กินอย่างเพียงพอ สานต่อ "เศรษฐกิจพอเพียง"


การฝึกอดอาหาร หรือการหักห้ามใจในการไม่รับทานอาหารในสิ่งที่ตนเองชอบมาก ๆ จะทำให้เรามีจิตใจที่เข้มแข็ง

ถ้าเราตามใจปากมาก จิตใจจของเราก็จะมีความหลงมาก

หลงในความเอร็ดอร่อย หลงในการปรุงแต่ง ซึ่งนั่นไม่ใช่สาระสำคัญของสารอาหารที่เราจะได้รับ

การทำตนให้เป็น "คนพอเพียง" เราจะต้องฝึกในทุก ๆ อิริยาบถ ฝึกในทุก ๆ การกระทำ ฝึกให้เป็นนิสัย ฝึกจนเป็น "สันดาน"

คนพอเพียง คือ คนที่มีเศรษฐกิจที่เพียงพอ

คนเราต้องกิน ต้องใช้ มีความจำเป็นที่จะต้องหาให้ได้มา ซึ่ง "เงินตรา"

แต่คนเราถึงจะเป็นมหาเศรษฐีรวยล้นฟ้า แต่ถ้าหากไม่มีคำว่า "พอ" คน ๆ นั้นก็หามีความสุขไม่

ดังนั้นเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นเศรษฐกิจแห่งความสุข ซึ่งเป็นความสุขที่เกิดขึ้นที่จิตที่ใจ

คนที่พอ คือคนที่มีความสุข

คนที่ไม่พอ คือคนที่มีความทุกข์

คนที่จะพอได้ คือคนที่มีจิตใจที่พอเพียง

การเป็นผู้ที่รู้ประมาณในการบริโภค เป็นอีกบาทฐานหนึ่งที่สำคัญของ "เศรษฐกิจพอเพียง"

เรื่องกินของคนส่วนใหญ่ทุกวันนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่

เราต้องเสียเวลาในชีวิตไปมากมายหลายชั่วโมงต่อหนึ่งวัน ให้เวลาสูญสลายไปกับการกิน

ตั้งแต่มือเช้า มื้อกลางวัน มื้อเย็น แถมเบรกสาย เบรกบ่าย ถ้าพิเศษก็มีรอบมิดไนท์อีกต่างหาก

ดังนั้น ถ้าหากเราตัดเสียได้เรื่องการกิน ชีวิตเราจะมีเวลาขึ้นอีกมากที่จะทำสิ่งอะไรดี ๆ

ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากจะให้สอนให้เราเป็นคนประหยัดแล้ว ยังมีประโยชน์ในแง่สร้างเราให้เป็นคนที่รู้คุณค่าในเวลา

คนที่จะมีเงินใช้จ่ายอย่างเพียงพอ ต้องเป็นคนขยันอย่างสุด ๆ ตั้งใจทำมาหากิน

คนเรามีเวลา ๒๔ ชั่วโมงเท่าไหร่ มันขึ้นอยู่ที่ว่าเราใช้เวลาไปกับเรื่องใดมากกว่ากัน

ถ้าเราตัดเรื่องกินออกไปได้ เหลือแค่ 1 หรือ 2 มื้อ

ตัดเรื่องเบรกต่าง ๆ ออกไป น้ำชา กาแฟ ขนม นม เนย นอกจากเราจะประหยัดเงินได้แล้ว เราก็จะมีเวลาที่จะไปทำงาน ไปทำมาหากินเพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเองและครอบครัวขึ้นอีกมาก

เมื่อเรามีเวลามากขึ้น (เวลาที่ตัดมาจากกิน) เราก็มีเวลาไปทำมาหากินได้อีกมาก ความเป็นหนี้เป็นสินของเราก็จะทุเลาลง ความเป็นคนจนของเราก็จะกระเตื้องขึ้น

ได้สองทางเลยนะ ทั้งประหยัดเงินในการกิน และสามารถใช้เวลาจากการกินไปหาเงินได้เพิ่มมากขึ้น

คนเราอยู่ในสังคมจะปฏิเสธเรื่องการบริโภควัตถุไม่ได้ แต่ทำอย่างไร ที่เราจะสามารถบริโภควัตถุเหล่านั้นโดยไม่ทำร้าย ทำลายตัวเอง

นี้เป็นจุดสำคัญในการที่จะพัฒนาให้คนเรามี "เศรษฐกิจพอเพียง"

ทำอย่างไรให้เราอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ไม่ให้สังคมและเทคโนโลยีต่าง ๆ มาทำร้าย ทำลายชีวิตของเรา

ต้องฝึกเรื่องการกินนะ ฝึกตัดใจบ้าง ฝึกไม่กินบ้าง แล้วเราจะได้เวลาที่มีค่าของชีวิตกลับคืนมา...

หมายเลขบันทึก: 589717เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2015 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2015 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เขียนได้ดีมากครับ ... ผมเองก็จะ "ประมาณในการบริโภค" อย่างจริงจังเหมือนกัน... ชอบตรงที่บอกว่า "...ถ้าตามใจปากมาก ก็จะทำให้หลงมาก..." ใช่เลยครับ ... และช่วงใดเป็นแบบนั้น ใจก็จะขาดพลังอย่างเห็นได้ชัด ... ขอบคุณบันทึกดีๆ ครับ ขอนำไปเผยแพร่ในกลุ่ม "เด็กดีมีที่เรียนนะครับ"

I think we should look at eating (food) in different ways. Eating is a means for our body to get input materials needed for growth and body functions. We should look at what we need (nutrients and quantities) and supply our body's demand. We should only worry about "...ประหยัดเงินในการกิน และสามารถใช้เวลา..." when our nutritional requirements are met.

Yes to eat more than what we need is harmful -- obesity, metabolic (out of) conditions, stress,...!

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท