ตัวอย่างคู่มือการดําเนินงานของสนามบินอนุญาตสนามบินเลย​


ตัวอย่างคู่มือการดําเนินงานของสนามบินอนุญาตสนามบินเลย​

อ้างอิงจากไฟล์นี้ครับ ทยล. http://1drv.ms/1KoLsCX

การเปิดให้บริการแก่สาธารณะของสนามบินกรมการบินพลเรือน

18 พฤษภาคม 2015 เวลา 23:36 น.

พรบ.การเดินอากาศ มาตรา ๖๐/๓๔

สนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตที่ดําเนินการโดยกรมการขนส่งทางอากาศ จะ เปิดให้บริการแก่สาธารณะได้ต่อเมื่อ

- ระบบการจัดการด้านนิรภัย

- ระบบการรักษาความปลอดภัย

- ระบบการตรวจสอบภายใน(การจัดการบุคคลากร+ระบบควบคุมภายใน) และ

- คู่มือการดําเนินงานของสนามบินอนุญาต

หรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตนั้น ได้มาตรฐานตามที่กําหนดไว้ในมาตรา๖๐/๑๕ วรรคสาม

การดําเนินงานสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตตามวรรคหนึ่งให้อยู่ใน ระบบการควบคุมและการตรวจสอบตามที่คณะกรรมการการบินพลเรือนกําหนด

พรบ.การเดินอากาศ มาตรา ๖๐/๑๕

วรรค (๓) คู่มือการดำเนินงานสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตนั้น โดย.................

(ก) จัดให้มี ปรับปรุง และปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับ

กระบวนการการดําเนินงานระบบการจัดการด้านนิรภัย

การรักษาความปลอดภัย และ

ระบบการตรวจสอบภายในของสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตนั้น

(ข) จัดให้มี บุคลากรอย่างเพียงพอ และมีระบบควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ ของบุคลากรดังกล่าวอยู่เสมอ

(ค) จัดให้มี คู่มือการดําเนินงานสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตสําหรับบุคลากรอย่างครบถ้วน และปรับปรุงหรือแก้ไขคู่มือการดําเนินงานดังกล่าวให้ทันสมัยอยู่เสมอ

(ง) รักษาสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต สิ่งอํานวยความสะดวกรวมทั้งสิ่งติดตั้งและอุปกรณ์ในสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตนั้น ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดในข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน

(จ) ควบคุมดูแลการบริการภายในสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตตามที่ได้รับใบรับรองนั้น ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดในข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน

(ฉ) จัดทํา รายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามระเบียบที่อธิบดีกําหนด

(๔) ให้ความร่วมมือแก่อธิบดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดําเนินการตามมาตรา ๖๐/๑๙ มาตรา ๖๐/๒๐ และมาตรา ๖๐/๒๒

(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวงการดําเนินงานสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตตาม (๓) ให้เป็นไปตามประเภทใบรับรองการดําเนินงานสนามบินสาธารณะที่ได้รับ

ระเบียบเกี่ยวกับกระบวนการการดําเนินงาน ระบบการตรวจสอบภายใน ระบบควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร และคู่มือการดําเนินงานตาม (๓) ให้เป็นไปตาม มาตรฐานและมีข้อมูลที่ครบถ้วนตามระเบียบที่อธิบดีกําหนด

ตัวอย่างคู่มือการดําเนินงานของสนามบินอนุญาตสนามบินเลย

ตัวอักษรสีแดงอมน้ำตาลคือข้อความที่แก้ไขไดยการ "เพิ่ม" เติมข้อความ(ประชุมข้อราชการประจำเดือน พ.ค. ๒๑ พ.ค.๕๘)


อ้างอิงจากไฟล์นี้ครับ ทยล.

ตัวอย่างคู่มือสนามบินเลย

http://1drv.ms/1KoLsCX

ส่วนที่ 1

บททั่วไป


1.1 ความมุ่งประสงค์และขอบเขตของคู่มือสนามบิน

โดยที่ประเทศไทยเป็น ภาคีสมาชิก ของอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ซึ่งทำขึ้นที่เมือง ชิคาโก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2487 จึงมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาดังกล่าวโดยเฉพาะกรมการบินพลเรือน ซึ่งเป็นหน่วยราชการที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการสนามบิน

ตามข้อ 34 แห่งอนุสัญญาฯ กำหนดพันธกรณีให้รัฐภาคีร่วมมือให้ได้ภาวะเอกรูปสูงสุด ซึ่งมาตรฐานวิธีดำเนินการ วิธีปฏิบัติ และกฎระเบียบ ซึ่งองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศตกลงเลือกใช้ และกำหนดให้เป็นภาคผนวก

ภาคผนวก 14 กำหนดเรื่องมาตรฐานและวิธีดำเนินการของสนามบินที่ให้บริการสาธารณะ ซึ่งจะต้องดำเนินการได้อย่างปลอดภัย

โดยที่มาตรา ๖๐/๓๔ บัญญัติให้ สนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตที่ดำเนินการ

โดยกรมการบินพลเรือน จะเปิดให้บริการแก่สาธารณะได้ต่อเมื่อระบบการจัดการด้านนิรภัย

การรักษาความปลอดภัย ระบบการตรวจสอบภายใน และคู่มือการดำเนินงานของสนามบิน

อนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตนั้นได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๖๐/๑๕ วรรคสาม

1.1.1 คู่มือปฏิบัติงานสนามบินฉบับนี้ มีจุดประสงค์ ดังนี้

1. เพื่อใช้แสดงถึงวิธีปฏิบัติงานของสนามบินให้เกิดความปลอดภัยต่ออากาศยาน

2. เพื่อใช้เป็นที่รวบรวมข้อมูลสนามบิน

3. เพื่อใช้เป็นเอกสารอ้างอิงสำหรับการตรวจสอบการดำเนินงานสนามบินให้เป็นไปตามข้อกำหนดและมาตรฐาน ต่าง ๆ

1.1.2 ขอบเขตคู่มือฯ

วิธีการปฏิบัติงานสำหรับท่าอากาศยานเลยเท่านั้น

1.2 กฎ ระเบียบข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสนามบินและข้อมูลในคู่มือ

ปฏิบัติการบิน

1.2.1 มาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ห้ามมิให้บุคคลใดจัดตั้งสนามบินหรือเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงาน เจ้าหน้าที่โดยอนุมัติรัฐมนตรี

1.2.1 พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551

มาตรา ๖๐/๓๔ สนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตที่ดำเนินการ

โดยกรมการบินพลเรือน จะเปิดให้บริการแก่สาธารณะได้ต่อเมื่อระบบการจัดการด้านนิรภัย

การรักษาความปลอดภัย ระบบการตรวจสอบภายใน และคู่มือการดำเนินงานของสนามบิน

อนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตนั้นได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๖๐/๑๕ วรรคสาม

การดำเนินงานสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตตามวรรคหนึ่งให้อยู่

ในระบบการควบคุมและการตรวจสอบตามที่คณะกรรมการการบินพลเรือนกำหนด

มาตรา ๖๐/๑๕๕๕ ผู้ได้รับใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะมีหน้าที่

ดังต่อไปนี้

(๑) ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการอย่างเสมอภาค และจัดเก็บค่าบริการ ค่าภาระหรือ

เงินตอบแทนอื่นใดให้เป็นไปตามมาตรา ๕๖ และมาตรา ๖๐/๓๗

(๒) ควบคุมการดำเนินการของผู้จัดการสนามบินสาธารณะ

(๓) ดำเนินงานสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตนั้น โดย

(ก) จัดให้มี ปรับปรุง และปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับกระบวนการการ

ดำเนินงานระบบการจัดการด้านนิรภัย การรักษาความปลอดภัย และระบบการตรวจสอบภายใน

ของสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตนั้น

(ข) จัดให้มีบุคลากรอย่างเพียงพอ และมีระบบควบคุมดูแลการปฏิบัติ

หน้าที่ของบุคลากรดังกล่าวอยู่เสมอ

(ค) จัดให้มีคู่มือการดำเนินงานสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราว

อนุญาตสำหรับบุคลากรอย่างครบถ้วน และปรับปรุงหรือแก้ไขคู่มือการดำเนินงานดังกล่าวให้

ทันสมัยอยู่เสมอ

(ง) รักษาสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต สิ่งอำนวยความ

สะดวกรวมทั้งสิ่งติดตั้งและอุปกรณ์ในสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตนั้น ให้เป็นไป

ตามมาตรฐานที่กำหนดในข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน

(จ) ควบคุมดูแลการบริการภายในสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราว

อนุญาตตามที่ได้รับใบรับรองนั้น ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดในข้อบังคับของคณะกรรมการ

การบินพลเรือน

(ฉ) จัดทำรายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด

(๔) ให้ความร่วมมือแก่อธิบดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการตาม

มาตรา ๖๐/๑๙ มาตรา ๖๐/๒๐ และมาตรา ๖๐/๒๒

(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

การดำเนินงานสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตตาม (๓) ให้เป็นไป

ตามประเภทใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะที่ได้รับ

ระเบียบเกี่ยวกับกระบวนการการดำเนินงาน ระบบการตรวจสอบภายใน ระบบ

ควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร และคู่มือการดำเนินงานตาม (๓) ให้เป็นไปตาม

มาตรฐานและมีข้อมูลที่ครบถ้วนตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด

1.2.2 ข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน ฉบับที่ 4 ฉบับที่ 80 ฉบับที่ 82 ฉบับที่ 83

1.2.3 ระเบียบกรมการบินพลเรือนว่าด้วยมาตรฐานของระเบียบเกี่ยวกับ

กระบวนการการดำเนินงานสนามบิน พ.ศ. ๒๕๕๗

ระเบียบเกี่ยวกับกระบวนการการดำเนินงาน พ.ศ. 2556

ระเบียบระบบการตรวจสอบภายใน พ.ศ. 2556

ระเบียบระบบควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร พ.ศ. 2556

1.3 เงื่อนไขการอนุญาตใช้สนามบิน ท่าอากาศยานเลย สามารถเปิดใช้ หรือให้บริการตามเงื่อนไข ดังนี้

1.3.1 ช่วงเวลาเปิดใช้บริการ คือ ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น ถึง พระอาทิตย์ตก และเวลาอื่นนอกเหนือจากนี้โดยเปิดให้ใช้เป็นกรณีไปตามที่ร้องขอ โดยแจ้งเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศทราบ 3 ชั่วโมงล่วงหน้าก่อนทำการบิน หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศท่าอากาศยานเลย คือ 089-920-5427

1.3.2 ประเภทของการจราจรที่ปฏิบัติ VFR และ IFR และ GENERAL RULES

1.3.3 ประเภทของทางวิ่งที่ให้บริการ NON-PRECISION INSTRUMENT RUNWAY

1.3.4 ท่าอากาศยานเลย จัดอยู่ในระดับ ความคุ้มครอง ขีดความสามารถในการดับเพลิงและกู้ภัยสนามบิน ระดับ ๖ (Category ๖)

1.4 ระบบบริการข่าวสารการบินที่มีให้ และวิธีดำเนินการในการประกาศใช้

1.4.1 มี AIP THAILAND อยู่ที่ฝ่ายความปลอดภัย เบอร์โทรศัพท์ ท่าอากาศยานเลย

1.4.2 มี NOTAM รวบรวมอยู่ที่ฝ่ายความปลอดภัย ท่าอากาศยานเลย

1.4.3 มีข้อมูลเกี่ยวกับข่าวสารการเดินอากาศ แจ้งมาทาง AFTN ที่ฝ่ายบริหารและพิธีการบิน ท่าอากาศยานเลย

วิธีดำเนินการในการประกาศใช้ข่าวสารการเดินอากาศ รายละเอียดตามข้อ 4.1

1.5 ระบบการบันทึกข้อมูลของอากาศยาน

ข้อมูลของอากาศยานมี ๕ ประภทคือ

1.5.1 แผนการบิน (FLIGHT PLAN) แจ้งทางโทรพิมพ์ เป็นข้อมูลของอากาศยานที่จะทำการบินมาถึงท่าอากาศยานเลย ประกอบด้วย ชื่อสายการบิน แบบอากาศยาน เครื่องหมายสัญชาติและทะเบียน เวลามาถึง/ออกจากท่าอากาศยาน ฯลฯ แผนการบินนี้ นายจตุพงษ์ จันภูถิ่น ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ตรวจอาวุธและวัตถุอันตราย รับผิดชอบในการติดตามความเคลื่อนไหวและเก็บข้อมูลในแฟ้ม FLIGHT PLAN ผู้ที่จะต้องรับทราบเกี่ยวกับแผนการบินด้วยคือ นายธีรวัฒน์ ตั้งทิพย์รักษ์, นางรจนา นครขวาง , นายณรงค์เดช ดวงชัย และ นายธนภัทร รีทหาร ซึ่งเวียนกันทำหน้าที่เวรอำนวยการ ระบุตำแหน่งและเบอร์โทรติดต่อแทนการลงชื่อ

1.5.2 ข้อมูลสถิติ TUL เป็นข้อมูลในรายละเอียดของอากาศยานที่ทำการบินขึ้นลงท่าอากาศยานเลย ประกอบด้วย ชื่อเที่ยวบิน แบบอากาศยาน เครื่องหมายสัญชาติและทะเบียน วันเวลาขึ้นลง จำนวนผู้โดยสาร และสินค้าเข้าออก ข้อมูลดังกล่าวนี้ ได้มาจาก AIR TRAFFIC CONTROL RECORD และ AIRPORT REPORT วิธีการบันทึกข้อมูล นำข้อมูลจาก AIRPORT REPORT ซึ่งจัดไว้ที่เคาน์เตอร์ AIRPORT REPORT สำหรับนักบินลงข้อมูล และ AIR TRAFFIC CONTROL RECORD มาบันทึกลงในโปรแกรมสถิติ On web ของทุกสัปดาห์ และพิมพ์ข้อมูลเก็บในรูปเอกสารของทุกเดือน ผู้รับผิดชอบ นายอดิศร คำปัน ตำแหน่ง พนักงานขับรถยนต์ระบุตำแหน่งและเบอร์โทรติดต่อแทนการลงชื่อ

1.5.3 AIRPORT REPORT เป็นสมุดปูมลงรายละเอียดเกี่ยวกับเที่ยวบิน ประกอบด้วย ชื่อเที่ยวบิน [flight number] วันเวลาที่เที่ยวบินทำการบินมาลง แบบอากาศยาน เครื่องหมายสัญชาติทะเบียน ชื่อบริษัทการบิน ชื่อนักบินผู้ควบคุมอากาศยาน สนามบินต้นทาง/ปลายทาง จำนวนผู้โดยสาร สินค้า เข้า/ออก/ผ่าน AIRPORT REPORT นี้จัดไว้ที่เคาท์เตอร์ AIRPORT REPORT (ข้างเคาท์เตอร์ประชาสัมพันธ์ประตูทางเข้าอาคารที่พักผู้โดยสาร) ชั้นล่างของอาคารผู้โดยสารเพื่อให้นักบินลงรายละเอียดหลังจากนำอากาศยานทำการบินมาลง ผู้รับผิดชอบ คือ นายองอาจ คำธิศรี ตำแหน่ง ผู้ดูแลสนามบิน และนางสาวสุพัตรา สุธรรมวงศ์ ตำแหน่ง ประชาสัมพันธ์

1.5.4 AIR TRAFFIC CONTROL RECORD เป็นข้อมูลที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับอากาศยานที่ทำการบินเข้ามาในเขตความรับผิดชอบการควบคุมจราจรทางอากาศของหอบังคับการบินเลยในแต่ละวัน ประกอบด้วยแบบอากาศยาน เครื่องหมายสัญชาติและทะเบียน บริษัทการบิน สนามบินต้นทาง/ปลายทาง และเวลาเข้า/ออก ข้อมูลนี้เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บ

1.5.5 ข่าวการเคลื่อนไหวของอากาศยาน (Aircraft Movement) เป็นข่าวโทรพิมพ์ แจ้งการทำการบินออกจากสนามบินต้นทางและการมาถึงสนามบินปลายทาง ประกอบด้วยชื่อเที่ยวบิน สนามบินต้นทาง/ปลายทาง เวลาออกจากสนามบินต้นทาง หรือสนามบินปลายทาง ข่าวการเคลื่อนไหวของอากาศยานนี้ ข่าวการทำการบินออกมา (Departure) หอควบคุมจราจรทางอากาศสนามบินต้นทางเป็นผู้ออก และข่าวการมาถึง (Arrival) หอควบคุมจราจรทางอากาศสนามบินปลายทางเป็นผู้ออก มีจุดประสงค์เพื่อยืนยันการทำการบินออก/มาถึงสนามบินต้นทาง/ปลายทางและการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานอุบัติเหตุ ข่าวดังกล่าวนี้ส่งมาทางโทรพิมพ์ ผู้รับผิดชอบ คือ นายจตุพงษ์ จันภูถิ่น ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ตรวจอาวุธและวัตถุอันตราย ทำหน้าที่ดูแลและรวบรวมข้อมูลเก็บไว้ในแฟ้ม Aircraft Movement ในห้องฝ่ายบริหารและพิธีการบิน

1.6 พันธะของผู้ดำเนินการสนามบินหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าของหรือผู้ดำเนินงานสนามบิน

1.6.1 ท่าอากาศยานเลยมาจะปฏิบัติตามมาตรฐานและวิธีปฏิบัติที่ระบุไว้ในข้อ 1.2

1.6.2 การใช้เจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถในการปฏิบัติงานสนามบินและซ่อมบำรุง

1.6.2.1 ท่าอากาศยานเลยจะจัดหาเจ้าหน้าที่ที่มีคุณสมบัติและมีทักษะเพื่อการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในจำนวนที่เพียงพอ ท่าอากาศยานเลย จะว่าจ้างบุคลากรเฉพาะที่ผ่านการฝึกอบรมและได้รับประกาศนียบัตรรับรองในตำแหน่งที่กรมการบินพลเรือนเห็นว่าจำเป็น

1.6.2.2 หากบุคลากรที่ว่าจ้างไม่เป็นไปตามข้อ 1.6.2.1 ท่าอากาศยานจะจัดการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ดังกล่าว เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะและประเมินผลการปฏิบัติงานอยู่เสมอ

1.6.3 การปฏิบัติงานสนามบินและการซ่อมบำรุง

1.6.3.1 ท่าอากาศยานเลย จะดำเนินงานและซ่อมบำรุงสนามบินตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในคู่มือฉบับนี้ภายใต้คำแนะนำของสำนักมาตรฐานสนามบิน กรมการบินพลเรือน และจะปรับปรุงแก้ไขขั้นตอนการปฏิบัติดังกล่าวตามที่สำนักมาตรฐานสนามบิน สั่งเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อความปลอดภัยของอากาศยาน

1.6.3.2 ท่าอากาศยานเลยรับรองว่าจะซ่อมบำรุงเครื่องอำนวยความสะดวกในสนามบินอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

1.6.3.3 ท่าอากาศยานเลย จะประสานกับหน่วยบริการข้อมูลข่าวสารเพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริการควบคุมจราจรทางอากาศจะมีตามสมควร เพื่อความปลอดภัยของอากาศยานที่ทำการบินเข้ามาในเขตความรับผิดชอบ ทั้งนี้รวมทั้งจะประสานกับหน่วยอื่นด้วย เช่น สถานีอุตุนิยมวิทยาเลย หน่วยงานรักษาความปลอดภัย หอควบคุมจราจรทางอากาศ เป็นต้น

1.6.4 ระบบจัดการความปลอดภัย

ท่าอากาศยานเลยจะจัดระบบจัดการความปลอดภัย (SAFETY MANAGEMENT SYSTEM) เพื่อลดความเสี่ยง และความบกพร่องต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ และจะทบทวนระบบจัดการความปลอดภัยดังกล่าวเป็นระยะๆ ทุก 6 เดือน

ท่าอากาศยานเลยจะประสานกับผู้ประกอบการในท่าอากาศยานที่มีกิจกรรมเกี่ยวข้องกับเที่ยวบิน เช่น สายการบิน , GROUND HANDLING AGENCY และ FIXED-BASED OPERATION, บริษัทน้ำมัน (ถ้ามีในโอกาสต่อไป) รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ เช่น บริษัทวิทยุการบิน และ กรมอุตุนิยมวิทยา ด้วยให้ปฏิบัติตามระบบจัดการความปลอดภัยดังกล่าวและจะติดตามผลการปฏิบัติของหน่วยเกี่ยวข้องดังกล่าวด้วย

เมื่อมีอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ หรือ ความผิดพลาดใด ๆ เกิดขึ้นในท่าอากาศยาน ท่าอากาศยานเลยจะแจ้งหน่วยงานเกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้นทันที เพื่อมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา หรือ เข้าร่วมโครงการที่ส่งเสริมความปลอดภัย

1.6.5 การตรวจสอบภายในด้านความปลอดภัยและการรายงานด้านความปลอดภัย

ท่าอากาศยานเลยจะจัดให้มีการตรวจสอบระบบจัดการความปลอดภัย เช่น การจัดการเกี่ยวกับการบำรุงรักษา สิ่งแวดล้อมทางกายภาพของการทำงาน ความปลอดภัยของอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ระบบ ทำงานที่ปลอดภัย แผนฉุกเฉิน รวมถึงการตรวจสิ่งอำนวยความสะดวกในท่าอากาศยานและอุปกรณ์ด้วย นอกจากนี้ท่าอากาศยานเลย จะจัดให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติตาม ระบบจัดการความปลอดภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าวด้วย (มีระเบียบกรมการบินพลเรือน เรื่องการตรวจสอบภายในของผู้ดำเนินการสนามบิน) อยู่ในเว็บไซต์ กรมการบินพลเรือน

ท่าอากาศยานเลยจะตรวจสอบความปลอดภัยทุก 6 เดือน

1.6.6 การอำนวยความสะดวกให้ กองมาตรฐานสนามบิน กรมการบินพลเรือนเข้าตรวจสอบสนามบิน

ท่าอากาศยานเลยจะอนุญาตให้ กองมาตรฐานสนามบิน กรมการบินพลเรือนเข้าตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวกในท่าอากาศยาน บริการและอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงตรวจเอกสาร บันทึกการปฏิบัติงาน และทดสอบระบบจัดการความปลอดภัย ก่อนที่กรมการบินพลเรือนจะออกใบอนุญาตสนามบิน หรือ ต่อใบอนุญาต หรือ เมื่อใดก็ได้ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย

1.6.7 การแจ้งข้อมูลและการรายงาน (Notifying and Reporting)

1.6.7.1ท่าอากาศยานเลยจะแจ้งความคลาดเคลื่อนของข้อมูลที่ประกาศในเอกสารแถลงข่าวการบิน (AIP Thailand) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับท่าอากาศยานเลย จะตรวจสอบ AIP, AIP SUPPLEMENTS, AIP AMENDMENTS, NOTAM และ AIC ซึ่งออกโดยหน่วยงานบริการข่าวสารการบินในทันทีที่ได้รับ และเมื่อพบว่ามีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ท่าอากาศยานเลยจะแจ้งหน่วยงานบริการข่าวสารการบินเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องทันที

1.6.7.2ท่าอากาศยานเลยจะแจ้งการเปลี่ยนแปลงของสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ ระดับของการบริการที่วางแผนไว้ล่วงหน้า ให้หน่วยงานบริการข่าวสารการบินทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างน้อย 7 วันก่อน มีผลใช้บังคับ

1.6.7.3ท่าอากาศยานเลยจะดำเนินการแจ้งหน่วยงานบริการข่าวสารการบินทันทีในเหตุการณ์ต่อไป

(1)การยิง หรือปล่อยวัตถุขึ้นไปในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศของท่าอากาศยาน

(2)การมีอยู่ของสิ่งกีดขวาง หรือ สภาวะที่อาจมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในการบิน ในบริเวณหรือใกล้ท่าอากาศยาน

(3)ระดับของการบริการ เช่น การลดระดับขีดความสามารถ

(4)(LEVEL OF PROTECTION) ของกู้ภัยและดับเพลิงอากาศยาน

(5)การปิด หรือไม่ใช้งานส่วนใดๆ ของพื้นที่เคลื่อนไหว และสภาวะอื่นใดที่อาจมีผลกระทบต่อความปลอดภัยของการบินในท่าอากาศยาน ซึ่งจะต้องมีการแจ้งเตือนล่วงหน้า

1.6.8 การตรวจพิเศษ (SPECIAL INSPECTIONS)

ท่าอากาศยานเลยจะจัดให้มีการตรวจพิเศษในโอกาสต่อไปนี้เพื่อความปลอดภัย

(1) หลังอากาศยานเกิดอุบัติเหตุ หรืออุบัติการณ์ทันทีที่สามารถทำได้

(2) ในระหว่างช่วงเวลาที่มีการก่อสร้าง หรือซ่อมบำรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในท่าอากาศยานหรืออุปกรณ์ ซึ่งมีผลต่อความปลอดภัยทางปฏิบัติการบิน และ

(3) ทุกเมื่อ ถ้ามีเหตุการณ์ใดในท่าอากาศยานที่อาจมีผลต่อความปลอดภัยในการบิน

1.6.9 การเคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางออกจาก AERODROME SURFACE

ท่าอากาศยานเลยจะจัดการให้ในบริเวณ AERODROME SURFACE ไม่มีสิ่งกีดขวาง หรือ ยานพาหนะในลักษณะที่จะเป็นอันตรายต่ออากาศยาน

1.6.10 ป้ายเตือนการประกาศเตือน

ในจุดที่เห็นว่าคนและยานพาหนะอาจได้รับอันตรายจากอากาศยานซึ่งบินต่ำ หรือ อยู่ในระหว่างขับเคลื่อน ท่าอากาศยานจะติดป้ายเตือน

ในกรณีที่อากาศยานทำการบินในระดับต่ำ หรือใกล้บริเวณสนามบิน หรือการขับเคลื่อนของอากาศยาน ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนหรือยานพาหนะ ให้ดำเนินการดังนี้

1.6.10.1 ติดประกาศเตือนถึงอันตราย ณ บริเวณสาธารณะที่อยู่ใกล้เคียง กับพื้นที่ขับเคลื่อนของอากาศยาน

1.6.10.2 แจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบติดประกาศเตือนถึงอันตราย ณ บริเวณสาธารณะ หากบริเวณดังกล่าวไม่อยู่ในการควบคุม

..................................................................

ส่วนที่ 4

รายละเอียดของวิธีดำเนินการสนามบินและมาตรการความปลอดภัย

(PARTICULARS OF THE AERODROME OPERATING PROCEDURES AND SAFERY MEASURES)

4.1 การรายงานของสนามบิน (AERODROME REPORTING)

เพื่อความปลอดภัย สะดวก และรวดเร็ว ในการทำการบินขึ้น/ลง ณ ท่าอากาศยานเลย กรณีมีการปิด สร้าง ซ่อม อุบัติเหตุ หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร ผู้รับผิดชอบต้องแจ้งเหตุการณ์ให้ผู้ที่ใช้บริการหรือผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ เพื่อจะได้ปฏิบัติตามสถานการณ์นั้น ได้อย่างถูกต้อง โดยส่วนที่เป็นข้อมูลถาวรจะแจ้งออกเป็นเอกสารแถลงข่าวการบิน (Aeronautical Information Publication Thailand/ AIP-THAILAND) และส่วนที่เป็นข้อมูลชั่วคราว จะแจ้งออกเป็นประกาศนักบิน (NOTAM) โดยวิธีการรายงานการเปลี่ยนแปลงและการบันทึกรายงานการเปลี่ยนแปลงแต่ละกรณี ดังนี้

4.1.1 การรายงาน/การออกประกาศ แจ้งเหตุการณ์ สภาพหรือการปฏิบัติงานของท่าอากาศยานเลย มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องที่ใช้สนามบินทราบสถานการณ์และปฏิบัติงานตามสถานการณ์ได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด

4.1.2 กรณีที่สภาพสิ่งอำนวยความสะดวก การปฏิบัติงาน ฯลฯ ของท่าอากาศยานเลย เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือการถาวรที่จะมีข้อมูลแตกต่างจากข้อมูลที่ประกาศไว้ใน AIP THAILAND ผู้ที่รับผิดชอบในสภาพ สิ่งอำนวยความสะดวก การปฏิบัติงาน นั้น ๆ ตามข้อ 4.1.4 ที่มีการเปลี่ยนแปลง ต้องออกประกาศนักบิน (NOTAM) หรือขอให้ท่าอากาศยานเลยออกประกาศนักบิน (NOTAM) ให้ตามขั้นตอนในข้อ 4.1.4

4.1.3 สิ่งหรือเหตุการณ์ที่ออกประกาศนักบิน (NOTAM) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน ANNEX 15 CHAPTER 5 และเหตุการณ์หรือพิธีกรรมบางอย่างภายในและภายนอกท่าอากาศยานเลย ซึ่งทางท่าอากาศยานเลย พิจารณาแล้วเห็นว่าจะมีผลกระทบถึงความปลอดภัยต่อการปฏิบัติการบินและการเดินทางอากาศ ท่าอากาศยานเลย จะต้องออกประกาศนักบิน (NOTAM) ทันที และการเริ่มออกประกาศนักบิน (NOTAM) จะต้องมีการปฏิบัติตามข้อมูลข่าวสารการบินที่เป็นเรื่องชั่วคราว และมีระยะเวลาสั้น ๆ หรือออกเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของเรื่องที่มีระยะเวลานาน แต่จะต้องแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบด่วน ยกเว้น ข่าวที่ยาวเกินไปและเป็นรูปภาพ ดังนี้

4.1.3.1 การเปิด – ปิด สนามบินและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อการปฏิบัติการของสนามบินและทางวิ่ง

4.1.3.2การติดตั้ง การยกเลิก (รื้อถอน) และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อการปฏิบัติการในด้านสนามบิน การบริการข้อมูลข่าวสารการบิน การบริการจราจรทางอากาศ การสื่อสารการบิน การบริการข่าวอากาศ การค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยและอื่น ๆ

4.1.3.3 การติดตั้ง การยกเลิก (รื้อถอน) ของเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องช่วยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินอากาศและสนามบน รวมถึงการขัดข้องหรือการกลับมาใช้งานได้อีก การเปลี่ยนแปลงความถี่วิทยุ และการเปลี่ยนแปลงเวลาทำการที่แจ้งไว้ การเปลี่ยนแปลงชื่อ การเปลี่ยนแปลงของทิศทาง (เครื่องช่วยบอกทิศทาง) การย้าย หรือการเปลี่ยนแปลงที่ตั้ง การเพิ่มหรือลดของกำลังส่ง ตั้งแต่ 50% หรือมากกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลา หรือข้อความที่ออกอากาศความผิดปกติ (ไม่สม่ำเสมอ) หรือความไม่น่าไว้วางใจในการทำงานของเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องช่วยในการเดินอากาศ และการบริการสื่อสารระหว่างอากาศยานกับภาคพื้นดิน

4.1.3.4 การติดตั้ง ยกเลิก (รื้อถอน) หรืออากรเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของเครื่องช่วยในการเดินอากาศประเภททัศนวิสัย

4.1.3.5 การขัดข้องหรือการกลับมาปฏิบัติงาน ได้อีกของส่วนประกอบที่สำคัญของระบบไฟฟ้าสนามบิน

4.1.3.6 การกำหนด การยกเลิก การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของวิธีปฏิบัติการในด้านการบริการการเดินอากาศ

4.1.3.7 การเกิดหรือการแก้ไข สิ่งที่บกพร่องสำคัญ ๆ หรือสิ่งกีดขวางที่เกิดขึ้นในพื้นที่ขับเคลื่อน

4.1.3.8 การเปลี่ยนแปลงและข้อจำกัดในการให้บริการด้านน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่นและออกซิเจน

4.1.3.9 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของอุปกรณ์และบริการต่าง ๆ ที่จัดไว้ในการค้นหาและช่วยเหลือ

4.1.3.10 การติดตั้ง การยกเลิก (รื้อถอน) หรือการกลับใช้งานได้อีกของไฟแสดงสิ่งกีดขวางที่สำคัญในการเดินอากาศ

4.1.3.11 การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ทันที เช่น พื้นที่หวงห้ามเพื่อการปฏิบัติงานค้นหาและช่วยเหลือ

4.1.3.12 อันตรายที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อการเดินอากาศ รวมทั้ง สิ่งกีดขวางต่าง ๆ การฝึกทางทหาร การบินโชว์ บินแข่งขัน การกระโดดร่มที่สำคัญ ๆ นอกพื้นที่ที่ประกาศไว้ รวมถึง ข่าวที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินอากาศ ในเรื่องดังต่อไปนี้

4.1.3.12.1 การบินดัดแปรสภาพอากาศ

4.1.3.12.2 การบินดับไฟป่า

4.1.3.12.3 การบินทดสอบอุปกรณ์เครื่องช่วยเดินอากาศ

4.1.3.12.4 การบินถ่ายภาพทางอากาศ

4.1.3.12.5 การบินปฏิบัติการฝนหลวง

4.1.3.12.6 การบินพ่นทางการเกษตร

4.1.3.12.7 การบินสำรวจทางอากาศ

4.1.3.12.8 การปล่อยโคมลอย

4.1.3.12.9 การปล่อยบัลลูน/ลูกโป่ง

4.1.3.12.10 การยิงบั้งไฟ

4.1.3.12.11 เรื่องอื่น ๆ ที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมการบินพลเรือน

4.1.3.13 การสร้าง การเคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางต่อการเดินอากาศในเขต Take – off Climb, Missed approach area และ runway strip.

4.1.3.14 การกำหนดให้มี หรือการยกเลิก (รวมทั้ง ระยะเวลาที่มีผลบังคับใช้และสิ้นสุด) หรือการเปลี่ยนแปลงสถานะของพื้นที่หวงห้าม พื้นที่กำกัด และพื้นที่อันตราย

4.1.3.15 การกำหนดให้มีหรือการหยุดใช้พื้นที่หรือเส้นทางบิน หรือบางส่วนของเส้นทางบิน ในกรณีที่มีการบินสกัดกั้น และการบำรุงรักษาให้การเฝ้าฟัง VHF ความถี่ฉุกเฉิน 121.5 เมกะเฮิรตซ์

4.1.3.16 การกำหนด การยกเลิก หรือการเปลี่ยนแปลง จุดแสดงตำแหน่งตำบลที่ (Location indicators)

4.1.3.17 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ๆ ของระดับในการป้องกันที่มีอยู่ตามปกติ ณ สนามบินเกี่ยวกับการกู้ภัยและการดับเพลิง จะออกประกาศนักบิน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของระดับชั้นเกี่ยวกับการกู้ภัยและการดับเพลิงของท่าอากาศยาน การเปลี่ยนแปลงระดับชั้นดังกล่าว จะต้องแจ้งให้ชัดเจน

4.1.3.18 การเกิดหรือการเคลื่อนย้าย หรือการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของสภาพที่เป็นอันตราย เนื่องจากหิมะ โคลน น้ำแข็ง หรือน้ำบนพื้นที่ขับเคลื่อน

4.1.3.19 การเกิดโรคระบาดที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงมาตรการในการปลูกฝี ฉีดวัคซีน และการกักพืชสัตว์

4.1.3.20 การพยากรณ์เกี่ยวกับการแผ่รังสี solar cosmic

4.1.3.21 การปล่อยหรือส่งวัตถุขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศของวัตถุกัมมันตรังสี หรือสารพิษที่เกิดจากนิวเคลียร์หรือสารพิษที่ตกค้าง ตำแหน่ง ที่ตั้ง วันและเวลาเกิดเหตุการณ์ ระดับสูง และเส้นทาง หรือส่วนที่มีผลกระทบในทิศทางที่วัตถุดังกล่าวเคลื่อนที่ไป

4.1.3.22 การกำหนดการปฏิบัติภารกิจเพื่อมนุษย์ธรรม เช่น การปฏิบัติที่อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของหน่วยงานสหประชาชาติ ที่มีวิธีการปฏิบัติ และหรือ ข้อกำกัด ซึ่งมีผลกระทบต่อการเดินอากาศ

4.1.3.23 เรื่องอื่น ๆ ที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมการบินพลเรือน

4.1.4 ขั้นตอนการออก NOTAM มีดังนี้

4.1.4.1 ท่าอากาศยานเลย เป็นผู้ออก NOTAM

(1) ฝ่ายความปลอดภัย ท่าอากาศยานเลย ขออนุมัติผู้อำนวยการท่าอากาศยานเลย หรือผู้ได้รับมอบหมาย โดยใช้ แบบฟอร์มที่ 4.1ก

(2) เมื่อได้รับอนุมัติ

ในเวลาราชการ ฝ่ายความปลอดภัย ท่าอากาศยานเลย แจ้ง กองมาตรฐานสนามบิน กลุ่มแผนและข่าวสารการเดินอากาศ ให้ออก NOTAM ทางโทรสาร 0-2287-4060 หรือติดต่อได้ที่หมายเลข 0-2286-0922 หรือ 022859355 หรือ 022870320-9 ต่อ 11542853 หรือ หรือโดยวิธีการอื่นใดที่เห็นว่าเหมาะสม แล้วแต่กรณี

นอกเวลาราชการ ฝ่ายความปลอดภัย ท่าอากาศยานเลย แจ้ง NOTAM OFFICE (NOF) ที่หมายเลขโทรศัพท์ แจ้ง NOTAM OFFICE (NOF) ที่หมายเลข โทรศัพท์ 0-2285-9832, 0-2131-3926 หรือโทรสาร 0-2285-9793 และ 0-2131-3927 และรีบดำเนินการแจ้งข่าวนั้น มายังกลุ่มแผนและข่าวสารการเดินอากาศ กองมาตรฐานสนามบิน ภายในวันทำการวันแรกที่มาถึง

4.1.4.2 บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) โดยหอบังคับการบินเลย

(1) ในเวลาราชการ ให้แจ้งข่าวให้ผู้อำนวยการท่าอากาศยานทราบ แบบฟอร์มที่ 4.1ก เพื่อดำเนินการเพื่อดำเนินการออก NOTAM ตามข้อ 4.1.4.1

(2) นอกเวลาราชการ ให้แจ้งข่าวไปยัง NOTAM OFFICE (NOF) และรีบดำเนินการแจ้งข่าวนั้น มายังกลุ่มแผนและข่าวสารการเดินอากาศ กองมาตรฐานสนามบิน ทราบภายในวันทำการวันแรกที่มาถึง

4.1.4.3 บุคคลอื่น ๆ

(1) ติดต่อ ฝ่ายความปลอดภัย ท่าอากาศยานเลย

(2) ฝ่ายความปลอดภัย ท่าอากาศยานเลย ดำเนินการตามขั้นตอนข้อ 4.1.4.1

4.1.5 ให้บุคคลดังต่อไปนี้ มีอำนาจและหน้าที่ในการแจ้งข่าว ตามข้อ 4.1.3 คือ ผู้อำนวยการ ท่าอากาศยานเลย หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมาย ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมาย เป็นผู้แจ้งข่าวให้รายงานให้ผู้อำนวยการท่าอากาศยานเลย ทราบโดยไม่ชักช้า

4.1.6 วิธีการแจ้งข่าว ตามข้อ 4.1.3

ในเวลาราชการ ให้แจ้ง สำนักมาตรฐานสนามบิน กลุ่มแผนและข่าวสารการเดินอากาศ ในเวลาราชการ ทางโทรสาร 0-2287-4060 หรือติดต่อได้ที่หมายเลข 0-2286-0922 หรือ 022859355 หรือ 022870320-9 ต่อ 1154 หรือ หรือโดยวิธีการอื่นใดที่เห็นว่าเหมาะสม แล้วแต่กรณี

นอกเวลาราชการ ให้แจ้ง NOTAM OFFICE (NOF) ที่หมายเลขโทรศัพท์ แจ้ง NOTAM OFFICE (NOF) ที่หมายเลข โทรศัพท์ 0-2285-9832, 0-2131-3926 หรือโทรสาร 0-2285-9793 และ 0-2131-3927

4.1.7 เมื่อท่าอากาศยานเลย ได้รับข่าวประกาศนักบิน (NOTAM) ให้รีบเสนอผู้อำนวยการท่าอากาศยานเลยทราบ และให้ท่าอากาศยานเลย ดำเนินการปิดประกาศไว้ ณ ที่ปิดประกาศข่าวการบิน (NOTAM BOARD) ของท่าอากาศยานเลย เพื่อให้นักบินหรือผู้เกี่ยวข้องในการบินทราบทั่วกันจนกว่าข่าวนั้นจะถูกยกเลิกไป

แบบฟอร์ม 4.1 ก

แบบฟอร์มการแจ้งข่าวเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินอากาศ

หรือการออกประกาศนักบิน (NOTAM)

ถึง กลุ่มแผนและข่าวสารการเดินอากาศ สำนักมาตรฐานสนามบิน กรมการบินพลเรือน

โทรศัพท์ 0 2286 0922, 0 2287 0320-9 Ext. 1154 หรือ 0 2285 9355

โทรสาร 0 2287 4060

จาก .

.

.

ท่าอากาศยาน .

.

วันที่เดือนพ.ศ. .

เรื่อง การแจ้งข่าวเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินอากาศ

รายละเอียดของข่าวเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินอากาศหรือการออกประกาศนักบิน (NOTAM)

1. หน่วยงานผู้แจ้งออกประกาศนักบิน .

2. ภารกิจ .

(กรณีปล่อยโคมลอย/บั้งไฟ ให้ระบุจำนวนด้วย).........................................................................................................................

3. บริเวณ/สถานที่ (ชื่อ ตำบล ที่ตั้ง) .

4. จุดพิกัด เส้นรุ้ง (Lat) เส้นแวง (Long) .

5. ความสูง ฟุต รัศมี ไมล์

6. ระยะเวลาดำเนินการ เริ่มต้น วันที่ เดือน พ.ศ. เวลา น.

สิ้นสุด วันที่ เดือน พ.ศ. เวลา น.

7. ชื่อผู้ประสานงาน หมายเลขโทรศัพท์/มือถือ .

กรณีฉุกเฉินติดต่อ หมายเลขโทรศัพท์/มือถือ .

รายละเอียดเพิ่มเติม .

.

(ลงชื่อ) .

( )

ตำแหน่ง .

หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้

...






หมายเลขบันทึก: 590453เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2015 20:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2015 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท