เครื่องช็อตไฟฟ้าถือเป็นอาวุธตามกฎหมายหรือไม่


จะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ไปว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นอาวุธโดยสภาพตามมาตรา 1 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญาหรือไม่ ถ้ามีลักษณะเป็นอาวุธโดยสภาพการที่บุคคลใดพกพาเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ดังกล่าวไปในทางสาธารณะก็อาจจะเข้าข่ายมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ได้
ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา 289/2539 หารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ : เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ "ฮันเตอร์ รุ่น ซีวายพี 1" และ "STUNGUN" เป็นอาวุธ ตามกฎหมายหรือไม่
กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ 3
1. ประมวลกฎหมายอาญา [มาตรา 1(5) (บทนิยามคำว่า "อาวุธ"),และมาตรา 371]
2. คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 37 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519
ข้อ 2 บทนิยามคำว่า "อาวุธ" [เครื่องป้องกันตัว]

1. เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ "ธันเดอร์ทู" รุ่น "บีวายพี 1" และ "STUN GUN" ถือเป็นอาวุธหรือไม่ตามกฎหมายใด และหากเป็นอาวุธ จะเป็นอาวุธโดยสภาพหรือโดยการใช้ เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ดังกล่าวหากได้ใช้ประทุษร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธก็เข้าข่ายเป็นอาวุธโดยการใช้ตามมาตรา 1 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา
- ส่วนจะเข้าข่ายเป็นอาวุธโดยสภาพตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ จะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ไป สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์นี้ตามลักษณะรูปร่างที่ปรากฏในสำเนาภาพถ่ายซึ่งกระทรวงมหาดไทยส่งมาประกอบการพิจารณายังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าเป็นอาวุธโดยสภาพหรือไม่ สำหรับคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 37ฯ นั้น ใช้บังคับกับอาวุธสำหรับราชการทหารและตำรวจ
- เมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ดังกล่าวมิใช่อาวุธสำหรับราชการทหารและตำรวจ จึงไม่เป็นอาวุธตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 37 ฯ

2.บุคคลทั่วไปจะมีไว้ในครอบครองหรือพกพาเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ดังกล่าวไปในทางสาธารณะได้หรือไม่ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจพบจะสามารถจับกุมหรือตรวจยึดดำเนินคดีอาญาได้หรือไม่
- จะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ไปว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นอาวุธโดยสภาพตามมาตรา 1 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญาหรือไม่ ถ้ามีลักษณะเป็นอาวุธโดยสภาพการที่บุคคลใดพกพาเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ดังกล่าวไปในทางสาธารณะก็อาจจะเข้าข่ายมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ได้

3.โรงงานที่ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ดังกล่าวจะต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายใดบ้างนั้น
- การตั้งและการประกอบกิจการโรงงานอาจอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายหลายฉบับเช่น กฎหมายว่าด้วยโรงงาน กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข เป็นต้น การพิจารณาว่าโรงงานที่ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ดังกล่าวจะต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายใด จึงต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป

ข้อสังเกต
- ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ดังกล่าวหรือสิ่งประดิษฐ์อื่นใดที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันมีคุณสมบัติสามารถทำลายชีวิตมนุษย์ได้ และมีอานุภาพการทำลายชีวิตสูงได้เช่นเดียวกับปืนหรือมีดดังกรมตำรวจชี้แจง ก็สมควรควบคุมอย่างอาวุธปืนโดยเสนอแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์หรือสิ่งประดิษฐ์อื่นใดทำนองเดียวกันให้อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย
---------------------------------------------------------
ถาม-ผิด พรบ.ศุลกากรหรือไม่
ตอบ-ไม่ผิด เพราะมิใช่สิ่งต้องห้ามนำเข้าตามกฎหมายศุลกากร
อย่าเพิ่งเชื่อ จนกว่าท่านจะได้ตรวจสอบตามลิ้งล่างก่อน
http://www.dft.go.th/level3.asp?level2=23

- อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าเสียดาย ที่อุปกรณ์ป้องกันตัว ที่ชื่อว่า สเปรย์พริกไทย ในประเทศไทย กลับเป็นของผิดกฎหมาย ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง รายชื่อวัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 แก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศ พ.ศ.2546 พ.ศ.2547 และ พ.ศ.2548 ในลำดับที่ 258 ได้ระบุไว้ว่า "ผลิตภัณฑ์ที่มีสารสำคัญที่ใช้เพื่อขัดขวางระบบการ ทำงานของร่างกายเป็นการชั่วคราวเพื่อการป้องกัน ตัวหรือทำร้ายผู้อื่น " เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 4 โดย ห้ามมิให้ นำเข้า จำหน่าย พกพา สำหรับผู้ที่ฝ่าผืนมีโทษจำคุก 1 ปี หรือปรับ 1,000,000 บาท โดยทั้งนี้ คณะกรรมการอาหารและยา ตีความว่าหมายถึง สเปรย์พริกทุกชนิด

ถาม-เป็นยุทธภัณฑ์หรือไม่
ตอบ-ไม่เป็น
อย่าเพิ่งเชื่อ! จนกว่าจะได้ตรวจสอบลิ้งล่างเสียก่อน
ประกาศกระทรวงกลาโหม กำหนดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาต พ.ศ.๒๕๕๑(ล่าสุด)
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/D/005/48.PDF

ขอบคุณข้อมูลจาก - เทพธันเดอร์นครปฐม แฟนพันธุ์แท้

รจก.ราชกิจจานุเบกษา ๑๐ มกราคม ๒๕๕๑ หน้า๔๘ เลม ๑๒๕ ตอนท ี่ ๕

ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กําหนดยุทธภัณฑที่ต้องขออนุญาต ตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ พ.ศ. ๒๕๓๐ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๗ แหงพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ พ.ศ. ๒๕๓๐ อันเป นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทยบัญญัติให กระทําได โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแหงกฎหมาย รัฐมนตรวีาการกระทรวงกลาโหมโดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรีออกประกาศไว ดังตอไปนี้

ข้อ ๑ ให ยกเลิก

๑.๑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กําหนดชนิดยุทธภัณฑที่ต้องขออนุญาต ตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ พ.ศ. ๒๕๓๐ ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๑

๑.๒ ประกาศกระทรวงกลาโหมกําหนดชนิดยุทธภัณฑที่ต้องขออนุญาต ตามพระราชบัญญัติ ควบคุมยุทธภัณฑ พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗

๑.๓ ประกาศกระทรวงกลาโหมกําหนดชนิดยุทธภัณฑที่ต้องขออนุญาต ตามพระราชบัญญัติ ควบคุมยุทธภัณฑ พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘

ข้อ ๒ กําหนดให อาวุธ เครื่องอุปกรณของอาวุธ สารเคมี สารชีวะ สารรังสีหรือสารนิวเคลียร หรือเครื่องมือเครื่องใช ที่อาจนําไปใชในการรบหรือการสงครามไดดังตอไปนี้เปนยุทธภัณฑ

๒.๑ อาวุธ เครื่องอุปกรณของอาวุธ เครื่องยิงหรือฉายพลังงานคลื่นแมเหล ็กไฟฟ าและ เครื่องมือเครื่องใช ที่อาจนําไปใชในการรบหรือการสงครามได

๒.๑.๑ ประเภทอาวุธและเครื่องยิง ทิ้ง หรือปลอย และอุปกรณ

๒.๑.๑.๑ อาวุธปนพก

๒.๑.๑.๒ อาวุธปนเล็กสั้น

๒.๑.๑.๓ อาวุธปนเล็กยาว

๒.๑.๑.๔ อาวุธปนกล

๒.๑.๑.๕ อาวุธปนที่มีความกว างปากลํากล  อง ๐.๖ นิ้ว ขึ้นไป และมี พลประจําปนมากกวา ๑ คน

๒.๑.๑.๖ อาวุธปนใหญ

๒.๑.๑.๗ อาวุธปนที่ใชกระสุนปนบรรจุสารนิวเคลียร สารชีวะ สารเคมีชนิดทําให เกิดอันตรายหรือเป นพิษ

๒.๑.๑.๘ อาวุธปราบเรือดําน้ํา

๒.๑.๑.๙ อาวุธนิวเคลียร อาวุธชีวะ อาวุธเคมี

๒.๑.๑.๑๐ เครื่องยิงจรวด ขีปนาวุธและอาวุธปลอย

๒.๑.๑.๑๑ เครื่องยิงลูกระเบิด

๒.๑.๑.๑๒ เครื่องยิงพลุสัญญาณ

๒.๑.๑.๑๓ เครื่องปลอยสารเคมี สารชีวะทางทหาร

๒.๑.๑.๑๔ เครื่องทําควันหรือหมอกเทียม

๒.๑.๑.๑๕ เครื่องเสริมสมรรถภาพของอาวุธยิง ทิ้ง ปลอย รวมถึงระบบ ค นหาเป าหมาย กําหนดตําแหนง กําหนดระยะยิง เฝ าตรวจหรือติดตาม อุปกรณค  นหา รวบรวมข  อมูล การบอกฝายและพิสูจนฝาย อุปกรณตรวจจับ

๒.๑.๑.๑๖ เครื่องมือตอต  านอาวุธ ตาม ๒.๑.๑.๑ ถึง ๒.๑.๑.๑๕

๒.๑.๑.๑๗ สวนประกอบและอุปกรณของสิ่งตาง ๆ ตาม ๒.๑.๑.๑ ถึง ๒.๑.๑.๑๖

๒.๑.๑.๑๘ เครื่องมือ เครื่องใช และอุปกรณสําหรับใชในการผลิต ตรวจสอบ ทดสอบ ประกอบ ซอมแซมสิ่งตาง ๆ ตาม ๒.๑.๑.๑ ถึง ๒.๑.๑.๑๗ ทั้งนี้ ยกเว  นอาวุธปนที่นายทะเบียนอาจออกใบอนุญาตใหได ตามพระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่องกระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไม เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ. ๒๔๙๐

ราชกิจจานุเบกษา หน  า ๕๐ เลม ๑๒๕ ตอนท ี่ ๕ ง ๑๐ มกราคม ๒๕๕๑

๒.๑.๒ ประเภทกระสุน วัตถุระเบิด สวนประกอบและอุปกรณ

๒.๑.๒.๑ ดินระเบิด ดินสงกระสุน ดินขับจรวด ขีปนาวุธและอาวุธปลอย ทั้งชนิดเชื้อเพลิงแข ็ งและเชื้อเพลิงเหลว ทั้งนี้ รวมถึงภาชนะบรรจุดินระเบิดแรงต่ําชนิดเผาไหมได (Combustible Container)

๒.๑.๒.๒ กระสุนปน

๒.๑.๒.๓ จรวด ขีปนาวุธและอาวุธปลอย

๒.๑.๒.๔ ตอรปโด

๒.๑.๒.๕ ลูกระเบิด

๒.๑.๒.๖ ทุนระเบิดและกับระเบิดทุกชนิด

๒.๑.๒.๗ กระสุนนิวเคลียร ชีวะ เคมี

๒.๑.๒.๘ ลูกระเบิดนิวเคลียร ชีวะ เคมี

๒.๑.๒.๙ จรวด ขีปนาวุธและอาวุธปลอย หัวรบนิวเคลียร ชีวะ เคมี

๒.๑.๒.๑๐ พลุสัญญาณทางทหาร

๒.๑.๒.๑๑ ลูกระเบิดควัน กระปองควัน หม  อควันและอื่น ๆ

๒.๑.๒.๑๒ ชนวนจุด ยิง ทิ้ง ปลอยสิ่งตาง ๆ ตาม ๒.๑.๒.๑ ถึง ๒.๑.๒.๑๑

๒.๑.๒.๑๓ เครื่องจักร ตลอดจนอุปกรณสําหรับใชในการผลิต ตรวจสอบ ทดสอบ หรือทําลายยุทธภัณฑตาม ๒.๑.๒.๑ ถึง ๒.๑.๒.๑๒ ทั้งนี้ ยกเว  นเครื่องกระสุนปนที่นายทะเบียนอาจออกใบอนุญาตใหได ตามพระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่องกระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไม เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ. ๒๔๙๐

๒.๑.๓ ประเภทยานพาหนะทางน้ํา ทางบกและทางอากาศที่ใชในกิจการทาง ทหาร และเครื่องมือเครื่องใช ที่อาจนําไปใชในการรบหรือการสงครามได

๒.๑.๓.๑ ยานพาหนะรบ

๒.๑.๓.๒ ยานพาหนะชวยรบ รวมถึงยานพาหนะที่ได มีการดัดแปลง เพื่อใชประโยชนทางทหาร โดยเปลี่ยนแปลงโครงสร าง ระบบไฟฟ าหรือเครื่องกลที่ต  องมีการใช สวนประกอบที่ออกแบบเฉพาะเพื่อใชในทางทหาร เชน

(๑) ล  อยาง เป นยางที่ออกแบบเฉพาะเพื่อกันกระสุน หรือยังคงสามารถ ใชงานได เมื่อปราศจากแรงดันลมภายในยาง

(๒) ระบบควบคุมแรงดันลมของล อยางจากภายในยานพาหนะ หน  า ๕๑ เลม ๑๒๕ ตอนท ี่ ๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๐ มกราคม ๒๕๕๑

(๓) เกราะป องกันจุดสําคัญของยานพาหนะ เชน ถังเชื้อเพลิง หรือ ห องโดยสาร

(๔) อุปกรณหรือเครื่องเสริมพิเศษสําหรับที่ตั้งอาวุธ โดยไมรวมถึง ยานพาหนะทางพลเรือน หรือรถบรรทุกที่ออกแบบ หรือดัดแปลงสําหรับการขนสงเงินหรือของมีคา และมีเกราะป องกัน และยานพาหนะที่ออกแบบมาเพื่อ การใช งานเชิงพาณิชยโดยเฉพาะ ๒.๑.๓.๓ เรือรบ

๒.๑.๓.๔ เรือชวยรบ ยกเว  นเรือที่ออกแบบมาเพื่อการใช งานเชิงพาณิชย โดยเฉพาะ

๒.๑.๓.๕ อากาศยานรบ

๒.๑.๓.๖ อากาศยานชวยรบ รวมถึง UAV (Unmanned Aerial Vehicles) อากาศยานที่บังคับด  วยวิทยุระยะไกล RPVs (Remotely Piloted air Vehicles) ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช ในการทหาร ยกเว นอากาศยานที่ออกแบบมาเพื่อการใช งานเชิงพาณิชยโดยเฉพาะ ๒.๑.๓.๗ สวนประกอบ และเครื่องอุปกรณของสิ่งตาง ๆ ใน ๒.๑.๓.๑ ถึง ๒.๑.๓.๖

๒.๑.๓.๘ เสื้อเกราะป องกันกระสุน หรือป องกันสะเก ็ ดระเบิด

๒.๑.๓.๙ แผนป องกัน หรือโลป องกันกระสุน และสะเก ็ ดระเบิด

๒.๑.๓.๑๐ ดาบปลายปน

๒.๑.๓.๑๑ เครื่องฉีดไฟทางทหาร

๒.๑.๓.๑๒ เครื่องกีดขวางหรือลวดที่ทําขึ้นพิเศษ สําหรับทําอันตราย กีดขวางทหารและยวดยานพาหนะทหาร

๒.๑.๓.๑๓ เครื่องพรางในทางทหาร

๒.๑.๓.๑๔ เครื่องมือสื่อสารและอุปกรณอิเล ็ กทรอนิกสทางทหารทุกชนิด

๒.๑.๓.๑๕ เครื่องถายภาพทางอากาศ รวมทั้งฟลมและกระดาษพิมพภาพถาย ทางอากาศ หน  า ๕๒ เลม ๑๒๕ ตอนท ี่ ๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๐ มกราคม ๒๕๕๑

๒.๑.๓.๑๖ เครื่องมือตรวจการณทางทหาร ชนิดมองเห ็นภาพได ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน และดาวเทียมทางทหาร โดยไมรวมถึง ดาวเทียมที่จดทะเบียน กับสหประชาชาติ ซึ่งมีวัตถุประสงคเพื่อการศึกษา วิจัยและเชิงพาณิชย

๒.๑.๓.๑๗ เครื่องมือวัดระยะทางทหาร

๒.๑.๓.๑๘ อุปกรณซึ่งมีลักษณะพิเศษ และมีความสําคัญจําเปนใน การใช บรรจุหรือหอเพื่อขนสงยุทธภัณฑ

๒.๑.๓.๑๙ หน  ากากและอุปกรณป องกันสารเคมี สารชีวะทางทหาร ซึ่งสามารถใหการป องกันตอสารเคมี (Chemical Agents) และสารชีวะ (Biological Agents) ที่เป น ของแข ็ ง เป นของเหลว เป นแกส เปนไอ หรือเปนแอโรซอล (Aerosol) เฉพาะที่มีลักษณะดังตอไปนี้

(๑) ตัวหน  ากากทําด  วยยางหรือวัสดุอื่นที่ทนทานตอสารเคมี สารชีวะ เมื่อประกอบแวนตาแนบสนิทตัวหน  ากาก สวมแลวสามารถปกคลุมใบหนาได ทั้งหมด และสามารถปองก  นั ไมใหสารเคมี สารชีวะทางทหารที่เป นของแข ็ ง เป นของเหลว เป นแกส หรือเปนไอ ซึมผานเข าไป ทําอันตรายผิวหนังบริเวณใบหนาได และ

(๒) เป นหน  ากากที่ใช กับเครื่องกรองอากาศซึ่งมีลักษณะการทํางาน เป นเครื่องกรองแอโรซอลและกรองแกส หรือไอบรรจุไว ด  วยกัน (Gas-Particulate Filter) มีขีดความสามารถ ในการกรองสารเคมี สารชีวะทางทหาร หน ากากป องกันที่มีขีดความสามารถและลักษณะดังกลาวข  างต  น อาจเป น หน  ากากที่สามารถนําติดตัวไปยังสถานที่ตาง ๆ ได หรือเป นหน  ากากที่ออกแบบสาหร ํ บใช ั ในยานพาหนะรบ  ซึ่งอาจจะตอเข  ากับระบบจายอากาศหายใจหรือไมก ็ได ยกเว  นหน ากากป องกันแกสพิษชนิดที่มีลักษณะ เป นถุงคลุมศีรษะป องกันแกสพิษที่เกิดจากการลุกไหม ซึ่งมีวัตถุประสงคสําหรับใชสวมใส เพื่อหนีไฟ ในขณะเกิดเพลิงไหม ถูกออกแบบมาเพื่อใช งานเพียงครั้งเดียว โดยใชงานไดในระยะเวลาประมาณ ๒๐ นาที

๒.๑.๓.๒๐ เครื่องมือ เครื่องใชและสิ่งอุปกรณที่ใชในการตรวจวัด ตรวจจับ เทียบมาตรฐาน วิเคราะห ทดสอบ ประกอบ ซอมแซม ป องกัน ทาลาย ํ คนหา  หรอใช ื ประกอบก  บั สิ่งตาง ๆ ตาม ๒.๑.๓.๑ ถึง ๒.๑.๓.๑๙

หมายเลขบันทึก: 590749เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2015 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2015 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท