ระบบกำกับตัวเอง



นี่คือ self-governance ในมุมมองของผม

ผมได้แรงบันดาลใจในการเขียนบันทึกนี้จากบทความ U.K. Methodist Church Apologizes Over Abuse ที่ผมอ่านบนเครื่องบิน EVA Air เดินทางจากนิวยอร์กไปไต้หวัน เพื่อกลับบ้าน

อ่านแล้วผมอุทานกับตนเองว่า นี่คือ ระบบกำกับตัวเอง (self-governance) ของ public agency ทั้งหลาย ในสังคมที่มีวุฒิภาวะประชาธิปไตย ที่องค์กรสาธารณะต้อง accountable ต่อสาธารณชน ซึ่งในกรณีนี้ เป็นองค์กรศาสนา คริสต์ เมโธดิสต์ ที่มีพฤติกรรมสะท้อนว่า ตนต้องยอมรับการตรวจสอบสาธารณะ และต้องโปร่งใส คือยอมให้สาธารณชนได้รับรู้ความเป็นจริงภายในองค์กรของตน เพื่อใช้แรงกดดันสาธารณะ (public pressure) เป็นกลไกกำกับพฤติกรรมของสมาชิกขององค์กร

การตรวจสอบที่ดีที่สะท้อนออกมาตามข่าวนี้ คือ ตรวจสอบ/กำกับตนเอง ที่ในบ้านเรายังไม่มี วัฒนธรรมนี้ ผมตีความว่า เพราะประชาธิปไตยในบ้านเรายังไม่บรรลุวุฒิภาวะถึงขนาดที่จะดำเนินการตามข่าว

เรายังไม่เคยมีองค์การศาสนาที่ออกมาขอโทษสาธารณชน ว่าตนดูแลพระลูกวัดไม่ดี ทำให้เกิดเหตุการณ์เสื่อมเสีย ดังกรณี U.K. Methodist Church ในข่าว

ผมทำนายว่า ต่อไปในอนาคต (ที่ผมคงจะตายไปนานแล้ว) สังคมไทยก็จะพัฒนาไปในทำนองเดียวกัน ผมทำนายว่า ต่อไปองค์กร/สถาบัน ที่เวลานี้อยู่ในสภาพศักดิ์สิทธิ์ คนทั่วไปแตะต้องไม่ได้ จะปรับตัว มีการตรวจสอบ กำกับตนเอง ตามข่าวนี้ มิฉนั้นองค์กร/สถาบัน เหล่านั้น จะอยู่ไม่ได้


วิจารณ์ พานิช

๓๑ พ.ค. ๕๘

ห้องรับรอง อีวีเอ แอร์, สนามบินเถาหยวน, ไทเป

หมายเลขบันทึก: 592052เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2015 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กรกฎาคม 2015 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท