drapichart
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิชาติ สนธิสมบัติ

CoP งานวิจัยเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์


ขั้นตอน Plan (การหาหัวข้อ-ความร่วมมือ-ทุนวิจัย)

1. เทคนิคสำคัญคือต้องมีคนแนะนำในการเข้าพบเจ้าของโรงงาน หรือผู้ให้ทุนเอกชน เนื่องจากถ้าเป็นผู้บริหารยุคเก่า คนจีนจะต้องมีผู้แนะนำให้เข้าพบ จึงจะสามารถเข้าพบได้ แต่ถ้าเป็นรุ่นลูกหลาน หรือคนยุคใหม่สามารถเข้าพบได้ โดยอาจจะมาจากข่าวหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ เว็บไซท์

2. การหาทุนมาจากหลายแหล่ง เพื่อทำให้มั่นใจว่าผลงานวิจัยที่จะทำจะได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น

- จากหน่วยงานที่ต้องการให้พัฒนาผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ หรือต้องการให้วิจัย

- จากนักศึกษาสหกิจที่พบปัญหา

- จากสื่อหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ ซึ่งเป็นสถานการณ์จริงๆ ในปัจจุบัน เช่น ปัญหาภัยแล้งจากการตัดไม้ทำลายป่า ทำไร่เลื่อนลอย ปัญหาน้ำมันรั่วจากเรืออับปาง ปัญหาไฟไหม้ป่า เป็นต้น

3. เทคนิคการหาหัวข้ออาจจะมาจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของชุมชน จากการขอคำปรึกษา ด้านวิชาการ

- จากผู้ประกอบการเอง

- จากนักศึกษาปริญญาตรี ไปฝึกสหกิจศึกษา อาจารย์ไปนิเทศแล้วได้โจทย์มา หรือจากนักศึกษาปริญญาโท-เอก

- ปรึกษาเพื่อนๆ ในสาขาที่เกี่ยวข้อง

- จากการอ่านหนังสือ วารสาร งานวิจัย มาต่อยอดหาหัวข้อจากแผนยุทธศาสตร์ของชาติ

- จากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เช่น สถาบันอาหาร http://fic.nfi.or.th/ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ http://www.thaitextile.org/ สถาบันยานยนต์ http://www.thaiauto.or.th/ สถาบันสิ่งแวดล้อม http://www.tei.or.th/ เป็นต้น

- จากหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงพลังงาน (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) http://www.trf.or.th สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) http://www.thaihealth.or.th สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) http://www.nrct.go.th สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) http://www.nstda.or.th)

- จากนักศึกษา/เจ้าหน้าที่/อาจารย์ที่มีภูมิลำเนาในท้องถิ่นนั้นๆ เป็นผู้พาไปหาผู้นำท้องถิ่น เป็นต้น

4. หัวหน้าโครงการวิจัย และนักวิจัยจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญ หรือมีผลงาน หรือสำเร็จการศึกษาในงานด้านนั้นมาก่อน

5. ดูที่หน่วยงานที่ให้ทุนวิจัย ตรงประเด็น เราจะทำหัวข้อตามที่เค้าต้องการ เช่น สนใจรถไฟ แต่ วช. ไม่เน้น หัวข้อก็ถูกตีตกไป

6. ติดต่ออย่างไม่เป็นทางการกับผู้ดูแลทุน ในการหาหัวข้อวิจัย โดยดูจากความต้องการของหน่วยงานในปีถัดไป (ต้องพยายามหาหัวข้อที่สนใจขององค์กรนั้นๆ เพื่อให้ได้รับการพิจารณาทุน)

หมายเลขบันทึก: 585259เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2015 19:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2015 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

บางคนก็บอกว่าโจทย์ต่างๆ หาได้ง่ายๆ จากงานนิทรรศการต่างๆ เช่น นิทรรศการวันนักประดิษฐ์ นิทรรศการ OTOP แห่งชาติ นิทรรศการ BIFF&BILL (ปกติที่ไบเทคบางนา) นิทรรศการ BIG & BIH (ปกติที่ไบเทคบางนา) นิทรศการสุดยอดสินค้า OTOP หรือ ซุ้มจำหน่ายสินค้า OTOP ของห้างเซ็นทรัล ห้างเดอะมอลล์ ห้างเทสโก้โลตัส ที่ร่วมรายการ เป็นต้น

(หมายเหตุ วันนักประดิษฐ์ ช่วง 2-5 กุมภาพันธ์ของทุกปี สถานที่ต้องดูประกาศอีกครั้ง งาน BIFF & BILL จัดช่วงต้นเดือนมีนาคมของทุกปี ณ ศูนย์แสดงสินค้า เมืองทองธานี งาน BIG & BIH ณ ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา)

ขั้นตอน Plan (การเลือกหัวข้อเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร)

การเลือกหัวเรื่องของการวิจัย มีข้อควรพิจารณา 6 หัวข้อ คือ

1.1 ทุนวิจัยส่วนตัวหรือความสนใจของผู้วิจัย

ควรเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจมากที่สุด และควรเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป

1.2 ความสำคัญของเรื่องที่จะทำวิจัย

ควรเลือกเรื่องที่มีความสำคัญ และนำไปใช้ปฏิบัติหรือสร้างแนวความคิดใหม่ๆ ได้

โดยเฉพาะเกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพในชุมชนและอุตสาหกรรม หรือเชื่อมโยงความเป็นอยู่

ของชุมชนและอุตสาหกรรม

1.3 เป็นเรื่องที่สามารถทำวิจัยได้

เรื่องที่เลือกต้องอยู่ในวิสัยที่จะทำวิจัยได้ โดยไม่มีผลกระทบอันเนื่องจากปัญหาต่างๆ เช่น

ด้านจริยธรรม ด้านงบประมาณ ด้านตัวแปรและการเก็บข้อมูล ด้านระยะเวลาและการ

บริหาร ด้านการเมือง หรือเกินความสามารถของผู้วิจัย

1.4 ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้ว

ซึ่งอาจมีความซ้ำซ้อนในประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยง ได้แก่ ชื่อเรื่องและ

ปัญหาของการวิจัย (พบมากที่สุด) สถานที่ที่ทำการวิจัย ระยะเวลาที่ทำการวิจัย วิธีการ หรือ

ระเบียบวิธีของการวิจัย อาจสืบค้นจากเว็บไซท์ http://www.google.com หรือเว็บไซท์ http://www.turnitin.com เพื่อทดลองว่าซ้ำซ้อนกับฐานข้อมูลหรือไม่ ถ้าซ้ำซ้อนเกินร้อยละ 20 แสดงว่ามีผู้ทำมาก่อน จะต้องเลี่ยงทำวิจัยให้ฉีกแนวออกไป

1.5 เป็นประเด็นปัญหาที่มาจากชุมชน และอุตสาหกรรม

ควรจะต้องมาจากชุมชน ชาวบ้าน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และโรงงานอุตสาหกรรม

ซึ่งอาจเป็นประเด็นปัญหาที่ต้องการปรับปรุง

1.6 ทุนวิจัยที่มาจากความต้องการเจ้าของทุน เช่น

วช. http://www.nrct.go.th/th/Welcome.aspx

สกว. http://www.trf.or.th/

สวทช. http://www.nstda.or.th/index.php

สถาบันยานยนต์ http://www.thaiauto.or.th/2012/

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ http://www.thaitextile.org/main/index_t.php

สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น http://www.tni.ac.th/web/

สถาบันอาหาร http://www.nfi.or.th/_th/th/index.php

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย http://www.tei.or.th/

สถาบันพลาสติก http://www.thaiplastics.org/

สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ http://www.thaieei.com/2013/th/

สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน http://www.efai.or.th/

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม http://www.ismed.or.th/

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ http://www.pim.ac.th/th/

บริษัท………………. เป็นต้น

ขั้นตอน Do (ดำเนินการวิจัย)

1. เมื่อได้รับทุนอุดหนุนงานวิจัย จะต้องวางแผนอย่างดี เพื่อป้องกันปัญหา และพยายามระมัดระวังเรื่องของการซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ให้รวดเร็ว เพราะถ้าได้รับทุนวิจัยแล้วแต่ไม่รีบทำ อาจจะมีปัญหาเรื่องการถูกปรับในสัญญาที่ลงนามไว้หรือไม่

2. หากเกิดปัญหา ควรปรึกษาเจ้าของทุน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้งานวิจัยหยุดชะงัก หรือไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งอาจจะทำให้ไม่สามารถเกิดการนำไปใช้งาน หรือประโยชน์ทางธุรกิจได้

3. ในส่วนที่ต้องการผลผลิตใหม่ๆ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อาจจะต้องคำนึงถึงเรื่องของบรรจุภัณฑ์ด้วย รวมถึงความปลอดภัยต่างๆ หรือความเป็นพิษเป็นภัยกับสัตว์ และมนุษย์ (ถ้ามี) เพราะจะเป็นตัวแปรหลักของการไม่ประสบผลสำเร็จด้านการนำไปใช้งาน หรือทางธุรกิจ

4. บางโครงการ หรือหน่วยงานที่ให้ทุน จะมีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิด้านนั้นๆ มาตรวจประเมินโครงการ ซึ่งบางครั้งนักวิจัยอาจจะต้องยอมรับ หรืออดทนกับการถูกประเมินอย่างเข้มงวด หรือการถูกเสนอแนะบางอย่าง ซึ่งผู้วิจัยอาจจะคาดไม่ถึง ควรจะกลับมาคิดทบทวน ซึ่งบางครั้งคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิอาจจะเป็นประโยชน์กับโครงการ และสามารถทำให้โครงการวิจัยก้าวหน้าได้ต่อไป

หมายเหตุ บางครั้งอาจเกิดข้อโต้แย้งกัน ควรหาคนกลางที่ทั้งสองฝ่าย (เจ้าของทุน และนักวิจัย) ให้ความเห็นชอบ หรือเคารพนับถือ ช่วยไกล่เกลี่ย หรือแก้ไขปัญหา

ขั้นตอน Check (ตรวจสอบ-ทดสอบ-ทดลอง-ยืนยันผล)

1. การตรวจสอบ-ทดสอบ-ทดลอง ควรทำตามหลักวิชาการ หรือหลักการทางวิทยาศาสตร์ มีการดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัย มีการควบคุมกระบวนการอย่างเคร่งครัด มีการจดบันทึกทุกอย่าง เพื่อสะดวกในการตรวจสอบความถูกต้อง หรือหากมีข้อผิดพลาดใด จะได้ทราบว่าอะไรเป็นปัจจัยในเรื่องนั้นๆ

2. การทดสอบ ไม่ควรใช้ห้องปฏิบัติการ หรือห้องทดสอบของหน่วยงานตนเอง เพราะจะมีปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือของข้อมูลว่าทดสอบแล้วเข้าข้างพวกเดียวกันเองหรือไม่ อย่างไรก็ตามอาจจะทดสอบในหน่วยงานของผู้วิจัยก่อน แล้วจึงคัดเลือกตัวอย่างไปตรวจสอบกับหน่วยงานภายนอก ซึ่งได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐาน ISO 15189 : 2012 เพื่อความมั่นใจกับหน่วยงานที่ให้ทุน (ในกรณีที่ไม่ใช่ชุมชน)

3. การเก็บตัวอย่าง ควรมีการเก็บตัวอย่างตามหลักวิชาการ ทางสถิติเรื่องการสุ่ม จำนวนต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน อีกทั้งสามารถแสดงตัวแทนของกลุ่มได้จริง

4. เมื่อเสร็จเรียบร้อย ต้องมีการยืนยันผล (Verified) โดยการทำซ้ำกระบวนการที่ได้ทำแล้ว และได้ผลตามที่นักวิจัยและผู้ให้ทุนคาดหวัง โดยการยืนยันผลอีกครั้งว่ากระบวนการนี้สามารถทำซ้ำได้ (Reproducible) จึงถือว่าเสร็จสิ้นของกระบวนการ Check

ขั้นตอน Act (การแก้ไขปรับปรุง)

1. หากไม่เป็นไปตามข้อ 4 ของขั้นตอน Check นักวิจัยควรมีการค้นหาหรือตรวจสอบว่าอะไรเป็นปัจจัยทำให้ไม่สามารถเกิดการ Reproducible เมื่อพบแล้วอาจจะต้อง หมายเหตุไว้ว่าจะต้องควบคุม เช่น อุณหภูมิ ความดัน เวลา การเพิ่มของอุณหภูมิ เป็นต้น (กรณีของปฏิกริยาเคมี) หรือ จะต้องควบคุมกระบวนการป้อนชิ้นงาน สำหรับเครื่องมือเครื่องจักร เช่น จะต้องวางให้ถูกตำแหน่งใด ตั้งเครื่องที่อุณหภูมิ ความดัน เวลา หรือเติมน้ำมันบริเวณใด เป็นต้น

2. ควรมีแผ่นโปสเตอร์ใหญ่ สำหรับแนะนำให้กับพนักงาน หรือผู้ควบคุมเครื่องมือเครื่องจักร หรือผู้ผลิตให้ระมัดระวังอะไรบ้าง ถ้าหากไม่ทำจะเกิดอะไรขึ้นมา เช่น ถ้าเติมสารไม่ตรงตามลำดับที่ผู้วิจัยแจ้งไว้ จะเกิดการตกตะกอน หรือ ห้ามเติมสารที่เข้มข้นพร้อมๆ กันจะเกิดฟองฟู่ เป็นต้น หรือถ้าหากไม่ระมัดระวังจะทำให้เกิดชิ้นงานเสียหายแบบไหน ถ่ายรูปให้เห็นชัดเจนไว้ จะช่วยลดปัญหา เป็นต้น

3. การถ่ายทอดเทคนิคการทำงานอาจจะต้องสอนภาคทฤษฎีก่อน แล้วจึงแสดงให้ดูทุกขั้นตอน อาจจะ 1-2 วัน (ถ้าเป็นไปได้) จนพนักงานเข้าใจเรียบร้อยแล้ว พร้อมแจ้งข้อควรระมัดระวังในข้อ 2. ก่อนทุกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อถ่ายทอดเทคนิค หรือเทคโนโลยีการผลิตแล้ว จะไม่มีปัญหา

หมายเหตุ อย่าลืมต้องกำหนดว่าถ้านักวิจัยทำสำเร็จ จะมีส่วนแบ่งเรื่องของสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรอย่างไร ใครเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา มิฉะนั้นจะมีปัญหาตามมานะครับ

ขั้นตอนการนำไปใช้ประโยชน์ (อนุสิทธิบัตร/สิทธิบัตร)

สิทธิบัตร (Patent) หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด เป็นสิทธิพิเศษ ที่ให้ผู้ประดิษฐ์คิดค้นหรือผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ มีสิทธิที่จะผลิตสินค้า จำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียว ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การประดิษฐ์ (Invention) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับ ลักษณะองค์ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตการรักษา หรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น กลไกของเครื่องยนต์ ,ยารักษาโรค, ,วิธีการในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป เป็นต้น
อนุสิทธิบัตร (Petty Patent)คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น การขอรับความคุ้มครอง

เว็บไซท์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา http://www.ipthailand.go.th/

1. เริ่มต้นตรวจสอบก่อนว่านักวิจัยจะจดสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร หัวข้อนั้นๆ มีใครทำมาแล้วบ้าง ที่

ค้นหาสิทธิบัตร และอนุสิทธิบัตร http://203.209.117.243/DIP2013/simplesearch.php

2. หากยังไม่มีใครทำในหัวข้อนั้น ก็ยังไม่ใช่ว่าจะไม่มีใครทำ (ดังนั้นคิดอะไรได้ต้องรีบจดก่อน เพื่อรักษาสิทธิ์) นักวิจัยต้องไปตรวจสอบที่หน้าคำโฆษณา เพราะอาจมีคำขอสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรที่ยังไม่ได้รับอนุมัติ (อยู่ระหว่างการพิจารณา)

3. ถ้าไม่มีจริงๆ สามารถกรอกแบบฟอร์ม "แบบสป/สผ/อสป/001-ก" มี 2 หน้า ระวังอย่าใช้คำที่คล้ายๆ กับสิทธิบัตร และอนุสิทธิบัตรที่เคยได้รับไปแล้ว เพราะเจ้าหน้าที่จะเหมารวมว่านักวิจัยทำซ้ำกับที่เคยได้รับไปแล้ว และอาจจะตีตกไปเลย หรือให้ทำเรื่องชี้แจง (ยุ่งมากๆ ใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี)

"แบบสป/สผ/อสป/001-ก" หน้าแรก เป็นชื่อ..... ชื่อนักประดิษฐ์...... ที่อยู่............ ฯลฯ

"แบบสป/สผ/อสป/001-ก" หน้าสอง สำคัญตรงข้อ 15. และ ข้อ 16. ต้องมั่นใจว่าไม่ซ้ำซ้อนกับคนอื่นที่เคยยื่นจดมาก่อน

15. ข้าพเจ้าขอรับรองว่า

การประดิษฐ์นี้ไม่เคยยื่นขอรับสิทธิบัตร/ อนุสิทธิบัตรมาก่อน

 การประดิษฐ์นี้ได้พัฒนาปรับปรุงมาจาก………………………………………………….…..……………………………………

16. ลายมือชื่อ (  ผู้ขอรับสิทธิบัตร / อนุสิทธิบัตร; ตัวแทน )

.......................................................................

(......................................................................)

4. รายละเอียดการประดิษฐ์ (สำคัญมาก) ประกอบด้วย (อย่าลืมต้องมีเลขบันทัดด้านหน้า 5, 10, 15, 20 ….)

- ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ (ชื่อต้องตรงกับข้อ 3.)

- สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ (อธิบาย เช่น สาขาวิทยาการสิ่งทอ สาขาวิทยาการชีวเคมี เป็นต้น)

- ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง (อธิบายโดยไม่ต้องมีรูปภาพ อธิบายให้ทราบความเป็นมาเป็นไปของวิทยาการที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์ สั้นๆ ไม่ต้องอธิบายมาก)

- ลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์ (อธิบายลักษณะของกรรมวิธีการผลิต... และความมุ่งหมายของกรรมวิธีการผลิต... สั้นๆ)

- การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ (อธิบายขั้นตอนอย่างละเอียด แต่ไม่ต้องบอกยี่ห้อเครื่องมือ อุปกรณ์ บอกเฉพาะชื่อทั่วไปของเครื่องมือ อุปกรณ์ ต้องบอกถึงขั้นว่า กี่กรัม สารอะไรผสมอย่างไร ถ้าจะให้ดีควรเขียนไดอะแกรมก่อน (แต่ไม่ต้องใส่ลงไป) เพื่อจะได้ลำดับขั้นตอนให้ถูกต้องชัดเจน)

- วิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด (มักจะเขียนว่า "เหมือนกับที่บรรยายในหัวข้อการเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์" หรือถ้ามี 3 วิธี วิธีไหนดีที่สุดเขียนที่นี่)

5. ข้อถือสิทธิ (สำคัญมาก) ประกอบด้วย (อย่าลืมต้องมีเลขบันทัดด้านหน้า 5, 10, 15, 20 ….)

แบ่งเป็นข้อๆ จะถือสิทธิอะไรบ้าง เพื่อมิให้คนอื่นมาลอกเลียนแบบ (เขียนสั้นๆ ประมาณ 1 หน้า)

6. บทสรุปการประดิษฐ์ ประกอบด้วย (อย่าลืมต้องมีเลขบันทัดด้านหน้า 5, 10, 15, 20 ….)

เป็นการอธิบายแบบสั้นๆ คล้ายๆ การเขียน Abstract ไม่เกิน 10 บันทัด เขียนเกี่ยวกับใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ได้อะไร ฯลฯ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท