ไม่ใช่แดร็ดคูล่าแต่ต้องการเลือด เลือด??


คนทั้วไปต่างมีข้อสงสัยมากมาย เกี่ยวกับการให้และรับโลหิตจากผู้อื่น บันทึกเล่มนี้จะมาอธิบายให้ละเอียดว่าทำไม ทำไงและทำไม

A : ทำไมต้องสนใจการให้เลือดด้วยล่ะ?

B : เพราะชีวิตคือความไม่แน่นอนค่ะ ไม่ว่าใครก็มีโอกาสได้เป็นผู้รับเลือดได้เสมอ เลือด1 ถุงช่วยชีวิตของเราหรือคนที่เรารักได้ วันนี้เลือกได้ก็ควรเป็นผู้ให้ก่อนจะดีกว่าคะ

A : ต้องเป็นเลือดคนกับคนเท่านั้นเหรอ ใช้สารอื่นแทนได้ป่าว?

B : ณ ปัจจุบัน สารแทนเลือดไม่มีคะเพราะเลือดมีโครงสร้าง มหัศจรรย์และจำเพาะ ยังไม่มีสารใดทำหน้าที่แทนเลือดได้ ในอดีตมนุษย์เคยลองใช้เลือดสัตว์ทดแทน แต่ก็ไม่รอดหรอกคะ เพราะมันจำเพาะจริงๆคะ

A : เอาล่ะเริ่มอยากบริจาคละ ทำไงต่อ?

B : ต้องมีการเตรียมตัวกันก่อนนะคะ

การเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต

-สุขภาพสมบูรณ์ ไม่เป็นไข้หวัด ไม่เป็นโรคติดต่อทางเลือด (อันนี้เน้นเลยนะ ต้องมั่นใจตัวเองจริงๆแบบ 100% ว่าไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อHIV ไวรัสตับอักเสบ ซิฟิลิส ถ้าไม่แน่ใจขอร้องว่าอย่าไปบริจาคเลยคะ)

-นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง

-กินอาหารมาก่อนบริจาคเน้นพวกให้พลังงาน ข้าว ขนมปัง งดอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ อาหารที่มีกะทิ แกงต่างๆ ของทอด ของหวาน ฯลฯ เพราะจะทำให้พลาสมาขุ่นจากไขมัน นำไปใช้ไม่ได้อีก น่าเสียดายเลยล่ะ

-ดื่มน้ำ 3-4 แก้ว เพื่อเพิ่มปริมาณของเหลวในร่างกาย ป้องกันการมึนงง อ่อนเพลีย เวียนหัวและเป็นลม หลังบริจาคเลือด

-งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ > 24 ชั่วโมงและไม่กินยาแก้อักเสบ

-งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี

ขณะบริจาคโลหิต

-ทำตัวตามสบาย

-บีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก หากมีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ ต้องรีบแจ้งให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ทันที

-หลังบริจาคโลหิตอย่าลุกจากเตียงทันทีอาจทำให้เป็นลมได้ ให้นอนพักสักครู่จนกระทั่งรู้สึกสบายดีจึงลุกได้

หลังบริจาคโลหิต

-ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1 วัน

-งดออกกำลังกาย งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ หิ้วของหนักๆ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาคโลหิต เพื่อป้องกันการบวมช้ำ

-ไม่ควรรีบร้อนกลับ ควรนั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติ หากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที

-ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล อย่าตกใจ ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อส กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิตเพื่อพบหมอหรือพยาบาล

-ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน

-รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และรับประทานยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละ 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก

วันหลังจะกลับมาต่อนะคะ ใครมีคำถามอะไร เม้นไว้เลยคะ เดียวมาตอบให้

หมายเลขบันทึก: 586457เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2015 23:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2015 01:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท