ฟักข้าว ,ฟักข้าวเวียดนาม (ตามรอยงานวิจัยของ มข.)(update 30/06/58)


การทดลองปรับปรุงพันธุ์ฟักข้าว

นวิจัยพันธุ์ฟักข้าวของ มข. (เป็นการวิจัยฟักข้าวพันธุ์เวียดนามครั้งที่ 2 ของนักวิชาการ)

(ย่อมาบางส่วน) มหาวิทยาลัยขอนแก่น( มข.)ได้ทดลองปลูกฟักข้าวทั้งหมด 19 พันธุ์ ในระหว่างฤดูฝน เดือนกรกฎาคม 2554 เริ่มเก็บข้อมูลหลังจากอายุต้นโดยเฉลี่ย 1 ปี ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน 2555 ถึงเดือนพฤษภาคม 2556 ได้ทดสอบพันธุ์,คัดเลือกพันธุ์,เพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงพันธุ์หาลูกผสม ที่มีปริมาณสารไลโคพีนและเบต้าแคโรทีนสูง รวมทั้งมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ฯลฯ จากการเปรียบเทียบ พบว่าน้ำหนักเยื่อหุ้มเมล็ดต่อผล เปอร์เซ็นต์เยื่อหุ้มเมล็ด จำนวนผลต่อต้นต่อปี และน้ำหนักผลต่อต้นต่อปี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ส่วนน้ำหนักผลสดต่อผล และน้ำหนักเยื่อหุ้มเมล็ดต่อปี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่า

ฟักข้าวพันธุ์ KKU ac.10-098-4 (จากประเทศเวียดนาม), KKU ac.09-033(จาก จ.กาญจนบุรี) และ KKU ac.11-158 (จาก จ.นครปฐม) ทั้ง 3 สายพันธุ์นี้มีน้ำหนักผลสดต่อผล น้ำหนักเยื่อหุ้มเมล็ดต่อผล และเปอร์เซ็นต์เยื่อหุ้มเมล็ดสูง

ฟักข้าวพันธุ์ KKU ac.10-098-8 เป็นพันธุ์จากประเทศเวียดนาม มีจำนวนผลต่อต้นต่อปี น้ำหนักผลสดต่อต้นต่อปี และน้ำหนักเยื่อหุ้มเมล็ดต่อปีสูง (69.00 ผล/ต้น/ปี, 44,660 กรัม/ต้น/ปี และ 7,522.60 กรัม/ต้น/ปี ตามลำดับ)

งานวิจัยของ มข. (ต้นฉบับ)

http://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P611.pdf...

ปลูกฟักข้าวมาประมาณ 3-4 ปีมาแล้วและเมื่อได้อ่านงานวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ได้ติดต่อขอเมล็ดพันธุ์ ตอนนี้อยู่ระหว่างปรัับปรุงพันธุ์จึงยังไม่มีให้ ,ดังนั้นทำให้นึกสนุกจึงหาสายพันธุ์ที่เหมือนหรือคล้ายกับพันธุ์ของ มข. มาทดลองปรับปรุงพันธุ์หาลูกผสมเองบ้าง,ได้สายพันธุ์เวียดนาม(มีผลขนาดใหญ่,เยื่อหุ้มเมล็ดหนา)มา 4 สายพันธุ์(รูป 5-8) ส่วนฟักข้าวสายพันธุ์ไทยผลใหญ่,เยื่อหุ้มเมล็ดหนาพอใช้ ได้มา 2 สายพันธุ์(รูป 1-4) ของไทยหาพันธุ์ได้น้อยเพราะผลใหญ่,เยื่อหุ้มเมล็ดหนาทั่วๆไปไม่มีไม่เหมือนพันธุ์เวียดนามเยื่อหุ้มเมล็ดหนา ผลใหญ่แทบทุกสายพันธุ์(เท่าที่รู้)

ในกลางปี 2558 จะเริ่มได้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมทยอยออกมาบ้าง และคงต้องใช้เวลาอีกประมาณ 2-4 ปี น่าจะคัดได้สายพันธุ์ลูกผสมเด่นๆ

เป้าหมายของการปรับปรุงพันธุ์คือฟักข้าวลูกผสมที่มี
1.ผลมีขนาดใหญ่,มีปริมาณผลและน้ำหนักผลต่อปีมาก
2.เยื่อหุ้มเมล็ดหนา,ปริมาณเยื่อหุ้มเมล็ดต่อปีมาก
3.เยื่อหุ้มเมล็ดมีความชื่นสูง
4.เหมาะกับการปลูกในสภาพอากาศเมืองไทย ส่วนผลจะออกมาเมื่อไรและอย่างไร ก็แค่รอ

------------------------------------------------------------------------------------------

งานวิจัย ของ มก. ปี 2551 (การศึกษาทดลองฟักข้าวพันธุ์เวียดนามครั้งแรก)

ระหว่างเดือนตุลาคม 2551 ถึงเดือนตุลาคม 2552 มีการทดลองปลูกฟักข้าวพันธุ์เวียดนามในพื้นที่อาเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรีของอาจารย์ มก. พบว่าความยาวของเถา โคนต้นเฉลี่ย 6.12 เมตร(ขณะที่พันธุ์ไทย 8.33 เมตร) และ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.19 เซนติเมตร( พันธุ์ไทย 5.24 เมตร) แต่การทดลองปลูกจังหวัดปทุมธานี การเจริญเติบโตเร็วกว่า คาดว่าขึ้นอยู่กับการจัดการเป็นต้นว่าการเตรียมดิน,การให้น้ำ, การให้ปุ๋ย ฯลฯ

งานวิจัย ปี 2551 ของ มก. มีข้อมูลสำคัญแตกต่างจาก งานวิจัย ปี 2554 ของ มข.อีกอย่างคืองานวิจัย ปี 2551 ฟักข้าวพันธุ์เวียดนามให้ผลผลิตเยื่อหุ้มเมล็ดต่อปีรวมประมาณ แค่ 17.55 กิโลกรัม(พันธุ์ในรูป) ในขณะงานวิจัยปี 2554 ของ มข.ผลผลิตน้ำหนักเยื่อหุ้มเมล็ดต่อปีประมาณ 75 กิโลกรัม

ฟักข้าวพันธุ์เวียดนามที่งานวิจัย ปี 2551 ของ (มก.)

งานวิจัยของ มก. (ต้นฉบับ) http://www.crdc.kmutt.ac.th/document/download/agr/agr4/1-4.pdf

รุุปเรื่องผลผลิตพันธุ์เวียดนาม จากงานวิจัยของ มก. ปี 2551 (ครั้งแรก) พันธุ์เวียดนามผลผลิตน้อย แต่จากงานวิจัยครั้งที่ 2 ของ มข. ผลผลิตมาก อาจจะมาจาก

1. สายพันธุ์ที่นำมากทดลองปลูกต่างกัน

2.การจัดการ ดูแล เกี่ยวกับแปลงทดลองเช่นเรื่องการปรับปรุงดิน,การให้นำ้,และปุ๋ยอาจจะกัน ฯลฯ ต่างกัน

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

การปลูกฟักข้าวพันธุ์เวียดนามลูกผสม

ในประเทศเวียดนาม ฟักข้าวถือว่าเป็นผลไม้ตามฤดูการ คือช่วงเก็บเกี่ยวอยู่ระหว่างเดือน กย.-ธค. แต่เมื่อปลูกในไทย จากการทดลองนี้เมื่อได้เมล๊ดพันธุ์มาก็เพาะเมล็ด และนำต้นกล้าลงปลูกเลย และเมื่ออายุ 3-4 เดือนก็ออกดอกให้เห็นบ้าง

ตอนนี้กำลังตั้้งข้อสังเกตว่าการปลูกฟักข้าวพันธุ์เวียดนามลูกผสมในประเทศไทย อาจจะออกผลได้ตลอดปี เหมือนฟักข้าวพันธุ์ไทย (แต่จะสรุปผลที่ชัดเจนข้อนี้ได้ต่อเมื่อต้องเก็บข้อมูลอีกประมาณ 1-2 ปี ต่อจากนี้)

ฟักข้าวสายพันธุ์ไทย

การหาพ่อ-แม่พันธุ์ฟักข้าวที่มีผลใหญ่และเยื่อหุ้มเมล็ดหนาหน่อย ,โดยไปงานที่มีผลผลิตเกษตร และสวนฟักข้าวต่างๆ ใช้เวลา 1 ปีกว่ากับการได้มา 2 สายพันธุ์


รูปที่ 1

รูปที่ 2

รูปที่ 3 (เยื่อหุ้มเมล็ดของรูปที่ 1)

รูปที่ 4 (เยื่อหุ้มเมล็ดของรูปที่ 2)

ตอกตัวเมียพันธุ์ไทย ผสมเกสรตัวผู้พันธุ์เวียดนาม หลายดอก

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฟักข้าวสายพันธุ์เวียดนามลูกผสม (มี 4 สายพันธุ์) ทดลองปลูกที่จังหวัดปทุมธานี

ฟักข้าว พันธุ์ผลรีหนามห่าง(หรือหนามน้อย)(V 5)ได้มาจากเวียดนาม


รูปที่ 5 ฟักข้าวเวียดนามผลรีหนามห่าง(หรือหนามน้อย) (V5)

รูปที่ 5.1 เยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวผลรีหนามห่าง(หรือหนามน้อย)เก็บไว้หลายวัน ทำให้เยื่อหุ้มเมล็ดชื่นมากขึ้น

บันทึกการปลูก

- เพาะเมล็ดวันที่ 31/12/57

- ลงปลูกวันที่ 16/01/58

-วันที่ 22/05/58 ต้นตัวผู้ออกดอก

-วันที่ 26/06/58 ต้นตัวเมียออกดอก เจอหลังวันที่ดอกบานแล้ว 1 วัน ,แต่ก็ลองผสม แต่ไม่ติด

(แถวแปลงปลูกแทบไม่มีแมลง ถ้าไม่ได้ผสมเอง จะไม่ได้เห็นผลของฟักข้าว)

----------------------------------------------

ฟักข้าว พันธุ์ผลรีหนามถี่(V 6)ได้จากสวนในไทย(ไม่แน่ใจเกสรที่มาผสมว่ามาจากฟักข้าวพันธุ์ไหน)

รูปที่ 6 { ฟักข้าวผลรีหนามถี่(หรือหนามเยอะ)} 3 เมล็ดเล็ก ตรงกลางเป็นเมล็ดฟักข้าวไทย

บันทึกการปลูก

- เพาะเมล็ดวันที่ 7/12/57

- ลงปลูกวันที่ 23/12/57

- วันที่ 23/03/58 มีดอกบาน 1 ดอก ผสมเกสร

- ผลถ่าย วันที่ 03/04/58

-ผลแรก(ดังรูป)สุกเมื่อ 15/05/58 ขนาดของผลพอใช้, เยื่อหุ้มเมล็ดความชื้นสูง แต่ไม่หนามากเท่าหรือใกล้เคียงกับฟักข้าวที่ปลูกในเวียดนาม สันนิษฐานเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ 1.เมล็ดได้มาเป็นพันธุ์ลูกผสม (ต้นตัวเมียเวียดนาม+เกสรตัวผู้ของฟักข้าวไทย),ซึ่งเมล็ดชุดนี้ได้จากสวนในไทย ข้อ 2. ความไม่เหมาะของพื้นที่ปลูกและวิธีการปลูก (เพราะสถานะการณ์บังคับ) มีพื้นที่ปลูกน้อยและยังปลูกหนาแน่นมากอีก

รูปที่ 6.1 พันธุ์ผลรี (ถ่าย วันที่ 25/05/58)

รูปที่ 6.1 เยื่อหุ้มเมล็ดหนาพอควร มีความชื้นมาก(กว่าพันธุ์จากเวียดนาม)

รูปที่ 6.2 ผลผลิตไม่เหมือนกัน ในด้านเมล็ดพันธุ์ ,รูปที่1 นำไปปลูก ได้เมล็ดรูปที่ 2 และ 3 (เป็นเมล็ดที่ได้จากผลคนละต้น)

รูปที่ 6.3 ส่วนหนึ่งของพันธฺุ์ผลรึ มีรูปทรงของผล หลาบแบบ

------------------------------------------------------------------------------------------

ฟักข้าว พันธุ์ผลกลมหนามถี่(หรือหนามเยอะ)(V 7)ได้จากเวียดนาม

รูปที่ 7 ฟักข้าวเวียดนามผลกลม (เท่าที่รู้ ปลูกมากทางตอนใต้ของเวียดนาม)(V 7)

รูปที่ 7 .1 เยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวผลกลม (รูปที่ 7)

บันทึกการปลูก

- เพาะเมล็ดวันที่ 4/11/57

- ลงปลูกวันที่ 20/11/57

- ถึงวันที่ 21/02/58 รวม 3 เดือน พบว่าความยาวของเถาเฉลี่ย 6 เมตร น่าจะพอสรุปได้ว่า ความยาวของเถาและเส้นผ่านศูนย์กลางของต้น ขึ้นอยู่กับการจัดการเป็นต้นว่าการเตรียมดิน,การให้น้ำ, การให้ปุ๋ย ฯลฯ

-วันที่ 6/03/58 เริ่มมีดอกตัวผู็บาน ผสมกับดอกตัวเมียพันธู์ไทย 1 ดอก

-วันที่ 7/03/58 เริ่มมีดอกตัวเมียบาน 1 ดอก (วันนี้ต้นมีอายุประมาณ 3 เดือนครึ่ง)ผสมกับดอกตัวผู้พันธู์ไทย (รูปถ่ายวันที่ 21/03/58 ,ติดผล 2 สัปดาหฺ์ ผลฟ่อ)

-วันที่ 26/06/58 วันนี้บานอีกดอก (เป็นดอกที่ 3 ) ส่วนดอกที่ 2 เมื่อ 23/06/15 บานตอนไม่มีเกสรตัวผู้,พันธุ์นี้ออกดอกยากปลูกปทุม ฯ (แต่ปลูกทางเหนือออกผลดี) ,ไม่แน่เพราะสถานที่ปลูกไม่เหมาะสม หรืออากาศภาคกลางไม่เหมาะสม

----------------------------------------------------------------------------------------

ฟักข้าว พันธุ์ทรงหยดน้ำ(V 8) ได้จากสวนฟักข้าวในไทย (ไม่แน่ใจเกสรที่มาผสมว่ามาจากฟักข้าวพันธุ์ไหน)

รูปที่ 8 (ฟักข้าวผลทรงหยดน้ำ )

รูปที่ 8.1 เมล็ดฟักข้าวผลทรงหยดน้ำ เตรียมเพาะ

11.txt

รูปที่ 8.2 เมล็ดฟักข้าวผลทรงหยดน้ำ รุ่น F1 + เกสร V 5

รูปที่ 8.3 (รูปจากเว็บของเวียดนาม) พันธุ์นี้ปลูกในประเทศเวียดนามให้ผลสวยดี

บันทึกการปลูก

- เพาะเมล็ดวันที่ 2/12/57

- ลงปลูกวันที่ 23/12/57

-วันที่ 16/05/58 เริ่มมีดอกตัวผู็บาน

-วันที่ 24/06/58 เริ่มมีดอกเมีย แต่เหี่ยวก่อนที่จะบาน

------------------------------------------------------------------------------

รูปที่ 9 ,ลักษณะผิวของเมล็ด จะบอกถึงลักษณะผิวของผลฟักข้าว นั้นคือถ้าผิวเรียบจะเป็นเมล็ดของผลที่มีหนามห่างหรือหนามน้อย (รูปที่ 5),ถ้าผิวที่ไม่เรียบ จะเป็นเมล็ดของผลที่มีหนามถึ่หรือหนามเยอะ( รูปที่ 6)

รูปที่ 10 ( 12/10/61)   ใช้เวลาคัดพันธุ์(ผสมพันธุ์)ประมาณ 4 ปี จึงได้ฟักข้าวลูกผสม เยื่อหนา(เยื่อสีแดงเข้ม)  ผลดก, ผลใหญ่ ,ออกผลทั้งปี(ใครสนใจข้อมูลเพิ่ม ติดต่อ [email protected]  )




ใครต้องการเผมมล็ดไทย ดูรายละเอียดที่ Link

https://www.gotoknow.org/posts/583194

ฟักข้าวจากเวียดนามเป็นฟักข้าวเวียดนามจริงหรือ?

https://www.gotoknow.org/posts/587312

หมายเลขบันทึก: 584178เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2015 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ตุลาคม 2018 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การปรับปรุงพันธุ์ฟักข้าวของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เริ่มเมื่อ 2554 ตอนนี้ก็ย่างเข้าปีที่ 5 ยังไม่มีข่าวความคิบหน้า แสดงว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้นการทดลองปรับปรุงพันธุ์(ทำเล่นๆสนุก)ของผม ก็ทำไปเรื่อยๆ อาจจะ 5 ปี 10 ปี หรือจนกว่าจะเบื่อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท