​โดรน UAV(Unmanned Aircraft Vehicle:อากาศยานไร้คนขับ)อากาศยานควบคุมระยะไกล


โดรนขนาดเล็กไม่ใช่อากาศยานหากใช้เพื่อการกีฬาไม่ต้องขออนุญาต แต่ให้บินอยู่ในระยะสายตามองเห็น แต่ถ้าติดกล้องมิใช่เพื่อการกีฬาต้องขออนุญาตกรมให้บินอยู่ในระยะสายตามองเห็น โดรนขนาดใหญ่ถือเป็นอากาศยานไร้คนขับต้องขออนุญาตกรมและได้รับอนุญาตจาก รวค. ใช้ได้ด้านธุรกิจโฆษณา ภาพยนต์ และสื่อสารมวลชน มีสมรรถนะบินได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดรนทุกชนิดห้ามบินสูงเกิน ***300 ฟิต (จากเดิม ***500 ฟิต ) ห้ามบินต่ำกว่า 50 ฟิต ห้ามบินในเขตชุมชน ห้ามบินบริเวณใกล้เคียงและแนวขึ้นลงสนามบิน ห้ามบินใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง.....

...............................................................................................................................................

โดรนขนาดเล็กไม่ถือว่าเป็น UAV แต่ถ้าเป็นโดรนขนาดใหญ่ จะเป็นอากาศยานแบบ UAV.(Unmanned Aircraft Vehicle:อากาศยานไร้คนขับ)อากาศยานควบคุมระยะไกล ตามข้อบังคับคณะกรรมการการบินพลเรือนแห่งชาติ
..................................................................................................................................................

Update ล่าสุดเมื่อ ตุลาคม 2559 ครับ

...................................................................

ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558

ซึ่งลงประกาศตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ตามประกาศดังกล่าวได้นิยามความหมายไว้ดังนี้

  • “อากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก” หมายความว่า อากาศยานที่ควบคุมการบินโดยผู้ควบคุมการบินอยู่ภายนอกอากาศยานและใช้ระบบควบคุมอากาศยาน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเครื่องบินเล็ก ซึ่งใช้เป็นเครื่องเล่นตามกฎกระทรวงกําหนดวัตถุซึ่งไม่เป็นอากาศยาน พ.ศ. 2548
  • “ระบบควบคุมอากาศยาน” หมายความว่า ชุดอุปกรณ์อันประกอบด้วยเครื่องเชื่อมโยงคําสั่งควบคุมหรือการบังคับอากาศยาน รวมทั้งสถานีหรือสถานที่ติดตั้งชุดอุปกรณ์เหล่านี้หรือเครื่องมือที่ใช้ควบคุมการบินจากภายนอกและตัวอากาศยานด้วย

อากาศยานในประกาศนี้แบ่งเป็นสองประเภทตามวัตถุประสงค์คือ

  • ประเภท 1 ใช้เพื่อการเล่นเป็นงานอดิเรก เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อการกีฬา
  • ประเภท 2 ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากตามประเภท 1 คือรายงานข่าว รายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ วิจัยและพัฒนาอากาศยาน หรือเพื่อการอื่น ๆ

ประเภทที่ 2 นั้นกำหนดขนาดไม่เกิน 25 กิโลกรัม ขณะที่ประเภทที่ 1 มีแบ่งย่อยตามขนาด ดังนี้

ประเภท 1.ก มีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม กำหนดให้ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องมีอายุมากกว่า 18 ปี หรือมีผู้แทนโดยชอบธรรมควบคุมดูแล ซึ่งอากาศยานในข้อนี้ กระทรวงคมนาคมอนุญาตให้ทำการบินได้ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้

เงื่อนไข

(1) ก่อนทําการบิน

(ก) ตรวจสอบว่าอากาศยานอยู่ในสภาพที่สามารถทําการบินได้อย่างปลอดภัย ซึ่งรวมถึงตัวอากาศยานและระบบควบคุมอากาศยาน

(ข) ได้รับอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่ที่จะทําการบิน

(ค) ทําการศึกษาพื้นที่และชั้นของห้วงอากาศที่จะทําการบิน

(ง) มีแผนฉุกเฉิน รวมถึงแผนสําหรับกรณีเกิดอุบัติเหตุ การรักษาพยาบาล และการแก้ปัญหากรณีไม่สามารถบังคับอากาศยานได้

(2) ระหว่างทําการบิน

(ก) ห้ามทําการบินในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และรบกวนความสงบสุขของบุคคลอื่น

(ข) ห้ามทําการบินเข้าไปในบริเวณเขตห้าม เขตจํากัด และเขตอันตรายตามที่ประกาศใน เอกสารแถลงข่าวการบินของประเทศไทย (Aeronautical Information Publication – Thailand หรือ AIP – Thailand) รวมทั้ง สถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่

(ค) แนวการบินขึ้นลงของอากาศยานจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง

(ง) ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องสามารถมองเห็นอากาศยานได้ตลอดเวลาที่ทําการบินและห้ามทําการบังคับอากาศยานโดยอาศัยชุดกล้องบนอากาศยานหรืออุปกรณ์อื่นที่มีลักษณะใกล้เคียง

(จ) ต้องทําการบินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ซึ่งสามารถมองเห็นอากาศยานได้อย่างชัดเจน

(ฉ) ห้ามทําการบินเข้าใกล้หรือเข้าไปในเมฆ

(ช) ห้ามทําการบินภายในระยะเก้ากิโลเมตร (ห้าไมล์ทะเล) จากสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ดําเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต

(ซ) ห้ามทําการบินโดยใช้ความสูงเกินเก้าสิบเมตร (สามร้อยฟุต) เหนือพื้นดิน

(ฌ) ห้ามทําการบินเหนือเมือง หมู่บ้าน ชุมชน หรือพื้นที่ที่มีคนมาชุมนุมอยู่

(ญ) ห้ามบังคับอากาศยานเข้าใกล้อากาศยานซึ่งมีนักบิน

(ฎ) ห้ามทําการบินละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น

(ฏ) ห้ามทําการบินโดยก่อให้เกิดความเดือดร้อน ความรําคาญ แก่ผู้อื่น

(ฐ) ห้ามส่งหรือพาวัตถุอันตรายตามที่กําหนดในกฎกระทรวงหรืออุปกรณ์ปล่อยแสงเลเซอร์ติดไปกับอากาศยาน

(ฑ) ห้ามทําการบินโดยมีระยะห่างในแนวราบกับบุคคล ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง หรืออาคาร น้อยกว่าสามสิบเมตร (หนึ่งร้อยฟุต)

ประเภท 1.ข มีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัม กำหนดให้ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี ไม่เป็นผู้มีพฤติการณ์เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ไม่เคยโดนโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายยาเสพติดหรือศุลกากร และต้องขึ้นทะเบียนต่ออธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้เหมือนประเภท 1.ก และเพิ่มเติมอย่างการบำรุงรักษาอากาศยาน ความชำนาญในการบังคับอากาศยาน ความเข้าใจในกฎจราจรทางอากาศ ต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิงที่ใช้งานได้ติดตัว มีประกันภัยต่อบุคคลที่สาม วงเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อครั้ง เพิ่มระยะห่างในข้อ (ฑ) เป็นไม่น้อยกว่าห้าสิบเมตร (หนึ่งร้อยห้าสิบฟุต) เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยไม่ชักช้า

สำหรับอากาศยานประเภท 2 ก็ต้องขึ้นทะเบียนและปฏิบัติเงื่อนไขเช่นเดียวกับประเภท 1.ข กรณีที่ใช้เพื่อรายงานเหตุการณ์หรือรายงานจราจร (สื่อมวลชน) หรือวิจัยและพัฒนาอากาศยาน การขึ้นทะเบียนต้องเป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ตามนั้น ส่วนเพื่อใช้ถ่ายภาพหรือการอื่นจะขึ้นทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลได้ โดยการขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องระบุรายชื่อผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานหรือบุคคลที่จำเป็นในการปฏิบัติการบินของอากาศยานด้วย

ทั้งนี้ หนังสือการขึ้นทะเบียนมีอายุ 2 ปีตั้งแต่วันที่ออกหนังสือ

ที่มา : ราชกิจจานุเบกษา

.............................................................................


....นายสมชาย พิพุธวัฒน์ อธิบดีกรมการบินพลเรือน เล่าว่า กฏหมายควบคุมการปล่อยอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน มีมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2497 ....

พระราชบัญญัติ การเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2497 เป็นปีที่ 9 ในรัชกาลปัจจุบัน

มาตรา 24 "ห้ามมิให้ผู้ใดบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินหรือทิ้งร่ม อากาศ นอกจากได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนด"
....กอปรกับ.... รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตระหนักถึงความมั่นคงและความปลอดภัยในการใช้งาน จึงสั่งการให้กรมการบินพลเรือน ออกประกาศเพิ่มเติม เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแล การขออนุญาตการใช้และปล่อยอากาศยานไร้คนขับ หรือ "โดรน" เพื่อป้องกันไม่ให้การใช้งาน ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยด้านการจราจรทางอากาศ และการนำไปใช้งานที่เป็นการไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคล จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์กำกับดูแลและการขออนุญาตการใช้งาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. ด้านสมรรถนะของโดรน รวมทั้งปริมาณเชื้อเพลิงที่บรรจุภายในโดรน ต้องใช้บินได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง ป้องกันไม่ให้รบกวนจราจรทางอากาศ

2. ข้อกำหนดการใช้งาน โดยจะไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปนำโดรนที่ติดตั้งกล้องถ่ายภาพขึ้นบิน เพราะอาจเข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล แต่จะอนุญาตเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่มีความจำเป็นในการถ่ายภาพ เช่น กลุ่มสื่อสารมวลชนและธุรกิจการถ่ายภาพ

3. ข้อกำหนดระดับความสูง โดยห้ามโดรนบินสูงเกินกว่า ***500 ฟุต(*152เมตร) และต่ำเกินกว่า 50 ฟุต(15เมตร)จากระดับพื้นดิน เพื่อไม่ให้กระทบต่อการบินพาณิชย์ และประชาชนทั่วไป (แก้ไข เป็น *90 เมตร หรือ ***300 ฟิต)

ซึ่งจากกฏเหล่านี้เชื่อว่าไม่ได้ขัดขวางการใช้งานอย่างที่หลายฝ่ายเข้าใจในขณะนี้ นายสมชายยังขอความร่วมมือจากผู้ใช้โดรนให้หลีกเลี่ยงการใช้งานในบริเวณใกล้เคียงเสาไฟฟ้า ท่าอากาศยานและเขตชุมชนเพราะถือเป็นการรบกวนการจราจรทางอากาศ และเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล แต่ถ้าใช้งานนอกเหนือจากสถานที่เหล่านี้สามารถใช้งานได้ปกติ

จะกำหนดให้โดรนที่บินจะต้องยื่นขออนุญาตกระทรวงคมนาคมก่อนขึ้นบินทุกครั้ง หากพบว่าไม่ขออนุญาตจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย โทษจำคุก 1 ปี ปรับ 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรั


อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ (๖) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๑๘/๒ และมาตรา ๑๘/๓ แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๓


http://www.thairath.co.th/video/2015/01/26/33458.m…

............................................................................

ข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน
ฉบับที่ ๙๔ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ หน้า ๑๖ ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๘

...................................................................
"อากาศยานควบคุมการบินจากระยะไกล"
...................................................................
ว่าด้วยกฎจราจรทางอากาศข้อ ๑๙ อากาศยานควบคุมการบินจากระยะไกล

ต้องไม่ปฏิบัติการบินในลักษณะที่ก่อให้เกิด อันตรายต่อบุคคล ทรัพย์สิน

หรืออากาศยานลําอื่นในการปฏิบัติการบินของอากาศยานควบคุมการบินจากระยะไกล

นอกจากจะต้องได้รับอนุญาต จากรัฐมนตรีตามมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ

พ.ศ. ๒๔๙๗ แล้ว ยังต้องปฏิบัติตาม เงื่อนไขที่กําหนดในเอกสารแนบท้าย ๖ ของข้อบังคับ
....................................
เอกสารแนบท้าย ๖
..................................
อากาศยานที่ควบคุมการบินจากระยะไกล
.................................................
กฎการปฏิบัติการบินทั่วไป
ข้อ ๑ ระบบอากาศยานที่ควบคุมการบินจากระยะไกล (RPAS) ที่ดําเนินการเดินอากาศระหว่างประเทศ ต้องไม่ปฏิบัติการโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐซึ่งอากาศยานดังกล่าวได้ทําการบินขึ้น

ข้อ ๒ อากาศยานที่ควบคุมการบินจากระยะไกล ต้องไม่ปฏิบัติการข้ามอาณาเขตของรัฐอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการเฉพาะ (special authorization) จากรัฐแต่ละรัฐที่อากาศนั้นไปปฏิบัติการ การอนุญาตดังกล่าวอาจทําในรูปแบบของความตกลงระหว่างรัฐที่เกี่ยวข้อง

ข้อ ๓ . อากาศยานที่ควบคุมการบินจากระยะไกล ต้องไม่ปฏิบัติการเหนือทะเลหลวงโดยไม่ได้ประสานงานกับผู้มีอํานาจหน้าที่ที่รับผิดชอบในการให้บริการจราจรทางอากาศ

ข้อ ๔ การอนุญาตและการประสานงานตาม ข้อ ๒. และข้อ ๓. ของเอกสารแนบนี้ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จก่อนที่อากาศยานที่ควบคุมการบินจากระยะไกลจะทําการบินขึ้น หากในการวางแผนการปฏิบัติการ มีการคาดหมายได้ว่าอากาศยานอาจเข้าไปในห้วงอากาศที่เกี่ยวข้อง

ข้อ ๕ ระบบอากาศยานที่ควบคุมการบินจากระยะไกล (RPAS) ต้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดโดยรัฐผู้จดทะเบียนอากาศยาน หรือรัฐผู้ดําเนินการเดินอากาศในกรณีที่รัฐผู้ดําเนินการเดินอากาศมิใช่รัฐเดียวกับรัฐผู้จดทะเบียนอากาศยาน และ/หรือรัฐที่ปฏิบัติการบินอยู่

ข้อ ๖ อากาศยานที่ควบคุมการบินจากระยะไกลให้ยื่นแผนการบินตามกฎกระทรวงว่าด้วยแผนการบิน หรือตามที่รัฐที่ปฏิบัติการบินอยู่ ได้กําหนดให้ดําเนินการเป็นอย่างอื่น

ข้อ ๗ ระบบอากาศยานที่ควบคุมการบินจากระยะไกลต้องมีลักษณะเป็นไปตามข้อกําหนดเกี่ยวกับสมรรถนะและอุปกรณ์ที่ติดตั้ง ซึ่งต้องเหมาะสมกับห้วงอากาศที่เที่ยวบินจะปฏิบัติการใบรับรองและการออกใบอนุญาต (Certificates and licensing)

ข้อ ๘ ระบบอากาศยานที่ควบคุมการบินจากระยะไกลต้องได้รับการรับรองตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ รวมทั้งวิธีปฏิบัติภายในประเทศที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของภาคผนวกต่าง ๆ ของอนุสัญญา โดยต้องคํานึงถึงการทํางานร่วมกันของส่วนประกอบต่าง ๆ และต้อง

(๑) อากาศยานที่ควบคุมการบินจากระยะไกลต้องมีใบสําคัญสมควรเดินอากาศที่ออกตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ รวมทั้งวิธีปฏิบัติภายในประเทศที่สอดคล้องกับบทบัญญัตของ ภาคผนวก ๘ ของอนุสัญญา
........................................................................................................
ที่มา : https://www.aviation.go.th/…/file_471b7047164809e2160917a9d…

http://www.thairath.co.th/video/2015/01/26/33458.mp4

.......................................................................................................
เจาะข่าวเด่นวันนี้(เผยแพร่เมื่อ 28 ม.ค. 2558)

......พูดคุยกับ นายสมชาย พิพุธวัฒน์ อธิบดีกรมการบินพลเรือน นายสมชาย กล่าวว่า ในอดีต โดรนถูกใช้เพื่อการสงครามเท่านั้น แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ด้าน­การกีฬาและเครื่องเล่นมากขึ้น ทำให้ต้องมีการจัดระบบการใช้งานโดรนเพื่­อหลีกเลี่ยงการใช้งานโดรนที่อาจเสี่ยงต่อค­วามมั่นคงปลอดภัย อาทิ ส่งยาเสพติดเข้าไปในเรือนจำ หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลด้วยซึ่งอาจเป็นส­าเหตุของการก่ออาชญากรรม ...
........
..........นายสมชายกล่าวเพิ่มเติมว่า ไม่ต้องขออนุญาตก่อนที่จะซื้อโดรนแต่หากจะ­ใช้งานโดรนที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อกา­รเล่นและการกีฬาต้องขออนุญาตก่อนใช้งาน โดยในปัจจุบันมีการออกประกาศการห้ามเล่นโด­รนในพื้นที่สนามบิน เสาไฟฟ้า หรือในบริเวณที่พักอาศัยส่วนบุคคลแล้ว และสำหรับรายละเอียดกฎควบคุมการใช้งานโดรน­กำลังดำเนินการออกกฏอย่างเป็นทางการในเร็ว­ๆนี้......

เจาะข่าวเด่น คุมอากาศยานไร้คนขับ โดรน (28 ม.ค.58) เรื่องเล่าเช้านี้ บีอีซี-เทโร


หมายเลขบันทึก: 591443เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2015 02:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2016 13:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท