การปรับเปลี่ยนเกณฑ์ 2015-2016


Baldrige is here for your organization

การปรับเปลี่ยนเกณฑ์ 2015-2016

Changes in 2015-2016 Criteria

พันเอก มารวย ส่งทานินทร์

[email protected]

27 ธันวาคม 2557

บทความนี้ดัดแปลงมาจากส่วนหนึ่งของหนังสือเรื่อง Baldrige Excellence Framework 2015-2016: A systems approach to improving your organization's performance ของ Baldrige Performance Excellence Program, National Institute of Standards and Technology (NIST), United States Department of Commerce, January 2015

ผู้ที่สนใจเอกสารแบบ PowerPoint (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ http://www.slideshare.net/maruay/changes-in-2015-2016-criteria-thai

การเปลี่ยนแปลงของเกณฑ์ Baldrige

ชื่อของหนังสือ

  • การเปลี่ยนแปลงในปีนี้เริ่มต้นด้วยชื่อหนังสือ กรอบความเป็นเลิศแบบ Baldrige: แนวทางอย่างเป็นระบบระบบเพื่อปรับปรุงการผลการดำเนินการขององค์กร
  • เพื่อเน้นมุมมองอย่างเป็นระบบ รวมถึงค่านิยมหลักและแนวคิดของเกณฑ์ และระบบการให้คะแนน ที่จะช่วยแสดงวุฒิภาวะขององค์กร

แผนภาพใหม่

  • แผนภาพได้รับการออกแบบใหม่ เพื่อเน้นระบบของ Baldrige
  • โครงสร้างที่เชื่อมต่อกัน (interlocking structure) สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะที่เชื่อมต่อกันของทั้งระบบ
  • โครงร่างองค์กร (Organizational Profile) อยู่ที่พื้นหลัง สัมผัสกับทุกแง่มุมของทุกระบบการปฏิบัติงานขององค์กร
  • การบูรณาการ (integration) เน้นว่าไม่มีระบบใดสามารถทำงานได้อย่างอิสระ
  • ค่านิยมและแนวคิดหลัก (core values and concepts) เป็นพื้นฐานของระบบการนำ และการจัดการผลการดำเนินการ

มุมมองอย่างเป็นระบบ

  • ระบบการดำเนินการ (performance system) ประกอบด้วยหกหมวดอยู่ในใจกลาง หมวดเหล่านี้เป็นตัวกำหนดกระบวนการและผลลัพธ์
  • ผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ ต้องมี ความเป็นผู้นำ (Leadership) ที่แข็งแกร่ง และมีการแสดงให้เห็นถึง ผลลัพธ์ (Results) ที่โดดเด่น
  • คำว่า บูรณาการ (integration) ที่ศูนย์กลาง แสดงให้เห็นว่าทุกองค์ประกอบของระบบมีความสัมพันธ์กัน
  • ลูกศรตามแนวนอน (center horizontal arrowheads) แสดงความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างสามเหลี่ยมการนำ (หมวด 1, 2, และ 3) และสามเหลี่ยมผลลัพธ์ (หมวด 5, 6, และ 7)
  • ลูกศรตามแนวตั้ง (center vertical arrowheads) ชี้จากรากฐานของระบบซึ่งให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะ ไปยังกระบวนการที่สำคัญและสภาพแวดล้อมขององค์กร

11 ค่านิยมและแนวคิดหลัก

  • มุมมองเชิงระบบ
  • การนำที่มีวิสัยทัศน์
  • ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้า
  • การให้คุณค่ากับคน
  • การเรียนรู้ขององค์กรและความคล่องตัว
  • การมุ่งเน้นไปที่ความสำเร็จ
  • การจัดการเพื่อนวัตกรรม
  • การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง
  • ความรับผิดชอบต่อสังคม
  • จริยธรรมและความโปร่งใส
  • การส่งมอบคุณค่าและผลลัพธ์

ค่านิยมและแนวคิดหลัก

  • ค่านิยมและแนวคิดหลักได้รับการปรับปรุงและจัดลำดับใหม่ สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของผู้นำ และการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ
  • อย่างแรกและสำคัญที่สุด Baldrige ให้มุมมองเชิงระบบ (systems perspective)และการนำอย่างมีวิสัยทัศน์ (visionary leadership) เป็นสองค่านิยมหลักแรก
  • อีกเจ็ดค่านิยมหลัก เป็นกระบวนการของระบบที่มีประสิทธิผล
  • สองค่านิยมหลักสุดท้าย ทั้งจริยธรรมและความโปร่งใส (ethics and transparency) และการส่งมอบคุณค่าและผลลัพธ์ (delivering value and results) เป็นผลของการใช้ Baldrige เป็นคู่มือ

เกณฑ์หมวด 1-7

1. การนำ (Leadership)

2. กลยุทธ์ (Strategy)

3. ลูกค้า (Customers)

4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (Measurement, analysis, and knowledge management)

5. บุคลากร (Workforce)

6. การปฏิบัติการ (Operations)

7. ผลลัพธ์ (Results)

อภิธานศัพท์

  • คำศัพท์แต่ละคำ ได้นำเสนอความหมายง่ายๆ และเป็น ตัวหนา (boldface) อยู่ที่ช่วงเริ่มต้นของแต่ละรายการ
  • อภิธานศัพท์หลายรายการได้รับการปรับปรุง การพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainability) ได้ถูกลบออกจากคำศัพท์และคำถามของเกณฑ์
  • เพราะ ความยั่งยืน จากการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กรแบบองค์รวม (การใช้ Baldrige) และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (การใช้งานทั่วไป) เป็นความสับสน ดังนั้น Baldrige จึงได้เลือกใช้คำศัพท์ที่เรียบง่ายว่า การประสบความสำเร็จในปัจจุบันและอนาคต (success now and in the future)

เกณฑ์สู่ความเป็นเลิศ

  • ชื่อหมวดในเกณฑ์ โดยมากได้ใช้หนึ่งคำในการระบุ (เช่น หมวดที่ 2 กลยุทธ์)
  • ข้อกำหนดโดยรวม (overall requirements) ของแต่ละหัวข้อ จะแสดงด้วยตัวหนาที่เป็นคำถามนำ
  • สามรูปแบบที่สำคัญ สำหรับการพัฒนาในการแก้ไขเกณฑ์ 2015-2016 ได้แก่: (1) การจัดการการเปลี่ยนแปลง (2) ข้อมูลขนาดใหญ่, และ (3) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

(1) การจัดการการเปลี่ยนแปลง

  • การเปลี่ยนแปลงองค์กรเป็นเรื่องยาก สร้างความแปรปรวนให้กับองค์กรและบุคลากร
  • ดังนั้นองค์กรต้องมีความทุ่มเทและความมุ่งมั่น
  • แผนกลยุทธ์และการตัดสินใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง จึงได้รับความสำคัญในการปรับปรุงเกณฑ์
  • การออกแบบการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ง่าย แต่สิ่งกีดขวางที่หลายองค์กรต้องเผชิญก็คือ การทุ่มเทและมุ่งมั่นที่จำเป็น ในการดำเนินการอย่างเต็มที่ เพื่อปรับใช้และรักษาการเปลี่ยนแปลง

(2) ข้อมูลขนาดใหญ่

  • สำหรับทุกองค์กร การเปลี่ยนข้อมูลเป็นความรู้ และจากความรู้เป็นข้อมูลเชิงลึกที่มีประโยชน์เชิงกลยุทธ์ เป็นความท้าทายที่แท้จริงของข้อมูลขนาดใหญ่
  • องค์กรต้องใช้ความพยายามมากขึ้น กับการวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อน และปัญหาเรื่องของความสมบูรณ์ของข้อมูล
  • ความท้าทายในโลกไซเบอร์ เพิ่มแรงกดดันในองค์กร และเพิ่มความซับซ้อนขององค์กร
  • ความต้องการของผู้ใช้งานก็เพิ่มขึ้น ทั้งความเร็วและความพร้อมของข้อมูล

(3) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

  • พายุที่รุนแรงมากขึ้น พายุหิมะขนาดใหญ่ น้ำท่วม และกระแสไฟฟ้าขัดข้อง อาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปาทาน ความสามารถในการทำงาน การผลิต และความสามารถในการเคลื่อนย้าย
  • สำหรับทุกองค์กร ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง การเลือก และการสร้างทางเลือกที่มีความซ้ำซ้อนและที่ยอมรับได้ ของระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่ต้องไม่เป็นภาระและกระทบระบบการสิ้นเปลือง

การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ที่ต่างไปจากเดิม

โครงร่างองค์กร

  • หัวข้อ P.1 ลักษณะองค์กร มีคำถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบหรือความต้องการของบุคลากร (เดิมอยู่ในหมวด 5) และความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า ผู้มีส่วนได้เสีย ในการดำเนินงานที่ส่งผลกระทบต่อความยุ่งยากของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสถานการณ์ฉุกเฉินอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น
  • หัวข้อ P.2 สถานการณ์ขององค์กร มีการอ้างอิงในหมายเหตุประกอบการรับรู้แบรนด์และชื่อเสียง ซึ่งเป็นข้อกำหนดในการระบุความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์

หมวดที่ 1 การนำ

  • หัวข้อ 1.1 การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง โดยเฉพาะถามเกี่ยวกับการกระทำ (actions) ของผู้นำระดับสูง ที่สร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในปัจจุบันและอนาคต อีกทั้งความต้องการของหัวข้อและบันทึกอ้างถึงบทบาทผู้นำ ในการสื่อสารและการดำเนินการเปลี่ยนแปลงองค์กร
  • หัวข้อ 1.2 การกำกับดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคม ถามสมาชิกของระบบการกำกับดูแลองค์กร เรื่องความรับผิดชอบของพวกเขา ต่อแผนกลยุทธ์ขององค์กร

หมวดที่ 2 กลยุทธ์

  • หัวข้อ 2.1 การจัดทำกลยุทธ์ ถามถึงขั้นตอนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ที่ระบุความต้องการศักยภาพสำหรับการเปลี่ยนแปลง และการจัดลำดับความสำคัญของความคิดริเริ่มการเปลี่ยนแปลง
  • คำถามยังสำรวจวิธีการที่องค์กรเตรียมความพร้อม สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นของกฎระเบียบด้านสภาพแวดล้อม
  • ข้อพิจารณาที่สำคัญในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ได้รับการแก้ไขในบันทึก เรื่องความสามารถในการใช้ประโยชน์ จากความซับซ้อนและมีขนาดใหญ่มากขึ้น ของข้อมูลและสารสนเทศ

หมวดที่ 3 ลูกค้า

  • หัวข้อ 3.1 เสียงของลูกค้า ระบุการวัดความพึงพอใจและความไม่พอใจในชุดเดียวกันของคำถาม เพราะกระบวนการโดยทั่วไปมักจะเหมือนกันในการรวบรวมข้อมูลทั้งสองประเภท
  • หัวข้อ 3.2 ความผูกพันของลูกค้า ถามถึงการจัดการและการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ขององค์กร เป็นองค์ประกอบสำคัญของการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

หมวดที่ 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้

  • หัวข้อ 4.1 การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลงานขององค์กร ถามเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลเปรียบเทียบและข้อมูลลูกค้าในการประเมินผลการปฏิบัติ และวิธีการประเมินความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงในการจัดโครงสร้างและระบบงานขององค์กร
  • หัวข้อ 4.2 การจัดการความรู้ สารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มุ่งเน้นการรักษาความปลอดภัยข้อมูลและสารสนเทศ เช่นเดียวกับความท้าทายของการผสมผสานและเทียบเคียงชุดข้อมูลขนาดใหญ่ และข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อสร้างความรู้

หมวดที่ 5 บุคลากร

  • หัวข้อ 5.1 สภาพแวดล้อมการทำงาน ถามถึงวิธีการจัดเตรียมบุคลากร สำหรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและระบบงานขององค์กร
  • หัวข้อ 5.2 ความผูกพันของบุคลากร ได้รับการปรับแต่งและลดลง เพื่อการเสริมสร้างความเชื่อมโยงแนวคิดที่สำคัญระหว่างความผูกพันของบุคลากรและการจัดการประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น และเพื่อประเมินประสิทธิผลของระบบการเรียนรู้และการพัฒนา

หมวดที่ 6 การปฏิบัติการ

  • หัวข้อ 6.1 กระบวนการทำงาน ถามถึงการจัดการนวัตกรรม (ซึ่งเดิมอยู่ในข้อ 6.2) เป็นกระบวนการทำงานที่สำคัญ
  • หัวข้อ 6.2 ประสิทธิผลการดำเนินงาน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการ เป็นประเด็นพิจารณาข้อแรก เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงจุดเน้นของคำถาม

หมวดที่ 7 ผลลัพธ์

  • หัวข้อทั้งหมดในหมวดนี้ การแบ่งกลุ่มที่สำคัญ (segmentation) โดยการตลาดหรือลักษณะของผลิตภัณฑ์ ถูกจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของข้อกำหนดต่าง ๆ (multiple requirements) แทนข้อกำหนดโดยรวม (overall requirements)
  • การใช้ข้อมูลเปรียบเทียบ (comparative data) ถูกย้ายไปอยู่ที่ข้อกำหนดต่าง ๆ (multiple requirements) เพื่อให้เหมาะสมกับวุฒิภาวะขององค์กร
  • สำหรับคะแนนหัวข้อที่ 7.2 และ 7.3 ผลการมุ่งเน้นลูกค้าและผลการมุ่งเน้นบุคลากร ได้รับการปรับให้เป็น 80 คะแนน และหัวข้อที่ 7.5 ผลด้านการเงินและการตลาด เป็น 90 คะแนน เพื่อรับรู้ของบทบาทที่สำคัญของผลลัพธ์เหล่านี้ ต่อการบรรลุความสำเร็จขององค์กร

สรุป Baldrige is here for your organization.

*************************************************

หมายเลขบันทึก: 583169เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2014 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2015 06:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท