(86) 'พูดให้เห็นภาพ' เพื่อสื่อสารให้เข้าใจ


เมื่อดิฉันวิเคราะห์ว่าตนเองมีจุดอ่อนก็พยายามแก้ไขมาตลอด ถึงวันนี้รู้สึกว่าดีขึ้นบ้าง .. แต่เพื่อให้ทราบชัดว่าจุดอ่อนนั้นยัง 'คงอยู่' มากน้อยเพียงใด จึง 'พูดให้เห็นภาพ (Figurative speech)' ผ่านบทความที่ท่านกำลังอ่านอยู่ขณะนี้

ช่วงนี้ดิฉันกำลังทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับ การจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กรพยาบาล เมื่อเริ่มวิเคราะห์ SWOT จริงๆ ก็พบปัญหาบางอย่างที่ยากอธิบาย เหตุเพราะไปแตะถูก 'ตัวตน' ในจุดที่ยากจะยอมรับได้ จึงพยายามหากลยุทธ์ที่จะอธิบายให้ผู้บริหารเข้าใจ

แต่ยากที่จะหาคำอธิบาย ยากมากค่ะ .. เพราะดิฉันเป็นคนคิดเร็ว ทำเร็ว บางทีมารู้ตัวอีกทีเมื่อข้ามมิติของความคิดนั้นไปแล้ว (ประโยคหลังนี้ตั้งใจพูดให้เกินจริง เพื่อเปรียบเทียบความรุนแรงค่ะ)

ในบทความ "ยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา" พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ท่านบรรยายในการฝึกอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ไว้ตั้งแต่ 9 พฤษภาคม 2546 ท่านแนะนำให้พระธรรมทูตวิเคราะห์ตนเอง มีอะไรเป็นจุดเด่น เก่งด้านไหน ให้ใช้ความเก่งที่สอดคล้องกับโอกาสไปสร้างประโยชน์ สอนให้ผู้ฟังเข้าใจ ยอมรับและนำไปประยุกต์ใช้ได้ กรณีของท่าน ท่านมีความคิดหรือมีไอเดีย (idea) เป็นจุดแข็ง แต่เป็นจุดอ่อนที่ยากจะสื่อสารให้คนตามทัน ท่านเสนอแนะวิธีแก้จุดอ่อนของตนเองให้ สำหรับดิฉัน ไม่อาจจะเทียบว่าคล้ายท่าน เพราะอาการหนักมากค่ะ

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ดิฉันสามารถทำงานยากๆ ให้สำเร็จได้โดยลำพัง ในขณะที่บางคนต้องอาศัยกองหนุนและทรัพยากรมากมาย ดิฉันใช้เวลาทำงานนั้นๆ น้อยมากจนผู้บริหารออกปากชมว่า "เสร็จแล้วหรือ ทำเร็วจัง" ในขณะที่บางคนที่รับงานเดียวกันเพิ่งจะเริ่มหรือยังไม่เริ่มงานด้วยซ้ำ ดิฉันทำงานอย่างมีความสุขในขณะที่บางคนต้องทุกข์ใจที่กับงานที่ยากเกินไป ฯลฯ

อย่าเพิ่งรู้สึกรำคาญนะคะ เพราะเป็นเรื่องจริง !

ใครๆ ต่างคิดว่าเรื่องนี้เป็นจุดแข็ง แต่มันเป็นจุดอ่อน ดังที่พระเทพโสภณบรรยาย หากดิฉันประมาณว่างานนั้นจะเสร็จภายในเวลาเท่าใดก็จะต้องขอเวลาทำอย่างน้อย 2 เท่าของระยะเวลาจริง ไม่ได้คิดอ้อยอิ่งเอาเปรียบผู้อื่น แต่เพื่อไม่ให้เป็น 'แกะดำ' ในฝูงแกะขาวที่สวยงาม ดิฉันเป็นมนุษย์สังคมและต้องการการยอมรับดังเช่นทุกท่านค่ะ

อันที่จริง นอกจากพระเทพโสภณจะแนะนำให้วิเคราะห์ตนเองแล้ว ท่านยังแนะนำให้แก้ไขจุดอ่อนด้วย เ มื่อดิฉันวิเคราะห์ว่าตนเองมีจุดอ่อนก็พยายามแก้ไขมาตลอด ถึงวันนี้รู้สึกว่าดีขึ้นบ้าง .. แต่เพื่อให้ทราบชัดว่าจุดอ่อนนั้นยัง 'คงอยู่' มากน้อยเพียงใด จึง 'พูดให้เห็นภาพ (Figurative speech)' ผ่านบทความที่ท่านกำลังอ่านอยู่ขณะนี้

ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่าน 'เห็นภาพ' นั้นหรือไม่ อย่างไร .. ท่านใดค้นหาความหมายที่ซ่อนในบทความนี้ได้ จะได้รับรางวัลเป็น surprise ค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับข้อเสนอแนะนะคะ

หมายเลขบันทึก: 582001เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2014 19:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ธันวาคม 2014 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พูดให้ฟัง
ทำให้ดู
อยู่เป็นเพื่อน...

เป็นอีกหลักคิกนึ่งที่ผมถือปฎิบัติ
ถึงแม้วันนี้ จะเน้นการกำกับติดตามมากกว่าลงมือเอง
แต่หลักคิดสามวาทกรรมนั้น ก็อยู่ในหัวใจตราบวันนี้ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท