กฎหมายราชทัณฑ์ ตอน กฎหมายแรงงานนักโทษ


..........การใช้แรงงานนักโทษมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลานาน เริ่มตั้งแต่การใช้แรงงานนักโทษในรูปแบบของการบังคับใช้แรงงาน ในลักษณะแรงงานฟรี แรงงานทาส แรงงานเถื่อน แรงงานราคาถูก เช่น การใช้แรงงานนักโทษในเรือนจำอาณานิคมหรือทัณฑนิคมอังกฤษและอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ การใช้แรงงานนักโทษในเรือนจำอาณานิคมหรือทัณฑนิคมออสเตรเลียในคริสต์ศตวรรษ ที่ ๑๗-๑๘ การใช้แรงงานนักโทษในค่ายกักกันแรงงานนักโทษในประเทศเยอรมัน จีน รัสเซียในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ถึงปัจจุบันแนวคิดในการใช้แรงงานนักโทษของประเทศ ดังกล่าว ได้เปลี่ยนไปในแนวทางของการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังมากขึ้น โดยที่ประเทศต่างๆที่ได้มีการใช้แรงงานนักโทษเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง ต่างมีกฎหมายรองรับการใช้แรงงานนักโทษในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน.........


กฎหมายราชทัณฑ์ ตอน กฎหมายแรงงานนักโทษ


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ นบ. นม.



แนวคิดในการใช้แรงงานนักโทษมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลานาน เริ่มตั้งแต่การใช้แรงงานนักโทษในรูปแบบของการบังคับใช้แรงงาน ในลักษณะแรงงานฟรี แรงงานทาส แรงงานเถื่อน แรงงานราคาถูก เช่น การใช้แรงงานนักโทษในเรือนจำอาณานิคมหรือทัณฑนิคมอังกฤษและอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ การใช้แรงงานนักโทษในเรือนจำอาณานิคมหรือทัณฑนิคมออสเตรเลียในคริสต์ศตวรรษ ที่ ๑๗-๑๘ การใช้แรงงานนักโทษในค่ายกักกันแรงงานนักโทษในประเทศเยอรมัน จีน รัสเซียในช่วงสงครามโลกครั้งที่(คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙) เป็นต้น ถึงปัจจุบันแนวคิดในการใช้แรงงานนักโทษของประเทศ ดังกล่าว ได้เปลี่ยนไปในแนวทางของการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังมากขึ้น โดยที่ประเทศต่างๆที่ได้มีการใช้แรงงานนักโทษเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง ต่างมีกฎหมายรองรับการใช้แรงงานนักโทษในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน สำหรับกฎหมายแรงงานนักโทษ ที่นำเสนอในบทความนี้ คือ กฎหมายแรงงานนักโทษของโครเอเชีย โดยจะเป็นการกล่าวถึงแนวคิดและโครงสร้างกฎหมายแรงงานนักโทษฯ โดยสังเขป ดังนี้


กฎหมายเรือนจำ


แนวคิด / ทฤษฎี กฎหมายแรงงานนักโทษ ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.mprh. hr/ pravni-izvori๐๕ พบว่า กฎหมายแรงงานนักโทษดำเนินงานภายใต้ทฤษฎีซ่อมแซมชดใช้หนี้ ทฤษฎีลดค่าใช้จ่ายเรือนจำ และทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟู แนวคิดในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในงานราชทัณฑ์ แนวคิดในการลดการใช้เงินงบประมาณคุกซึ่งมาจากภาษีอากรของประชาชน แนวคิดการลดการกระทำความผิดซ้ำ การแก้ไขปัญหานักโทษล้นคุก และการช่วยปกป้องคุ้มครองให้สังคมปลอดภัยจากอาชญากรรม ฯลฯ โดยการใช้แรงงานนักโทษทำงานให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การทำงานเพื่อฝึกอบรมทักษะ อาชีพให้มีความรู้ความชำนาญสำหรับนำไปใช้ภายหลังพ้นโทษ


แนวคิดในการใช้แรงงานนักโทษ


โครงสร้างกฎหมายแรงงานนักโทษ ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www. mprh. hr/ pravni-izvori๐๕ พบว่า โครงสร้างกฎหมายแรงงานนักโทษ ปรากฏอยู่ในกฎหมายเรือนจำโครเอเชีย ประกอบด้วย แนวคิดและหลักเกณฑ์การดำเนินงานตามพระราชกฤษฎีการจ้าง งานนักโทษ ที่สำคัญ ๔ ฉบับ ได้แก่

    • โครงสร้างกฎหมายตามพระราชกฤษฎีการจ้างงานนักโทษ ฉบับที่ ๕๑๔-๐๘-๐๒-๑ ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๐๐๒
    • โครงสร้างกฎหมายตามพระราชกฤษฎีกา ๕๑๔-๐๘-๐๒-๑ ฉบับที่ ลงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๐๐๒ เรื่อง การทำงานและการฝึกอบรมอาชีพของนักโทษการชดเชยการทำงานและผลตอบแทน
    • โครงสร้างกฎหมายตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ ๕๑๔-๐๘-๐๒-๒ ลงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๐๐๒ เกี่ยวกับการแก้ไขขั้นตอนของการฝึกอบรมอาชีพ รายชื่อของนักโทษ การชดเชยสำหรับการทำงานและผลตอบแทน
    • โครงสร้างกฎหมายตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ ๕๑๔-๑๓-๑ ลงวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๐๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอาชีวศึกษา


การบังคับโทษจำคุก


ครงสร้าง / เนื้อหาสาระ ของพระราชกฤษฎีการจ้างงานนักโทษ ๔ ฉบับ ประกอบด้วย ชื่อกฎหมาย ขอบเขตการใช้บังคับ วัตถุประสงค์ ข้อตกลงการจ้างแรงงานนักโทษ ประเภทงานที่ให้นักโทษทำ สถานที่ทำงานในเรือนจำและนอกเรือนจำ การให้ความยินยอม ในการทำงานของผู้ต้องขัง มาตรการด้านความปลอดภัยในการทำงาน การเดินทางและการควบคุมนักโทษ ที่ทำงานนอกเรือนจำ ระเบียบ วิธีการทำงาน และค่าตอบแทนในการทำงานของนักโทษ รวมตลอดถึงการยกเลิกข้อตกลงการทำงาน เป็นต้น


บริบทว่าด้วยการใช้แรงงานนักโทษ


โดยสรุป กฎหมายแรงงานนักโทษของโครเอเชีย เป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางในการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้แรงงานนักโทษฯ เป็นการดำเนินการภายใต้ทฤษฎี / แนวคิดที่สำคัญ ได้แก่ ทฤษฎีซ่อมแซมชดใช้หนี้ ทฤษฎีลดค่าใช้จ่ายเรือนจำ ทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟู และ แนวคิดในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม การลดการกระทำความผิดซ้ำ การแก้ไขปัญหานักโทษล้นคุก และ แนวคิดการช่วยปกป้องสังคมให้ปลอดภัยจากอาชญากรรม โดยการใช้แรงงานนักโทษเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เพื่อฝึกอบรมทักษะ อาชีพ ให้มีความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองภายหลังพ้นโทษการนำกฎหมายแรงงานนักโทษมานำเสนอในบทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงแนวคิดทฤษฎี โครงสร้าง กฎหมายแรงงานนักโทษของโครเอเชียและเพื่อแสดงให้เห็นถึงกฎหมายราชทัณฑ์ที่ยังไม่มีการบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในกฎหมายราชทัณฑ์ไทยเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้สนใจนำไปใช้ประโยชน์ตามที่เห็นสมควรต่อไป


..................................



หมายเหตุ

บทความเรื่องนี้ได้มีการเผยแพร่ในคลังความรู้กรมราชทัณฑ์หรือฐานข้อมูลวิจัยกรมราชทัณฑ์ เว็บไซต์ http://www.correct.go.th/blogknowledge/attachments/article/๒๑๕/ อีกช่องทางหนึ่งด้วยแล้ว



คำสำคัญ (Tags): #กฎหมายแรงงานนักโทษ#นักโทษแรงงานฟรี#นักโทษแรงงานทาส#นักโทษแรงงานเถื่อน#นักโทษแรงงานราคาถูก#อาณานิคมนักโทษ#ทัณฑนิคม#ค่ายกักกันแรงงานนักโทษ#การใช้แรงงานผู้ต้องขัง#เรือนจำโครเอเชีย#กรมราชทัณฑ์โครเอเชีย#การใช้แรงงานนักโทษ#การจ้างแรงงานนักโทษ#เรือนจำแรงงาน#เรือนจำอุตสาหกรรม#เรือนจำฟาร์ม#การเช่านักโทษ#การให้นักโทษทำงานสาธารณะ#เรือนจำอาณานิคม#การบังคับใช้แรงงานนักโทษ#การให้นักโทษทำงานด้วยความสมัครใจ#การให้นักโทษออกไปทำงานบริษัทเอกชนนอกเรือนจำ#นักโทษแรงงานรับจ้าง#ค่าจ้างแรงงานนักโทษ#ค่าตอบแทนนักโทษ#สิทธิประโยชน์ของนักโทษ#แนวคิดในการใช้แรงงานนักโทษ#ทฤษฎีซ่อมแซมชดใช้หนี้#ทฤษฎีลดค่าใช้จ่ายเรือนจำ#แนวคิดในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในงานราชทัณฑ์#แนวคิดในการลดการใข้จ่ายเงินงบประมาณคุกซึ่งมาจากภาษีอากรของประชาชนให้คุ้มค่า#แนวคิดในการลดการกระทำความผิดซ้ำ#แนวคิดในการแก้ไขปัญหานักโทษล้นคุก#แนวคิดในการช่วยปกป้องคุ้มครองให้สังคมปลอดภัยจากอาชญากรรม
หมายเลขบันทึก: 587883เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2015 22:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2015 10:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท