบัญชี มีตารางการทำงาน ให้อาหาร แต่ก็เช่นเดียวกัน คือ การให้เด็กมีส่วนร่วมและเรียนรู้กระบวนการด้วยตัวเอง มีการจดบันทึก นำเสนอ สะท้อนผล จะทำให้ รร น่าสนใจ

3. การบริหารจัดการ เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ เกิดกระบวนการทำงานและการขับเคลื่อน ของ ผู้บริหาร . พบว่า ครูส่วนใหญ่ มีพลังในการทำงาน อยากให้เกิดภาพ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเป็น วฒน..การทำงาน ที่ดีของ รร. (อาจต้องรอสักนิด แต่พอมีหวัง)

ใช้เวลา ที่ โรงเรียน โดยประมาณ 3 ชั่วโมง จึงไม่อาจจะที่จะศึกษา การทำงานของครู ดูรายละเอียด อย่างอื่น อีก

แต่ก็พูดคุย ผ่านตัวนักเรียน ก็สะท้อนภาพ ของครูได้บ้าง

เดินทางกลับ อย่างมีความสุข





หมายเลขบันทึก: 593731เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2015 05:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2015 07:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท