การมองเห็นภาษาสามารถช่วยให้ผู้เรียนจดจำภาษานั้นได้ ตอนที่ 2


การเรียนรู้โดยผ่านภาพ (diagrammatic approach)

วิธีการนี้ได้รับการออกแบบว่าเป็นตัวเสริม (supplement) มากกว่าจะเข้ามาแทนที่ (replacement) ในการสอนแบบปกติ ฉันพบว่างานหลายชิ้นที่ทำกับนักเรียนที่มีความสามารถระดับต่ำ จนถึงระดับกลาง(low to intermediate level students) นักเรียนจะมีความทุกข์กับลักษณะบางอย่าง (building blocks)ในภาษา

เพื่อที่จะทำให้วิธีการนี้มีประสิทธิภาพเท่าที่จะเป็นไปได้ แผนภาพบล็อก (diagrams) จะถูกทำให้ง่ายที่สุด เพื่อที่จะทำให้ข้อมูลให้ดูง่ายๆ ให้นักเรียนเข้าใจและจดจำ เป็นการง่ายสำหรับครูที่จะสร้างแผนภาพบล็อกแบบง่ายๆ และแจกจ่ายสิ่งนั้นไปตลอดบทเรียน มากกว่าที่จะสร้างแผนภาพบล็อกที่เป็นาการวัดความเข้าใจ (comprehension one)

การใช้สี (แต่ต้องไม่มากนัก) จะช่วยเรื่องความชัดเจน คนไหนที่มีลักษณะทางศิลปะหน่อยจะมีประโยชน์ สำคัญที่สุดก็คือ แผนภาพบล็อกจะต้องใช้งานและจดจำได้ง่าย โดยนัยยะเดียวกันจะต้องลดรายละเอียดลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ประกอบจะต้องทำให้นักเรียนเข้าใจประเด็นของไวยากรณ์ให้ได้

ความถูกต้อง (accuracy) ต้องมีความสำคัญเสมอ ดังนั้นแผนภาพบล็อกต้องเข้ากันได้พอดีกับไวยากรณ์ ไม่ใช่เป็นเรื่องอื่น

หนังสืออ้างอิง

Rupert Lezemore. (2013). How seeing a language can help learners retain it. http://goo.gl/TCfsRP

หมายเลขบันทึก: 587222เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2015 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2015 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าสนใจค่ะ แต่สำหรับคนนอกวงการอย่างพี่ ยังไม่ค่อยเข้าใจนัก ถ้ามีภาพ หรือตัวอย่างให้ด้วยจะดีเยี่ยมเลยค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท