เป็นไวยากรณ์กับคลังคำ หรือ ไวยากรณ์ผ่านคลังคำ? (Grammar vs lexis or grammar through lexis?) ตอนที่ 4


ไวยากรณ์ผ่านคลังคำ (Grammar through lexis)

เมื่อฉันได้รับเชิญไปเป็นครูนักเรียนประถมศึกษา นักเรียนระดับที่ 5 ซึ่งได้เคยเรียนให้ถามคำถามแบบอดีต (Past Simple) กำลังยิงคำถามมาที่ฉัน เช่น Did you go to Buckingham Palace? Did you see the Queen? Did you visit the Tower of London? ในขณะที่กำลังประทับใจกับคำถามที่ถามด้วย Past Simple แต่สิ่งหนึ่งที่ฉันอดคิดไม่ได้ว่าจริงๆแล้วพวกนักเรียนต้องเรียนรู้เรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง เพราะว่าจะดูเป็นธรรมชาติมากกว่าหากจะถามด้วย Present Perfect เช่น Have you been to…..? Have you seen…..? หากจะถามด้วย Past Simple ต้องเป็นคำถามประเภท Did you have a nice weekend? What did you do? Did you stay at home all day? การเรียน Past Simple ก่อนที่จะเรียนเรื่อง Present Perfect ก็คือ การสอนตามหลักสูตรเชิงโครงสร้าง (structural syllabi) หมายถึง เรียนเรื่องง่ายๆก่อน แล้วตามด้วยสิ่งซับซ้อน

ฉันจำได้ถึงการสอนในระดับกลาง โดยการใช้หนังสือ New Headway ซึ่งได้รับความเชื่อถือเป็นอย่างมากในยุคโน้น และเป็นเล่มซึ่ง Present Perfect ไม่ปรากฏเลยจนกว่าจะถึงครึ่งเล่มที่สอง ฉันยังรู้สึกผิดอยู่เลยที่บอกว่าเด็กๆยังไม่สมควรจะเรียนเรื่อง Present Perfect เพราะว่าพวกเขายังไม่บรรลุกาลเวลาอื่นๆ หรือโครงสร้าง

โชคร้ายเป็นอย่างยิ่ง ที่หนังเรียนจำนวนหลายเล่มยังคงให้คุณค่าแก่โครงสร้างที่ไม่ได้ใช้จริงในชีวิตประจำวัน การฝึกปฏิบัติไวยากรณ์ที่ยากๆ ที่ครูอาจคิดว่ากำลังทำให้เด็กสับสน มักจะไม่ได้รับการสอน สิ่งนี้จะทำให้นักเรียนของเราขาดตัวอย่างที่เป็นธรรมชาติ ในที่สุดพวกเขาขาดโอกาสในการพัฒนาความเข้าใจไวยากรณ์ที่ยากๆเหล่านั้น

การเรียนรู้ภาษา คือ กระบวนการที่เป็นวัฏจักร และการเข้าถึงภาษานั้นอย่างเต็มที่จำเป็นต้องใช้เวลายาวนาน ถ้าเรากลับไปหาการใช้ would กริยาช่วยนี้ใช้ได้ในสถานการณ์ นอกเหนือจากการแสดงความปรารถนาแล้ว ยังใช้ในอนาคตในอดีต (Future in the Past) , ประโยคสมมติ และ กริยาที่ใช้แสดงนิสัยในอดีต

ดังนั้นนักเรียนของเราในระดับประถม ในการใช้ would like ในการแสดงความปรารถนา อาจยังไม่บรรลุถึงการใช้ would ในทุกสถานการณ์ แต่กระนั้นก็ตาม สิ่งนั้นก็มิได้จะป้องกันพวกเขาได้ใช้คำว่า would ในสถานการณ์เฉพาะ เช่น ในการแสดงความปรารถนา โดยนัยยะเดียวกัน โครงสร้างทางไวยากรณ์ที่ยากๆ หากมีความจำเป็นก็ต้องสอนให้รู้ถึงหน้าที่และสถานการณ์เฉพาะ

หนังสืออ้างอิง

Leo Selivan.(2011). Grammar vs lexis or grammar through lexis?. http://goo.gl/A1adzK

หมายเลขบันทึก: 587827เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2015 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2015 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตามมาอ่าน ไวยกรณ์ ค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท