การบังคับโทษจำคุกเชิงพุทธ


การบังคับโทษจำคุกเชิงพุทธ หรือการดำเนินการให้มีการจัดกิจกรรมทางพุทธศาสนาแก่ผู้ต้องขังซึ่งนับถือศาสนาพุทธ โดยอนุศาสนาจารย์เรือนจำ หรือ องค์กรภาคเอกชนซึ่งทำหน้าที่ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาเข้ามามีส่วนร่วม ในการจัดกิจกรรมทางพุทธศาสนาแก่ผู้ต้องขังซึ่งนับถือศาสนาพุทธในเรือนจำ เช่น เรือนจำในจีน ญี่ปุ่น ไทย เวียดนาม พม่า ศรีลังกา เกาหลีใต้ จีนไต้หวัน กัมพูชา อินเดีย ออสเตรเลีย UK และ USA เป็นต้น ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง ให้เป็นบุคคลที่เคารพกฎหมาย และช่วยเหลือตนเองได้ภายหลังพ้นโทษ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีทางพุทธศาสนา หรือแนวคิดทางจิตวิญญาณ เป็นเครื่องมือในการแก้ไขฟื้นฟู .................................



การบังคับโทษจำคุกเชิงพุทธ


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ นบ. นม.


ในปัจจุบันเรือนจำในหลายประเทศได้นำการบังคับโทษจำคุกเชิงพุทธ หรือการดำเนินการให้มีการจัดกิจกรรมทางพุทธศาสนาแก่ผู้ต้องขังซึ่งนับถือศาสนาพุทธ โดยอนุศาสนาจารย์เรือนจำ หรือ องค์กรภาคเอกชนซึ่งทำหน้าที่ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาเข้ามามีส่วนร่วม ในการจัดกิจกรรมทางพุทธศาสนาแก่ผู้ต้องขังซึ่งนับถือศาสนาพุทธในเรือนจำ เช่น เรือนจำในจีน ญี่ปุ่น ไทย เวียดนาม พม่า ศรีลังกา เกาหลีใต้ จีนไต้หวัน กัมพูชา อินเดีย ออสเตรเลีย UK และ USA เป็นต้น ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง ให้เป็นบุคคลที่เคารพกฎหมาย และช่วยเหลือตนเองได้ภายหลังพ้นโทษ โดยใช้แนวคิดทางศาสนา หรือแนวคิดทางจิตวิญญาณ เป็นเครื่องมือในการแก้ไขฟื้นฟู สำหรับการบังคับโทษจำคุกเชิงพุทธที่นำเสนอในบทความนี้ ได้แก่ การบังคับโทษจำคุกเชิงพุทธในเรือนจำ USA โดยจักได้กล่าวถึง แนวคิดทฤษฎีวิวัฒนาการ และแนวทางการดำเนินงาน โดยสังเขป ดังนี้


บริบทว่าด้วยการบังคับโทษเชิงพุทธ


ความหมาย

การบังคับโทษจำคุก หมายถึง การดำเนินการให้มีการจัดกิจกรรมทางพุทธศาสนาแก่ผู้ต้องขังซึ่งนับถือศาสนาพุทธ โดยอนุศาสนาจารย์เรือนจำ หรือ องค์กรภาคเอกชนซึ่งทำหน้าที่ ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทางพุทธศาสนาแก่ผู้ต้องขัง ซึ่งนับถือศาสนาพุทธในเรือนจำ รวมตลอดถึง การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในเรือนจำ โดยอาศัยหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่น หลักอริยสัจ 4 หลักกฎแห่งกรรม หลักแห่งเหตุและปัจจัย ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นต้น

แนวคิดทฤษฎีวิวัฒนาการ

การบังคับโทษจำคุกเชิงพุทธในเรือนจำ USA ดำเนินการภายใต้แนวคิดที่สำคัญอย่างน้อยสองประการ คือ แนวคิดในการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังผู้ต้องขังให้เป็นบุคคลที่เคารพกฎหมายและช่วยเหลือตนเองได้ภายหลังพ้นโทษ และแนวคิดในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนหรือมืออาชีพทางพุทธศาสนาเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมทางศาสนาในเรือนจำ ส่วนทฤษฎีศาสนาพุทธข้อมูลจากเว็บไซต์ http//www.kr.ac.th/ebook2/julaporn/04.html พบว่า ศาสนาพุทธจัดอยู่ในประเภท อเทวนิยม (ไม่นับถือพระเจ้า) มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา และเป็นผู้นำแนวทางดำเนินชีวิตด้านจิตวิญญาณของผู้คนทั่วโลกประมาณ 400 ล้านคน คัมภีร์ของศาสนาพุทธ คือ พระไตรปิฎก หมายถึงตำราที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า ทฤษฎีศาสนาพุทธ เป็นทฤษฎี ทางจิตวิญญาณเช่นเดียวกับศาสนาอื่นๆ คำสอนที่เป็นหัวใจสำคัญของศาสนาพุทธ คือ หลักอริยสัจ 4 ที่เกิดจากความต้องการหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงของพุทธศาสนิกชนชาวพุทธ จุดมุ่งหมายสูงสุด ของพุทธศาสนา คือ ความดับทุกข์ หรือพ้นทุกข์ จึงอาจเรียกในเชิงทฤษฎีได้ว่า ทฤษฎีอริยสัจ 4 หรือ ทฤษฎีแห่งความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ประกอบด้วยทฤษฎีและหลักคำสอนหลายเรื่องด้วยกัน เช่น หลักอริยสัจ 4 หลักกฎแห่งกรรม หลักแห่งเหตุและปัจจัย เป็นต้น ด้านสถิติการนับถือ ศาสนาพุทธของผู้ต้องขังในเรือนจำ USA ข้อมูลของรัฐบาลกลางเว็บไซต์ http://freethoughtpedia. com/wiki/ percentage_of_atheists พบว่า ปี 1997 เรือนจำใน USA มีผู้ต้องขังนับถือ ศาสนาพุทธ จำนวน 882 คน คิดเป็นร้อยละ 1.180


พระพุทธเจ้าศาสดาของศาสนาพุทธ


แนวทางการดำเนินงาน

การบังคับโทษจำคุกเชิงพุทธในเรือนจำ USA นอกจากการจัดกิจกรรม ทางพุทธศาสนาแก่ผู้ต้องขังซึ่งนับถือศาสนาพุทธ โดยอนุศาสนาจารย์เรือนจำแล้วยังมีการเปิดโอกาส ให้ภาคเอกชนทำหน้าที่ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ทางพุทธศาสนาแก่ผู้ต้องขังซึ่งนับถือศาสนาพุทธในเรือนจำ เช่น องค์กรพุทธเรือนจำอนุศาสนาจารย์ (ข้อมูลจาก เว็บไซต์ http://www.dmoz.org/Society/Religion_and Spirituality/ Buddhism/ Engaged_Buddhism/Prison/ องค์กรพุทธเรือนจำ Fellowship (BPF) เป็นองค์กรระดับชาติที่ไม่แสวงหาผลกำไรก่อตั้งขึ้นในปี 2010 โดยชาวพุทธที่มีความศรัทธา สำนักงานใหญ่ของพุทธสมาคมชินนอร์ทอเมริกัน (NASBA) ตั้งอยู่ในมิดเดิลต์ USA (ข้อมูลจาก เว็บไซต์ [email protected]) และ องค์กรชุมชนแชมบาล่า ที่ดำเนินงานรองรับความต้องการทางจิตวิญญาณและการศึกษาในเรือนจำ เป็นต้น

โดยสรุป

จากสถิติเกี่ยวกับการนับถือศาสนาของผู้ต้องขังใน USA ปี 1997 ดังกล่าว พบว่า มีผู้ต้องขังที่นับถือศาสนาพุทธในเรือนจำ USA มีจำนวน 882 คน คิดเป็นร้อยละ 1.180 ซึ่งเป็นจำนวนผู้ต้องขังส่วนน้อยเมื่อเทียบกับผู้ต้องขังทั้งหมดของเรือนจำฯ แต่ยังคงเป็นภารกิจของเรือนจำฯ ที่จะต้องจัดให้มีการนำการบังคับโทษจำคุกเชิงพุทธ หรือกิจกรรมทางศาสนาพุทธในเรือนจำ โดยอนุศาสนาจารย์เรือนจำ หรือองค์กรภาคเอกชนทำหน้าที่ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาเข้ามา มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทางพุทธศาสนาแก่ผู้ต้องขังซึ่งนับถือศาสนาพุทธในเรือนจำ ทั้งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของทฤษฎีศาสนาพุทธ หรือ ทฤษฎีจิตวิญญาณ ที่เรือนจำ USA ใช้เป็นเครื่องมือที่ในการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง เพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังให้เป็นบุคคลที่เคารพกฎหมาย และช่วยเหลือตนเองได้ภายหลังพ้นโทษ บทความเรื่องแนวทางการบังคับโทษจำคุกเชิงพุทธในเรือนจำ USA จึงเป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจอีกนวัตกรรมหนึ่งที่ผู้เกี่ยวข้อง หรือ สนใจจักได้นำไปใช้ประโยชน์ตามที่เห็นสมควร


.................................





ความเห็น (2)

ขอบคุณมากครับอาจารย์ขจิต ฝอยทอง ผมก็ติดตามผลงานของอาจารย์เช่นเดียวกันครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์ Dr.Ple ผมก็ติดตามผลงานของอาจารย์เช่นเดียวกันครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท