ข้าวขี้ระแหง 2558 ในนาของผมที่ขอนแก่น งอกแล้ว..............


ข้าวขี้ระแหง ดีอย่างไร??????

**********************
ผมเริ่มคิดเรื่องการทำนาขี้ระแหง มานานแล้ว ตั้งแต่ทำงานกับชาวบ้าน

ที่พบว่า ความสามารถในการทนแล้งของข้าว ขึ้นอยู่กับความลึกของรากข้าว
ที่ทำให้หาวิธีการปลูกข้าวให้ลึกลงไปจากผิวดิน เช่นการทำนาหยอด ขุดหลุมปลูก
แต่ผมกลับคิดว่า ทำไมไม่ปลูกในรูระแหงซะเลย ง่ายดี
พอไปบอกใครๆ ก็หาคนเชื่อไม่ได้ จนกระทั่งผมมาทำนาเอง ก็ยังหาโอกาสทดลองความคิดนี้ไม่ได้ เพราะฝนดีเกินไป มาตลอด จนกระทั่งเมื่อ 4 ปีที่แล้ว มีฝนแล้งมาก ไม่มีน้ำเลย นาแตกระแหง ผมจึงได้โอกาสทดลองความคิดนี้ทันที

โดยการหว่านข้าว ในช่วงที่แล้งที่สุด รูระแหงแตกมากที่สุด
ข้าวที่หว่านลงรูระแหงจะงอกได้ดี แต่เมื่อมีฝนโปรยมาบ้าง ข้าวบนผิวดินก็งอกบ้างเช่นกัน แต่ความแข็งแรงสู้กันไม่ได้เลย ข้าวขี้ระแหงแข็งแรงกว่ามาก แทรกตัวในรูระแหงเต็มไปหมด
พอฝนเริ่มตก ข้าวในรูระแหงยิ่งโตดี ทอดปล้องขึ้นมาแตกกอที่ผิวดิน

โตดี และได้ผลผลิตดี

ผมจึงเกิดความมั่นใจว่าจะลองอีก แต่ก็หาจังหวะเหมาะไม่ได้เลย ระดับของฝนแม้จะไม่ดีในบางปี แต่ก็ดีเกินไป ไม่มีรูระแหงให้หว่านข้าวเลย

มาปีนี้ สบเหมาะมากๆ นาแล้งมากกว่าที่เคย มีรูระแหงเกิดขึ้นในนาแปลงที่สอง ที่ไม่มีฟางคลุม เพราะผมทำนาไม่ทันในปีที่แล้ว ขนาดรูระแหงใหญ่ขึ้นๆๆๆ
ผมรอดูจังหวะ และวางแผนทำนาแบบข้าวขี้ระแหงให้ได้ในปีนี้
สบจังหวะเมื่อวันที่ 20มีค ที่ผ่านมา ที่ผมคาดเดาว่าน่าจะเหมาะพอดี มีรูระแหงเต็มนา จึงลองหว่านข้าว และในวันรุ่งขึ้นก็เดินทางไปประชุมที่อยุธยา กลับมาตัดหญ้าทับอีกที เพื่อให้แรงลมหมุนปั่นให้เมล็ดข้าวลงรูระแหงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

จนกระทั่งวันนี้ ข้าวเริ่มงอกจากรูระแหงแล้ว ถือว่าสำเร็จในขั้นที่ 1

แต่ตามแผนงานจริงๆ ผมมีแผนหลัก แผนรอง หลายแผน

ในกรณีของข้าวขี้ระแหง เป็นยุทธศาสตร์เบิกนำ ที่มีโอกาสเสียหายน้อย ดูแลง่าย อัตราเสี่ยงน้อย ต้นข้าวอยู่ลึก ทนแล้งได้ดีกว่าอยู่บนผิวดิน แบบที่ทำกันทั่วไป แม้ที่สุด

ถ้าข้าวขี้ระแหงไม่ได้ผล ก็จะมีหว่านหลังฝนแรก (Effective rain) ที่จะงอกง่ายกว่า แต่อัตราเสี่ยงมากขึ้น ทั้งในการจัดการ ศัตรูพืช หญ้าในแปลง และดูแลยากกว่านิดหน่อย

และ ถ้ายังพลาดอีก ก็อาจจะหว่านหลังฝนที่สอง พร้อมๆกับนาแปลงอื่น
หรือไม่ก็เว้นไปเลย เพราะผมเน้นการทำนาไม่ไถ ที่ต้องการชิงจังหวะกับธรรมชาติมากกว่านาไถนิดหน่อย เมื่อเราไม่ลงทุน เราก็ไม่ขาดทุน

และทุกอย่าง มียาก มีง่ายในตัวเองครับ

การพลาดกับธรรมชาติบ้างจะเสียหายไม่มาก เราสามารถกำหนดแผนสำรองไว้ได้
แต่ถ้าพลาดกับนายทุนละก็ เป็นทาสแบบ อมตะนิรันดร์กาล ไปเลยละครับ

ฉะนั้น นาขึ้ระแหงจึงเหมาะกับการทำนาในพื้นที่แห้งแล้ง และไม่ต้องการรอฝน ลดการแข่งขันของหญ้าได้ดี จัดการงายในแทบทุกปัญหา ข้าวจะโต แข็งแรง ก่อนที่ศัตรูข้าวใดๆ จะโตตามมาทัน

ถ้าปีไหนแล้ง และไม่มีข้าวงอกในนา ผมจะทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ เสี่ยงน้อยดีครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิ

หมายเลขบันทึก: 587988เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2015 00:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2015 00:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

Funny how important R&D is being done as a hobby instead of a national agenda ;-)

โอโหอาจารย์

น่าสนใจมาก

ขึ้นมาได้หลายต้นเลยนะครับ

รอดูอีกครับ

เป็นการทดลองภาคสนามที่น่าสนใจมากที่สุดครับอาจารย์

ที่จริงข้าวงอกแล้ว แต่ยังถ่ายภาพรวมทั้งแปลงไม่ได้ครับ ต้นยังเล็กเกินำป อิอิอิอิ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท