เด็กสมาธิสั้นอยู่ที่จิตหรือที่ใจ


ขอบพระคุณสำนักพิมพ์รักลูกฯที่ทำให้ผมได้อ้างอิงหนังสือของคุณอมรรัตน์ ศรีสุรินทร์ ปี 2551 คือ พลิกมุมมองใหม่ เลี้ยงลูกสมาธิสั้นให้ได้ดี กับ วิธีสร้างเด็กดีภายใน 6 สัปดาห์ ... ผมจะได้เตรียมพร้อมการบันทึกเทปรายการสะพานสายรุ้งของมูลนิธิเด็กพรุ่งนี้

หนังสือสองเล่มย้ำว่า "พ่อแม่คือผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทักษะชีวิตของลูกสมาธิสั้นด้วยความรัก ความเข้าใจ และความเห็นใจ" ...ปัจจุบันสารสื่อนำประสาทบางตัวในสมองอยู่ในระดับต่ำ เช่น โดปามีน หรือ ซีโรโทนิน ทำให้เด็กไม่จดจ่ออยู่กับการทำกิจกรรมใดๆ ส่งผลต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอันเนื่องมาจากกรอบเวลาที่จำกัดกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก กรอบการสอนที่เน้นการจดจำทำให้เกิดสิ่งเร้าที่ตึงเครียดสำหรับเด็ก และกรอบการช่วยเหลือที่ไม่แน่นอนทั้งจากผู้ปกครอง ครู และผู้บำบัดทำให้เด็กขาดระเบียบวินัยและวางแผนอนาคตไม่ได้ เพราะควบคุมตนเองให้ทำทักษะชีวิตให้สำเร็จตามเป้าหมายไม่ได้ ที่สำคัญส่งผลกระทบตลอดทุกช่วงวัย เช่น วัยเด็กเล็กมีปัญหาพฤติกรรม วัยเรียนและวัยรุ่นขาดความภาคภูมิใจในตนเอง มีปัญหาการเรียนและการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น วัยรุ่นอาจมีปัญหาใช้สารเสพติด วัยผู้ใหญ่ประสบปัญหาการทำงาน จิตใจบอบช้ำอาจพัฒนาไปถึงโรคจิตเวช

ส่วนใหญ่เด็กก่อน 7 ปีจะมีแนวโน้นเป็นโรคสมาธิสั้น ได้แก่ มีความสนใจสั้น เบื่อวอกแวกง่าย มีสมาธิบกพร่อง ซนมากกว่าปกติ ไม่อยู่นิ่ง หงุดหงิดง่าย ใจร้อน พูดแทรก ยับยั้ยตัวเองไม่เป็น แต่สิ่งเร้าที่ตื้นเต้น เช่น การดูทีวี เล่นวีดีโอเกม ทำให้เด็กตื้นเต้นและจดจ่อมีสมาธิดีแยกแยะได้ เพียงแค่มีปัญหาการควบคุมสมาธิทั่วไป หากอาการทั้งหมดนี้เป็นนานเกิน 6 เดือน มักเป็นเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่่งเกือบ 30% หลังวินิจฉัยและได้รับการรักษาทางการแพทย์จะมีอาการดีขึ้น อีก 30% มีอาการแย่ลงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ และอีก 40% ยังคงมีอาการอยู่บ้าง

บางโรคที่มีอาการสมาธิสั้นแทรกซ้อน เช่น ภาวะปัญญาอ่อน ออทิสติก บกพร่องทางการเรียนรู้ วิตกกังวล ซึมเศร้า อารมณ์สองขั้ว บุคลิกภาพแปรปรวน ภาวะกลัว

หากเด็กได้รับการรักษาด้วยยาแล้วมีอาการสงบ กระตือรือร้นทำกิจกรรมอย่างถูกต้อง แสดงว่าตอบสนองต่อยาได้ดี บางรายอาจเบื่ออาหาร ควรปรึกษาแพทย์ให้ลดขนาดยา

ครูควรให้ความช่วยเหลือไม่ควรสร้างกฎเกณฑ์มากเกินไป ค้นหาความสามารถพิเศษของเด็กให้เล่นกีฬาเพื่อสุขภาพหรือใช้พลังงานสร้างสรรค์ แม้ว่าจะไม่มีการวิจัยยืนยันก็ตาม

พ่อแม่ควรปรับทัศนคติให้เป็นบวกและมีแรงจูงใจที่จะฝึกพฤติกรรมลูกจนเป็นผลสำเร็จอย่างยั่งยืน ที่สำคัญฝึกจิตให้คลายเครียดด้วยวิธีที่ตัวเองถนัดและออกกำลังกายให้พร้อมเสมอ ลดวงจรความโกรธของตัวเอง (ไม่จู้จี้ขี้บ่น เป็นตัวอย่างลูก สอนการควบคุมอารมณ์ลูกให้รู้จักอดทนรอ เน้นวินัยสม่ำเสมอ คำสั่งสั้นๆ มอบหมายงานบ้าง ให้รางวัลชมเชย อยู่สายกลาง เสริมความพยายาม) หากิจกรรมผ่อนคลายกับครอบครัว หาเพื่อนคู่คิด และหาผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลายสาขาและพอที่จะปรึกษาได้ดี

หลักการปรับพฤติกรรมของเด็กเล็กกับเด็กโตสมาธิสั้นให้มีสุขภาวะใน 6 สัปดาห์

  • มีเวลาคุณภาพให้ลูก หาจุดสนใจของลูก ส่งเสริมความภาคภูมิใจในตัวเอง
  • จัดสภาพแวดล้อมให้เด็กรู้หน้าที่เป็นเวลาเล่น ทานอาหาร ทำการบ้าน อาบน้ำ ดูโทรทัศน์ เข้านอน (2 ทุ่มเด็กเล็ก และ 3 ทุ่มเด็กโต)
  • จัดห้องนอนและในบ้านมีความเป็นระเบียบหมวดหมู่ และมีมุมสงบให้เด็กทำการบ้านได้
  • เพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ของลูกผ่านดนตรี การบริหารสมองเคลื่อนไหวสลับข้าง-เหยียดกล้ามเนื้อ-เพิ่มพลังคิดพิชิตอารมณ์
  • สื่อสารและสอนกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านระบบประสาทการเคลื่อนไหวร่างกาย สัมผัส มองเห็น และการได้ยิน
  • เพิ่มทักษะการจัดการตัวเองด้านกิจวัตรประจำวัน การบริหารเวลา การจัดลำดับความสำคัญและการวางแผนทำกิจกรรม
  • เพิ่มทักษะการควบคุมตัวเองในด้านแผนที่ความจำ ความสนใจให้มีแรงจูงใจ การแก้ไขปัญหา การใช้พิมพ์แทนเขียน การอ่านตีความ-เชื่อมโยงอดีต
  • ให้มองและชื่นชมด้านดีของลูก อย่าเน้นด้านลบ ใช้อารมณ์ขัน อย่าใส่ใจเรื่องเล็กน้อยเกินไป สอนด้วยเหตุผลให้ลูกเรียนรู้สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ ให้ฝึกกล้าตัดสินใจ เปิดใจคุยปัญหากับลูก หมั่นคุยกับฟังลูกพูด สอนการจัดการอารมณ์โกรธ ส่งเสริมการคบเพื่อน (สอนทักษะอ่านคนด้วยภาษากาย ยินดีต้อนรับเพื่อนลูก ตำหนิพฤติกรรมที่ไม่ชอบ มิใช่ตำหนิตัวลูกหรือเพื่อน)
  • สอนให้ลูกรู้จักโทษยาเสพติดและความปลอดภัยของการมีเพศสัมพันธ์

สำหรับผู้ใหญ่ ควรรู้จักตัวเอง พัฒนาทักษะทางสังคม หางานที่เหมาะสม แบบไม่คาดหวังสมบูรณ์แบบ ฝึกทักษะการจัดการในกิจกรรมที่ทำได้ดีและประสบความสำเร็จ (อย่าทำในสิ่งที่เคยล้มเหลว) หมั่นให้กำลังใจและหาสักคนที่ไว้ในให้คำแนะนำที่ดี

ตัวอย่างการถามอย่างมีศิลปะกับลูก เช่น เอาละลูก ได้เวลาทำ...แล้ว เรามาช่วยกันทำ...ให้เสร็จก่อนทำ...กันเถอะ พ่อ/แม่อยากเตือนลูกถึงสิ่งที่เราสัญญากันไว้ เรามาคุยกันหน่อยว่า เราจะช่วยลูกเรื่องเรียนได้อย่างไร [ที่สำคัญ สิ่งที่พ่อแม่ทำมีผลต่อการเรียนรู้มากกว่าสิ่งที่พ่อแม่พูด และหมั่นบอกลูกว่า "คุณรักเขา" ขณะที่จัดการกิจกรรมใดๆให้ยืดหยุ่น - อย่าทำอะไรแทนลูก อย่าเข้านอนแบบทะเลาะกับลูก จังหวะการเรียนรู้เกิดได้ทุกเวลา]

แปดสิ่งที่จัดการอารมณ์ให้บวกทั้งผู้ฝึกลูกและตัวลูก ได้แก่

  • การนอนหลับให้พอเพียง (ลูกควรนอน 9 ชม. 15 นาทีต่อคืน) ไม่ทานกาเฟอีน น้ำอัดลม หลัง 4 โมงเย็น ไม่ออกกำลังหักโหม 2 ชม.ก่อนนอน อย่าให้ลูกฝืนทำกิจกรรมทั้งๆที่เหนื่อย อย่ามีโทรทัศน์-มือถือ-คอมพิวเตอร์ในห้องนอน อากาศไม่ร้อนเกินไป หากนอนไม่หลับก็ให้นอนเงียบๆบนเตียงในห้องมืด โดยลดแสงลง 3 ชม.ก่อนนอน
  • แสงธรรมชาติ หรือแสงไฟจากโคมไฟ (มิใช่หลอดนีออน ใช้หลอด Full spectrum)
  • การดื่มน้ำและอาหารโปรตีนเพิ่ม (ลดคาร์โบไฮเดรต) ที่เหมาะสม
  • การชวนลูกเคลื่อนไหวแบบธรรมชาติกับพ่อแม่ มิใช่การบังคับลูกออกกำลังกาย
  • เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ไม่ควรดูโทรทัศน์ เด็ก 9 ปีดูโทรทัศน์ไม่เกิน 2 ชม.ต่อวัน เด็ก 13 ปีดูไม่เกิน 1 ชม.ครึ่งต่อวัน เด็ก 17 ปี ดูไม่เกิน 30 นาทีต่อวัน
  • เกมคอมพิวเตอร์กระตุ้นเร้าเด็กมากเกินไปจากความรู้สึกเป็นผู้ชนะขณะที่เด็กมีความภาคภูมิใจต่ำ ควรจำกัดชม.ในการเล่น ให้เล่นก่อนทานอาหาร อย่าเล่นไปทานไป
  • กำหนดคำขวัญในบ้านให้เกิดการสำรวจตัวคุณเอง
  • การมีเสียงดนตรีขณะทายอาหารก็ดีและการเปิดโอกาสให้ลูกเล่นเครื่องดนตรีที่ชอบ

สรุปคือ เด็กสมาธิสั้นอยู่ที่กระบวนการทำงานของจิต (ความรู้สึกสู่ความคิดความเข้าใจ) ในระบบสมอง ด้วยสิ่งเร้าที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการสื่อสารของใจ ที่มีสิ่งเร้ามาจากการเลี้ยงดูของผู้ปกครองกับครู ตลอดจนการฝึกทักษะชีวิตจากบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหลาย ... หลังการบันทึกเทปรายการ ผมได้มีแนวทาง คือ กิจกรรมทานอาหาร อย่าบังคับ อย่าเร่ง เป็นต้นแบบ มิให้ลูกเหม่อหรือมิให้เล่นไปกินไป ควรตั้งเงื่อนไขให้รางวัลด้วยคำชม ภาษากาย กอด แล้วให้เวลาที่ยืดหยุ่นทำกิจกรรมที่ลูกชอบเป็นรางวัล ที่สำคัญอย่าใช้วัตถุนิยมเป็นรางวัล นอกจากนี้ตั้งสติจัดการอารมณ์บวกในการสื่อสารทำกิจกรรมร่วมกับลูกเสมอ ในช่วง 4-12 ปี

หมายเลขบันทึก: 590278เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2015 12:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2020 09:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

การที่หมอให้ยา..กล่อมประสาทเด็ก ชนิดนี้..มีผล ระยะยาวไหมเจ้าคะ...(ถามมาเพราะเป็นห่วงหลาน..เจ้าค่ะ)

เพื่อนพี่บางคนที่มีลูกสมาธิสั้นเขาดูไม่ออกว่าลูกเป็นค่ะ เมื่ออาการแย่ไปเรื่อยๆ จึงไปพบหมอ สุดท้ายต้องบำบัดด้วยยาค่ะ และไม่มีใครรู้จักกิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้นกันเลยค่ะ

เรื่องราวที่ อ.ป๊อบ กำลังเขียนนี้จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งค่ะ (เช่นเคย)

ขอบคุณค่ะ

ขอบพระคุณมากครับคุณยายธี ดร.จันทวรรณ ดร.ธวัชชัย และอ.ต้น

เรียนคุณยายธี ถ้าการตอบสนองด้วยยาดีในช่วงที่ต้องฝึกเด็กให้คุมสมาธิกับการทำกิจกรรมใดๆด้วยความสำเร็จและสุขใจ คุณหมอก็จะค่อยๆลดขนาดยาลงครับ แต่ถ้ามีผลข้างเคียง เช่น เบื่ออาหาร ใจสั่น วอกแวกมากขึ้น ทำกิจกรรมได้ไม่ดีนัก และเป็นอุปสรรคต่อการฝึก คุณหมอก็จะปรับชนิดและขนาดยาครับ ในระยะยาวจะต้องสื่อสารกันทั้งผู้ปกครอง ครู และบุคลากรทางการแพทย์ ร่วมกันสังเกตและพฤติกรรมหลังใช้ยาอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ระยะยาวไม่มีปัญหา แต่ถ้าไม่ใส่ใจกันทุกฝ่าย ระยะยาวคือโรคสมาธิสั้นเปลี่ยนเป็นโรคจิตเวชและทรมาณมากเมื่อเป็นวัยรุ่น เช่น อารมณ์สองขั้ว ขอบพระคุณมากครับ

ยินดีและขอบพระคุณพี่ดร.จันทวรรณเสมอครับ คลิกดูกิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้นที่

ถ้าเทปของผมเรียบร้อย จะนำมาเผยแพร่นะครับ

อาจารย์ครับ....การกำหนดคำขวัญในบ้านให้เกิดการสำรวจตัวคุณเอง..... ทำอย่างไรครับ 8 สิ่งมีประโยชน์กับผมเพื่อไปบอกต่อมากครับ

คำแนะนำนี้เอาไปใช้ในการเลี้ยงลูกปกติก็น่าจะได้นะคะ

สมาธิสั้นจากการเลี้ยงดูมีมั๊ยคะ ประเภทตอบสนองไว ตามใจทุกเรื่อง ใส่เกมในมือลูกให้ลูกเงียบ ฯลฯ

ขอบพระคุณมากครับคุณทิมดาบ การกำหนดคำขวัญ เช่น เด็กดีมีสุข ทุกเวลามืค่า ช่วยเก็บห้องของเรา สะอาดน่าชม เป็นต้น

ถูกต้องครับ การเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่บังคับและลงโทษขณะที่เด็กซนและกำลังสำรวจเรียนรู้กิจกรรมที่สนใจ ส่งผลให้เด็กเครียด ต่อต้าน และมีภาวะสมาธิสั้น เช่น ใจร้อน หงุดหงิด ไม่อิสระ เรียกร้องความสนใจ ไม่ตั้งใจเรียน ไม่ทำการบ้าน ฯลฯ ขอบพระคุณมากครับพี่ Nui

ขอบพระคุณมากครับพี่โอ๋ พี่ดารนี และคุณวินัย

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท