การแนะนำอย่างหยาบๆในเรื่องการตระหนักรู้ภาษา (Language Awareness) ตอนที่ 15


สรุป (Conclusion)

หนึ่งในการท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของครูที่สอนภาษาที่ 2 ก็คือ ให้ผู้เรียนได้รับตัวป้อนที่มีความหมาย และให้โอกาสกับพวกเขาในเรื่องการตระหนักรู้ภาษา กล่าวในอีกแง่มุมหนึ่งก็คือ ต้องให้เด็กได้กระบวนการตัวป้อน หรือการรับภาษา (acquisition) ในขณะเดียวกันก็ต้องสอนให้เด็กได้รู้เรื่องรูปแบบ (form)----เราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการเรียนรู้ (learning) ด้วย มันอาจไม่เกี่ยวข้องสักเท่าใดที่เราจะเรียนวิธีการสอนของเราว่าวิธีการที่เน้นกระบวนการ (process-oriented approach), การตระหนักรู้ภาษา (language awareness), การยกสติสัมปชัญญะ (consciousness- raising) หรือแม้แต่การแก้ไขปัญหาทางภาษาศาสตร์ (linguistic problem-solving) ภาษาจึงไม่ใช่การกล่าวแต่โครงสร้าง และให้เด็กๆทำแบบฝึกหัด ที่นำเสนอในหลักสูตรที่แยกเป็นหัวข้อย่อยๆ ในประเพณีแบบอะตอม กล่าวในอีกแง่มุมหนึ่งก็คือ สอนเป็นเรื่องๆไป เช่น สอนเรื่อง a, an, the ก่อนเรื่องกาลเวลา เป็นต้น (atomistic) และเป็นเส้นตรง (linear) อีกต่อไป จริงๆแล้วภาษาเป็นกระบวนการที่มีพลวัต ซึ่งผู้เรียนต้องมาเกี่ยวข้องด้วยโดยตรง

ตามที่ Nunan (1998) ได้อธิบายถึงวิธีการแบบอินทรีย์ (organic approach) ที่ใช้ในการสอนภาษาไว้ ดังนี้

1. พยายามเสนอทางเลือกไว้สักกลุ่ม

2. นำเสนอให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการสำรวจไวยากรณ์และความสัมพันธ์ทางวาทกรรมในสื่อที่มีความสมจริง (authentic data)

3. พยามทำให้รูปแบบ และหน้าที่ (form/ function) ปรากฏอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา

4. กระตุ้นให้ผู้เรียนเป็นนักสำรวจภาษาที่มีความกระตือรือร้น

5. กระตุ้นให้ผู้เรียนสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างไวยากรณ์ และ วาทกรรม

โดยสรุป การตระหนักรู้ภาษา ก็คือ ทำให้ผู้เรียนสนใจแต่ภาษาที่เป็นเป้าหมาย จุดเริ่มต้นของมันก็มี 1. กระบวนการทางตัวป้อน 2. สำรวจตัวอย่างภาษาในบริบท 3. สังเกตสิ่งที่สะดุดตาและกระสวน (pattern) 4. สรุปกฎและทดสอบกับข้อมูลที่มากขึ้น

แต่นั่นเป็นเพียงเรื่องแค่ครึ่งเรื่อง สิ่งที่สำคัญพอๆกับสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นก็คือ ให้เด็กๆได้ใช้กฏทางภาษาที่เขาได้มาใหม่ๆในกิจกรรมดังที่กล่าวไว้แล้ว หรือดังที่ Nunan ได้กล่าวไว้ว่า "กระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความรู้ทางภาษาไปสู่การสื่อสาร"

การวิจัยในการตระหนักรู้ภาษา ยังอยู่ในขั้นทารก และเร็วเกินไปที่จะกล่าวว่ารูปแบบใดเหมาะสมกับผู้เรียนต่างกลุ่มกัน อย่างไรก็ตาม พวกเรามีหลักฐานทางประจักษ์นิยมแล้วว่า เส้นทางการแก้ปัญหาแบบอุปนัย ในความรู้ทางภาษาศาสตร์ย่อมดีกว่าส่วนอื่นๆ

ดังนั้น บทบาทของครูจึงไม่ใช่กูรูที่ยิ่งใหญ่ แต่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้เท่านั้น

หนังสืออ้างอิง

James M. Bourke. (2014). A Rough Guide to Language Awareness.

คำสำคัญ (Tags): #ข้อสรุป
หมายเลขบันทึก: 586160เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2015 18:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2015 18:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มีประโยชน์มากเลยค่ะต่อครูอาจารย์ที่สอน ภาษาค่ะ


อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท