นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

บันทึกการนิเทศ : โรงเรียนหัวคูประชาอุทิศ


ครูส่วนใหญ่ สอนด้วย DLTV ได้เสนอแนะให้มีการ บันทึกการนิเทศ ในชั้นเรียนทุกชั้น เป็นปัจจุบัน ในการสอนร่วมกับ ทีวี ต้องมีการศึกษากำหนดการสอน และคู่มือครูล่วงหน้าทุกครั้ง และควรเตรียมคำถาม อย่างน้อย 3 คำถาม เพื่อถามกับนักเรียน (ก่อนและหลัง) เป็นการสรุปบทเรียนร่วมกัน

23 กรกฏาคม 2558

การนิเทศการศึกษา เริ่มต้นขึ้นด้วย การพูดคุยกันระหว่าง ผู้อำนวยการโรงเรียน เกี่ยวกับ การดำเนินงานในโรงเรียน สภาพปัญหาอุปสรรค และสิ่งที่ต้องการให้ ศึกษานิเทศก์ ช่วยเหลือในการนิเทศ ครั้งนี้ โดยสรุปแล้ว ท่านผู้อำนวยการได้เล่าให้ฟังหลายเรื่อง ในด้านการพัฒนาโรงเรียน แต่ที่น่าสนใจคือ ท่าน ได้นำคู่มือนิเทศ ที่ช่วยกันทำทั้งเครือข่าย มาประชุม นิเทศ จัดทำคำสั่ง มอบหมายภารกิจการนิเทศภายใน และปรับปรุง ห้องเรียน ชั้นเรียน ทาสี ปรับบริบท และ ต้องการให้ ศน. ได้ช่วยให้ข้อเสนอแนะ ในแต่ละชั้นเรียน เพื่อปรับปรุงการทำงาน ของครู

สำหรับ ศน. ก็ได้แจ้ง เป้าหมาย คือ การติดตามนโยบายการอ่านและเขียน ตลอดจนการ จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ PBL,Open Approach

หลังจากนั้น คณะผู้นิเทศ ก็ได้เดินเยี่ยมชมทุกชั้นเรียน พูดคุยกับนักเรียน สอบถามการทำงาน ของครู

และ ได้เชิญคุณครู ป.1-2 มาร่วมกัน กำหนดเป้าหมายการอ่านและเขียน ร่วมกัน

สะท้อนผลการนิเทศการศึกษา
1. ในชั้นเรียนปฐมวัย ได้เสนอแนะให้มีการปรับปรุงสภาพให้มีมุมประสบการณ์ ให้มีโต๊ะ เก้าอี้ เล็ก ๆ สำหรับ นร.ปฐมวัย ในการ เขียน และ ให้ ครูได้จัดกิจกรรมโดยยึดแผนประสบการณ์ มีเป้าหมายการสอนที่ชัดเจน
2. บริบทชั้นเรียนระดับประถมศึกษา สะอาด บรรยากาศน่าเรียน ครูมีการผลิต สื่อการเรียนรู้อย่างหลากหลาย

3. ครูส่วนใหญ่ สอนด้วย DLTV ได้เสนอแนะให้มีการ บันทึกการนิเทศ ในชั้นเรียนทุกชั้น เป็นปัจจุบัน
ในการสอนร่วมกับ ทีวี ต้องมีการศึกษากำหนดการสอน และคู่มือครูล่วงหน้าทุกครั้ง และควรเตรียมคำถาม อย่างน้อย 3-5 คำถาม เพื่อถามกับนักเรียน (ก่อนและหลัง) เป็นการสรุปบทเรียนร่วมกัน ต้องมีการจดบันทึกพฤติกรรรมที่เกิดขึ้น หลังการสอน จัดเตรียม ใบงาน เอกสาร สำหรับผู้เรียนไว้ล่วงหน้า เป็นเรื่องที่ครูต้องทำ ถ้าจะสอนกับทีวี

แนวทางการจัดกิจกรรมร่วมกับ DLTV (ย่อๆ)

1.ควรคำถาม 4 คำถาม เพื่อนำสู่การสรุปให้เกิดองค์ความรู้ด้วยตนเอง ได้แก่
1.1 ความหมาย เช่น คืออะไร?..
1.2 องค์ประกอบ เช่น ประกอบด้วยอะไรบ้าง?..
1.3 ควมเข้าใจ เช่น จงยกตัวอย่าง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ...
1.4 การนำไปใช้ เช่น มีประโยชน์อย่างไร?...
2. ทำแผนผังความคิด (Mind mapping)
3. ประเมินผลด้วยเครื่องต่างๆ เช่น แบบทดสอบ แบบวัดความพึงพอใจ ฯลฯ
4. สรุปเนื้อหาอีกครั้ง โดยนำสิ่งที่ครูสรุปไว้มาเพิ่มเติมให้สมบูรณ์
5. เขียนบันทึกหลักสอน

5. การกำหนดเป้าหมายการสอน เป็นไปอย่างราบรื่น คุณครู สายหยุด และครูเปิ้ล ได้มีการกำหนดเป้าหมายไว้ล่วงหน้า แต่ยังขาดเพียง การกำหนดเครื่องมือ (เมื่อกล่าวถึงเครื่องมือ ครูจะงง ) ในการตรวจสอบผู้เรียน ว่าเป็นไปตามเป้าหมายนั้นๆ หรือไม่ ซึ่ง ก็ได้ร่วมแลกเปลียนกัน

6. ครู ป.1 เป็นครูเก่า โดดเด่น ในเรื่องของการสอนคณิตศาสตร์ (หาตัวจับยาก) ซึ่ง ศน.ช่วยกันสะท้อนว่า ท่านค่อนข้างเรียบเฉยดูไม่ปราดเปรียวเหมือนครูใหม่ ๆ แต่ ท่านต้องมีเทคนิควิธีการสอน ที่เป็นวิธีปฏิบัติที่ ดี สอนเก่ง จริงๆ นักเรียน สามารถ บวก ลบ จำนวน เลข สองหลัก และคิด หาคำตอบ ได้อย่าง รวดเร็ว นักเรียนกล้าพูด กล้าแสดงออก

7.ผู้บริหาร เอาใจใส่ดีมาก มีการปรับปรุง บริบท ดูดี น่าอยู่ พยายามจัดทำแผนนิเทศ (เข้าใจว่าเพิ่งมีเป็นครั้งแรก) และมีการนำไปใช้จริง โรงเรียนสะอาด ที่สำคัญ มีการเปลี่ยนครูที่ดีที่สุด มาสอนในชั้น ป.1 - 2



สภาพปัญหา - โต๊ะเก้าอี้ ขาดแคลนมาก ทำให้ นักเรียน ได้เรียนกับโต๊ะ เก้าอี้ ที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่ง ผู้บริหารก็พยายามแก้ปัญหา ทำทีละเรื่อง



หมายเลขบันทึก: 592762เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2015 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2015 08:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท