กริยาที่เป็นกลุ่มคำ : วิธีสอน และ แนวทาง (Multi-word verbs: Method and approach) ตอนที่ 1


ในบทความแรก ฉันได้กล่าวถึงปัญหาและกริยาที่เป็นกลุ่มคำที่ก่อให้เกิดปัญหากับผู้เรียนไปแล้ว ในบทความบทที่ 2 ฉันจะได้ดูแนวทางและวิธีการสอน ที่ฉันได้ใช้สอนนักเรียน

1. การจำแนก (Categorizing)

แนวทางการสอนแบบโบราณในเรื่องกริยาที่เป็นกลุ่มคำ จะเน้นไปที่การศึกษาตัวมันอย่างชัดเจน หนังสือเรียนและไวยากรณ์จำนวนมากจะแบ่งแยกกริยาที่เป็นกลุ่มคำอยู่ 4 ประเภท เช่น กริยาที่เป็นกลุ่มคำนี้ต้องการกรรม หรือไม่ต้องการกรรม หรือ กริยา กับองค์ประกอบอื่นๆ แยกได้ หรือแยกไม่ได้

นักเรียนจะเรียนรู้เรื่องกฎ ต่อจากนั้นพวกเขาต้องพยายามจับคู่กริยาวลีให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม

ฉันเคยใช้วิธีการนี้มาในอดีต และได้ค้นพบว่านักเรียนที่เป็นผู้เรียนแบบวิเคราะห์ จะเรียนได้ดีกับวิธีการแบบเก่านี้ คำศัพท์เฉพาะทางนี้ (terminology) สามารถช่วยให้ผู้เรียนมีเครื่องมือเพียงพอที่จะเรียนด้วยตนเองได้

อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว ฉันพบว่าวิธีการแบบเก่านั้นมีความอุ้ยอ้าย และล่าช้า ผู้เรียนจะมีคำศัพท์เฉพาะทางเยอะมากๆ รวมทั้งความร่ำรวยและความสลับซับซ้อนในเรื่องกฎอาจทำให้นักเรียนเริ่มเบื่อ และหันทำอย่างอื่นแทน

ห้องเรียนโดยมากจะนำเรื่องคำศัพท์เฉพาะทางในเรื่องไวยากรณ์ และละเลยการใช้ภาษา เช่น การอ่านและการพูด สรุปว่านักเรียนต้องใช้เวลาไปกับการเรียนรู้ในการใช้ภาษาอังกฤษ มากกว่าใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเรียนรู้ตัวของภาษาเอง

หนังสืออ้างอิง

Vanessa Steele. (2015). Multi-word verbs: Methods and approaches. http://www.teachingenglish.org.uk/article/multi-word-verbs-methods-approaches?utm_source=facebook&utm_medium=social&utm_campaign=%20bc-teachingenglish-facebook

หมายเลขบันทึก: 588855เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2015 18:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2015 18:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณอาจารย์ต้น

ที่แวะมาเยือน บล็อกลุงวอ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท