รู้รัก พักใจ ให้คิด จิตนิ่ง


ขอบพระคุณกรณีศึกษาวัยรุ่นที่ได้รับการวินิจฉัยโรคไบโพลาร์หรืออารมณ์สองขั้วที่มีความต้องการฝึกทักษะชีวิตด้านอารมณ์เป็นพิเศษ...แต่ยังไม่ได้เกิดการทำงานแบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างจิตแพทย์กับนักกิจกรรมบำบัดสุขภาพจิตสังคม...

เมื่อเย็นวาน กรณีศึกษา ร. ไม่ได้มาหาผมตามนัดหมาย ผมจึงลองโทรตามดู ก็ไม่มีเสียงตอบรับ จนกระทั่งลองไลน์ดู ก็มีการสื่อสารเกิดขึ้น

ร: พี่ป๊อปอยู่ไหนหลอคับ!

ผม: เป็นยังงัยบ้าง

ร: ผมตื่นมากลัว สิ้นหวัง และคิดจะฆ่าตัวตาย ตอนนี้ซึมเศร้า คิดฟุ้งซ่านจัดจนทนไม่ไหวแล้ว แทบไม่รู้สึกตัวแล้ว ไม่มีสติอยู่กับปัจจุบันเลย ตอนนี้แทบไม่รู้สึกหรือรับรู้อะไรจากภายนอกเลย นอนไม่หลับด้วย (กลางคืนนอนหลับยาก) ทั้งร่างกายและจิตใจปั่นปวนไปหมด มีแต่ความคิดกับอารมณ์เต็มไปหมด ไร้ซึ่งความรับรู้และจิตวิญญาณ เหมือนความคิดมันเร็วไปหมดจนตัดขาดจากอารมณ์ไปเลย (ความจำต่างๆก็ไปหมด) ส่วนอารมณ์ก็หงุดหงิดทุกข์ใจและเศร้าแสนเศร้า มีโมโหบ้าง เบื่อหน่ายอยากร้องไห้และสิ้นหวังสุดๆ ไม่มีอะไรประสานงานกันเลย (แต่ก่อนทั้งความคิดและอารมณ์มันยังเป็นอันเดียวกัน ไปด้วยกันตลอด ความคิดก็ไม่ได้เร็วจนไม่รับรู้ปัจจุบันเหมือนตอนนี้) บางครั้งความคิดก็ไม่อยู่กับปัจจุบันจนนึกจำไม่ได้ ความรับรู้ปัจจุบันไม่เหลืออยู่เลย ใจลอยหายไปหมด

ผม: น้อง ร. ลองนัดคุยกับคุณหมอ ต. ก่อนมั้ย อาจต้องใช้ยาช่วยครับ วันที่ 4 มิ.ย. มาหาพี่ที่คลินิกกิจกรรมบำบัดก็ได้นะครับ

ร.: หมอ ต. บอกให้เพิ่มยาครับ

ผม: พี่เห็นด้วย เพราะถ้าลองหลายวิธีแล้วไม่ดีขึ้น คงต้องใช้ยาให้ต่อเนื่องนะครับ ทานยาแล้วดูผลการปรับตัวนะครับ ถ้าอยากมาหาพี่...ไว้นัดกันมั้ย

ร.: ครับบๆครับผม

สี่วันต่อมา ผมก็ไลน์ไปคุยกับเคสอีก

ผม: น้อง ร. เป็นยังงัยบ้าง โอเคไหม

ร.: ไม่โอเคครับบ วันนี้ผมคงไปหาพี่ไม่ได้ วันนี้ผมเศร้าจัด ผมกลัวเกินไปที่จะออกไปข้างนอก วันนี้ผมออกไปรู้สึกแย่มาก กลัวไปหมดเหมือนมีคนจะมาทำร้าย เดี่ยวผมโทรไปนะ

เมื่อเคสโทรหาผม...เสียงน้อง ร. พูดไม่ค่อยชัด มีเสียงคำพูดซ้ำๆ เสียงเศร้ามาก สลับกับเสียงหัวเราะ เหมือนเป็นคนละคน

ร.: พี่ป๊อปๆๆ ผมขอโทษๆ รบๆกวนๆ ผมคิดไม่ออกๆๆ นอนไม่ๆๆได้ๆๆ [เสียงหายใจหอบ]

ผม: ใจเย็น น้อง ร. ตอนนี้อยู่กับใคร

ร.: พ่อๆ แม่อยู่ด้วยๆ พ่อๆชอบถามๆ คิดไม่ๆออก ไม่ๆอยากๆให้ๆแม่รู้ๆ

ผม: น้องต้องการคนช่วยฝึก ให้พี่โทรหาคุณแม่นะ

ร.: ผมๆอยากๆคุยกับพี่ๆก่อน

ผม: น้องตั้งสติ ที่เราฝึกกัน หายใจนับ 1-20 ให้พี่ได้ยินนะคนเก่ง

ร.: อืม หายๆใจไม่ออกๆ [เสียงหายใจเข้าออกถี่] หนึ่ง สอง สาม สี่ [เสียงหัวเราะสลับเสียงร้องไห้]

ผม: ตั้งใจนะ น้องต้องทำได้ หายใจ สี่แล้วอะไร

ร.: ...ห้า หก เจ็ด แปด ...เก้า ...สิบ ... [เสียงหัวเราะสลับเสียงร้องไห้]

ผม: ต่อนะคนเก่ง สู้ๆ ครับ สิบแล้วอะไร

ร.: สิบเอ็ด สิบสอง สิบสาม ... สิบสี่ สิบห้า สิบหก ... สิบเจ็ด สิบแปด ... สิบเก้า ยี่สิบ เฮ้ย อืม

ผม: โอเคไหม ดีขึ้นมั้ยครับ

ร.: ผมขอไปล้างหน้าก่อนนะ ดีๆครับบ [เสียงฟังดีขึ้น]

ผมโทรไปคุยกับคุณแม่ของน้องถึงวิธีการเข้าหาด้วยความรักและใส่ใจในการเตือนให้น้องมีสติด้วยการหายใจนับ 1-20 แบบใจเย็นๆและช่วยพาไปหาคุณหมอเพื่อวางแผนการใช้ยาให้ชัดเจนในระยะยาวว่า น้องเค้าจะต้องไปเรียนต่างประเทศตามที่ตั้งใจไว้ด้วยอาการอย่างไรถึงจะหายห่วงครับ

คุณแม่ไลน์กลับมาด้วยคำพูดที่ว่า "ซึ้งใจ ขอบคุณจริงๆ หมอป๊อป"

นี่คือ "การโค้ชในฐานะนักกิจกรรมบำบัดสุขภาพจิตสังคมเป็นครั้งที่สองสำหรับเคสนี้ ก่อนหน้านี้คือ ใช้เสียงด้วยหัวใจมนุษย์พาน้องลุกจากเตียง ขึ้นรถ และไปอยู่ได้แค่หน้าประตูโรงเรียน" น้อง ร. ต้องการคนที่รักและเข้าใจช่วยเป็นเพื่อนฝึกปรับพฤติกรรมให้มีความรู้สึกบวกๆๆๆ อย่างจริงจัง

เมื่อไรประเทศไทยจะมีระบบการทำงานประสานกันระหว่างจิตแพทย์ นักกิจกรรมบำบัด ผู้รับบริการ และครอบครัว

หมายเลขบันทึก: 590364เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2015 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2015 21:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ดีจังค่ะ คงช่วยให้ผ่อนคลายได้นะคะ

ตามมาให้กำลังใจครับ

ขอบคุณมากๆครับ

ขอบพระคุณมากๆครับสำหรับกำลังใจที่ดีมากๆจากพี่ Nui พี่ขจิต ดร.ธวัชชัย พี่โอ๋ อ.Wasawat พี่นงนาท คุณทิมดาบ คุณครูทิพย์ และคุณวินัย

ขอบพระคุณมากครับพี่ดร.พจนา และคุณ aingfar

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท