ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ มอ


ห่างหายไปเนิ่นนาน จนกระทั้งวันนี้มี e-mail มากระตุ้นตัวเราให้รับทราบว่าควรจะแวะเวียนเข้ามาทักทายเพื่อนสมาชิก ใน GotoKnow จริง ๆ แล้วผมก็อยู่ในแวดวงของเครื่องมือวิจัยทางวิทยาศาสตร์ มีหน้าที่ดูแลให้เครื่องมือมันใช้งานได้เต็มความสามารถเท่าที่จะเป็นไปได้

วิธีการที่หน่วยงานราชการอย่างศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่จะพอจะแบ่งปันเล่าสู่กันฟังมีดังนี้ครับ

  • เรานำพาตัวเราเข้าสู่ระบบคุณภาพ อย่าง ISO 9001:2008 และ ISO/IEC 17025:2005

เมื่อมีระบบเราก็ง่ายต่อการดำเนินงาน ระบบไม่ได้บังคับเรามากมาย เพียงแต่บอกเราว่าจะทำอย่างไร ให้เขียนตามที่เราทำ และต้องปฎิบัติตามที่เราเขียน แค่นี้เราก็สามารถดูแลตัวเราเองได้แล้วครับ

เรื่องที่เราทำพอจะบอกเล่าได้ดังนี้

  • เริ่มแรกเราก็เดินตามรูปแบบ มีแฟ้มประวัติเครื่องมือแยกเป็นเครื่อง ๆ แล้วดำเนินการจัดทำแผนการบำรุงรักษาและสอบเทียบ ตามที่เขียนไว้ในแฟ้มประวัติ
  • ส่วนแผนเราก็เริ่มจากการจัดทำแผนรายปีทั้ง บำรุงรักษา และสอบเทียบ ต่อจากนั้นก็จะกระจายเป็นรายเดือน ๆ ไปครับ
  • แค่บำรุงรักษา กับสอบเทียบยังคงต้องมีเอกสารหลาย ๆ อย่างควบคุม รวมถึงการแจ้งซ่อมอย่างเป็นระบบ ทุกกระบวนการมีการตรวจสอบและรายงานตรงต่อผู้นำเสมอมาครับ

หากจะถามว่าระบบเอกสารเป็นเช่นไร พอจะเล่าแบบสั้น ๆ ได้ดังนี้ครับ

  1. เอกสารคุณภาพ ที่เรียกว่า QM เป็นเหมือนกฎหมายตัวแม่ที่ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดขององค์ก่อนครับ
  2. เอกสารต่อมา เรียกว่า QP เกี่ยวกับระเบียบวิธีปฎิบัติขั้นตอนต่าง ๆ เช่น กระบวนการสอบเทียบ กระบวนการซ่อม กระบวนการติดตั้งเครื่องมือ กระบวนการบำรุงรักษา ฯลฯ
  3. เอกสารชุดที่สาม WI เรียกกันง่าย ๆ ว่าขั้นตอนการทำงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีลำดับการทำงานอย่างเป็นระบบ ใครไม่รู้อ่าน WI แล้วก็ทำได้ว่านั้น เช่น วิธีการใช้งานเครือง GC, HPLC, SEM, GC/MS, TEM, DNA, PCR และอีกหลายเครื่องมือที่มีอยู่ที่ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ครับ

ส่วนว่าท่านใดสนใจมี่จะส่งตัวอย่างมาทดสอบที่ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ท่านสามารถติดต่อได้ในหลายช่องทางครับ หรือไม่ท่านเข้าไปที่ Web นี้ได้เลยครับ

http://www.sec.psu.ac.th/home/

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์
ชั้น 1 อาคารบริหารวิชาการรวม
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทร. 074-286904-7, 074-286910, 074-211496
[email protected]


ISO9001:2008

NSC-TISI-TIS 17025
CALIBRATION 0128


  • ก่อนจบบันทึกขอแนะนำเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ที่มีผู้เชี่ยวชาญประจำห้อง Lab ครับ

เครื่อง X-Ray Diffractometer (XRD)

X-Ray Diffractometer (XRD)


เครื่องนี้เรามีผู้เชี่ยวชาญอย่าง รศ ธงชัย พึ่งรัศมี ประจำห้อง Lab ปัจจุบันออกหนังสือเกี่ยวกับหินดินแร่ จำนวน 3 เล่มด้วยกันแล้วตรับ

อย่างเช่นเล่มนี้ครับ

ท่านสามารถโหลดได้ครับ

http://www.sec.psu.ac.th/home/ebook/dickite/Dickit...

ซึ่งเล่มที่สาม กำลังทำรูปเล่มอยู่ครับ

ส่วนเล่มแรกท่านหาซื้อได้ตามร้านหนังสือ

รศ. ธงชัย พึ่งรัศมี - สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


หมายเลขบันทึก: 584893เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2015 17:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2015 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท