นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

บทวิเคราะห์การจัดการศึกษาผ่านดาวเทียม สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1 ภาคเรียน 2/2557


ข้อกังวล ..คือ.. ทักษะการเรียนรู้ของ ผู้เรียน ในศต.21 ขาดหายแน่นอน ... แต่สิ่งที่อาจจะได้เพิ่มขึ้น คือ O-Net

ทักษะที่อาจขาดหาย collaborative การร่วมมือเรียนรู้ , การสร้างความรู้ด้วยตัวนักเรียนเอง


ปีการศึกษา 2/2557 การติดตาม นิเทศ ขับเคลื่อน การติดตั้ง dltv ได้เป็นไปตามแผน ที่ สพฐ.กำหนด เนื่องจากเป็นงานนโยบาย คสช. แต่อีกด้านหนึ่ง คือการทำงานเชิงคุณภาพ พวกเรา (คณะ ศน.) ก็ติดตาม และสังเกต อย่างใกล้ชิด เพราะเป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับการจัดการศึกษา

สพป.กส.1 มีผล การประเมินระดับชาติ ต่ำต่อเนื่องมาหลายปี การนำ dltv เข้ามา ช่วยในการบริหารจัดการด้านการสอน และ การจัดกิจกรรมของครู ใน โรงเรียนขนาดเล็ก จะได้ผลหรือไม่ต่อไปนี้ เป็นการวิเคราะห์ สะท้อนผลร่วมกัน จากการนิเทศติดตาม

สะท้อนทบทวนตัวเอง

ศึกษานิเทศก์ ทำอย่างไร ที่ผ่านมา - อบรม ให้ความรู้ ติดตาม การจัดกิจกรรม ในบางโรงเรียน เท่าที่จะทำได้ และ เสนอแนะ บางอย่างเท่าที่จำเป็น ยังไม่ได้ไปบอกว่า ครูต้องมีพฤติกรรมอะไรอย่างไร เพื่อที่จะให้เขา ค้นพบวิธีการจัดการกับทีวีและเด็ก ด้วยตัวเขาเอง ในนระยะลองผิดลองถูก และ เราก็สนใจที่จะศึกษาว่า ครูทำอะไรอย่างไรบ้าง จัดการได้ดีเพียงใด

ข้อค้นพบ ..

แน่นอนว่า ครู ผอ.โรงเรียน พึงพอใจ และจะจัดการสอน รูปแบบนี้ต่อไป แต่คุณภาพของการจัดกิจกรรม พฤติกรรม และ ผสฤ ของนักเรียน ก็ยังต้องขึ้นอยู่กับคุณภาพของครูอยู่เช่นเดิม (รายละเอียดต่อท้าย) -- ถ้าครูเอาใจใส่ กำกับ เตรียมการสอน มักจะมีเรื่องเล่า ออกมาอย่างภาคภูมิใจ ซึ่งตรงข้ามกับครูที่ปล่อย นร.ไว้กับทีวี มักจะไม่มีอะไรจะเล่า ..ว่างเปล่า .ไม่ชัดเจน และ บอกแต่เพียงว่า เทอมหน้าจะทำใหม่ จะทำให้ดี (แต่คงไม่ใช่ตอนนี้)

ข้อกังวล .คือ . ทักษะการเรียนรู้ของ ผู้เรียน ในศต.21

ขาดหายแน่นอน ...แต่สิ่งที่อาจจะได้เพิ่มขึ้น คือ O-Net

จะทำอย่างไรต่อไป ...

กำลังถอดบทเรียน ครูที่สอนดี และประสบผลสำเร็จ (อ้างอิงจากผลสอบ O-Net และจากการเก็บข้อมูลเชิงลึก) .เพื่อให้ได้แนวทางในการขับเคลื่อน. เมื่อครูจะ สอนกับทีวี รูปแบบใด กระบวนการใด วิธีการอย่างไร ที่ควรจะเกิดขึ้นในเทอมหน้า ครู ต้องรับรู้ด้วยตัวเขาเอง ไม่ใช่ การสั่งการ ให้ทำ (ถ้าสั่งการแน่นอนว่า คงไม่ต่างจากหลายเรื่องที่ผ่านมา ไม่ทำ หรือ ทำแบบไม่เข้าใจ) ต้องการ ให้ครู ได้ เรียนรู้ ปรับพฤติกรรมด้วยตนเอง ... ต้องใช้เวลา

คิดไปข้างหน้าอย่างไร .....

สะท้อน .ทบทวน..ปรับปรุง .ต้องทำแบบนี้ จนกว่าจะเกิด วฒน. การเรียนรู้ที่ดี


บรรยากาศชั้นเรียน สอนสองชั้น ห้องเรียนไม่ครบ



การจับประเด็น สรุป concept ร่วมกับ นักเรียน ทุกชั่วโมงทุกบทเรียน กระบวนการที่สำคัญที่สุด ขึ้นอยู่กับคุณภาพของครู


สรุปข้อค้นพบจากการนิเทศการศึกษา

การดำเนินงานของสถานศึกษา

๑.ผู้บริหาร มีการประชุม สร้างความเข้าใจ และ นิเทศอย่างไม่เป็นทางการ
๒.ครูผู้สอน ได้รับการอบรม การจัดการเรียนการสอน ทางไกล ช่วยลดภาระการสอนของครู ช่วยในการสอนไม่ตรงตามวิชาเอก
๓.มีการสำเนาสื่อจาก external harddisk ทุกโรงเรียน

ปัญหา อุปสรรค

๑. ผู้บริหารไม่นิเทศภายในอย่างเป็นระบบ ทำให้ระบบการเรียนการสอน ไม่แน่นอน และ ครูผู้สอน ไม่วางแผนการจัดกิจกรรมไปพร้อมกับโรงเรียนต้นทาง
๒. ครูไม่ครบชั้น ทำให้การควบคุมกำกับชั้นเรียน ได้ไม่เต็มที่ ไม่มีประสิทธิภาพ
๓.บุคลากร ยังไม่คุ้นชินกับการสอนในลักษณะนี้ อยู่ในระหว่างการปรับตัวและลองผิดลองถูก และ การจัดกิจกรรมการสอน ครูต้องคอยกระตุ้นเสนอแนะเตรียมเอกสาร ใบงาน สรุปหลักการแนวคิดช่วยนักเรียน จึงทำได้ไม่เต็มที่
๔.ครูปล่อยนักเรียนไว้กับทีวี
๕.ครูยังขาดการวางแผนการสอน การเตรียมการ หรือ การสอนซ่อมเสริม การบันทึกผลหลังสอน
๖.ขาดแคลนเครื่องมือในการจัดเตรียมเอกสาร ใบงาน เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์
๗.ไม่มีการใช้ประโยชน์จาก external harddisk
๘.นักเรียนจะมีความสนใจในช่วงสั้น ๆ ต้องกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา
๙.สถานศึกษา ติดตั้ง และ จัดที่นั่งผู้เรียนยังไม่เหมาะสม
๑๐.วิชาที่เป็นทักษะการปฏิบัติ เช่น คอมพิวเตอร์ ไม่มีการจัดการเรียนการสอน เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่เพียงพอ
๑๑.โรงเรียนยังขาดการสะท้อนผล เพื่อทบทวนการจัดการศึกษา อย่างสม่ำเสมอ
๑๒.ชั้นเรียน ไม่มีบรรยากาศ และไม่เอื้อต่อการเรียนรู้

ข้อเสนอแนะ

๑. ผู้บริหารควรมีการนิเทศภายในโดยความร่วมมือกับครู ภายในโรงเรียน ให้มีแนวปฏิบัติเดียวกัน เช่น การสร้างข้อตกลงในการเรียนแต่ละชั้นเรียน การวางแผนการสอน การออกแบบการสอน การสอนซ่อมเสริม การบันทึกผลหลังสอน การแก้ปัญหาของผู้เรียน และการวัดประเมินผล และ แนวการจัดกิจกรรมการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
๒. ผู้บริหาร ควรส่งเสริมสนับสนุน วัสดุ สื่ออุปกรณ์ ให้เพียงพอ เช่น การปรับปรุงระบบอินเทอร์เน็ต เครื่องพิมพ์

หมายเลขบันทึก: 588349เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2015 06:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2015 06:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท