หลักการทำ...ผลงานเชิงวิเคราะห์


การวิเคราะห์งาน ผลงานทางวิชาการ ผลงานเชิงวิเคราะห์

ตามประกาศ กบม ฉบับที่ 6/ 2554 มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การติดตามภาระงาน ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งสูงขึ้นเมื่อครบ 1 ปี นับจากวันที่ได้รับการแต่งตั้ง

ให้ส่งผลงานตามระดับตําแหน่งท่ีได้รับการแต่งตั้งดังนี้

ระดับชํานาญการพิเศษ มีผลงานดังนี้

(1) ผลงานเชิงวิเคราะห์ที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนางานในหน่วยงานปีละ 1 เรื่อง หรือ

(2) ผลงานเชิงสังเคราะห์ที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนางานในหน่วยงานปีละ 1 เรื่อง หรือ

(3) ผลงานในลักษณะอื่นๆ ที่แสดงใหเ้ห็นถึงการพัฒนางานในหน่วยงานปีละ 1 เรื่อง

ระดับเชี่ยวชาญ มีผลงานดังนี้

(1) ผลงานเชิงวิเคราะห์ที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนางานในหน่วยงานปีละ 2 เรื่อง หรือ

(2) ผลงานเชิงสังเคราะห์ที่แสดงใหเ้ห็นถึงการพัฒนางานในหน่วยงานปีละ 2 เรื่อง หรือ

(3) งานวิจัยซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติหรือนานาชาติปีละ 1 เรื่อง

.................

คณะแพทยศาสตร์ จะให้ส่งผลงานเพื่อติดตามภาระงานดังกล่าว ปีละครั้ง

อาจมีเกณฑ์ในการทำผลงานเพิ่มเติมตามที่ผู้บริหารพิจารณา

ในปีนี้ก็เช่นกัน เรามีบุคลากรที่ต้องส่งผลงานประมาณ 200 คน

ดิฉันในฐานะรองหัวหน้าฯฝ่ายพัฒนาบริการสู่ความเป็นเลิศ ทำหน้าที่คัดกรองเบื้องต้น ก่อนส่งให้หัวหน้าพยาบาลพิจารณาอีกรอบและส่งไปที่การเจ้าหน้าที่ต่อไป

...............

ประเด็นที่เราควรพิจารณา คือ

ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์งาน อีกครั้งเพื่อให้ผู้บริหารได้มอบหมายงานสำหรับพยาบาลชำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญได้ทำผลงานที่มีคุณภาพ

จึงขออธิบายพอสังเขปในการทำวิเคราะห์งานให้ถูกต้อง

ถ้ากลุ่มพยาบาลที่อยู่ในตำแหน่งเหล่านี้ ทำงานพัฒนาคนละ 1 เรื่อง เราจะได้ผลงานที่ดีไปพัฒนาองค์กรได้เป็นอย่างดี


...............


หลักการวิเคราะห์งาน

ผลงานเชิงวิเคราะห์ หมายถึง ผลงานที่แสดงการแยกแยะองค์ประกอบต่าง ๆ ของเรื่องอย่างมีระบบ มีการศึกษาในแต่ละองค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่องานของหน่วยงานหรือสถาบันอุดมศึกษา

อ่านความหมายอาจเข้าใจยากแต่ถ้าพูดภาษาธรรมดา ก็คือ

การวิเคราะห์งานตามหน้าที่รับผิดชอบที่เราทำ เพื่อแยกแยะให้เห็นประเด็นปัญหาและเข้าใจปัญหาหรือรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาหน้างานที่เราทำอยู่ หรือ ถ้าเราหากระบวนการแก้ไขงานที่เราทำอยู่ได้แล้ว เราก็นำแนวทางปฏิบัตินั้น นำลงไปปฏิบัติ แล้วติดตามผลลัพธ์ในการทำงาน

...............

สรุป

การวิเคราะห์งานทำได้ 2 แบบ

ขอยกตัวอย่างชื่อเรื่องที่สามารถทำได้ คือ

แบบที่ 1 เป็นการติดตามผลลัพธ์ของแนวทางการพยาบาลที่นำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยและติดตามประเมินผล

  • ศึกษาการดื่มน้ำขิงสดในการลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • การศึกษาการใช้โปรแกรมวางแผนจำหน่ายต่อความรู้และพฤติกรรม การดูแลตนเองในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับยาเคมีบำบัด
  • การนำสุคนธบำบัดมาใช้เพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด
  • การวิเคราะห์งานเกี่ยวกับอุบัติการณ์ เช่น การพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด
  • —ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก
  • —ผลการนำแนวปฏิบัติการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก
  • ผลการให้คำปรึกษาในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก
  • —ผลการเตรียมความพร้อมโดยให้ข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการผ่าตัด
  • —ผลการจัดการความปวดในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการผ่าตัด
  • —ผลการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับยาเคมีบำบัด
  • —ศึกษาการใช้โปรแกรมวางแผนจำหน่ายต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับยาเคมีบำบัด —
  • ศึกษาการนำแนวปฏิบัติการเสริมพลังอำนาจมาใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับยาเคมีบำบัด
  • —ผลการให้คำปรึกษาเพื่อตอบสนองด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะสุดท้าย


ตัวอย่างการประเมินผลประเด็นปัญหาในคลินิกและ/หรือ โปรแกรม

  • —การประเมินผลการจัดการความปวดในผู้ป่วยมะเร็ง ในหอผู้ป่วย….
  • —การประเมินผลการจัดการความปวดเฉียบพลัน ในหอผู้ป่วย……
  • —ภาวะน้ำลายแห้ง วิธีการจัดการในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอภายหลังได้รับรังสีรักษา
  • —ภาวะโภชนาการของผู้ป่วย….ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย……………….
  • —การคัดกรองภาวะทุพโภชนาการของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย……
  • —การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วย……………………
  • —การติดเชื้อ….ในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ
  • การป้องกันและการจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วย………………


การนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ในการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติ

  • —ศึกษาการกดจุดเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด
  • —ศึกษาการป้องกันและบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนโดยการกดจุดด้วยตัวเองและใช้สายรัดข้อมือในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด —ศึกษาการนำแนวปฏิบัติการป้องกันช่องปากอักเสบในผู้ป่วย……………….. —
  • ศึกษาการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลมาใช้เพื่อป้องกันลิ่มเลือดอุดตันปลายเข็มฉีดยาชนิดล็อคในผู้ป่วย…. —
  • ศึกษาการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลมาใช้เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย —
  • ศึกษาการนำแนวปฏิบัติมาใช้ในการดูแลทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำในทารกคลอดครบกำหนด ในห้องคลอดโรงพยาบาล…. —
  • ศึกษาการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด….ในห้องผ่าตัด
  • ศึกษาการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ


ประเมินผลโครงการที่เน้นการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติและการวิเคราะห์ผลการปฏิบัติ

  • —ศึกษาภาวะอุณหภูมิกายต่ำในทารกคลอดก่อนกำหนดใน 24 ชั่วโมงแรก
  • —ศึกษาการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานภายหลังการให้ข้อมูลเรื่อง การจัดการเบาหวานด้วยตนเองแบบกลุ่ม
  • —ศึกษาการกลั้วคอด้วยน้ำอุ่นต่อการลดความเจ็บปวดของผู้ป่วยหลังถอดท่อหลอดลม
  • —ศึกษาการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยผ่าตัด….ในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศรีนครินทร์
  • ศึกษาการสอนการอาบน้ำทารกแบบมีปฏิสัมพันธ์ต่อความสามารถเรียนรู้พฤติกรรมทารกของมารดาครรภ์แรก

.................

แบบที่ 2 เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลการดูแลผู้ป่วยย้อนหลัง โดยการศึกษาจากแฟ้มประวัติผู้ป่วยอย่างน้อย 30 คน มาวิเคราะห์ผลลัพธ์การทำงาน โดยการออกแบบเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการรักษาพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับ และผลลัพธ์การพยาบาล เช่น

  • ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง...............ที่ได้รับยาเคมีบำบัด
  • ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับยาเคมีบำบัด
  • —ผลลัพธ์การดูแลด้านจิตวิญญาณผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะสุดท้าย
  • —ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดและกลับบ้านในวันเดียวกัน
  • —ผลลัพธ์การดูแลภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบจากรังสีรักษาในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ
  • —ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย….
  • —ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดสมองในห้องพักฟื้น
  • —ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยก่อนผ่าตัดเต้านมในห้องผ่าตัด
  • —ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเต้านมในห้องผ่าตัด
  • —ผลลัพธ์การช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วย ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม
  • —ผลลัพธ์การดูแลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
  • —ผลลัพธ์การให้ข้อมูลเรื่อง การใช้ยาวาร์ฟารินในผู้ป่วย………………….
  • —ผลลัพธ์การดูแลเด็กที่มีสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง

ตัวอย่างการประเมินผลลัพธ์ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

ขอนำตัวอย่างมาให้ดูบางส่วน ถ้าท่านจะทำผลงานลักษณะนี้ก็ลองสร้างแบบเก็บข้อมูลได้เองนะคะ

เครื่องมือการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย

1) แบบเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ ระดับการศึกษา การจ่ายค่ารักษาพยาบาล ระยะเวลาอยู่รักษา ผู้ดูแล

2) แบบเก็บข้อมูลลักษณะประชากรของผู้ป่วย ประกอบด้วย ประกอบด้วยการรักษาเมื่อมีการกลับเป็นซ้ำและ สภาวะสุดท้ายของผู้ป่วยในการรักษา และ

3) ผลลัพธ์ด้านการบริการและวิธีจัดการ ประกอบด้วย อาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัด อาการเหนื่อยล้า อาการปวด กิจกรรมการพยาบาลเพื่อจัดการกับปัญหาด้านจิตใจของผู้ป่วย


ตัวอย่างเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่ง

ท่านสามารถพิจารณาประเด็นปัญหาหน้างานของท่านได้อีกมากมายที่จะทำผลงานให้ดีขึ้นต่อไป

...............

การจัดทำรูปเล่ม

—— ส่วนที่ 1

—ปกนอก ใช้กระดาษสี วางตราสัญลักษณ์คณะแพทยศาสตร์ไว้บนสุด ขนาดตัวอักษรปกหน้า ชื่อเรื่องให้มีขนาด 22 พอยต์ ชื่อผู้เขียน 20 พอยต์ และ ชื่อหน่วยงานที่สังกัดขนาด 18 พอยต์

—ปกใน ใช้กระดาษอ่อนสีขาว ข้อความเหมือนปกนอก

คำรับรองของการนำคู่มือมาใช้ในการปฏิบัติงาน คำนำ สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ สารบัญแผนผังการปฏิบัติงาน/สารบัญแผนภูมิ


—ส่วนที่ 2 แบ่งเป็น 5 บท ตัวอย่างเช่น

—บทที่ 1 บทนำ

—บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

—บทที่ 3 วิธีดำเนินการ

—บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์งานและการอภิปรายผล

—บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ

—เอกสารอ้างอิง/หรือ บรรณานุกรม

................

ตัวอย่าง

ใบงานการเขียนวิเคราะห์งาน.pdf

ติดตามอ่านรายละเอียด power point

การวิเคราะห์งาน 180458.pdf

...................

ขอเน้นย้ำส่วนสำคัญ การทำผลงานต้องมีทักษะในการเขียน เราต้องฝึกฝนและห้ามคัดลอก จึงขออธิบายความหมายในการคัดลอกไว้ให้ด้วยนะคะ


—ทักษะ ในการเขียนผลงานวิชาการทุกประเภท

ต้องหลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาใช้เป็นผลงานของตน การคัดลอก การตัดข้อความมาใช้ในงานเขียนของตนเองโดยไม่อ้างอิง เรียกว่า การขโมยงานเขียน (plagiarism) ถือว่าเป็นการผิดกฎมายและจรรยาบรรณทางวิชาการ

.......

การคัดลอก หมายถึง การนำข้อความมา 1-3 บรรทัด หรือคัดลอกมา 2 ย่อหน้า หรือ คัดลอกมา 3-4 ประโยค หรือ —นำข้อความมาเขียนใหม่ด้วยภาษาหรือสำนวนของผู้เขียนแต่ใจความเหมือนเดิม —หรือนำข้อความของผู้อื่นมาย่อหรือสรุปแต่ใจความเหมือนเดิม

ถ้าจะแก้ปัญหาการคัดลอก ก็อย่าลืมอ้างอิงผลงานที่ท่านนำมาใช้ประกอบในการเขียนด้วยค่ะ


การเขียนครั้งนี้หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังจะส่งภาระงานและขอผลงานทางวิชาการนะคะ

อุบล จ๋วงพานิช

18/04/58

หมายเลขบันทึก: 589041เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2015 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2015 06:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ปี 2560

เริ่มดำเนินการ

ให้ส่งเดือน มิ.ย.6

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท