ภาวะผู้นำ 2.0


ภาวะผู้นำ 2.0 เป็นการช่วยพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำทั้ง 22 ประการให้ยกระดับขึ้นไปอีก ทั้งทักษะที่เป็นแกนและทักษะที่ปรับได้ (Core Leadership and Adaptive Leadership)

ภาวะผู้นำ 2.0

Leadership 2.0

พันเอก มารวย ส่งทานินทร์

[email protected]

2 กุมภาพันธ์ 2558

บทความเรื่อง ภาวะผู้นำ 2.0 นำมาจาก หนังสือเรื่อง Leadership 2.0: Learn the secrets of adaptive leadership ประพันธ์โดย Drs. Travis Bradberry และ Jean Greaves ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษา TalentSmart และเป็นผู้ประพันธ์หนังสือขายดีอันดับหนึ่งเรื่อง Emotional Intelligence 2.0 ที่ได้รับการแปลถึง 28 ภาษา และมีขายกว่า 150 ประเทศ

ผู้ที่สนใจเอกสารแบบ PowerPoint (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ http://www.slideshare.net/maruay/leadership-20-31241359

ภาวะผู้นำที่ยิ่งใหญ่

  • ภาวะผู้นำที่ยิ่งใหญ่เป็นสิ่งยากที่จะระบุและทำความเข้าใจ
  • เราจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อเราได้ร่วมทำงานด้วย
  • แม้แต่ตัวผู้นำเองก็ยากที่จะอธิบายว่า อะไรเป็นสิ่งเฉพาะเจาะจง ที่ทำให้ภาวะผู้นำมีประสิทธิผล
  • ภาวะผู้นำที่ยิ่งใหญ่จึงเป็นพลวัตร เกิดจากการรวมทักษะต่าง ๆ เข้ามาประสมกันอย่างลงตัว
  • จากการศึกษาของผู้ประพันธ์ พบว่ามีทักษะผู้นำ 22 ประการ ที่มีส่วนสำคัญต่อการสร้างผลงานของผู้นำ
  • พวกเขาพบว่า มีทักษะสองส่วนใหญ่ ๆ คือ ทักษะที่ทำให้ได้เป็นผู้นำ และทักษะที่ทำให้เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่เหนือกว่าผู้นำคนอื่น ๆ
  • ทักษะส่วนแรกเรียกว่า ภาวะผู้นำที่เป็นแกน (core leadership) เพราะเป็นพื้นฐานที่ทำให้ได้เป็นผู้นำ
  • ทักษะส่วนที่สองเรียกว่า ภาวะผู้นำที่ปรับได้ (adaptive leadership) เพราะเป็นทักษะที่มีลักษณะเป็นพลวัตร อ่อนตัว ใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลตามสิ่งแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไป

22 Core and Adaptive Leadership Skills

  • Self-awareness
  • Self-management
  • Social Awareness
  • Relationship Management
  • Risk Taking
  • Planning
  • Vision
  • Courage to Lead
  • Decision Making
  • Communication
  • Acumen
  • Mobilizing Others
  • Results Focus
  • Information Sharing
  • Outcome Concern
  • Agility
  • Integrity
  • Credibility
  • Values Differences
  • Lifelong Learning
  • Decision Fairness
  • Developing Others

ทักษะภาวะผู้นำที่เป็นแกน (Core leadership skills)

  • เป็นทักษะพื้นฐานในการทำให้คุณก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำได้เป็นเบื้องต้น และพร้อมที่จะใช้ทักษะภาวะผู้นำที่ปรับได้ ในขั้นต่อไป

ทักษะภาวะผู้นำที่ปรับได้ (adaptive leadership skills)

  • เป็นทักษะที่ทำให้คุณสามารถมองและเข้าใจว่า ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของโลกนั้น สามารถกระทำหรือแสดงออกในสิ่งที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวได้อย่างไร

ทักษะภาวะผู้นำ (Leadership Skills)

  • ทักษะผู้นำที่นำเสนอเหล่านี้ ไม่ได้เป็นสิ่งที่มาแต่กำเนิด แต่เป็นทักษะที่ปฏิบัติและสามารถทำซ้ำได้ ผู้นำที่มีความสนใจ สามารถศึกษาและนำไปใช้ประโยชน์ได้

ก. ภาวะผู้นำที่เป็นแกน (Core Leadership)

  • เป็นทักษะที่ทำให้บุคคลนั้น ๆ ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำได้ โดยมากผู้คนมักเข้าใจว่า เขาเกิดมาเพื่อเป็นผู้นำ
  • ทักษะภาวะผู้นำที่เป็นแกนนั้น เป็นทักษะพื้นฐานที่ทำให้บุคคลเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผล แต่ไม่ได้ทำให้เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ แต่ถ้าใครไม่มีทักษะพื้นฐานนี้ เขาไม่สามารถขึ้นมาเป็นผู้นำได้
  • ผู้นำที่มีประสบการณ์ จะระลึกถึงทักษะเหล่านี้ได้ เป็นโอกาสดีที่เขาจะได้ฝึกฝนพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
  • ผู้นำที่มีแรงบันดาลใจ จะได้ใช้ทักษะนี้ ในการหล่อหลอมตัวตนเขาขึ้นมา

ทักษะภาวะผู้นำที่เป็นแกน ประกอบด้วย

  • ยุทธศาสตร์ (Strategy) – ผู้มีพรสวรรค์ ทำเป้าหมายที่ผู้อื่นทำไม่ได้ แต่อัจฉริยะ สามารถเห็นสิ่งที่ผู้อื่นมองไม่เห็น ยุทธศาสตร์คือการหยั่งรู้เหตุการณ์ข้างหน้า รู้แนวโน้ม และรู้ทิศทางหรือวิธีการดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ
  • การปฏิบัติ (Action) – ความคิดอย่างเดียว ไม่เกิดผลถ้าไม่ลงมือทำ สิ่งที่ฉุดรั้งผู้นำโดยมากไว้ ไม่ใช่ไม่อยากทำ แต่ไม่รู้ว่าทำอย่างไรจึงจะสำเร็จ
  • ผลลัพธ์ (Results) – เป็นการเข้าใจผิดว่าการทำงานหนักเท่านั้นจึงประสบความสำเร็จ ที่จริงแล้ว ยังมีอุปสรรคมากมายที่ขัดขวางหนทางที่จะไปให้ถึงเส้นชัย

ภาวะผู้นำที่เป็นแกน คือ ยุทธศาสตร์ การปฏิบัติ และผลลัพธ์ (Core Leadership is… Strategy, Action, and Results)

  • ยุทธศาสตร์ หมายถึง วิสัยทัศน์ ความเฉียบแหลม การวางแผน และความกล้าหาญ
  • การปฏิบัติ หมายถึง การตัดสินใจ การสื่อสาร และการระดมผู้คน
  • ผลลัพธ์ หมายถึง กล้าเสี่ยง เน้นผลลัพธ์ และมีความว่องไว

วิสัยทัศน์ (Vision) คือภาพในอนาคตที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคนในองค์กร

  • อธิบายความมุ่งหมายได้ น่าเชื่อถือ
  • อย่าสับสนระหว่างวิสัยทัศน์ กับค่านิยม
  • เป็นสิ่งที่บุคคลสามารถพูดคุยได้ ไม่เพียงแต่ติดไว้ที่ข้างฝา
  • เป็นการสร้างเสรีภาพ ที่บุคลากรช่วยกันทำให้บรรลุวิสัยทัศน์ได้
  • มีวิธีการทดสอบวิสัยทัศน์

วิธีการทดสอบวิสัยทัศน์

  • อธิบายให้เห็นภาพได้ง่ายหรือไม่?
  • ทำให้บุคลากรเกิดความสนใจและมุ่งมั่นหรือไม่?
  • ทำให้บุคลากรกระตือรือร้นหรือไม่?
  • เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นจริงได้หรือไม่?
  • เป็นสิ่งที่ชัดเจน บุคลากรสามารถนำไปบอกต่อได้หรือไม่?
  • แม้เราจะไม่อยู่ บุคลากรยังคงยึดถือและดำเนินการต่อหรือไม่?

ความเฉียบแหลม (Acumen) การแสดงออกให้เห็นว่าคุณรู้เรื่องนี้ดี

  • มีเหตุการณ์ใดที่ทำให้โลกเปลี่ยนไป?
  • เหตุการณ์ใดที่ทำให้อุตสาหกรรมของเราเปลี่ยนไป?
  • เหตุการณ์ใดที่ทำให้บริษัทของเราเปลี่ยนไป?
  • อะไรเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เราต้องคำนึงถึง?
  • เรามีสิ่งใด ที่จะทำให้เราได้ประโยชน์ จากเหตุการณ์เหล่านั้น?
  • มีสิ่งใดอีกที่ต้องใช้ ในการคว้าโอกาสนั้นไว้?
  • แล้วเราจะต้องทำอย่างไร?

การวางแผน (Planning) เป็นทักษะที่ทำให้ยุทธศาสตร์เกิดผลสำเร็จ

  • เน้นภาพใหญ่
  • รู้ตัวผู้เล่น
  • อยู่กับความจริง
  • คั้นผลงานออกมาให้ได้ รู้จักเร่งและรู้จักผ่อน
  • อย่าคิดถึงแต่เรื่องประหยัดอย่างเดียว
  • คาดหวังในสิ่งที่ไม่ได้คาดหวัง (Murphy's law)
  • ตั้งเป้าหมายและตรวจสอบเป็นระยะ เพื่อติดตามความก้าวหน้า

ความกล้าหาญ (Courage to Lead) เป็นคุณธรรมข้อแรกของผู้นำ

  • ไม่ได้หมายถึงต้องกล้าอย่างบ้าบิ่น แต่หมายถึงมีกึ๋นพอที่จะยืนหยัดต่อการตัดสินใจนั้น แม้จะต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
  • ไม่ได้หมายถึงว่าไม่กลัว แต่เป็นการกล้าเผชิญกับความกลัว
  • หมายถึงกล้าแสดงออก อย่างมีวินัย และ มีความสม่ำเสมอ
  • หมายถึงทำในสิ่งที่ถูกต้องแม้จะต้องเผชิญกับอันตราย กล้าเสี่ยงในขณะที่ผู้อื่นไม่กล้าแม้แต่จะคิด กล้าเผชิญหน้าอย่างเปิดเผย กล้าเปลี่ยนแปลง กล้าปล่อยวาง และกล้าไว้ใจให้ผู้อื่นในการทำงาน
  • ผู้นำที่กล้าหาญจะไม่แก้ตัว แต่เขากล่าวจะคำขอโทษ

ภาวะผู้นำที่เป็นแกน คือ ยุทธศาสตร์ การปฏิบัติ และผลลัพธ์ (Core Leadership is… Strategy, Action, and Results)

  • ยุทธศาสตร์ หมายถึง วิสัยทัศน์ ความเฉียบแหลม การวางแผน และความกล้าหาญ
  • การปฏิบัติ หมายถึง การตัดสินใจ การสื่อสาร และการระดมผู้คน
  • ผลลัพธ์ หมายถึง กล้าเสี่ยง เน้นผลลัพธ์ และมีความว่องไว

การตัดสินใจ (Decision Making) เป็นหน้าที่ของผู้นำในการทำออกมาให้ดี

  • อย่าใช้อารมณ์
  • หาที่ปรึกษา
  • ระมัดระวังกับข้อมูลดิบ อาจทำให้ตัดสินใจพลาด
  • มองหาความรู้มากกว่าข่าวสาร
  • รู้จักความโน้มเอียงของตนเอง
  • พิจารณาทุกแง่มุม
  • วิเคราะห์ค่าใช้จ่าย/ผลกำไร
  • ใช้หลักคุณธรรม (ทำในสิ่งที่ถูกต้อง)
  • เตรียมพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอน

พิจารณาทุกแง่มุม (Consider Every Angle)

  • ทำไมเราจึงจำเป็นต้องตัดสินใจเรื่องนี้?
  • จะมีอะไรเกิดขึ้น ถ้าเราไม่ตัดสินใจ?
  • ใครบ้างที่มีผลกระทบกับการตัดสินใจนี้?
  • ผลกระทบเกิดกับพวกเขาอย่างไร?
  • อะไรคือความหมาย ของหนทางปฏิบัติในแต่ละทางเลือก?

การสื่อสาร (Communication) เป็นงานพื้นฐานที่แท้จริงของผู้นำ

  • พูดกับกลุ่มเสมือนพูดเป็นรายบุคคล
  • พูดแล้วคนจะฟัง โดยการอ่านใจผู้ฟัง
  • ฟังแล้วคนจะพูด เปิดโอกาสให้เขาได้พูด แล้วจะได้ใจ
  • เชื่อมโยงกับอารมณ์ เพื่อสร้างความผูกพัน
  • อ่านภาษาท่าทาง ที่ไม่ได้เป็นคำพูด
  • มีการเตรียมตัวที่ดี
  • อย่าพูดภาษาเทพ พูดภาษาที่เขาเข้าใจได้
  • ฝึกการฟังอย่างตั้งใจ

การฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening)

  • ใช้เวลาฟังมากกว่าพูด
  • อย่าตอบคำถามด้วยคำถาม
  • อย่าพูดจบประโยคให้ผู้อื่น
  • เน้นที่ผู้อื่นมากกว่าตัวของคุณเอง
  • เน้นสิ่งที่เขากำลังพูดอยู่ตอนนี้ ไม่ใช่สิ่งที่เขาสนใจ
  • ทบทวนคำพูดของเขาเป็นระยะ เพื่อแสดงว่าเราเข้าใจได้ถูกต้อง
  • คิดถึงสิ่งที่เราจะพูดหลังจากเขาพูดจบ ไม่ใช่ขณะที่เขากำลังพูดอยู่
  • ถามคำถามให้มาก
  • ห้ามพูดแทรก
  • ห้ามจดบันทึก

การระดมผู้คน (Mobilizing Others) โดยการสร้างความผูกพัน

  • รู้จักขอบคุณ เป็นการสร้างความประทับใจ
  • ให้คุณค่ากับบุคลากร ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพสูง
  • ขจัดความสงสัย
  • สร้างความศรัทธา
  • บูรณาการความคิดต่าง ๆ
  • มีนโยบายเปิดประตูต้อนรับเสมอ
  • สอนการสร้างความผูกพันให้กับผู้จัดการ
  • แสดงความไม่พอใจได้ ที่จุดมุ่งหมาย ไม่ใช่ที่เรื่องส่วนตัวของบุคคล

ให้คุณค่ากับบุคลากร (Be Thoughtful)

  • สื่อสารอย่างสม่ำเสมอ
  • ฉลองความสำเร็จและความก้าวหน้า
  • แบ่งปันแผนการของคุณและดึงผู้คนเข้ามาเกี่ยวข้อง
  • แบ่งปันความรู้ของคุณและสอนสิ่งใหม่ให้กับผู้คน
  • แสดงความชื่นชมและความกตัญญู
  • เป็นพลังที่มีความมั่นใจและสงบเงียบ
  • มีความมั่นใจและมีความกระตือรือร้นเกี่ยวกับอนาคต
  • ไม่ดูถูกหรือวิพากษ์วิจารณ์
  • ทำเช่นนี้ทุกวันนี้และสอนผู้อื่นให้ทำเช่นเดียวกัน

ภาวะผู้นำที่เป็นแกน คือ ยุทธศาสตร์ การปฏิบัติ และผลลัพธ์ (Core Leadership is… Strategy, Action, and Results)

  • ยุทธศาสตร์ หมายถึง วิสัยทัศน์ ความเฉียบแหลม การวางแผน และความกล้าหาญ
  • การปฏิบัติ หมายถึง การตัดสินใจ การสื่อสาร และการระดมผู้คน
  • ผลลัพธ์ หมายถึง กล้าเสี่ยง เน้นผลลัพธ์ และมีความว่องไว

กล้าเสี่ยง (Risk Taking) ผู้นำทุกคนต้องเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับความเสี่ยง

  • ทดแทนการถือตัวตน ด้วยความเป็นจริง
  • กล้าเผชิญกับความกลัวเรื่องความล้มเหลว
  • กล้าเสี่ยงที่จะก้าวกระโดดออกมาจากเขตปลอดภัย
  • กล้ากระโดดก้าวเล็ก ๆ ถ้ายังไม่กล้าก้าวใหญ่ ๆ
  • อย่าลืมภาพในระยะยาว
  • กล้ารับข้อผิดพลาด
  • ให้ความเป็นกันเอง
  • กล้ากล่าวความจริงที่เจ็บปวด

เน้นผลลัพธ์ (Results Focus) ให้เกิดกับบุคลากรทุกคน

  • มีกรอบความคิด ให้บุคลากรได้เห็นภาพ
  • มีความสม่ำเสมอ ในการแสดงตนให้บุคลากรเห็น
  • สื่อสารตั้งแต่แรก และทำบ่อย ๆ
  • พูดยืนยันเหมือนเดิม เพื่อสร้างกำลังใจ
  • ยกย่องพฤติกรรม ในเรื่องผลลัพธ์ที่ได้ผล ทันเวลา
  • มีความเฉพาะเจาะจงแต่ละเรื่อง ไม่มีข้อกังขา
  • ให้การป้อนกลับที่มีคุณภาพกับบุคลากร
  • มีการติดตามงาน เพื่อสร้างความรับผิดชอบ

มีความว่องไว (Agility) เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิผลในสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว

¡คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงแต่เนิ่น ๆ

  • คิดถึงผลติดตามมาให้ตลอดสายของการเปลี่ยนแปลง
  • กล้าเผชิญกับความไม่แน่นอน
  • แยกอารมณ์ออกจากเหตุผล
  • หาคำแนะนำจากผู้ว่องไว ที่มีความรู้หรือรู้เรื่องยุทธศาสตร์
  • ปรับการนำให้เข้ากับสถานการณ์
  • พยายามใช้ศักยภาพสูงสุดให้เต็มที่
  • พูดคุยกับคนที่คุณไว้ใจและไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง

ข. ภาวะผู้นำที่ปรับได้ (Adaptive Leadership)

ภาวะผู้นำที่ปรับได้

  • เป็นทักษะที่ทำให้เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่
  • เป็นทักษะที่ผู้นำที่ยิ่งใหญ่มีเหมือน ๆ กัน
  • ภาวะผู้นำที่ปรับได้นี้ เป็นเรื่องเฉพาะตน เป็นผลจากการรวมของทักษะ มุมมอง และแนวทาง ที่ส่งผลให้เกิดความเป็นเลิศ
  • ทักษะภาวะผู้นำที่ปรับได้ เป็นความสามารถที่นำพาผู้นำที่ยิ่งใหญ่ ก้าวไปสู่ระดับที่ผู้นำคนอื่นไม่สามารถไปถึง

ภาวะผู้นำที่ปรับได้

  • ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) เป็นชุดของทักษะที่สร้างความตระหนักในอารมณ์ของตนเอง และอารมณ์ของผู้อื่น เพื่อการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างมีประสิทธิผลและมีคุณภาพ
  • ความยุติธรรมขององค์กร (Organizational Justice) ผู้นำที่ยิ่งใหญ่เป็นผู้กล้าเผชิญกับความจริง สามารถบูรณาการความคิด ความต้องการ ความอยากรู้ของผู้คนด้วยความจริง ส่งผลให้ผู้คนเกิดศรัทธาและยกย่องนับถือ
  • ลักษณะเฉพาะ (Character) ลักษณะผู้นำที่เป็นเฉพาะคือ ความโปร่งใสและมีความเตรียมพร้อม เขาไม่ใช่คนสมบูรณ์แบบ แต่เขาสร้างการยอมรับจากผู้คนโดยการเดินพูดคุย
  • การพัฒนา (Development) เมื่อใดที่ผู้นำคิดว่า เขาไม่มีอะไรต้องเรียนรู้เพิ่มเติม หรือไม่มีอะไรต้องสอนกับลูกน้องอีกแล้ว นั่นคือเขายังไม่รู้ถึงศักยภาพของตนเองที่แท้จริง

ภาวะผู้นำที่ปรับได้ คือ (Adaptive Leadership is… Emotional Intelligence, Organizational Justice, Character, and Development)

  • ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง : ความตระหนักในตน การจัดการกับตนเอง การตระหนักต่อสังคม และ การจัดการเรื่องความสัมพันธ์
  • ความยุติธรรมขององค์กร หมายถึง: การตัดสินใจที่เป็นธรรม การแบ่งปันข่าวสาร และ เอาใจใส่กับผลกระทบ
  • ลักษณะเฉพาะ หมายถึง: คุณธรรม ความน่าเชื่อถือ และ ให้คุณค่าของความแตกต่าง
  • การพัฒนา หมายถึง: การเรียนรู้ตลอดชีวิต และ การพัฒนาผู้อื่น

ความตระหนักในตน (Self-awareness) คือความสามารถรู้จักอารมณ์ของตนเอง

  • อย่าคาดหวังแต่ความสุขสบายส่วนตน
  • หัดฟังอารมณ์ของตน
  • รู้ที่มาของอารมณ์ของตน
  • ฉลองความสำเร็จให้ตนเองแม้เพียงเล็กน้อย
  • รู้จักสภาวะในการนำ ที่เป็นพื้นฐานของตน
  • ไม่กลัวที่จะทำผิดพลาดไปบ้าง
  • หัดฟังเสียงสะท้อนกลับ
  • รู้เอง เห็นเอง เป็นเอง แก้ไขเอง

การจัดการกับตนเอง (Self-management) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อคุณทำ หรือไม่ได้ทำอะไร

  • คุณเป็นผู้กำหนดอารมณ์ขององค์กร
  • รู้จักสัญลักษณ์ก่อนที่อารมณ์จะระเบิดออกมา
  • ให้จัดการอารมณ์โดยใช้ด้านบวก
  • อย่าให้อารมณ์เป็นใหญ่เหนือสติ
  • ประกาศเป้าหมายให้รู้กันทั่ว
  • สำรวจทางออกของอารมณ์ที่มี
  • จัดการกับอารมณ์ ให้เป็นพฤติกรรมที่ต้องการแทน
  • รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง

ความตระหนักต่อสังคม (Social Awareness) เป็นความสามารถด้านสังคม

  • การหัดฟังและสังเกต เป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดด้านสังคม
  • มีความรู้เรื่องมานุษยวิทยา
  • รู้บรรยากาศของห้อง
  • ทดสอบความแม่นยำ โดยการซักถาม
  • รู้จักเดินเที่ยว 15 นาที ภายในสำนักงานทุกวัน จะได้รู้ความเป็นไปในองค์กร

การจัดการความสัมพันธ์ (Relationship Management) เป็นส่วนสำคัญลำดับที่สองของความสามารถด้านสังคม

  • รู้ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ทั้งหมด
  • หลีกเลี่ยงการให้สัญญาณที่สับสน
  • จัดการความเครียดได้ดี
  • เลี่ยงการต่อสู้ชนะ แต่แพ้สงคราม
  • เป็นแบบอย่างความสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ
  • จัดการกับการสนทนาที่ยากลำบาก

จัดการกับการสนทนาที่ยากลำบาก

  • เริ่มต้นด้วยการทำข้อตกลงที่เห็นพ้องกัน
  • ขอให้ช่วยอธิบายให้คุณเข้าใจ ในเขาหรือเธอ
  • ฟังอย่างตั้งใจเพื่อรับรู้เรื่องราว
  • ช่วยบุคคลอื่นเข้าใจด้านของคุณบ้าง
  • ทำให้การสนทนาก้าวไปข้างหน้า
  • มีการติดตามผล

ภาวะผู้นำที่ปรับได้ คือ (Adaptive Leadership is… Emotional Intelligence, Organizational Justice, Character, and Development)

  • ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง : ความตระหนักในตน การจัดการกับตนเอง การตระหนักต่อสังคม และ การจัดการเรื่องความสัมพันธ์
  • ความยุติธรรมขององค์กร หมายถึง: การตัดสินใจที่เป็นธรรม การแบ่งปันข่าวสาร และ เอาใจใส่กับผลกระทบ
  • ลักษณะเฉพาะ หมายถึง: คุณธรรม ความน่าเชื่อถือ และ ให้คุณค่าของความแตกต่าง
  • การพัฒนา หมายถึง: การเรียนรู้ตลอดชีวิต และ การพัฒนาผู้อื่น

การตัดสินใจที่เป็นธรรม (Decision Fairness) คือทำให้บุคลากรยอมรับนับถือ และมีการรับฟังความคิดเห็นจากบุคลากร

  • แจ้งบุคลากรเรื่องการตัดสินใจที่มีผลกระทบกับพวกเขาเป็นการล่วงหน้า
  • ให้บุคลากรได้แสดงความเห็นต่อเรื่องที่จะต้องตัดสินใจ แม้จะไม่ได้นำข้อคิดเห็นของพวกเขานำมาใช้
  • นำแนวคิดของบุคลากรมาใช้ในการตัดสินใจ เมื่อมีความเหมาะสม

การแบ่งปันข่าวสาร (Information Sharing) คือพยายามเผยแพร่ข่าวสารให้มากดีกว่าน้อยไป ในสิ่งที่บุคลากรให้ความสนใจ ที่แสดงให้เห็นว่าผู้นำให้ความสำคัญกับบุคลากร

  • อธิบายให้บุคลากรเข้าใจ เพราะเหตุใดจึงตัดสินใจเช่นนั้น ถึงแม้ว่าคุณจะเป็นคนตัดสินใจเพียงลำพัง
  • เปิดโอกาสให้ซักถาม ถึงการตัดสินใจที่ส่งผลกระทบต่อพวกเขา

เอาใจใส่กับผลกระทบ (Outcome Concern) ทำให้บุคลากรมีความสุข และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ที่ได้ทำงานที่มีจุดมุ่งหมาย

  • แสดงออกอย่างจริงใจกับบุคลากร ในการบอกเล่าแบ่งปันการตัดสินใจ ที่มีผลกระทบกับพวกเขา
  • เข้าไปคลุกคลีกับบุคลากร ไม่ว่าพวกเขาจะแสดงออกเช่นไร
  • สอนผู้บริหารให้กระทำเช่นเดียวกัน

ภาวะผู้นำที่ปรับได้ คือ (Adaptive Leadership is… Emotional Intelligence, Organizational Justice, Character, and Development)

  • ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง : ความตระหนักในตน การจัดการกับตนเอง การตระหนักต่อสังคม และ การจัดการเรื่องความสัมพันธ์
  • ความยุติธรรมขององค์กร หมายถึง: การตัดสินใจที่เป็นธรรม การแบ่งปันข่าวสาร และ เอาใจใส่กับผลกระทบ
  • ลักษณะเฉพาะ หมายถึง: คุณธรรม ความน่าเชื่อถือ และ ให้คุณค่าของความแตกต่าง
  • การพัฒนา หมายถึง: การเรียนรู้ตลอดชีวิต และ การพัฒนาผู้อื่น

คุณธรรม (Integrity) เป็นความสม่ำเสมอที่ผู้นำแสดงออก ด้วยการพูด และกระทำ ให้เห็นเป็นแบบอย่างตามค่านิยมขององค์กร ในการทำสิ่งที่ถูกต้อง

  • พบปะพูดคุยกับผู้คน
  • ใส่ใจผู้อื่นเป็นลำดับแรก
  • รักษาหลักการอย่างมั่นคง
  • เป็นแบบอย่างที่ดี
  • เป็นผู้ที่เห็นแก่ส่วนรวม
  • มีชีวิตอยู่ได้โดยไม่เสียใจ เพราะได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง

ความน่าเชื่อถือ (Credibility) เป็นการรวมกันของสิ่งที่คุณทำในอดีตและปัจจุบัน ที่คุณให้สิ่งที่มีความจำเป็นและมีคุณค่ากับผู้คน ทำให้พวกเขาเชื่อถือ

  • เป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นมา
  • ให้การกระทำของคุณพูดแทน
  • พูดภาษาเดียวกับพวกเขา
  • มีความน่าเชื่อถือและสม่ำเสมอ
  • รู้ว่าเมื่อใดควรปิดปาก
  • มองเห็นป่าไม่ใช่แค่เห็นต้นไม้ คือไม่ต้องรู้ไปทุกเรื่อง

ให้คุณค่าของความแตกต่าง (Values Differences) เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

  • ไม่เป็นคนหลงตนเองว่าถูกแต่ผู้เดียว
  • เห็นคุณค่าของความคิดเห็นต่าง
  • ปฏิบัติต่อผู้คนอย่างที่เขาต้องการ
  • จำไว้ว่าคุณไม่สามารถทำสำเร็จได้คนเดียว

ภาวะผู้นำที่ปรับได้ คือ (Adaptive Leadership is… Emotional Intelligence, Organizational Justice, Character, and Development)

  • ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง : ความตระหนักในตน การจัดการกับตนเอง การตระหนักต่อสังคม และ การจัดการเรื่องความสัมพันธ์
  • ความยุติธรรมขององค์กร หมายถึง: การตัดสินใจที่เป็นธรรม การแบ่งปันข่าวสาร และ เอาใจใส่กับผลกระทบ
  • ลักษณะเฉพาะ หมายถึง: คุณธรรม ความน่าเชื่อถือ และ ให้คุณค่าของความแตกต่าง
  • การพัฒนา หมายถึง: การเรียนรู้ตลอดชีวิต และ การพัฒนาผู้อื่น

การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อดำรงการพัฒนาทักษะของตนเองและผู้อื่น

  • แข่งขันกับตัวเอง
  • ทำให้ความล้มเหลวเป็นบทเรียนของคุณ
  • อ่าน
  • ยืดผลงานที่ได้รับมอบหมายให้ดีขึ้นไปอีก
  • ยังคงอ่อนน้อมถ่อมตน
  • รวบรวมความคิดเห็นที่มีคุณภาพ โดยการประเมิน 360 องศา

พัฒนาผู้อื่น (Developing Others) ทำให้เกิดเป็นพลังที่ได้ผลเกินคาดหมาย

  • กำหนดกรอบแล้วยืดให้ดีขึ้นไปอีก
  • ให้เรียนรู้จากความล้มเหลว
  • ปรับปรุงวิธีคิดที่สร้างคุณค่า
  • เปิดเผยความล้มเหลวของคุณ
  • เป็นโค้ช
  • กำหนดเป้าหมายให้

ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ (Great Leaders)

  • การมีทักษะภาวะผู้นำที่ปรับได้ ทำให้ผู้นำที่ยิ่งใหญ่มีความโดดเด่นจากผู้นำโดยทั่วไป
  • จากกการประเมินทั้ง 22 ทักษะ แบบ 360 องศาของผู้นำทุกอุตสาหกรรม พบว่าผู้นำโดยมาก มักประเมินตนเองสูงค่าเกินไปในด้านทักษะภาวะผู้นำที่ปรับได้
  • จากตารางการประเมิน แสดงให้เห็นทักษะ 5 ประการแรก ที่ผู้นำประเมินค่าตนเองสูงเกินไป มักจะเป็นทักษะภาวะผู้นำที่ปรับได้

จากค่าการประเมินที่สูงเกินไปของตัวผู้นำเอง จะเห็นได้ว่าโดยมากจะเป็น ทักษะภาวะผู้นำที่ปรับได้

  • แสดงให้เห็นว่า ทักษะภาวะผู้นำที่ปรับได้นั้น เป็นทักษะที่ผู้นำทุกคนควรสนใจ เพราะเป็นสิ่งที่ตนเองคิดว่าทำได้ดีแล้ว
  • ในขณะที่ผู้อยู่รอบข้างคิดว่า ยังมีโอกาสพัฒนาให้ดีขึ้นไปอีก ดังนั้นผู้นำควรสนใจกับทักษะภาวะผู้นำที่ปรับได้ ในการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำที่มีความก้าวหน้าขึ้นไปได้อีก

สรุป

ภาวะผู้นำ 2.0 เป็นการช่วยพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำทั้ง 22 ประการให้ยกระดับขึ้นไปอีก ทั้งทักษะที่เป็นแกนและทักษะที่ปรับได้ (Core Leadership and Adaptive Leadership) ทักษะภาวะผู้นำที่เป็นแกนคือ ทักษะพื้นฐานที่ผู้นำทุกคนพึงมี ประกอบด้วย ทักษะด้าน ยุทธศาสตร์ การปฏิบัติ และ ผลลัพธ์ (Strategy, Action, and Results) ส่วนทักษะที่ปรับได้ เป็นทักษะที่พบได้ในผู้นำที่ยิ่งใหญ่ คือ ความฉลาดด้านอารมณ์ ความยุติธรรม ลักษณะเฉพาะ และ การพัฒนา (Emotional intelligence, Organizational justice, Character, and Development)

************************************************

หมายเลขบันทึก: 585052เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2015 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2015 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท