บรรยายเรื่อง KPIs for Management​


สวัสดีครับลูกศิษย์และชาว Blog ทุกท่าน

วันที่ 16 มีนาคม 2558 ผมได้รับเกียรติจากบริษัท TCC Land เชิญเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง KPIs for Management

โดยมีหัวข้อ

- KPIs เครื่องมือสำคัญเพื่อการเรียนรู้ในยุคที่โลกเปลี่ยน

- ความสำคัญของ KPIs กับการบริหารจัดการ

- ทำไม KPIs จึงไม่เวิร์ค

-กรณีศึกษาและ Workshop จากสิ่งที่เรียนรู้สู่การปรับใช้ให้เกิดผล

ณ ห้องประชุมชั้น 31 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์


คำสำคัญ (Tags): #KPIs for Management​#TCC Land
หมายเลขบันทึก: 587469เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2015 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2015 10:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยาย

KPIs for Management

โดยศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ห้องประชุมชั้น 31อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์

วันที่ 16 มีนาคม 2558 ณ อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์

อ.จีระ: KPIs ต้องสะท้อนความจริงและปฏิบัติกับพนักงานให้เป็นทุนหรือเครื่องจักรต้องพิจารณาดีๆ

อ.พิชญ์ภูรี: ฝ่ายบริหารของ TCC land ได้มาเรียนรู้เชิงปฏิบัติการซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก

ตอนบ่ายต้องทำ workshop เนื่องจากเป็นKPIsแบบ 360 องศา และกระบวนการในการเรียนรู้ ต้องสามารถต่อยอดและปรับกระบวนการ KPIs

ต้อดึงศักยภาพภายใน และต้องมีการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อประโยชน์สูงสุด

อ.จีระ: วันนี้ทุกคนต้องแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ว่ามีจุดอ่อน จุดแข็งอะไรบ้างในเรื่องที่บรรยาย

คุณพารณ กล่าวว่า คน คือ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร

คนที่มาทำงานต้องเป็นคนที่มีคุณภาพ มีความสุข และมีความสุมดุลประเทศไทยยังไม่มีคนที่มุ่งมั่นอย่างแม้จริง

ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน ไม่ใช่เงิน สิ่งของหรือเครื่องจักรแต่เป็นคน เช่น สิงคโปร์ หรืออิสราเอล

พื้นฐานเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ต้องมีก่อน เพื่อกระเด้งไปสู่เรื่องอื่นๆ

ทุนมนุษย์คือตัวแปรที่ขับเคลื่อน TCC Land ไปสู่ความยั่งยืน

Antony Robbins กล่าวว่า มนุษย์มีศักยภาพมหาศาล แต่เราใช้มันเป็นหรือไม่

แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และสร้างมูลค่าเพิ่ม ของ ดร.จีระ

4L's

Learning Methodologyมีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

Learning Environment มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี

Learning Opportunities สร้างโอกาสจากการเรียนรู้ร่วมกัน

Learning Communities เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

2R's

1.Reality มองความจริงมองสภาพแวดล้อมมองยุทธวิธีที่เราจะไป มองเรื่องลูกค้า ซึ่งตัวขับเคลื่อนจริงๆคือ คน และต้องเลือกประเด็นว่าจะใช้ KPIsแบบไหนที่จะเกิดประโยชน์ต่อองค์กรการเปลี่ยนแปลงของบริษัทนี้คือทุกอย่างเปลี่ยนไปเร็ว

ผู้นำจีน กล่าวว่า

  • -เร็ว
  • -ไม่แน่นอน
  • -ไม่สามารถทำนายได้

2.Relevance ตรงประเด็น

3V's

Value Added สร้างคุณค่า/มูลค่าเพิ่ม

Value Creation สร้างคุณค่า/มูลค่าใหม่

Value Diversity สร้างคุณค่า/มูลค่าจากการบริหารความหลากหลาย

อ.พิชญ์ภูรี: ทฤษฏีการเรียนรู้ที่สำคัญของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

แต่ละคนมีพื้นความรู้ไม่เหมือนกัน เรื่อง 2R's มีความสำคัญมาก เพราะในการทำอะไรก็ตาม ต้องมองความจริงก่อน ผู้บริหารต้องแตะกับนโยบายของเจ้าของและพนักงานและต้องประคองให้ไปด้วยกัน เราจะวัดคุณภาพคนไม่ส่วนที่ไม่เหมือนกันอย่างไร

นอกจากนั้นคนต้องมองที่ปัจจัยภายนอก คือ ลูกค้าด้วย และยังมีหุ้นส่วนทางธุรกิจ และมีผู้สนับสนุนหรือผู้บั่นทอนKPIs แบบไหนที่เป็นตัวชี้วัดเหล่านี้

วิธีการเรียนแบบ Lifelong learning เป็นสิ่งที่จำเป็น

KPIs เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุดในโลกยุคนี้คือต้องมองให้กว้าง 360 องศา

เรื่อง productivity เป็นสิ่งที่ต้องหาให้เจอต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้ Productivity เพิ่มขึ้น

อ.จีระ:เรื่อง 2R's รัฐบาลอินเดียเอาไปใช้ผู้บริหารต้องค้นหาความจริง และ Back to basic สิ่งที่ให้ไป คือ การกระตุ้นความเป็นเลิศของเรา

ข้อสังเกตุ

1)มีเวลาแค่ 1 วัน คงจะเน้นไปที่ภาพใหญ่ ความสำคัญของ KPIs จุดอ่อนและจุดแข็งขององค์กร TCC Land และหารือกันว่าจะมียุทธวิธีอย่างไรในองค์กรของเราที่จะปรับปรุงให้ทุกฝ่ายมีความพอใจ

ต้องรู้ว่า mission vision strategy เป็นอย่างไร มีการพยายามวัด KPIs อย่างมากของ TCC land
ขั้นแรกเราต้องรู่ว่าจะเดินไปอย่างไรเพื่อให้ทุกฝ่าย Win Win

KPIs ต้องเก็บคนเก่งด้วย

KPIs หากมีอย่างชัดเจนสร้างแรงบันดาลใจให้องค์กรก็จะช่วยองค์กรได้มาก เนื่องจากในอนาคตต้องออกไปสู่ระดับโลก

2)กระตุ้นให้ทุกๆ คนที่มาวันนี้คิดและเรียนรู้ร่วมกัน แบบ "Learning how to learn"

3)มีผู้ร่วมกันพูด 3 คน .. ช่วงเช้าก็ช่วยให้ Share ส่วนช่วงบ่ายจะแบ่งกลุ่ม จะได้หารือกันว่าจะทำอะไรโดยเน้นวิธีการ 4 ขั้น

(1) Where are we ?

(2) Where do we want to go?

(3) How to do it?

(4) How to do it successfully?

โดยเฉพาะท่านอาจารย์เกริกเกียรติ ซึ่งเข้าไปทำ KPIs ในหลาย ๆ องค์กรก็จะช่วยทำให้ภาพชัดขึ้น ส่วนคุณจ้าก็จะช่วยฉายภาพแนวคิดของผมให้ทุกคนเข้าใจปรับใช้กับการร่วมกันวิเคราะห์เรื่อง KPIs กับเรื่องทุนมนุษย์ในองค์กรได้มากขึ้น

4)มีแนวคิดและข้อสังเกตดังต่อไปนี้

4.1) KPIs มี 3 เรื่องใหญ่

Keyคือ ต้องเน้นหลักใหญ่ที่สำคัญในการกำหนดวัดการทำงานของพนักงานในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ High performanceต้องเห็นผลงานของแต่ละคน ซึ่งเป็นผลงานที่เป็นคุณค่า และต้องเห็น Potential ของแต่ละคน

Performance คงจะพยายามเห็นผลการดำเนินงานหรือผลงานของแต่ละคน ซึ่งไม่ใช่แค่ทำงานให้เสร็จ งบประมาณใช้หมดแต่คงจะหมายถึงผลงานที่มีคุณค่าและมองไปถึงศักยภาพ(Potential) ของคนในอนาคต ไม่ใช่แค่วัดผลงานในช่วงเวลาของ KPIs เช่น 1 ปี หรือ อาจจะสรุปได้ว่าเป็น..

Efficiency

Effectiveness

Potential ศักยภาพระยะยาว

TCC Land เป็นธุรกิจที่ dynamicมาก

Indicators ก็คือ เครื่องวัด หรือความพยายามจะวัดออกมาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน แต่ในโลกความเป็นจริงบางอย่างก็วัดได้ บางอย่างก็วัดไม่ได้

สิ่งที่วัดได้บางครั้งก็ไม่relevance ต้องระมัดระวัง อย่าบ้าคลั่งทุกตัว

ขอเวลาทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

โดยเฉพาะ Trends ที่น่าสนใจในเรื่องทุนมนุษย์ ก็คือ ความแตกต่างกันระหว่าง

Tangible/Intangible

เพราะมนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักร มี (Feeling) มีศักยภาพอยู่ข้างในที่มองไม่เห็น ทำให้ผู้บริหารต้องหาวิธี ดึงเอาความเป็นเลิศของเขาออกมาสร้าง Performance ให้องค์กร

ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กร ท่าทีของคนในองค์กร

TCC land ต้องลงทุนเรื่องคนอย่างมาก ไม่ใช่เฉพาะสนใจเรื่องที่ดินอย่างเดียว

การแสดงความคิดเห็น

1. ศักยภาพที่มองไม่เห็นจะทำอย่างไร

ดร.จีระ กล่าวว่าการฝึกศักยภาพที่มองไม่เห็นนั้นสามารถฝึกได้ เช่น การอ่านหนังสือดี ๆ แล้วนำมาแชร์กัน และในการทำงานทุกวันแต่ให้หาความรู้ตลอดชีวิตด้วย Talent ในเมืองไทยต้องสร้างให้เป็น Talent จริง และควรไปเป็นทีม

2. Intangible สามารถเป็นในลักษณะ Put the right man to the right job ได้หรือไม่

ดร.จีระกล่าวว่า Put the right man to the right job คือ Tangible สามารถเปลี่ยนได้ แต่ Intangible หมายถึงความกล้าที่จะออกความเห็น กล้าแต่สุภาพเรียบร้อย ต้องมีมารยาทในการแสดงความคิดเห็นคือมีความสุภาพในการแสดงความคิดเห็น

การวัดศักยภาพของคนวัดจากการปรับ Mindset

3. การดึงความเป็นเลิศมาสร้าง Performance ให้กับองค์กร

ความเป็นเลิศรวม 3 V ด้วย คือ ความคิดใหม่ ความคิดแตกต่าง และความคิดสร้างสรรค์

เราต้องคิดเป็นระบบเสียก่อน หรือที่เรียกว่าทุนทางปัญญา แต่คนไทยส่วนใหญ่มีแต่ปริญญาเต็มไปหมดแต่คิดไม่เป็นระบบ

อย่างในห้องนี้ไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องการคิดเป็นระบบ แต่ปัญหาคือการคิดนอกกรอบ กล้าคิดใหม่ กล้าออกความเห็นต่อหน้าหรือไม่

คุณพิชญ์ภูรี

การปรับทัศนคติช่วยบริษัทได้อย่างไร ช่วยอย่างมาก แต่ปัจจุบันแค่ Mindset ไม่พอ ถ้าทัศนคติ คือ Mindset ที่ดีบวกกับ Knowledge ฝึกได้ สามารถมีเวลาให้คิดได้ จะสามารถเกิด V2 ได้

ทัศนคติต้องบวกด้วย 2 I คือ Inspiration และ Imagination คือการเรียนรู้ร่วมกันแล้วจะเกิด Creativity

Creativity คนนอกคิดไม่ได้ ต้องเกิดจากคนใน แต่ Creativity จะเป็นประโยชน์ ต้องมีความรู้ด้วย

ดร.จีระ เสริมว่า

ต้องเกิดจากวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ด้วย การบริหารจัดการคนในองค์กรต้องให้เกิด Autonomy คน

เขาต้องเข้าใจทุนทางวัฒนธรรม

การจะมี KPIs ให้เกิดความเป็นเลิศจริง ๆ และมีอุปสรรค เราจะเอาชนะอุปสรรค
ได้อย่างไร

1. Execution

KPIs ไปสร้างปัญหา จะแก้ได้อย่างไรการมีผู้นำเพื่อเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ผู้นำต้องสามารถแก้ Crisis ให้ได้ ถ้าผลักดันคนเหล่านี้มากเกินไป เราต้องแก้สิ่งนั้นด้วย

2. KPIs บางตัววัดได้เชิงปริมาณแต่ไม่ใช่คุณภาพ

จุดเริ่มต้นที่ดีคือการปรับปรุงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

เปลี่ยนมุมมองและให้คนมีส่วนร่วม ผลักดันให้ HR Non-HR และ CEO ไปด้วยกัน

Non-HR สำคัญ เพราะมีลูกน้องอยู่ ทำอย่างไรให้ลูกน้องทำงานสร้างสรรค์แบบ Intangible แบบ 3 V

มีบทเรียนหลายแหล่งที่ทำให้องค์กรไม่เกิดแรงจูงใจ โดยเฉพาะคนเก่งต้องระวังมากในการใช้ KPIs

ส่วนใหญ่คนเก่งต้องการอิสรภาพในการทำงาน เครื่องวัดที่แตกต่างแต่ไม่ใช่เหมือนกันหมด เพราะการวัด KPIs เหมือนเข้า Uniformity อยากให้แต่ละคนมองอะไรที่เกิด Performance ที่สูง

ถ้าคนเก่งต้องดูแลอย่างดี โดยเฉพาะ Value Creation และ Value Diversity

ต้องสร้าง Talent ที่อยู่กับคนอื่นด้วยได้

Talent ที่ดีต้องทำงานเป็นทีม

Talent ควรประกอบด้วยตำแหน่งอะไรบ้าง และคุณสมบัติที่ควรฝึกเขา ควรประกอบด้วยอะไรบ้าง

เช่น People Management , คิดเก่ง , ทำงานภายใต้แรงกดดันเก่ง โลกในอนาคตต้องพร้อมที่ต้องจัดการกับสิ่งแปลกปลอมตลอดเวลา ต้อง Balance เรื่องคนอย่างสมดุล

บางคนเก่ง บางคนทำงานแบบเสมียน ไม่สร้างสรรค์จะทำอย่างไร

KPIs ควรดูแลคนที่ไม่เก่งมากกว่า ต้องมีศักยภาพในการสร้างแรงจูงใจ ตั้งแต่ Motivation ,Incentive ,Empowering และสิ่งเหล่านี้จะเน้นไปที่ Intangible มากขึ้น

ให้มี HRDS คือ Happiness, Respect, Dignity , Sustainability

KPIs จะไปสู่ 3 V ได้ แต่ถ้าไม่สามารถขับเคลื่อน Intangible ด้วยการเก็บเกี่ยวจะไปไม่รอด ต้องมองในลักษณะยุทธศาสตร์ของมนุษย์

ให้มองจาก Need ของ CEO แล้ววัดจากทรัพยากรที่หลากหลาย

KPIs ต้องเป็น Process ในการพัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

คุณพิชญ์ภูรี

ทฤษฎี 3 วงกลม ของ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เป็น KPIs ที่ไม่ได้ประเมินเฉพาะคนทำงาน

องค์กรเป็นอย่างไร สามารถฝึกคนทั้งข้างในข้างนอกหรือไม่ จะปรับอย่างไรทุกคนไม่จำเป็นต้องเข้างานตรงเวลา สามารถวัดได้ด้วยเครื่องมือหลาย ๆ แบบ

KPIs ต้องสามารถวัดได้ว่าองค์กรให้อะไรบ้าง 1-5 เราสามารถฝึกหรือเพิ่มเติมได้เท่าไหร่

ต้องมี HRDS มีความสุข มีการได้รับเกียรติ มีความภูมิใจ และมีความยั่งยืน

ถ้ามี KPIs ที่วัดด้วย 3 วงกลมได้จะเป็นที่ยั่งยืนและสามารถไปในอนาคตด้วย

ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

ความสำเร็จของ KPIs ไม่ใช่เอา KPIs เป็นตัวตั้งไม่เช่นนั้นจะไม่ประสบผลสำเร็จ

คิดอย่างไร ?? กับสิ่งที่ผู้บริหารระดับสูงของ Google พูด

"กูเกิ้ลกร้าว ไอไม่แคร์ใบปริญญาของยู"

สรุปได้ว่า คนจบสถาบันดังมี Ego สูงมากเกินไป

คนที่มีความสามารถจริง ดูจาก Port folio ว่าทำอะไรมาแค่ไหน

ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ หรือที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีความสำคัญมากกว่า IQ

Peformance+ Competency

KPIs มีหลายระดับ

อาจจะไม่ตอบโจทย์ธุรกิจเท่าที่ควร

ถ้า KPIs สำเร็จ อยู่ที่ขีดความสามารถของคน

ถ้าให้คนมาทำงาน 1 คนให้ประสบความสำเร็จให้ใช้สูตรง่าย ๆ คือ 3,4,5

จ้างคน 3 คน จ่ายเงินเท่ากับ 4 คน แต่ Productivity ต้องเป็น 5

สิ่งที่สำคัญคือ

HR Transformation ทำอย่างไรให้สำเร็จ ทำไมต้องทำและทำอย่างไร

Structure คืออะไร เช่น วัด KPIs ในฝั่ง 20 % แต่ ส่วนที่ Development อยู่ในส่วน 80% ที่ไม่ได้วัด

บทเรียนที่องค์กรเจอคือทำอย่างไร

1. Challenge ให้ดูว่า Business Goal กับ Strategy ชัดหรือไม่ ในยุคปัจจุบัน อาจทำ 2-3 ปี มากสุด ไม่จำเป็นต้องถึง 5 ปี

ดร.จีระ เสริมว่า ถ้าเป้าหมายองค์กรไม่ชัด KPIs จะไม่ช่วยเท่าไหร่ ถ้าเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ จะเป็นศักยภาพอยู่แล้ว ทำอย่างไรให้เป็น 3 V

จะสร้างคนให้ทำงานร่วมกับเขาให้เป็น Alignment เดียวกันหรือไม่

ดร.เกริกเกียรติ กล่าวว่า Business Goal ต้อง Focus คือจะเติบโตอย่างไร และสร้าง Value ธุรกิจอย่างไร จะเดินไปอย่างไร

จะจับ Business Strategy ที่เป็น KPIs สิ่งที่ต้องตั้งคำถามให้ชัดคือ คุณเป็นอะไร

การทำ KPIs ถ้าเป็นภาระ ไม่มีอะไรดีขึ้น ก็ไม่ต้องทำ แต่ถ้าทำแล้ว Improve Business ได้จริงก็ทำ

KPIs คือตัววัดที่ช่วยให้เข้าใจว่าธุรกิจจะทำอะไรและไปบรรลุเป้าหมายธุรกิจหรือไม่

เป้าหมาย คือ 1. Business Success 2.Competetiveness 3.Innovation 4.Business Value

ถ้าวัด KPIs ของ HR จะวัดอย่างไร

เช่น Engagement กับงานหรือไม่ Happiness หรือไม่

แต่ที่วัดจริง ๆ คือ Revenue per cost หรือ ROI เช่นดูว่าคนเกินงานหรือไม่ ธุรกิจเติบโตจริงหรือไม่

งานที่เป็น Routine มาก ๆ ต้องออกมาเป็น KPIs หรือไม่ อาจไม่จำเป็น แต่ที่ควรวัดคืออะไรที่ Challenge ธุรกิจ และองค์กรจะทำอะไร

KPIs ต้อง Transform เรื่องคนก่อน

จะไม่ Success คือ ไม่ถ่ายทอดเป้าหมายให้คนพูดเหมือนกัน นับว่าเป็นสิ่งที่เป็นอันตรายสำหรับ KPIs อย่างยิ่ง จะต้องกระจายไปสู่คนระดับล่างอย่างไร เป็นเป้าหมายที่เป็นงาน Routine ที่ทำอยู่

คนมี Competency เพียงพอที่จะ Execute งานที่จะเติบโตในอนาคตหรือไม่

KPIs ให้ดูสิ่งที่จะทำให้องค์กรสามารถแข่งขันได้

ที่ TCC Land Core Business คืออะไร

- เรามีการเลือกคนที่เหมาะสมต่อการ Execute มากน้อยแค่ไหน สิ่งนี้คือหัวใจสำคัญ

- ถ้าทำ KPIs แต่ Goal ไม่ชัดจะทำให้การวัดมีปัญหา

- เราต้องวัดที่ Operating Exchange ไม่วัดที่ Operating Margin เพราะว่าถ้าจัดการที่ Exchange ได้ Margin ต้องดี

- การดูที่ Variable Cost ตัว KPIs ไม่ต้องเยอะ แต่มีตัวที่ Effect ต่อกัน เราสามารถส่งผลกระทบต่อภาพรวมหรือไม่

สิ่งที่ทำคือให้ทำเฉพาะตัวที่ Focus นั้น ๆ และถ้าจะทำ KPIs จะทำบ่อยหรือไม่ขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจ ถ้า Change เร็วก็ทำบ่อยให้เหมาะสม

การบริหารจัดการ ความสำเร็จเป็นแค่ปลายทางแต่ถ้าต้นทางหรือบริหารจัดการไม่ดี ความสำเร็จจะน้อย

ระดับของการใช้ KPIs

1. ทุกตัวต้องเชื่อมโยงกัน

2. ความสำเร็จของการทำ KPIs ต้องมองสองฝั่งคือ ฝั่งที่เป็นการเงิน และไม่เป็นการเงิน

การทำ Project อะไรสักอย่างลูกค้าต้องพอใจ Business Value ต้องดี

หัวใจสำคัญที่สุดของการทำ KPIs เป็นผลที่เกิดจากการทำอะไรมาก่อนแล้วจะได้สิ่งนั้น

เราต้อง Protect และวางแผนก่อน

ถ้าเราต้องการ Project นี้ เราต้องทำอะไรถึงได้สิ่งนั้น

กรณีศึกษาของบางองค์กร

การทำ KPIs ต้องเตรียมความพร้อม

Link กับ HR หรือไม่ มีหลายองค์กรนำไปผู้กับการให้ Reward

ธุรกิจจะเติบโตวัดที่ Revenue Increase

มีโปรเจคไหนที่ต้องทำ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเป็นใครบ้าง และใครควรเป็น Coach หรือ Manager มีการให้หน่วยงานทำงานแบบ Cross function หรือ cross supply chain

KPIs

ทุกอย่างห้ามพูดว่าทำไม่ได้หรือมีปัญหา ต้องบอกว่าทุกอย่างต้องท้าทาย ห้ามบอกว่าใครผิด แต่ต้องบอกว่าจะหาวิธีแก้ไขอย่างไร

Business Process ดีจะส่งผลต่อ Customer ที่ดี

HR มีหน้าที่ Consult มีหน้าที่คุม ROI และ หนึ่งต่อเจ็ดเท่านั้น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

KPIs เป็น Process และปลายน้ำ ผู้นำนั้นมีส่วนสำคัญ ต้องดูที่ต้นน้ำด้วย CEO และ HR ต้องผนึกกำลังกัน ควรมองให้ดี ต้องกลับไปเน้นคำว่า Key

บางเรื่องเป็นงานที่ทำไปไม่เกิดประโยชน์หรือ Strategy ของบริษัท

ต้องแยกให้ดีระหว่าง Tangible /Intangible

ต้องผนึกกำลังให้ดีระหว่าง CEO, HR, Non-HR

CEO สำคัญมากที่จะขับเคลื่อน และสิ่งนี้ต้องใช้เวลา

TCC Land จะเน้นที่ Financial Indicator

HR ช่วยในการสร้างเงินได้

ตัวเชื่อม Balance Score Card คือ Human Capital ในบริษัทคุณ เห็นแล้วอย่าคิดว่าทำง่าย ๆ ในบริษัท

อย่าเป็น Victim of success จุดสำคัญที่สุดคือเรื่องคนและเรื่องความยั่งยืน ถ้าเราเริ่มต้นด้วยการรู้ว่ายาก และค่อย ๆ เดิน

จุดอ่อนของที่ที่คือ ทำงานเป็นจุด ๆ และยังไม่ได้เข้าใจเรื่องคน เพราะเรื่องคนจริง ๆต้องทำอย่างต่อเนื่อง

KPIs บางครั้งอาจไม่สามารถวัดได้กับคนเก่งในองค์กร อยู่ที่ว่าจะเก็บได้หรือไม่

เราโตและขับเคลื่อนด้วย HRมีส่วนร่วมกระตุ้นให้เป็นเลิศ และให้คนที่อยู่ใน HR มีส่วนร่วมได้จะเป็นประโยชน์มาก

ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

กรณีศึกษาต่อ

ตัวที่เป็นเป้าหมายองค์กรจะกระจายมาสู่ส่วนที่เกี่ยวข้องได้อย่างไร ต้องปรับเปลี่ยนและ Update และจะ Monitor อย่างไร ต้องค่อย ๆ ฝ่าฟันและให้พนักงานเดินไปด้วยกัน ไม่เน้นการขาย Product หรือ Service แต่เน้นอย่างอื่นด้วย

บริษัทกลุ่มปิโตรเคมี

การจะ Alignment ได้ Business Strategy ชัดหรือไม่ ต้องให้ HR หาคน Support เท่าไหร่

การแสดงความคิดเห็น

วิธีการ Diversify จะ Diverse ด้วยตัวเราเอง หรือ Partner เราจะต้องดู ต้องให้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

ต้องให้คนที่เป็น President หรือ Owner ลงมาลุยจริง ๆ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การมี KPIs จะประสบความสำเร็จ การลงทุน Long term ต้องลงทุนเรื่องคนก่อน ต้องใช้เวลาในการพัฒนาสมรรถนะ ให้ดูว่าขาดอะไร และทำงานเป็นทีม

ต้องพัฒนาสมรรถนะ หรือ Competency อย่างต่อเนื่องและต่อเนื่อง ต้องให้เกียรติในการทำงานเป็นทีม และเมื่อเจอวัฒนธรรมองค์กร มีความสุข และมีความสมดุล Work life Balance จริงหรือไม่

CEO ทุกคนมี Process ทำงานร่วมกัน สะท้อน ศักยภาพองค์กร

CEO ของประเทศไทยไม่ถึง 40% ที่ Invest เรื่องคนต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง และถ้าเชื่อในแนวคือ Chira wayแสดงว่า KPI's ไกลน้ำ แต่ถ้าพูดเรื่อง Leadership เป็น Process ที่ทำให้องค์กรดีขึ้น เป็น Process ที่ต้องมาก่อน

ต้องระมัดระวังในการวัดคน คนดีต้องมี Basic ดี เช่น คุณธรรม จริยธรรม ปัญญา ทัศนคติ

การดูแลเรื่องคน ไม่ใช่เปิดปุ๊บติดปั๊บ แต่ต้องใช้เวลา ถ้าเราจะเดินต้องใช้เวลา

ทรัพยากรธรรมชาติอย่างที่ดิน Earn Income ตัวเองไม่ได้แต่ต้อง earn มาจากปัญญาของมนุษย์ ถามว่าทุกอย่างพอดีหรือไม่

Brain ของทุกคนดี มี IQ ดี แต่ต้องสามารถเป็น Apply IQ ได้ด้วย

Innovation ไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่ต้องใช้เวลา

คุณพิชญ์ภูรี

สิ่งที่เห็นจาก Learn share care คือ การ Monitor เช่น เมื่อคิดโปรเจคใหม่ ๆ ขึ้นมา แล้วซ่อน KPIs ไว้ว่าจะประเมินโดยไม่รู้ว่ากำลังประเมินเขาอยู่ เขาจะพูดเรื่องปัญหา อุปสรรค โอกาส และความเสี่ยง ที่มีอยู่

Innovation คิดได้อย่างไร ถ้าเราสร้างร่วมกัน และทำโดยพนักงานไม่ทราบจะทำให้เราทราบความจริงเยอะมาก

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

อาจารย์จีระ ได้กล่าวถึงการใช้ศักยภาพของคนมาจากทุนมนุษย์

8 K's : ทฤษฎีทุน 8 ประเภท

พื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capitalทุนมนุษย์

Intellectual Capitalทุนทางปัญญา

Ethical Capitalทุนทางจริยธรรม

Happiness Capitalทุนแห่งความสุข

Social Capitalทุนทางสังคม

Sustainability Capitalทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capitalทุนทาง IT

Talented Capitalทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

ถ้ามีการพัฒนาคนในบริษัทลูกหรือบริษัทอื่นในอนาคต เราจะใช้หลักเกณฑ์ของ 8K's หรือ 5K's ดีที่สุด โอกาสที่จะสร้าง KPI's จะเกิดขึ้นในอดีตพบว่าคนที่เรียนเยอะกว่า รายได้สูงกว่า แต่มาภายหลังปริมาณการเรียนไม่พอ ขึ้นอยู่กับวิธีการเรียน

คนเรียนเยอะ อาจไม่มีศักยภาพ แต่ต้องเรียนด้วยวิธีการที่มีทุนที่ 2 ถึงทุนที่ 8

เราจะมีทุนทางปัญญามากขึ้น ต้องมีทุนทางจริยธรรมด้วย อาจได้จากการฝึกจากโรงเรียน หรือเข้าวัดเป็นต้น

Happy workplace กับ Happy at work คนละตัว

ถ้าบริษัทจะวิ่งไปสู่ KPIs บุคคลต้องชอบในสิ่งที่เขาทำอยู่หรือที่เรียกว่า Passion

การทำงานไม่ได้ทำงานเพื่อเงินอย่างเดียว แต่ทำงานเพื่อมีความหมายต่อเรา ดังนั้นทุนแห่งความสุขเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในอนาคตข้างหน้าคือการทำ Survey ในอนาคตข้างหน้าจะมีเท่าไหร่

เชื่อว่าถ้าใครที่ไม่มีความสุขทำงานจะไปสร้าง KPIs ไม่ได้

ทุนทางสังคม หรือ Networking ต้องถามว่าเรามี Networking ในบริษัทลูก และบริษัทข้างนอกหรือไม่ ถ้าเราจะไปอาเซียนจะมีหรือไม่ ถ้าไม่มีการไปข้างนอก อนาคต KPIs จะไม่เกิดขึ้น

ความยั่งยืนบางคนบอกว่าเป็นเหมือนเป้าหมาย แต่ถ้าเราไม่รักษาเพื่อเป็นหนทางสู่ความยั่งยืนก็ไม่ดี การสร้างความยั่งยืนได้แก่ การมีสุขภาพที่ดี การใฝ่รู้

ความยั่งยืนต้องมองไปไกล ไป 5-10 ปี เพื่อฝึกคนสู่ความยั่งยืน ต้องอยู่รอด และบริหารความเสี่ยง

ให้เลือกปัจจัยท้าทายของบริษัทในอนาคตเพื่อรองรับ KPIs ด้วย

โลกในอนาคตต้องมองกว้างและมองลึกด้วย

5 K's (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ

เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capitalทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capitalทุนทางความรู้

Innovation Capitalทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capitalทุนทางอารมณ์

CulturalCapitalทุนทางวัฒนธรรม

พื้นฐานคุณธรรม และความคิดต้องมาก่อนที่จะคิดต่อยอด พื้นฐานคือเหตุและผล

สิ่งสำคัญคือการกระเด้งไปสู่ 3 V

จากพื้นฐานที่มีอยู่แล้ว นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์คือ KPIs ที่ต้องการ เป็น KPIs ที่มีมูลค่าเพิ่มในอนาคต

การทำงานประสบความสำเร็จ ต้องควบคุมอารมณ์ อย่าให้อารมณ์หลุด หรือการมีอารมณ์สุนทรีย์เพื่อสร้างไอเดียใหม่ ๆ

ถ้าจะวัด Individual KPIs ต้องมี 8K's เป็นพื้นฐานและกระเด้งไป 5K's ให้มีความรู้เหล่านี้ยิงไปที่ DNA ของพวกเขา

สิ่งที่คาดหวังจากคุณวัลลภา

ขอบคุณ ดร.จีระ และให้ความรู้ ประทับใจมุมมองที่พูดถึง Knowledge and Process สู่การนำไปใช้

จุดเริ่มต้นทางทีมผู้บริหารทุกส่วนอยู่ที่ KPIs หลักการจะมุ่งไปไหนอยู่ที่ทุกคน ในการสร้าง Competitiveness เริ่มมีการประชุมกันและหา Core Value ของกลุ่ม

Purpose คือ Public ที่เรา Care มองเป็น Intangible asset และสามารถสร้างสู่ Sustainability ผ่านการสร้างคุณค่าทางสังคม และสิ่งแวดล้อมที่มีความยั่งยืน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คุณธรรม จริยธรรมของนักธุรกิจในห้องนี้ต้องทำเพื่อสังคม มืออาชีพอย่าหยุดในการสร้างความเป็นเลิศ

การทำงานต้องมีสุขภาพดีเสียก่อนไม่ใช่บ้าเงินอย่างเดียว

Workshop

แบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม; 1)การเงิน 2) การตลาด 3) กระบวนการบริหารจัดการภายใน และ 4) Human Capital

วิเคราะห์

1)ปัจจัยท้าทายขององค์กรที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลง 3 เรื่องใหญ่มีอะไรบ้าง?

2)ยุทธวิธีของแต่ละฝ่ายที่จะไปสู่การจัดการกับความท้าทายให้ประสบความสำเร็จ คือ อะไร?

3)การนำเอา KPIs มาใช้จะช่วยให้การบริหารจัดการ และผลประกอบการดีขึ้นอย่างไร? มีจุดอ่อน - จุดแข็งอย่างไร?

4)แนวโน้มในอนาคต ถ้าจะดึงเอาความเป็นเลิศของ "คน" ในองค์กรออกมาขับเคลื่อนผลงานต่าง ๆ ขององค์กร ลองวิเคราะห์และเสนอ KPIs ที่สามารถวัดสิ่งที่มองเห็นได้ (Tangibles) กับสิ่งที่มองไม่เห็น (Intangibles)

5)เสนอแนะขั้นตอนในการพัฒนา KPIs ที่เหมาะสมของแต่ละฝ่าย

ก่อนจบ ให้เขียนถึง ดร.จีระ 2 ประเด็นว่า KPIs ที่ได้เรียนวันนี้ 2 เรื่องมีอะไรบ้าง

กลุ่มที่ 1

วิเคราะห์

1.ปัจจัยท้าทายขององค์กรที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลง 3 เรื่องใหญ่มีอะไรบ้าง?

1. ผลประกอบการ

2. พฤติกรรมลูกค้า

3. AEC

ดร.จีระเสริมว่า น่าจะพูดถึง Trend ในการที่เขามาหาเรา หรือเรามาหาเขา และติดชายแดนจะเป็นอย่างไร อยากให้บริษัทมอง AEC

ส่วนเรื่องลูกค้าเป็นการมองที่ดี ใช้เป็น Green Building และให้บริษัทอเมริกาออกแบบ

2.ยุทธวิธีของแต่ละฝ่ายที่จะไปสู่การจัดการกับความท้าทายให้ประสบความสำเร็จ คือ อะไร?

ต้องสร้างความพึงพอใจ การพัฒนาสินค้า การพัฒนาบุคลากร

ดร.จีระ เสริมว่า การพัฒนาบุคลากรจะพัฒนาแบบไหน ควรเน้นการสร้างให้เกิดสังคมการเรียนรู้แบบ Learning how to learn

องค์กรขับเคลื่อนด้วยองคาพยพทั้งหมด ถ้า Top down CEO เก่งไม่พอ

3.การนำเอา KPIs มาใช้จะช่วยให้การบริหารจัดการ และผลประกอบการดีขึ้นอย่างไร? มีจุดอ่อน - จุดแข็งอย่างไร?

ดีขึ้นในส่วนของทุกคนมีส่วนร่วม มีเป้าหมายเดียวกัน สามารถติดตามงานและแก้ไขได้ แต่บางอย่างไม่ได้จากเนื้องานจริง

สามารถวัดจุดแข็งตนเองได้แน่นอน และสร้างมูลค่าเพิ่มองค์กร

ดร.จีระ ก่อนถึง KPIs ต้องมีการพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อเกิดความเป็นเลิศให้ได้

4.แนวโน้มในอนาคต ถ้าจะดึงเอาความเป็นเลิศของ "คน" ในองค์กรออกมาขับเคลื่อนผลงานต่าง ๆ ขององค์กร ลองวิเคราะห์และเสนอ KPIs ที่สามารถวัดสิ่งที่มองเห็นได้ (Tangibles) กับสิ่งที่มองไม่เห็น (Intangibles)

ส่วนที่มองเห็นได้ เช่นจัด Training และใช้ความพึงพอใจในการวัด

ส่วนที่มองไม่เห็นคือการประเมินผล 360 องศา แล้วนำไปใช้จริง

ดร.จีระ เสริมว่า ลองวัดถ้ามีความสุขสูงสุด 5 คุณมีความสุขเท่าไหร่ และพบว่า Performance กับความสุขน่าจะไปด้วยกัน

Intangible วัดจากคะแนน ที่เป็น artificial การทำเรื่อง Happy workplace น่าจะทำเรื่อง Individually Happiness Score มีเท่าไหร่

เรื่อง Happiness Capital กับ Happy workplace คือทุนแห่งความยั่งยืน

บริษัทเอาจริงกับเอาความเป็นเลิศข้างในออกมาและจะวัดกันอย่างไร

ในห้องนี้ประเมินว่าน่าจะอยู่ประมาณ 6 – 7 แต่จะทำให้มีความสุขมากกว่านี้คือ 7 ไป 8 ไป 9 จะทำอย่างไร

5.เสนอแนะขั้นตอนในการพัฒนา KPIs ที่เหมาะสมของแต่ละฝ่าย

1.Vision Mission ชัดเจน

2. ทุกคนมีส่วนร่วม

3.และสอดคล้องกับ Strategy

กลุ่มที่ 2

1)ปัจจัยท้าทายขององค์กรที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลง 3 เรื่องใหญ่มีอะไรบ้าง?

- เปลี่ยนแปลงแปลว่าอนาคต

- ทุกครั้งที่ส่งผลถึงคำตอบจะสะท้อนอะไรถึง KPIs

1. ปัจจุบันต้อง Deal กับกลุ่มคนแต่ละ Gen มี Demand ที่แตกต่างกัน ได้ดูถึง Reality และ 3 V

2. การรวมกลุ่มธุรกิจมีความหลากหลาย ผู้บริหารได้ Synergy กับองค์กรนอกกลุ่ม KPIs ต้องมีภาพสะท้อนหรือไม่

3. Global Trendหรือ AEC

ดร.จีระ ได้กล่าวว่า ในข้อ 1 Supply / Demand ต้องดูที่ลูกค้า ข้อ 2 การรวมกลุ่มที่ เป็น Synergy ต้องทลาย Silo และให้ Synergize กันและดูถึง Stakeholder ที่อยู่นอกเรา

ข้อ 3 เงินของบริษัทนี้จะมามากสุดจากลูกค้าต่างประเทศ Trend ต้องกินข้างนอกด้วยไม่ใช่ข้างในอย่างเดียว

2)ยุทธวิธีของแต่ละฝ่ายที่จะไปสู่การจัดการกับความท้าทายให้ประสบความสำเร็จ คือ อะไร?

ยุทธวิธีที่สำคัญคือการกำหนดเป้าหมายและนโยบายรวมถึงมีการประเมินและวัดผลอย่างเป็นระบบ

3)การนำเอา KPIs มาใช้จะช่วยให้การบริหารจัดการ และผลประกอบการดีขึ้นอย่างไร? มีจุดอ่อน - จุดแข็งอย่างไร?

KPIs ต้องอย่าลืม K เพราะ K คือ Keyยกตัวอย่างทีมฟุตบอลชาติไทย KPIs ควรเป็นอะไร ได้แชมป์ฟุตบอลอาเซียน หรือ มีน้อง ๆ แจกผ้าเย็นสรุปคือถ้ามีจุดย่อยมากเกินไปอาจไม่ effective อาจไม่ต้องวัด

ดร.จีระ เสริมว่าต้องเลือกสิ่งที่เป็นส่วนสำคัญ ต้องเลือกแนว 3 V การอยู่รอดหรืองานประจำ ไปสร้าง Value Diversity และ Value Creation

ต้องเอา idea ไป implement ให้จับประเด็นให้ได้ มีความมุ่งมั่นอะไร และให้เอาชนะอุปสรรค

ความผสมกลมกลืนที่เหมาะสมคือการผสมอย่างยั่งยืน

ต้องลดถึง Business unit ด้วย คือ ต้องลงไป unit เล็ก ๆ ด้วยแบบเชื่อมกันเหมือน Value Chain เมื่อ Key ใหญ่ได้แล้วค่อยกระเด้งมา Key เล็ก

4)แนวโน้มในอนาคต ถ้าจะดึงเอาความเป็นเลิศของ "คน" ในองค์กรออกมาขับเคลื่อนผลงานต่าง ๆ ขององค์กร ลองวิเคราะห์และเสนอ KPIs ที่สามารถวัดสิ่งที่มองเห็นได้ (Tangibles) กับสิ่งที่มองไม่เห็น (Intangibles)

คนจะเลิศทุกด้านไหม คิดเป็น Tangible วัดตาม Growth profit ตัว Tangible ที่วัดคือ เอา Satisfaction Survey คือ Good Process และ Good Profit

5)เสนอแนะขั้นตอนในการพัฒนา KPIs ที่เหมาะสมของแต่ละฝ่าย

KPIs ที่เหมาะสมน่าจะเกิดจากความร่วมมือของคนในองค์กร จะเริ่มจากความเข้าใจเล็ก ๆ ว่าจะเริ่มจาก KPIs และหรือเฉพาะ ABU และหรือเฉพะแต่ละฝ่าย และหรือเฉพาะแต่ละบุคคล เพื่อให้ได้เสื้อหลาย ๆ แบบ

ดร.จีระ เสริมว่า KPIs คือทำแล้วต้องมีประโยชน์ อย่าไปทำ Uniform ทุกคนเหมือนกันหมด คนที่เก่งในองค์กรใช้ KPIs ที่เหมาะสมกับเขาก็พอแล้วไม่ต้อง Detail มาก อย่าเป็น Statistic

กลุ่มที่ 3

วิเคราะห์

1.ปัจจัยท้าทายขององค์กรที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลง 3 เรื่องใหญ่มีอะไรบ้าง?

1.เป้าหมายองค์กรอาจไม่ชัดเจนเนื่องจากการสื่อสารความหลายหลายทางธุรกิจ

2. Organization Chart

3. ปัจจัยภายนอก AEC

2.ยุทธวิธีของแต่ละฝ่ายที่จะไปสู่การจัดการกับความท้าทายให้ประสบความสำเร็จ คือ อะไร?

1. แก้ไขการสื่อสาร 360 องศา

2. หาจุดร่วมของ Core Business(การใช้ประโยชน์ของทรัพย์สิน)

3. การกระจาย Decision Power

4. ต้องเตรียมคนพร้อมปัจจัยภายนอกต่าง ๆ โดยใช้ Training

ดร.จีระ เสริมว่าอยากให้ใช้ Learning & Development ระวังเรื่อง Empowerment ต้องพร้อมในการพัฒนาองค์กร ต้องระวังบางคนบ้าอำนาจ บางคนมีอำนาจก็เหลิง องค์กรต้องฝึกความเป็นมืออาชีพและมีจริยธรรม ไม่เช่นนั้นจะล้มเหลว

การเจรจาต่อรอง การตัดสินใจ ภาวะผู้นำ ต้องจัดการกับวิกฤติตลอดเวลามีโครงการเยอะ และบางครั้งไม่เคลียร์ การมีทรัพย์สิน คนที่จะทำต้องมีทั้งทรัพยากรมนุษย์ให้ไปกับทรัพยากรที่หายใจไม่ได้ด้วย

3.การนำเอา KPIs มาใช้จะช่วยให้การบริหารจัดการ และผลประกอบการดีขึ้นอย่างไร? มีจุดอ่อน - จุดแข็งอย่างไร?

จุดแข็ง คือทำให้มีเป้าหมายชัดเจน ทิศทางเดียวกัน เป็น Long term organization พัฒนาอย่างต่อเนื่องหรือ Keizen ต้องการให้คนพัฒนาตนเองและตอบสนอง

จุดอ่อน คือ Lack of Trust ,ซ้ำซ้อน เป็น Burden ไม่สามารถวัดความจับต้องไม่ได้

ดร.จีระ เสริมว่า Process จะต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่องหรือไม่การ Transfer knowledge ให้มี Process + Knowledge+Follow up

4.แนวโน้มในอนาคต ถ้าจะดึงเอาความเป็นเลิศของ "คน" ในองค์กรออกมาขับเคลื่อนผลงานต่าง ๆ ขององค์กร ลองวิเคราะห์และเสนอ KPIs ที่สามารถวัดสิ่งที่มองเห็นได้ (Tangibles) กับสิ่งที่มองไม่เห็น (Intangibles)

Tangible เช่นการวัดจาก Financial, revenue ,Process growth ,benefit

Intangible เช่น Non Financial , Public Feedback

ดร.จีระเสริมว่า สิ่งนี้ไม่นิ่งเกิดที่ 8K's5K's

Competency อยู่ในที่ทำงาน ได้ทำวิจัยมาแล้วและเปรียบเทียบกับที่อื่น ๆ เช่น ปูนซีเมนต์เรื่อง Innovation เป็น Competency อันดับแรกและตามมาด้วย CSR ต้องทำให้ต่อเนื่องและมุ่งไปหา Global Standard

การจัดการการเปลี่ยนแปลง และเป้าหมายองค์กรต้องจัดการให้ได้

5.เสนอแนะขั้นตอนในการพัฒนา KPIs ที่เหมาะสมของแต่ละฝ่าย

การกำหนดเป้าหมายชัดเจน ปัจจัยท้าทาย ถ้า Clear Vision, Mission จะวัด KPIs ได้

การคัดกรอง KPIs เพื่อดึงตัว KPIs ที่เป็น Key จริง ๆ ในการประเมินผล

การสื่อสารต้องให้ทุกคนเข้าใจเหมือนกัน และพัฒนาองค์กร หรือ Motivate ได้อย่างไร

กลุ่มที่ 4

วิเคราะห์

  • 1)ปัจจัยท้าทายขององค์กรที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลง 3 เรื่องใหญ่มีอะไรบ้าง?
  • 2)ยุทธวิธีของแต่ละฝ่ายที่จะไปสู่การจัดการกับความท้าทายให้ประสบความสำเร็จ คือ อะไร?
  • ต้องมีหลักใหญ่ที่เหมือนกันคือมี Goal ร่วมกันในการกำหนดบทบาทรับผิดชอบ
  • 3)การนำเอา KPIs มาใช้จะช่วยให้การบริหารจัดการ และผลประกอบการดีขึ้นอย่างไร? มีจุดอ่อน - จุดแข็งอย่างไร?
  • จุดแข็งคือ ตั้ง KPIs ดีจะทำให้มีเป้าหมายร่วมกันชัดเจน วัดผลอย่างเป็นรูปธรรม พิจารณาถึงปัจจัยได้อย่างเป็นระบบ
  • จุดอ่อน ถ้าไม่ได้ทำจริงจะเกิดความกดดันและเสียเวลาทำ
  • 4)แนวโน้มในอนาคต ถ้าจะดึงเอาความเป็นเลิศของ "คน" ในองค์กรออกมาขับเคลื่อนผลงานต่าง ๆ ขององค์กร ลองวิเคราะห์และเสนอ KPIs ที่สามารถวัดสิ่งที่มองเห็นได้ (Tangibles) กับสิ่งที่มองไม่เห็น (Intangibles)
  • Tangible ใช้ Balance Score Card ในการวัด
  • Intangible ใช้ 8K's5K's
  • ดร.จีระ เสริมว่า ลูกค้าไม่ใช่นักศึกษาธรรมศาสตร์ อย่างเดียว แต่ใครก็ได้ที่บ้าคลั่ง ดร.จีระ คนเรียนมากอาจโกงก็ได้ ถ้าพื้นฐานไม่ดีจะอยู่บริษัทนี้ได้อย่างไร และให้กระเด้งไปสู่ 3 Vจริยธรรมต้องมาก่อนนวัตกรรม
  • 5)เสนอแนะขั้นตอนในการพัฒนา KPIs ที่เหมาะสมของแต่ละฝ่าย
  • เป้าหมายหน่วยธุรกิจต้องทำ ทั้ง Top Down and Bottom Up
  • คุณพิชญ์ภูรี
  • - แต่ละกลุ่มมีการทำงานร่วมกัน ที่น่าสนใจคือ แต่ละคนมีความแตกต่างกัน
  • Core Value ที่คุณวัลลภาพูดPhilosophy People Process Product Public จะวัด KPIs ใน 5 ตัวนี้อย่างไร ตึกต้องบวก Creativity ใครที่จะมาร่วมหรือทำกันได้
  • Key ใน KPIs สามารถมองถึง Factor ใหญ่ที่มาวัดเช่นKey อะไรที่ท้าทายกับการเปลี่ยนแปลง ทำอย่างไรให้คนมีมูลค่าเพิ่ม ทำอย่างไรจะเกิดนวัตกรรม มีอะไรใหม่ ๆ หรือไม่
  • สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ได้วันนี้คือ อยากให้มีการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในการคิดขึ้นมา
  • การ Monitor ความรู้และกระชับความรู้ เรียนรู้ซึ่งกันและกัน อย่าละเลยศักยภาพภายในของทุกท่าน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท