ฌ กะเชอ บนเส้นทางบ้านในสวน(สาย1)


เริ่มต้นกับกระเชอ หลายท่านคงสงสัยว่าภาชนะใส่อาหารไปวัดที่ชาวเกาะพะงันสมัยก่อนนิยมใช้กัน และถือว่าเป็นภาชนะที่มีคุณค่าเพราะต้องทูนไว้บนหัวตลอดเวลา และรูปลักษณ์ของกระเชอนั้น จะหิ้วก็ไม่ได้จะสะพายก็ไม่ได้ ต้องขอบคุณเวบของสภาวัฒนธรรมเมืองขุขันธ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับกระเชอให้เราได้รู้จักและเข้าใจกับภาชนะชนิดนี้http://mueangkhukhanculturalcouncil.blogspot.com/2... ภาชนะจักสานที่ละเอียดและปราณีต มีวัตถุประสงค์ในการนำมาใช้ เพื่อบรรจุเข้าของอันเป็นมงคล ภาชนะที่เป็นเอกลักษณ์ อัตตลักษณ์ ของคนที่มีสุนทรียประเพณี เพราะความสวยงามและลักษณะที่โดดเด่นทำให้เห็นความแตกต่าง ถ้าเป็นกระเชอทั่วไป อาจจะสะพายหลังได้ บรรจุเข้าของได้ปริมาณเยอะกว่า แต่ที่เกาะพะงันจะเป็นกระเชอที่มีเป้าหมายเฉพาะ ก็ตรงที่ใช้ใส่อาหารไปวัดเพื่อถวายพระ ผมไม่ทราบแหล่งผลิต แต่คิดว่าต้องสั่งทำเป็นพิเศษแน่นอน เสียดายเหลือเกินภูมิปัญญาที่ขาดการถ่ายทอด และนับวันมีแต่จะสูญหาย วัฒนธรรมเหล่านี้แหละที่ผสมอยู่ในเสาเอกของอาเซียนด้านวัฒนธรรม เรามองกันเฉพาะเสาเศรษฐกิจ กับเสาความมั่นคงทางการเมือง แต่เรื่องราวของวิถีชีวิตกับวัฒนธรรมมันแฝงอยู่ ทุกชุมชน และทุกเผ่าพันธ์ เราสามารถส่งเสริมสนับสนุนให้ฟื้นตัวขึ้นมาได้ โดยปรับตัวตนของเราให้เห็นความเป็นตัวตนชัดเจน คิดให้ได้ว่าเรา เป็นใคร เรามาจากใหน เรากำลังทำอะไร และสิ่งที่เราต้องพบกับมันอย่างแน่นอน คือ(อายุขัยของคนไทย ยืนยาวขึ้น ค่าเฉลี่ยเดืมๆอยู่ที่หกสิบ หรือหกสิบกว่าปี เพิ่มเป็นเจ็ดสิบห้าปี ใครไม่ถึงก็บุญน้อย ใครถึงก็บุญมี ใครเกินแล้วอยู่อย่างมีสุขภาพดีสมองยังดีเป็นที่ต้องการของสังคม ก็มีทั้งบุญและบารมี ใครอยู่แล้วอายุเกินค่าเฉลี่ยแต่ทุพลภาพทางกายและจิต ทางกายก็สารพัดโรคทางจิตก็หลงๆลืมๆป้ำป้ำเป๋อๆ ก็ถือว่าบุญมีอยู่แต่กรรมมันบัง)

ครับเมื่อคิดได้แล้วเราก็ตั้งเป้าชีวิตกันดูน่ะครับ เอาอายุขัยเฉลี่ยลบอายุปัจจุบัน แล้วดูว่าเหลือซักกี่ปี ท่านที่คิดว่าตัวเองยังเหลือตั้งหลายปี เพราะอายุตามบัตรประชาชนยังไม่มากก็เริ่มต้นคิดให้ได้ว่าเราคือคนไทย พื้นเพเราเป็นอย่างไร เราจะดูแลชีวิตตนเองอย่างไรที่จะมีความสุข เพราะหากเราไม่มีความสุขแล้วอย่าคิดที่จะทำให้ผู้อื่นมีความสุข และเราจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติด้านใด เราต้องอยู่ให้ถึงอายุขัยเฉลี่ย เราต้องไม่ตายทิ้งตายขว้าง ที่เรียกกันภาษาชาวบ้านว่าไม่ตายโลน ท่านที่ผ่านชีวิตผ่านประสบการณ์มามากก็ตั้งปฏิทันเอาไว้ว่า ยังเหลือกี่ปี จะเหลือเท่าไรก็แล้วแต่ สำคัญที่สุดคือรีบคิดกันให้ได้ว่าความสุขของมนุษย์เรานั้น ต้องครบถ้วนทั้งสุขภาวะด้านร่างกาย สุขภาวะทางด้านอารมณ์ สุขภาวะทางด้านสังคม และสุขภาวะทางปัญญา ถ้ายังขาดด้านใดอยู่จงรีบเติมให้เต็ม

การฟื้นฟูประเพณีกำหนดวิถีชีวิตใหม่ที่ทันต่อโลกแต่ไม่ทิ้งรากเหง้าของตนเอง ท่านลงมือคิดและลงมือทำเมื่อไร สุขภาวะทั้งสี่ด้านก็จะเริ่มหมุนกลับมาหาตัวท่านเอง และอย่าลืมอยู่กันให้ถึงอายุขัยเฉลี่ย บุญบารมีที่สั่งสมไว้ ก็จะทำให้ชีวิตหลังอายุขัยเฉลี่ย อัดแน่นไปด้วยความทรงจำดีๆ รอยยิ้มที่ได้รับจากคนรอบข้าง และที่สุดก็ทิ้งร่างนี้ไปอย่างที่ใจปราถนา

บันทึกฉบับหน้าจะกลับมาสู่เรื่องราวชาวบ้านในสวนเกาะพะงันกันต่อครับ

หมายเลขบันทึก: 593584เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2015 05:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2015 05:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท