เข้าใจ "คน" พิการ


ถึงแม้นไม่ได้พิการร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง

และขออย่าได้มีใครมาตราหน้าว่าใจเราพิการเลย

(เช่น อวัศยาอกหัก ไม่มีสติ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จนทำไฟไหม้ห้องพัก ในละครหลังข่าว .... แอบรักออนไลน์)

จริงอยู่ .... อาจจะไม่เข้าใจเท่าคนพิการด้วยกัน เท่าคนที่มีสภาวะการณ์ความเป็นมาคล้าย ๆ กัน

ขอโอกาสแห่งความพยายาม ให้คนทำงานได้เรียนรู้ด้วยหัวใจ .... ที่จะเข้าใจคนพิการ

มากน้อยตามประสบการณ์และการเปิดใจ

^_,^

ตลอดเมื่อวาน จนเย็นค่ำ ทั้งในและนอกโรงแรมปั้นหยา ชมวัดวา หนองประจักษ์ UD Town

เป็นประสบการณ์เล็ก ๆ ทำความเข้าใจตัวเองให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไป

ใช้เวลาสร้างปฏิสัมพัธ์ ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ เพื่อนปานกลาง และเพื่อนสนิทแล้ว ให้ยิ่งสนิทขึ้น

เช้าวันที่สองของเวที จึงมีประลองความจำเล็กน้อย

ใครได้คุยนาน ฝากร่องรอยประสบการณ์ผ่านหัวใจ .... จำได้ดี

ใครเพียงทักทาย อาจเอ้ออ้า ชื่อเสียงเรียงนามติด ๆ แค่ริมฝีปาก เอ่ยไม่ทันเพื่อนอีกฝั่ง ออกไปจากเกม อิ อิ

พอสนุกสนาน สร้างเสียงหัวเราะ เตรียมพร้อมฟังเรื่องเล่าดี ๆ

^_,^

พี่เจน ทพญ.ศัณสณี รัชชกูล ประธานชมรมทันตกรรมเพื่อคนพิเศษแห่งประเทศไทย

มาแนะนำชมรมและการสมัครสมาชิก เพื่อจะได้เชื่อมโยงความรู้ ข่าวสาร วิธีการทำงาน สิ่งสนับสนุน

ประสานกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อคนพิการทั่วประเทศ แม้ตอนนี้จะแค่เริ่มต้น

อย่างน้อยพวกเราในเวทีนี้ เป็นตัวตั้งตัวตีที่จะทำงานด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากของคนพิการ

^_,^

อาจารย์หมออ้อม ดร.ศิรินาถ ตงศิริ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เตรียมเรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง ในการใช้แนวคิด ICF มิใช่ KFC ดูแลคนพิการอย่างเป็นองค์รวม

(International Classification o Functioning Disability and Health : ICF หรือเครื่องมือจำแนกสมรรถนะของคนพิการที่เป็นมาตรฐานสากล)

ร่วมกับทีมวิจัยในพื้นที่ที่บริบทต่างกันไป

๖ องค์ประกอบที่ช่วยบอกสภาวะคนพิการแต่ละด้าน ละเอียดมากน้อยต่างกัน

นำมาเป็นฐานในการร่วมคิดของคนที่เกี่ยวข้อง เพื่อออกแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามความต้องการของเจ้าของความพิการด้วย

เปิดโลกทัศน์ เปิดสมองเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อย่างสนุกสนาน

อาจารย์ค่อย ๆ เล่าให้เห็นภาพรวมก่อน ตามด้วยขั้นตอนการนำ ICF ไปใช้งาน

และยกตัวอย่างบางตอนนิดหน่อย แล้วค่อยสรุปปิดท้าย

ผู้ร่วมเวทีสะท้อนว่า อาจารย์พูดเข้าใจง่ายดี ยิ้มตลอด ๆ

^_,^

พี่ฝน ทพญ.วรางคณา อินทโลหิต สสจ.หนองบัวลำภู พาทุกคนเปลี่ยนอิริยาบถ

^_,^

รายละเอียดตัวอย่างมากขึ้น เมื่อคุณเรณู ภาวะดี

นักกายภาพบำบัดชำนาญการ โรงพยาบาลสิรินธร อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น รับช่วงเล่าต่อ

ภาพใน Slide เป็นส่วนประกอบ แต่สิ่งที่ฉายชัด ทั้งแววตา ใบหน้ายิ้มสดใส ท่าทางฉับไว

ส่งพลัง กำลังใจ แรงบันดาลใจ ให้ทั้งห้องส่วางไสว

จุดไฟติดในทุกหัวใจที่อยากกลับไปทำงานในพื้นที่ตัวเอง

ที่แต่ละพื้นที่มีต้นทุนทางสังคมดี ๆ อยู่แล้ว หลากหลาย ๆ ด้าน

จะได้ลองเชื่อมประสานในแบบที่เหมาะสม เทียบเคียงกับตัวอย่างจากพื้นที่อำเภอบ้านแฮด

^_,^

วันสองเนื้อหาความรู้ใหม่เยอะมาก

ด้วยความเป็นมืออาชีพของวิทยากร การเล่าจากประสบการณ์ตรง .... ดึงดูดให้ติดตามตลอด

พวกเราจึงยังสนุกในการค้นหาและเรียนรู้สิ่งใหม่ต่อไป

เตรียมส่งสาระและความรู้สึกดี ๆ ต่อกันทั้งภายในทีม

และภาคีที่เราจะไปทำความรู้จัก ค้นหาเพิ่มเติม เสริมช่องทางต่าง ๆ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการต่อไป

^_,^

ยัง ยังไม่หมดนะคะ

วันสามมีอีก ประสบการณ์จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู

แล้วมาดูกันต่อนะคะ ที่ว่าภาคส่วน อปท. นั้น เป็นภาคีสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการอย่างไร

สักครู่ค่ะ

^_,^

(ขอบคุณภาพประกอบเกือบทั้งหมดจากพี่เมย์ ทพญ.ภัตติมา บูรพกุล สถาบันราชานุกูล นะคะ)



ความเห็น (4)

ชื่นชมในกิจกรรมค่ะคุณหมอ ...แต่หากพิการทางจิตใจ ยากที่จะเยียวยา นะคะ...

เราจึงต้องดูแลตัวเองให้ดี ๆ อย่าเผลอให้ใจพิการละคะ

ไม่งั้นต้องหาคนช่วยค่ะ

เปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ บนฐานของการเรียนรู้ร่วมกัน
ถือเป็นสิ่งวิเศษสุดเลยครับ
...

ชื่นชอบครับ

ขอบคุณมากนะคะ อ.แผ่นดิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท