Active Learning เหนื่อยแต่มีคุณค่า!


ขอบพระคุณอ.จารุกูลที่ให้โอกาสผมสอน Motor Control & Perception อ.ชุติมา ที่ให้โอกาสผมสอน Research Conceptual Framework และน้องนศ.ป.บัณฑิตกับป.โท คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล ที่ให้ความร่วมมือในกระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธีได้แก่ Transformative Education, Flipped Classroom, Drama Problem based Learning, Crystal Based Learning, Systems Thinking และ Contemplative Education

วันนี้ผมมีโอกาสได้ศึกษา "กระบวนการเรียนรู้แบบมีชีวิตชีวา เชิงรุก และมุ่งผู้เรียนเป็นสำคัญ"

เริ่มจากการเปิดกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนในการอ่านทำความเข้าใจวารสารงานวิจัยจำนวน 2 เรื่อง ไม่เกิน 10 นาที แล้วแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ได้ประเด็นสำคัญกลุ่มละ 5 ข้อ

แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมาเขียนประเด็นสำคัญบนกระดาน สังเกตว่า "ต่างคนต่างเขียน มีการปรึกษากันบ้างในการเขียนประเด็นมิให้ซ้ำกัน"

ปรับกระบวนการกลุ่มให้เลือกผู้นำกลุ่ม (ประธานกับเลขาฯ) แล้วระดมสมองเพื่อนๆในกลุ่มที่ใหญ่ขึ้น โดยมีกรอบความคิดว่างๆ เพื่อให้สามกลุ่มใหญ่ระดมสมองเติม 8 ประเด็นสำคัญในวารสารวิจัยทั้ง 2 เรื่องรวมกัน พร้อมระบุลูกศรเชื่อมความสัมพันธ์ในแต่ละกรอบความคิด สุดท้ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการตั้งคำถามให้ทุกคนมีส่วนร่วมตอบก็ถูกถึง 3 ใน 8 ข้อ จากนั้นให้สะท้อนความคิดว่า "เรียนรู้อะไรและรู้สึกอะไร ออกมาหน้าชั้นพูดผ่านไมค์แล้วนำไปติดบนบอร์ด"

ก่อนหน้าที่จะให้เขียน Post-It ผมได้ให้นศ.มีประสบการณ์การสื่อสารผ่านละครเพื่อตอบโจทย์ "ทำอย่างไรจะช่วยเหลือสังคม"

นศ.พยายามนั่งคิดอยู่กับโต๊ะ...คิดมากมายหลายฉาก ทั้งๆที่พยายามบอกให้เล่นละครห้าฉาก ได้แก่ Start Strike Sequence State (How to Chage as Dream) และ Stop ก็ใช้เวลาเลือกตัวแทนเป็นผู้กำกับและผู้ช่วยผุ้กำกับ ซ้อมเป็นภาพนิ่ง เป็นการเชื่อมภาพนิ่งสู่การเคลื่อนไหว เกือบ 3 รอบ โดยมีผมเป็นโค้ชที่ต้องกระตุ้นให้นศ.เกิดอารมณ์ความรู้สึกร่วมในการกำหนดบทบาทตัวละคนทุกคน และอีกรอบสุดท้ายใน 5 นาทีโดยที่ผมไม่อยู่ในห้อง รวมใช้เวลาทั้งหมด 1 ชม.ครึ่ง ก็ทำได้สำเร็จในที่สุด นับเป็นการนำประเด็นที่เขียนความคิดเป็นระบบ (Systemic Thinking) - คิดให้ครบตามลำดับขั้นตอน พัฒนาสู่เขียนความคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงในประเด็นต่างๆ และสุดท้ายสร้างประสบการณ์จริงให้คิดตกผลึกจากภาพเขียนสู่ภาพเคลื่อนไหวสื่อสารแก้ปัญหาด้วยกระบวนการละคร ผมปลื้มใจในศักยภาพของนศ.ทุกท่านด้วยความขอบพระคุณมากครับผม

ช่วงบ่ายต่อด้วยการฝึกฝนทักษะการเรียนรู้ ทักษะการคิด ทักษะการจัดระเบียบข้อมูล และทักษะเมตตาให้กระบวนการคิดหลักการและเหตุผลของการทำวิจัยให้ "ลดอัตตาลง" และ "เพิ่มผลกระทบที่ส่งผลด้านบวกเพื่อผู้อื่นในสังคม" ใช้เวลาทั้งสิ้น 2 ชม. โดยเน้นกระบวนการละครให้ขยับร่างกายไปเรื่อยๆพร้อมๆกับคิดสร้างสรรค์ไปเรื่อยๆ ใน 5 นาที

ระดมสมองแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการคิดที่หลากหลายผ่านการเขียนมากกว่าการหยุดคิดอยู่คนเดียว

หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ทำให้นศ.เกิดความคิดที่สร้างสรรค์แบบตื้นเต้นเพราะไม่คาดคิดว่า จะได้หลักการและเหตุผลในการทำงานวิจัยด้วยกรอบคิดที่ตัวเองสนใจและสะท้อนแผนที่ความคิดได้น่าสนใจ มีถึง 5 คนที่คิดอย่างมีนวัตกรรมและอีก 7 คนที่คิดได้ครบเชิงระบบ

สรุปสะท้อนสิ่งรู้สึกและรู้คิดจากนศ.

  • รู้สึกว่าการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากจะใช้ประสบการณ์ความรู้แล้ว ยังต้องใช้ความรู้สึกมาร่วมด้วยเพื่อให้งานสมบูรณ์แบบ เรียนรู้วิธีการแสดง ให้ผู้อื่นเข้าใจในตัวตนและบทบาทของตัวเอง
  • รู้สึกสนุกกับการเรียนรู้และกระบวนการคิด การทำงานร่วมกับผู้อื่น ทั้งการให้ความเห็น การแสดงออกและการถ่ายทอด การจัดระบบความคิด ขั้นตอนและกระบวนการเรียนรู้และความเข้าใจ การถ่ายทอดความคิดและการแสดงออกการเชื่อมโยงทางความคิด
  • รู้สึกสนุก ตื่นเต้น กล้าคิด กล้าแสดงออก เป็นมิตร มีความสุข ได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิด การ Feedback จากทั้งภายในและภายนอกเพื่อ Improve Performance
  • สนุก ภาคภูมิใจที่มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน มีความสุขที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ป.โท สนุกกว่าที่คิด เรียนรู้กระบวนการคิด วิเคราะห์ วางแผน การเรียนรู้ การทำงานเป็นทีม ทำงานร่วมกับผู้อื่น มอง Concept จากภาพรวมใหญ่ๆเข้าหาองค์ประกอบย่อยๆ
  • สนิทกับคนใน Class ดีขึ้น สนุกและมีความสุขใน Class การซ้อมก่อนโดยใส่อารมณ์เหมือนการเล่นจริง ทำให้การเล่นจริง ทำได้ง่ายและสมจริงมากขึ้น บางฉากที่ไม่มีบอกในบท พอใช้การตัดสินใจด้วยอารมณ์ก็ทำให้ผ่านได้ดี
  • Exciting & Impression ตื่นเต้น ตื่นตัว ในการเรียนรู้แบบใหม่และประทับใจในความร่วมมือร่วมใจของเพื่อนร่วม Class ฝึกรับรู้ข้อมูลทั้งภายในตนเองและจากผู้อื่น จากนั้นควบคุมและปรับร่างกายและจิตใจเพื่อแสดง Action ที่เราต้องการออกมา
  • มีความสุข แสดงความคิดเห็น เห็นความเห็นที่แตกต่าง ทุกคนมีรอยยิ้ม สนุกสนาน ไม่เครียดเลยในการเรียนวันนี้ การทำงานเป็นทีม รวบรวมความคิด การทำงานเป็นขั้นตอน
  • สนุก เป็นการเรียนที่แปลก ไม่เครียด การจัดลำดับความคิด คิดอย่างเป็นระบบมากขึ้น
  • รู้สึกสนุกไปกับการประยุกต์บทเรียน เป็นคาบเรียนที่สอนทฤษฎี แล้วทำให้เห็นทฤษฎีที่กลายมาเป็นเรื่องจริง ชีวิตจริงทำให้บทเรียนเป็นเรื่องสนุก ไม่ชวนง่วง ได้เรียนรู้การประยุกต์บทเรียนเข้ากับการทำงานจริง ทุกอย่างนอกจากการเริ่มต้นคิด แล้วยังต้องลงมือทำ ให้เกิดการเรียนรู้ เมื่อทำซ้ำๆความชำนาญจะทำให้ความลังเลและกังวลลดลง ทำให้ประสิทธิภาพของงานดีขึ้น
  • รู้สึกตื้นเต้น และต้องคิดว่าต้องทำท่าทางแบบไหนถึงเหมาะสมที่สุด เรียนรู้ว่าการแสดงละครให้ถึงแต่ละบทบาทต้องมีหลายองค์ประกอบ ทั้งตำแหน่ง ลักษณะท่าทาง โดยผู้กำกับเป็นเหมือน Feedback ให้กับเรา รวมถึงตัวเราที่เป็น Feedback ให้กับตัวเอง และการซ้อมหลายรอบทำให้เกิดการ Relearning จนได้ละครที่สมบูรณ์มากที่สุด
  • ทำให้เราเป็นคน Active ตนเองมากขึ้น ที่ไม่ใช่จากเป็นผู้ฟังอย่างเดียว สนุกสนานดี ไม่น่าเบื่อ ทำให้อยากคิด อยากเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองได้รับ แนวคิด กระบวนการความคิดรวบยอดแบบใหม่ที่ไม่ได้จากการเรียนแบบก่อนๆ ความสัมพันธ์ของกระบวนการคิด การเรียนรู้ และการรับรู้ต่างๆของคนเรา การทำงานร่วมกันกับเพื่อนๆ การเป็นผู้ฟัง ผู้ตาม ผู้นำที่ดี
  • รู้สึกสนุกและได้ลองทำสิ่งใหม่ๆในการเล่นเป็นตัวละครอื่นๆที่ไม่ใช่ตัวเรา ได้เห็นมิตรภาพได้รู้สึกถึงความสัมพันธ์ที่ทุกคนมีให้กัน ได้ฝึกการทำงานเป็นทีมร่วมกัน ได้ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจรวมทั้งแสดงละครร่วมกัน การวางแผนในแต่ละฉาก การจัดองค์ประกอบ การแสดงอารมณ์ ท่าทาง ความรู้สึก บทละคร เราได้ใช้ความคิดและได้ฝึกไปร่วมกัน
  • สนุก ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ มีความสุข ตอนที่ได้คิดเห็นเพื่อนแสดง ประทับใจ รู้การระดมความคิดเป็นหมู่คณะ รู้การตัดสินใจที่จะเป็นตัวไหน ทำหน้าที่อะไร ในละครเรื่องหนึ่ง รู้การทำงานเป็นทีม รู้ความคิดของแต่ละคนและเคารพการตัดสินใจของแต่ละคน
  • สนุก เข้ากับเพื่อนมากขึ้น เรียนรู้การมีส่วนร่วม ช่วยกันคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา รู้จักบทบาทหน้าที่ของตัวเอง การปรับปรุงตนเอง แนะนำผู้อื่น
  • สนุกที่ได้เรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรม ทำให้เข้าใจได้มากกว่าการอ่านเพียงอย่างเดียว การทำงานร่วมกัน ได้ฝึกความคิด ได้ฝึกทำบทบาทที่ไม่เคยทำมาก่อน โดยอาศัย Anticipation เกิดเป็น Perception-action coupling แล้วเกิด Decision making ออกมาแล้วทำซ้ำเพื่อให้เกิด Self-regulation
  • มีความรู้สึกว่าได้รู้จักเพื่อนมากขึ้น รู้สึกสนุก เรียนรู้การแสดงออกทางสีหน้าและท่าทาง โดยไม่ต้องใช้คำพูด และเรียนรู้การคิดอย่างเป็นระบบ
  • ในการต้องแสดงเป็นบทบาทอื่นที่ไม่ใช่ตัวเองเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าผ่านการซ้อมหลายๆครั้งจะรู้สึกว่ามันง่ายขึ้น สนุกที่ได้ทำ การทำงานเป็นทีม แสดงความเห็น และรับฟังความคิดคนอื่น การเสนอความคิดอย่างเป็นระบบในเวลาสั้นๆให้เนื้อหาที่แสดง คลอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการสื่อ ฝึกการเรียนรู้โดยใช้อารมณ์และความรู้สึก
  • สนุก ตื่นเต้น แนวความคิดใหม่ ที่ใช้ในการเรียนรู้หรือทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ
  • รู้สึกสนุกต่อการเรียนรู้วิธี การคิดด้วยการร่วมกันออกความคิดเห็นสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงาน รู้สึกภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมและสามารถทำงานออกมาได้อย่างน่าพอใจ วิธีการคิดอย่างเป็นขั้นตอน ลำดับ วิธีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง การทำงานร่วมกับผู้อื่น การรับฟังความคิดเห็นของตนเองและการรับฟังผู้อื่น









หมายเลขบันทึก: 593343เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2015 19:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 สิงหาคม 2015 10:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบพระคุณมากครับพี่ Nui และท่านวอญาฯ

เห็นด้วยเลยค่ะ เหนื่อยแต่มีคุณค่า แหม ถ้าได้ flipped class เข้าไปเสริมด้วย ยิ่งดีเลยค่ะ นศ. จะได้ดูคลิปการสอน ดูแล้วก็ดูอีกได้ แต่ถ้าให้ครูมาพูดอีก ครูไม่พูดแล้วนะ ก็ไม่เหมือนเดิมแล้วนะซิ ฮา

ขอบคุณค่ะ การสอนเด็กๆ ให้คิดทั้งอย่างเป็นระบบ เเละเชิงระบบนี่ ต้องบอกว่ายังมีน้อยค่ะ สำหรับบ้านเรา ขออนุญาตเเช ไปให้ นศ. อ่านต่อนะคะ


ยินดีและขอบพระคุณมากครับพี่ดร.จันทวรรณและคุณ Anuroj48 ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท