ค่ายศึกษาการพัฒนาหนองเลิงเปือย (๒) : ที่ไหน เรียนรู้แบบ CBL อย่างไร?


บันทึกที่ ๑ บอกไว้บ้างแล้วเกี่ยวกับหนองเลิงเปือย แต่ยังไม่ได้เจาะจงลงเล่าสถานที่และยังไม่ได้เล่าวิธีการออกแบบการเรียนรู้แบบเอาชุมชนเป็นฐาน (Community-based Learning) หรือ CBL (อย่าเพิ่งสับสนกับ Creative-based Learning ที่กำลังฮิตกันนะครับ) บันทึกนี้จะเล่าให้ท่านฟังใน ๒ ประเด็นนี้

วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ผมเข้าพื้นที่โครงการแก้มลิงหนองเลิงเปือยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ ๒ เพื่อเตรียมค่ายทุนพอเพียงรุ่น ๓-๔ เพื่อเตรียมค่ายตามวัตถุประสงค์ที่ว่าไว้ในบันทึกก่อน ลงพื้นที่คราวนี้มีคุณตุ่ย เจ้าหน้าที่จากมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ และน้องทูน พาลงพื้นที่จริงครบทุกฐานการเรียนรู้ตามที่อยู่ในแผนการเรียนรู้ที่เราออกแบบกันไว้แล้ว ดังมีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้


แผนการเรียนรู้
กระบวนการเรียนรู้ในค่ายทุนพอเพียงฯ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่หนองเลิงเปือย แบ่งออกเป็น ๗ ขั้นตอน ดังรูป



เรียกได้ว่าเป็น CBL แบบหนึ่งซึ่งเน้นเอาพื้นที่และภูมิสังคมของชุมชนรอบๆ หนองเลิงเปือยเป็นแหล่งเรีนยนรู้ โดยแต่ละขั้นตอนได้ออกแบบตารางงานอย่างละเอียดที่นี่ และดูภาพคร่าวๆ ดังตารางนี้


วันที่

กิจกรรม

สถานที่

๑๐ ก.ค. ๕๘

- พิธีเปิดค่าย

- ชี้แจงกำหนดการค่ายและวัตถุประสงค์

- ปฏิบัติธรรมและฟังธรรม

ณ วัดป่าเหล่ากกหุ่ง
อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

๑๑ ก.ค. ๕๘

- ทำวัตรเช้า บำเพ็ญประโยชน์

- ทบทวนการทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย

- เตรียมการเข้าค่ายที่หนองเลิงเปือย จ.กาฬสินธุ์

- ปฏิบัติธรรมและฟังธรรม

ณ วัดป่าเหล่ากกหุ่ง
อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

๑๒ ก.ค. ๕๘

- ออกเดินทางไป จ.กาฬสินธุ์ / เข้าที่พัก

- รับฟังบรรยายความเป็นมาของโครงการพัฒนาแก้มลิงหนองเลิงเปือยฯ

- ลงพื้นที่ ศึกษาชุมชนเบื้องต้น / ถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้

-พักที่ สำนักปฏิบัติธรรมจอมทอง

- อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์

๑๓

ก.ค.

๕๘

-ลงพื้นที่ ศึกษาชุมชน ในภาพรวม เพื่อทำแผนที่ชุมชน

อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์

๑๔ ก.ค. ๕๘

- ลงพื้นที่ ศึกษาชุมชน (เวียนฐาน)

- แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ แบ่งกลุ่มเรียนรู้ตามประเด็นที่สนใจ ๖ กลุ่ม
(๑) ข้าว (๒) ผัก
(๓) หมู(๔) ไก่ไข่ (๕) ปลา (๖) กบ


๑๕ ก.ค. ๕๘

- นร. ทพพ แบ่งกลุ่ม กำหนดหัวเรื่อง วางแผนลงพื้นที่ศึกษาเฉพาะเรื่อง

- นำเสนอแผนการเรียนรู้ ลงพื้นที่ เก็บข้อมูลของกลุ่ม

โครงการพัฒนาแก้มลิงหนองเลิงเปือยฯ

๑๖ ก.ค. ๕๘

- ลงพื้นที่ ศึกษาชุมชน เก็บข้อมูล ตามฐานการเรียนรู้ของกลุ่ม

ช่วงเย็นของทุกวัน ถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกเย็น

สำนักปฏิบัติธรรมจอมทอง

๑๗ ก.ค. ๕๘

ศึกษาดูงานนอกสถานที่ (ไป-กลับ)

๑. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ อ.ห้วยยาง จ.สกลนคร

๒. โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ

๓. โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๓ อ.เต่างอย จ.สกลนคร

จ. สกลนคร

๑๘ ก.ค. ๕๘

- ออกแบบและวางแผนเพื่อ “ผลิตสื่อและนำเสนอ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้การพัฒนาตามแนวพระราชดำริปิดทองหลังพระ”

- นำเสนอเค้าร่างการสร้างนำเสนอ

โครงการพัมนาแก้มลิงหนองเลิงเปือย

๑๙ ก.ค. ๕๘

- เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ถ้าจำเป็น ในการทำชิ้นงาน

- สร้างชิ้นงาน และเตรียมการนำเสนองานกลุ่ม

โครงการพัฒนาแก้มลิงหนองเลิงเปือยฯ

สำนักปฏิบัติธรรมจอมทอง

๒๐ ก.ค. ๕๘

- คณะทำงาน ทพพ เดินทางมาถึงพื้นที่

- นร. ทพพ นำเสนอผลงาน / คืนข้อมูลให้ชุมชน

- พิธีปิดค่ายหนองเลิงเปือย / ขอบคุณชุมชน / ตามอัธยาศัย

โครงการพัฒนาแก้มลิงหนองเลิงเปือยฯ

๒๑ ก.ค. ๕๘

- ออกเดินทางไปศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ

- พิธีเปิดค่ายเขาหินซ้อน

อ.พนมสารคาม
จ.ฉะเชิงเทรา


โดยกำหนด Project-based Learning (PBL) ระยะสั้นๆ ให้นักเรียนทุนช่วยกันสร้างสื่อและผลงานเพื่อเป็นตัวแทนนำเสนอโครงการแก้มลิงหนองเลิงเปือยฯ ดังกำหนดขอบเขตเบื้องต้นเพื่อให้นักเรียนทุนพอเพียงรุ่น ๓ และ รุ่น ๔ มีเป้าหมายร่วมกันในการเรียนรู้โครงการพัฒนาแก้มลิงหนองเลิงเปือยฯ โดยไม่เป็นการตีกรอบขอบเขตความคิดมากเกินไป และเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนทุนฯ ได้ฝึกคิด พูด ทำ ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในกระบวนการศึกษากรณีตัวอย่างการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาให้เหมาะกับบริบทของปัญหาในพื้นที่ จึงกำหนดให้นักเรียนทุนฯ จัดทำชิ้นงาน คือการ “ผลิตสื่อและนำเสนอ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้การพัฒนาตามแนวพระราชดำริปิดทองหลังพระ” โดยกำหนดให้นำเสนอในวันสุดท้ายของค่ายส่วนที่ ๑ นี้ (๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘) โดยมีข้อกำหนดเบื้องต้น ดังนี้

  • ศึกษาภาพรวมทั้งหมดของโครงการฯ และช่วยกันจัดทำแผนที่ชุมชนรอบๆ โครงการฯ

  • ศึกษาสภาพภูมิสังคมของชุมชนที่ได้รับมอบหมาย และจัดทำแผนที่และตาราง หรือผลิตสื่ออื่นๆ เพื่อนำเสนอข้อมูล (งานกลุ่มๆ ละ ๔ -๖ คน) และ
  • แต่ละกลุ่มศึกษาลงลึกในรายละเอียดของฐานการเรียนรู้ ๑ ฐานการเรียนรู้ โดยไม่ซ้ำกับกลุ่มอื่น และผลิตสื่อ ในรูปแบบต่างๆ เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับฐานการเรียนรู้นั้น

ฐานการเรียนรู้

ฐานการเรียนรู้ที่ทางมูลนิธิปิดทองฯ ได้ประสานเตรียมไว้ เน้นให้ความสำคัญกับเจ้าของแปลงสาธิตไร่นาสวนผสม ทั้งหมด ๖ แห่ง ที่อยู่ในพื้นที่รับประโยชน์โดยตรงจากโครงการแก้มลิงฯ เจ้าของแปลทุกคนที่เลือกไว้ เป็นหัวหน้าหรือแกนนำในด้านต่างๆ ได้แก่ การทำนาข้าว การเลี้ยงหมู การเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ การเลี้ยงไก่ไข่ การปลูกผัก และการทำไร่นาสวนผสมครบวงจร

วันนี้ขอเล่าด้วยภาพต่อไป ... วันหลังจะมาให้รายละเอียดนะครับ









หมายเลขบันทึก: 592222เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2015 00:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กรกฎาคม 2015 00:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอชื่นชมการบ่มเพาะนักศึกษา ให้ใฝ่เรียนรู้ มีลักษณะนิสัยอยู่อย่างพอเพียง และกระบวนการทำงานครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท