ลำเจียก
อาจารย์ ลำเจียก กำธร (อ.น้อง)

ผลความยั่งยืนของโปรแกรมการฝึกพูดกับตัวเองทางบวก ต่อภาวะซึมเศร้า ในนักศึกษาพยาบาล..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/dashboard/home#/posts/new


ชื่อเรื่องวิจัย ผลความยั่งยืนของโปรแกรมการฝึกพูดกับตัวเองทางบวก ต่อภาวะซึมเศร้า ในนักศึกษาพยาบาล..............

The Effects of Sustaining Positive Self-Talk Training Program On Depression Among Nursing Students..................

บทคัดย่อ

นักศึกษาพยาบาล เป็นผู้ที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นเป็นวัยที่อยู่ในระยะคาบเกี่ยวระหว่างความเป็นเด็กต่อเนื่องกับความเป็นผู้ใหญ่ อีกทั้งเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงมากและรวดเร็วในทุกด้านทั้งด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์และสังคม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตได้ง่ายโดยเฉพาะเมื่อต้องประสบกับเหตุการณ์วิกฤตในชีวิตเช่นนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่ม เพื่อแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ เป็นกลุ่มที่มาจากพื้นที่ที่มีปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ มีเหตุการณ์สะเทือนขวัญเกิดขึ้นกับครอบครัวของตนเอง นักศึกษาหลายคนที่ได้รับประสบการณ์ทางลบจากเหตุการณ์โดยตรงหรือโดยอ้อมมาเป็นเวลาหลายปีติดต่อกันบางคนมีประสบการณ์การสูญเสียบิดามารดา ญาติ พี่น้องและบุคคลที่ตนรัก รวมทั้งการที่ต้องอยู่ในสถานการณ์ความรุนแรงและมีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน หรือการอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่านเช่น การเรียนการสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต ชั้นปีที่ 3 ที่มีเนื้อหาการเรียนที่ยากและซับซ้อนขึ้น โดยเฉพาะการฝึกภาคปฎิบัติ นักศึกษาต้องใช้ความพยายามและความอดทนมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ย่อมมีผลกระทบต่อสภาพจิตใจของนักศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษายังมีภาวะซึมเศร้าหรือมีภาวะซึมเศร้าแฝง เป็นความผิดปกติที่เกิดจากความคิดที่บิดเบือนและมีความคิดต่อตนเอง อนาคต และประสบการณ์ในชีวิตในทางลบก็อาจมีผลต่อการปลูกฝังวิชาชีพพยาบาลได้

การพูดกับตัวเองทางบวกมีความเกี่ยวข้องกับความคิดหรือการรับรู้ของบุคคลในการแสดงความรับผิดชอบหรือควบคุมตัวเองและความเป็นไปของชีวิตโปรแกรมการฝึกพูดกับตัวเองทางบวกเป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพในการประยุกต์เพื่อใช้เป็นทางเลือกเมื่อเกิดการรับรู้ที่บิดเบือนหรือเพื่อปรับระบบการคิดดังนั้นวัตถุประสงค์หลักของโปรแกรมการฝึกพูดกับตัวเองทางบวก คือ เพื่อใช้เป็นยุทธวิธีทางความคิดในการลดภาวะซึมเศร้าโดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 45 คนใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 15 คนและกลุ่มควบคุม30 คนโดยจับคู่ตามระดับภาวะซึมเศร้า (ระดับน้อยถึงปานกลาง)โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการสอนและฝึกให้พูดกับตัวเองทางบวกในขณะที่กลุ่มควบคุมให้ดำเนินชีวิตตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบ็ค (Beck Depression Inventory IA [BDI-IA]) แปลโดยมุกดาศรียงค์และหาความเชื่อมั่นโดยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .933) โปรแกรมการพูดกับตัวเองทางบวกที่สร้างขึ้นโดย ขวัญจิตมหากิตติคุณ(2548)สร้างตามแนวคิดของนีลสันโจนส์(Nelson-Jones, 1990)ซึ่งแปลและดัดแปลงโดยดาราวรรณต๊ะปินตาศรีนวลวิวัฒน์คุณูปการและขวัญจิตมหากิตติคุณตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านนำมาคำนวนหาค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาได้เท่ากับ .82และหาความเชื่อมั่นโดยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นของคะแนนการพูดกับตัวเองทางบวก และคะแนนการพูดกับตัวเองทางลบเท่ากับ .83 และ .82 ตามลำดับผู้วิจัยนำมาดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติทดสอบค่าทีชนิด 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกันและชนิด 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กันได้ผลการศึกษาดังนี้

1. นักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลองมีคะแนนภาวะซึมเศร้าหลังการทดลองน้อยกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. นักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลองมีคะแนนภาวะซึมเศร้าหลังการทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.นักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลองมีความยั่งยืนของการพูดกับตัวเองทางบวกภายหลังการใช้โปรแกรมการพูดกับตัวเองทางบวก

ผลการศึกษาสรุปได้ว่าโปรแกรมการฝึกพูดกับตัวเองทางบวกมีประสิทธิภาพในการช่วยลดภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาลได้และมีความยั่งยืนของการพูดกับตัวเองทางบวกภายหลังการใช้โปรแกรมการพูดกับตัวเองทางบวกโดยอัตโนมัติและมีความยั่งยืนที่ทำให้นักศึกษามีกระบวนการทางปัญญาและไม่กลับมามีภาวะซึมเศร้าอีก ดังนั้นอาจารย์พยาบาลและพยาบาลจิตเวชสามารถเรียนรู้ทักษะการใช้โปรแกรมนี้และนำไปประยุกต์ใช้เพื่อลดภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาลและในวัยรุ่นทั่วไป

ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย

ในการนำผลการวิจัยไปใช้ด้านการปฏิบัติการพยาบาล

อาจารย์พยาบาลและพยาบาลจิตเวชสามารถเรียนรู้ทักษะการใช้โปรแกรมการฝึกพูดกับตัวเองทางบวกและนำไปใช้ลดภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาลและวัยรุ่นทั่วไปได้โดยการจัดให้กลุ่มตัวอย่างได้ฝึกคิดและฝึกพูดกับตัวเองบ่อยๆด้วยการใช้วิธีการที่หลากหลายเช่นฝึกเปลี่ยนประโยคการพูดกับตัวเองทางลบให้เป็นทางบวกฝึกคิดประโยคการพูดกับตัวเองทางบวกต่อเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจฝึกพูดกับตัวเองในใจฝึกพูดกับตัวเองหน้ากระจกทั้งนี้การใช้วิธีการที่หลากหลายจะช่วยให้กลุ่มตัวอย่างเกิดแนวทางในการได้มาซึ่งวิธีการคิดและพูดกับตัวเองทางบวกได้ต่อไปนอกจากนี้วิธีการเหล่านี้ยังเป็นการสร้างประสบการณ์ทางความคิดช่วยให้บุคคลมีโอกาสได้แสดงความสามารถทางความคิดรู้จักคิดทบทวนถึงความคิดของตนเองและความคิดของผู้อื่นและมีความคิดที่เกิดจากการคิดได้ด้วยตนเองซึ่งจะทำให้เกิดการคงอยู่ทางความคิดและการพูดกับตัวเองทางบวกได้อย่างยั่งยืน

ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

1. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับระยะเวลาและความถี่ในการดำเนินกิจกรรมตามโปรแกรมการฝึกพูดกับตัวเองทางบวกที่แตกต่างไปจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เช่นดำเนินกิจกรรมในแต่ละครั้งด้วยระยะเวลาที่สั้นและกระชับ (ประมาณ 45-60 นาที) โดยใช้ความถี่ในการจัดกิจกรรมทุกวันทั้งนี้การใช้เวลาอันสั้นในแต่ละครั้งของกิจกรรมจะทำให้กลุ่มตัวอย่างไม่รู้สึกเหนื่อยล้าทางความคิดจนเกินไปและการใช้ความถี่ในการจัดกิจกรรมที่บ่อยครั้งเป็นวิธีการสร้างทักษะทางความคิดแบบค่อยเป็นค่อยไปแต่ได้รับการกระตุ้นให้ฝึกคิดและพูดกับตัวเองได้บ่อยๆ

2. ควรมีการศึกษาติดตามผลของความยั่งยืนของความคิดและพูดกับตัวเองทางบวกและ

ติดตามประเมินภาวะซึมเศร้าซ้ำเนื่องจากการทำงานของกระบวนการทางปัญญาเป็นระบบความคิดที่เปลี่ยนกลับไปกลับมาได้เมื่อถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าหรือเหตุการณ์ที่เข้ามาในชีวิตดังนั้นถ้าเกิดการคงอยู่ของการคิดและพูดกับตัวเองทางบวกแสดงให้เห็นถึงความสามารถของบุคคลที่จะนำทักษะการคิดและพูดกับตัวเองทางบวกไปใช้เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาทางอารมณ์ที่รุนแรงได้ต่อไป

เอกสารอ้างอิง

จุลจราพรศรีเพชร. (2544). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.

ดวงใจกสานติกุล. (2542). โรคซึมเศร้าและโรคอารมณ์ผิดปกติรักษาหายได้.

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราโมทย์สุคณิชย์. (2540). โรคซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่น. วารสารสมาคมจิตแพทย์

แห่งประเทศไทย,42(1), 35-49.

พรสวรรค์ธาราธรรมรัตน์. (2543). ผลของการรับรู้ข้อมูลแบบไม่รู้ตัวร่วมกับการให้ข้อมูลก่อนและหลังการรับรังสีรักษาและวิธีคิดเชิงบวกต่อความคาดหวังตามแนวคิดของโนวอทนีย์ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.

มัณทนานทีธาร. (2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของเด็กวัยรุ่นในอำเภอเมือง

จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสุขภาพจิตและ

การพยาบาลจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รณชัยคงสกนธ์. (2547). สถานการณ์และเทคโนโลยีการแก้ปัญหาสุขภาพจิต. การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติครั้งที่ 3 ปี 2547. กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข.

ลัดดาแสนสีหา. (2536). ความซึมเศร้าและความคิดอัตโนมัติทางลบของวัยรุ่นตอนปลาย.

วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช,บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วราภรณ์ตระกูลสฤษดิ์. (2543). จิตวิทยาการปรับตัว. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ส่งเสริมวิชาการ.

วีระชูรุจิพร. (2542). วิธีจัดการกับภาวะซึมเศร้าของคนไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย,7(3), 176-178.

วัชรินทร์จันทนาลักษณ์. (2541). ความหวังและการพูดกับตนเองทางบวกของผู้ติดเชื้อเอชไอวี.

วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช,

บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศรีเรือนแก้วกังวาล. (2545). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัยเล่ม 2วัยรุ่น-วัยสูงอายุ.

(พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สดใสเกตุไนย. (2543). ผลของการรับรู้ข้อมูลแบบไม่รู้ตัวร่วมกับการให้ข้อมูลการปฏิบัติตัว

และวิธีคิดเชิงบวกต่อความคาดหวังตามแนวคิดของเฮิร์ทในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รักษา

ด้วยการผ่าตัด. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่,

บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.

สมภพเรืองตระกูล. (2542). ตำราจิตเวชศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 6).กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

สมภพเรืองตระกูล. (2543). โรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย. (พิมพ์ครั้งที่1).กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

สมภพเรืองตระกูล. (2546). ตำราจิตเวชศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7).กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

สมโภชน์เอี่ยมสุภาษิต. (2543). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม.(พิมพ์ครั้งที่4).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุมาพรตรังคสมบัติ, และ ดุสิตลิขนะพิชิตกุล. (2539). ภาวะซึมเศร้าในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย,41(3), 162-172.

อัญชลีฉัตรแก้ว. (2546). ผลการบำบัดทางปัญญาต่อภาวะซึมเศร้าของเยาวชนหญิงใน

สถานสงเคราะห์.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสุขภาพจิตและ

การพยาบาลจิตเวช,บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

American Psychiatric Association. (1994). Diagnostic and statistical manual of mental disorders (4thed.). Washington, DC:Author.

Beck, A.T., Rush, A.J., Shaw, B.F., & Emery, G. (1979). Cognitive therapy ofdepression.

NewYork:TheGuilfordPress.

Braiker, H.B.(1989, December).The power ofself-talk. Psychology Today, 23(2), 23-27.

Burnett.,P.C. (1994). Self-talk in upper primary school children: its relationship with irrational beliefs, self-esteem and depression, Journal of Rational-Emotive and Cognitive-Behavior Therapy, 12, 181-188.

Burns, D.D. (1981). Feeling good: The new mood therapy. New York:William Morrow and Company.

Davidhizar, R.E. (1996). Increasing self- confidence through self-talk.

Home Healthcare Nurse, 14(2), 119-122.

Fennell, M.J.V. (1993). Depression. In K. Hawton, P.M. Salkovskis, J. Kirk, & D.M.clark (Eds.), Cognitive behavioral therapy for psychiatric problems: A practical guide (pp. 169-234). Oxford:Oxford University Press.

Grainger,R.D. (1991). The use -and abuse-of negative thinking . American Journal of Nursing, 91(8), 13-14.

Haugh, J.A., & Powtowski, J. (1996). Creating metacognitive experiences during written communication : Positive self-talk using the thinking mirror. Reading Horizon, 37,

75-93. Retrieved March 20, 2004, from ScienceDirect database.

Magellan of CaliforniaState of California EAP Newsletter. (2003, August). Developing a positive attritude . Living healthy working well. Retrieved March 17, 2004, from http:// www. dpa.ca.gov/ benefits/ Orther/ EAP/ News/ August 03.pdf

Nelson-Jones, R. (1990). Thinking skill: Managing and preventing personal problems.

Pacific Grove:Brooks / Cole Publishing Company.

Salmans, S. (1995). Depression : Question you have answer you need. New York:

Windows on the World Publishing.

Steinberg, L. (1999). Adolescence. (5 th ed.). New York:McGrew-Hill.

Tackett, C. (2004). Avoid negative thinking: Choose to be positive. Retrieved March 17, 2004, from http:// www. heartmnitors.com/ positive.html

Weikle, & Julia, E. (1993). Self-talk and self health. ERIC Clearinghouse on reading English and communication. Retrieved March 20, 2004, from http:// www. ericfacillity.net/database/ERIC Digests/ed 361813.html

Williams, J.M.G. (1984). The psychological treatment of depression: A guide to the theory and practice of cognitive-behaviour therapy. NewYork:The Free Press.

Zimmer, S. (2004). Self-talk: What you say to yourself determines your experience. Retrieved March 20, 2004, from http:// www. self-expression.com/ self_talk.htm

หมายเลขบันทึก: 585581เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2015 10:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2015 10:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท