เรือนจำการศึกษา


เรือนจำการศึกษา (Prison education) หมายถึง เรือนจำที่บริหารงานโดยมีนโยบายเน้นหนัก ในด้านการจัดการศึกษา ทั้งการฝึกอบรมวิชาชีพ (Vocational training) และ การศึกษาทางวิชาการ (Academic education) แก่ผู้ต้องขัง และปรากฏผลการปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐาน และ เป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาบุคคล (Personal development) หรือพัฒนาผู้ต้องขังให้เป็นบุคคลที่เคารพกฎหมายและช่วยเหลือตัวเองได้ภายหลังพ้นโทษ และ เพื่อลดการกระทำความผิดซ้ำ.......................


เรือนจำการศึกษา (1)


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ นบ. นม.


เรือนจำการศึกษา (Prison education) หมายถึง เรือนจำที่บริหารงานโดยมีนโยบายเน้นหนัก ในด้านการจัดการศึกษา ทั้งการฝึกอบรมวิชาชีพ (Vocational training) และ การศึกษาทางวิชาการ (Academic education) แก่ผู้ต้องขัง และปรากฏผลการปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐาน และ เป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาบุคคล (Personal development) หรือพัฒนาผู้ต้องขังให้เป็นบุคคลที่เคารพกฎหมายและช่วยเหลือตัวเองได้ภายหลังพ้นโทษ และ เพื่อลดการกระทำความผิดซ้ำ (Reductions in recidivism)


เรือนจำจิ่นเจียง มณฑลเสฉวน ประเทศจีน


...........จากผลการวิจัยส่วนใหญ่ พบว่า การพัฒนาการศึกษาแก่ผู้ต้องขังส่งผลต่อการลดการกระทำความผิดซ้ำอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับเรือนจำการศึกษาที่นำเสนอในบทความนี้ คือ เรือนจำจิ่นเจียง มณฑลเสฉวน ประเทศจีน ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.chinapeace.gov.cn/2013-04/11/content_72... พบว่า เรือนจำจิ่นเจียงมีการบริหารงานโดย มีนโยบายเน้นหนักในด้านการจัดมาตรฐานการศึกษา ทั้งการฝึกอบรมวิชาชีพ และ การศึกษาทางวิชาการ และ ปรากฏผลการปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐาน และ เป็นรูปธรรม โดยการมุ่งเน้นการฝึกอบรมความรู้ ทักษะ อาชีพ การฝึกอบรมรูปแบบจำลองการติดต่อกับสังคม รวมตลอดถึง การบังคับใช้กฎหมายเรือนจำแบบอารยะ เน้นมาตรฐานการทำงานในทุกๆด้าน ปรากฏตามภาพแสดงการจัดการศึกษา ทั้งการฝึกอบรมวิชาชีพ และ การศึกษาทางวิชาการ แก่ผู้ต้องขัง ดังนี้


การฝึกระเบียบวินัยแก่ผู้ต้องขัง


การฝึกอบรมวิชาชีพเย็บปักถักร้อยแก่ผู้ต้องขัง


การฝึกวิชาชีพเครื่องปั้นดินเผาแก่ผู้ต้องขัง


การฝึกอบรมความรู้ ทักษะการล้างรถแก่ผู้ต้องขัง


การฝึกอบรมความรู้ทักษะการตัดเย็บแก่ผู้ต้องขัง


การฝึกอบรมความรู้ทักษะการทำอาหารแก่ผู้ต้องขัง


การฝึกซ้อมดนตรีของผู้ต้องขัง


การฝึกซ้อมการแสดงกลุ่มของผู้ต้องขัง


ผู้ต้องขังเรือนจำจิ่นเจียงซื้อสินค้าในร้านค้าเรือนจำ


บริบทว่าด้วยเรือนจำการศึกษาใน USA


โดยสรุป

การดำเนินงานของเรือนจำจิ่นเจียง มณฑลเสฉวน ประเทศจีน ที่มีนโยบายเน้นหนักในด้านการจัดมาตรฐานการศึกษา ทั้งการฝึกอบรมวิชาชีพ และ การศึกษาทางวิชาการแก่ผู้ต้องขัง โดยการมุ่งเน้นฝึกอบรมความรู้ ทักษะ อาชีพ การฝึกอบรมรูปแบบจำลองการติดต่อกับสังคม และ ปรากฏผลการปฏิบัติงานการศึกษาโปรแกรมต่างๆ ที่ได้มาตรฐาน และ เป็นรูปธรรมชัดเจน เช่น โปรแกรมการฝึกระเบียบวินัยแก่ผู้ต้องขัง โปรแกรมการฝึกอบรมวิชาชีพเย็บปักถักร้อยแก่ผู้ต้องขัง โปรแกรมการฝึกวิชาชีพเครื่องปั้นดินเผาแก่ผู้ต้องขัง โปรแกรมการฝึกอบรมความรู้ ทักษะการล้างรถแก่ผู้ต้องขัง โปรแกรมการฝึกอบรมความรู้ทักษะการตัดเย็บแก่ผู้ต้องขัง โปรแกรมการฝึกอบรมความรู้ทักษะการทำอาหารแก่ผู้ต้องขัง โปรแกรมการฝึกอบรมความรู้ทักษะดนตรีของผู้ต้องขัง โปรแกรมการฝึกอบรมความรู้ทักษะการแสดงกลุ่มของผู้ต้องขัง รวมตลอดถึงการฝึกอบรมรูปแบบจำลองการติดต่อกับสังคม เป็นต้น จึงอาจกล่าวได้ว่าเรือนจำจิ่นเจียงเป็นตัวอย่างของ เรือนจำการศึกษา (Prison education) หรือโปรแกรมเรือนจำการศึกษาที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง


.............................




คำสำคัญ (Tags): #การฝึกอบรมวิชาชีพ (Vocational training)#การศึกษาทางวิชาการ (Academic education)#การพัฒนาบุคคล (Personal development)#การลดการกระทำความผิดซ้ำ (Reductions in recidivism)#การฝึกอบรมรูปแบบจำลองการติดต่อกับสังคม#โปรแกรมการฝึกระเบียบวินัยแก่ผู้ต้องขัง#โปรแกรมการฝึกอบรมวิชาชีพเย็บปักถักร้อยแก่ผู้ต้องขัง#โปรแกรมการฝึกวิชาชีพเครื่องปั้นดินเผาแก่ผู้ต้องขัง#โปรแกรมการฝึกอบรมความรู้ ทักษะการล้างรถแก่ผู้ต้องขัง#โปรแกรมการฝึกอบรมความรู้ทักษะการตัดเย็บแก่ผู้ต้องขัง#โปรแกรมการฝึกอบรมความรู้ทักษะการทำอาหารแก่ผู้ต้องขัง#โปรแกรมการฝึกอบรมความรู้ทักษะดนตรีแก่ผู้ต้องขัง#โปรแกรมการฝึกอบรมความรู้ทักษะการแสดงกลุ่มของผู้ต้องขัง#โปรแกรมการฝึกอบรมรูปแบบจำลองการติดต่อกับสังคม#เรือนจำจิ่นเจียง มณฑลเสฉวน ประเทศจีน#(Prison education)#เรือนจำการศึกษา (Prison education)
หมายเลขบันทึก: 590739เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2015 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2015 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

บ้านเรามีเรือนจำแบบนี้มั๊ยคะ

มีครับพี่ nui แต่.......ขอบคุณมากน่ะครับพี่

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท